All posts by admin

โรคลมชักที่ดื้อต่อยาและการรักษาโดยการผ่าตัด

โรคลมชักที่ดื้อต่อยาและการรักษาโดยการผ่าตัด

โรคลมชักที่ดื้อต่อยาและการรักษาโดยการผ่าตัด

 

โดย พลตรี.ดร.นพ.โยธิน  ชินวลัญช์

พบว่าอุบัติการณ์โรคลมชักในประเทศไทยมีประมาณ 1% หรือคิดเป็นจำนวนประชากรประมาณ 700,000 คนในผู้ป่วยคนไทยที่ป่วยเป็นโรคลมชัก  มีผู้ป่วยโรคลมชักประมาณ 30% หรือคิดเป็นตัวเลขประมาณ 40,000-50,000 คน เป็นอย่างต่ำที่เป็นผู้ป่วยที่ดื้อยา  ในเกณฑ์การวินิจฉัยผู้ป่วยโรคลมชักที่ดื้อยา คือ ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาโดยการใช้ยากันชักอย่างเหมาะสมแล้วอย่างน้อย 2 ตัว  แล้วยังไม่สามารถคุมอาการชักได้  โดยที่อาจจะยังมีอาการชักอย่างต่อเนื่องในผู้ป่วยเหล่านี้เป็นผู้ป่วยที่สมควรจะได้รับการประเมินเพื่อหาพยาธิสภาพในสมองที่ผิดปกติ เพื่อตรวจดูว่าผู้ป่วยจะสามารถทำการรักษาโดยการผ่าตัดได้หรือไม่   แต่อย่างไรก็ตามในการตรวจวินิจฉัยเหล่านี้เป็นขั้นตอนที่มีความยุ่งยากและสลับซับซ้อน  และในการตรวจเหล่านี้จะต้องมีความละเอียด รอบคอบที่จะตรวจหาตำแหน่งพยาธิสภาพ ที่ก่อให้เกิดโรคลมชักได้อย่างถูกต้องแม่นยำ   มิฉะนั้นแล้วการรักษาโดยการผ่าตัดโดยที่ไม่ได้รับการตรวจวินิจฉัยที่แม่นยำเพียงพออาจจะทำให้การผ่าตัดไม่ได้ผล หรือก่อให้เกิดผลแทรกซ้อนได้  ในการตรวจสิ่งเหล่านี้จะต้องได้รับการประเมินและการตรวจวินิจัฉยโดยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคลมชักโดยตรง

ขั้นตอนการตรวจรักษา มีดังต่อไปนี้

1. การตรวจ X-Ray  คลื่นแม่เหล็กสมองหรือ MRI Brain  ซึ่งเป็นการตรวจเพื่อดูโครงสร้างของสมอง  เพื่อตรวจหาพยาธิสภาพที่เป็นแผลเป็นในสมอง   การตรวจ MRI Brain ในปัจจุบัน มีการนำเครื่อง MRI ที่มีความคมชัดสูง คือ MRI 3 Tesla เข้ามาใช้ทำให้มีการตรวจหาพยาธิสภาพที่ก่อให้เกิดโรคลมชักได้แม่นยำขึ้น  อนึ่งสิ่งที่สำคัญมากในการตรวจ MRI ก็คือ จะต้องมีการใช้เทคนิคในการตรวจ X-Ray สมองที่ถูกต้อง  ในทางทั่วไปการตรวจ MRI Brain ไม่ได้มีความละเอียดลออในการตรวจเช็คผู้ป่วยโรคลมชัก  แต่ในผู้ป่วยโรคลมชักจะต้องมีการใช้เทคนิคพิเศษที่เรียกว่า Epilepsy Protocol  ซึ่งจะทำให้การตรวจหาพยาธิสภาพแผลเป็นได้ถูกต้องและแม่นยำมากขึ้น  รวมทั้งการวินิจฉัย X-Ray สมอง  จะต้องได้รับการวินิจฉัยโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับการฝึกอบรมโรคลมชักมาโดยตรง  เราพบว่าพยาธิสภาพในสมองที่ก่อให้เกิดโรคลมชักในผู้ป่วยที่ดื้อต่อยา ประมาณ 50% ของผู้ป่วยมักจะเป็น hippocampal Sclerosis  ซึ่งเป็นพยาธิสภาพที่เป็นสาเหตุมาจากสมองได้รับการกระทบกระเทือนตั้งแต่ในช่วงวัยเด็ก  เช่น  มีการติดเชื้อในสมอง, สมองขาดออกซิเจน, มีไข้สูงแล้วชัก หรือมีอุบัติเหตุแล้วทำให้เกิดแผลเป็นชนิดนี้ในเด็ก  ต่อมาเมื่อผู้ป่วยมีอายุมากกว่า 10 ปี หรือเข้าสู่ภาวะ 20 ปี  ก็จะเริ่มมีอาการชักเกิดขึ้นจากแผลเป็นชนิดนี้  นอกจากนี้ยังมีพยาธิสภาพอย่างอื่นอีกมากมาย  ที่ก่อให้เกิดโรคลมชักที่ดื้อต่อยา เช่น การมีเนื้องอกในสมอง, หยักในสมองผิดปกติ, เซลล์ในสมองอยู่ผิดที่ หรือเซลล์มีการจับตัวเป็นโครงสร้างที่ผิดปกติ สิ่งเหล่านี้เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดประจุไฟฟ้าในสมองผิดปกติ  และก่อให้เกิดโรคลมชักที่ดื้อต่อยา ข้อมูลที่ได้จากการตรวจ MRI Brain จะเป็นข้อมูลพื้นฐานที่จะนำไปประกอบการวินิจฉัยเพื่อหาตำแหน่งร่วมกับข้อมูลอย่างอื่น เช่น การตรวจคลื่นไฟฟ้าสมองแบบ 24 ชม. หรือ การตรวจทางกัมมันตรังสีต่อไป

2. การตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง (EEG)  ซึ่งการตรวจคลื่นไฟฟ้าสมองมีอยู่ 2 ชนิดใหญ่ ๆ คือ

2.1 การตรวจคลื่นไฟฟ้าสมองแบบทั่วไป (routine EEG) ใช้เวลาในการทำประมาณ 30 นาที  เป็นการตรวจในขณะที่ผู้ป่วยยังไม่มีอาการชัก  การตรวจชนิดนี้สามารถทำได้ง่ายแบบผู้ป่วยนอกได้  แต่ข้อจำกัดของการตรวจชนิดนี้ คือ โอกาสที่จะพบความผิดปกติของคลื่นไฟฟ้าที่ผิดปกติในผู้ป่วยโรคลมชักมีอยู่แค่ประมาณ 40%

2.2 การตรวจคลื่นไฟฟ้าแบบ 24 ชม. (VEM; video-EEG monitoring) การตรวจชนิดนี้เป็นการตรวจดูคลื่นไฟฟ้าที่ยาวขึ้น และมีจุดประสงค์เพื่อดูคลื่นไฟฟ้าในขณะที่ผู้ป่วยมีอาการชัก ดังนั้นผู้ป่วยจำเป็นต้องนอนในในโรงพยาบาล และมีการตรวจวัดคลื่นไฟฟ้าสมองตลอดเวลา  โดยที่มีการใช้ขั้วไฟฟ้าติดที่หนังศีรษะโดยใช้กาวพิเศษทำให้ไม่หลุดได้ง่าย  การตรวจชนิดนี้ก็เป็นการตรวจเพื่อดูลักษณะอาการชักของผู้ป่วยว่ามีอาการชักเป็นชนิดไหน  รวมทั้งดูตำแหน่งของไฟฟ้าที่เกิดอาการชักว่ามีจุดก่อกำเนิดมาจากส่วนไหนของสมอง  การตรวจชนิดนี้จะเป็นการตรวจที่มีความสำคัญมากในการที่จะใช้เป็นข้อมูลไปประกอบกับผลการตรวจ MRI Scan  เพื่อจะดูว่าตำแหน่งที่ ก่อให้เกิดโรคลมชักนั้นสามารถที่จะผ่าตัดได้หรือไม่

3. การตรวจทางกัมมันตรังสี (Ictal SPECT)  การตรวจทางกัมมันตรังสีโดยที่จะมีการฉีดสารกัมมันตรังสีเข้าไปในร่างกายผู้ป่วยในขณะที่มีอาการชักสารกัมมันตรังสีตัวนี้เป็นสารกัมมันตรังสีที่ใช้ในการแพทย์และมีความปลอดภัย ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย  การตรวจ Ictal SPECT จะทำไปพร้อมกับในขณะที่ผู้ป่วยตรวจคลื่นไฟฟ้า 24 ชม. ในโรงพยาบาลโดยที่จะมีการฉีดสารกัมมันตรังสีในขณะที่ผู้ป่วยมีอาการชัก  หลังจากนั้นผู้ป่วยจะได้รับการส่งไปตรวจทำ Scan  เพื่อดูภาพในสมองว่าจุดกำเนิดที่ทำให้เกิดอาการชักมาจากตำแหน่งส่วนใดของสมอง  ภาพที่ได้ในส่วนนี้จะเป็นข้อมูลที่นำไปใช้ประกอบร่วมการพิจารณากับผล MRI Brain และผลการตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง

4. การตรวจ PET Scan เป็นการตรวจหาตำแหน่งพยาธิสภาพที่ทำให้เกิดอาการชักอีกวิธีหนึ่งโดยดูการเปลี่ยนแปลงการดูดซึมสารน้ำตาลในสมอง  เราพบว่าในผู้ป่วยโรคลมชักตำแหน่งที่ทำให้เกิดอาการชักมักจะมีการดูดซึมสารของน้ำตาลที่ผิดปกติ  โดยสารน้ำตาลตัวนี้จะมีการเกาะกับสารกัมมันตรังสีที่จะฉีดเข้าไปในตัวผู้ป่วย  การตรวจชนิดนี้สามารถทำได้ในขณะที่ผู้ป่วยไม่มีอาการชัก  เป็นการตรวจชนิดหนึ่งซึ่งจะได้ข้อมูลมาประกอบการพิจารณาเพื่อหาตำแหน่งร่วมกับการตรวจชนิดอื่น

5. การตรวจเรื่องความจำ (Memory test) ซึ่งการตรวจชนิดนี้มีความจำเป็นจะต้องทำในผู้ป่วยชนิด Temporal Lobe Epilepsy   ในการรักษาผู้ป่วยชนิดนี้  การผ่าตัดอาจจะมีความเสี่ยงต่อเรื่องของการสูญเสียเรื่องความจำระยะสั้นได้  ดังนั้นจะต้องมีการประเมินเรื่องความจำว่าอยู่ในตำแหน่งส่วนใดของสมองเพื่อจะพิจารณาว่าการผ่าตัด Temporal Lobectomy ว่าสามารถทำได้หรือไม่  หากตรวจแล้วพบว่าสมองเกี่ยวกับเรื่องของความจำอยู่ในตำแหน่งที่จะเข้าไปผ่าตัด  การผ่าตัดนั้นก็ไม่สามารถที่จะกระทำต่อได้

นอกจากนี้ยังมีการตรวจหาตำแหน่งของศูนย์ที่เกี่ยวกับภาษาว่าอยู่ในตำแหน่งส่วนไหนของสมองอยู่ทางซีกซ้ายหรือซีกขวา   สิ่งเหล่านี้จะมีการตรวจในกรณีที่ผู้ป่วยมีพยาธิสภาพอยู่ใกล้ตำแหน่งที่เราคาดว่าจะเป็นสมองส่วนที่ควบคุมเรื่องการพูดหรือว่าสมองเรื่องการเข้าใจ

ส่วนการตรวจการทำงานของสมองในแต่ละส่วนจะมีการตรวจบ่งชี้ในผู้ป่วยที่มีพยาธิสภาพในตำแหน่งที่เราสงสัยว่าอาจจะเป็นสมองส่วนที่ควบคุมการทำงานของร่างกาย  ในผู้ป่วยแต่ละรายจะมีความแตกต่างกัน การตรวจเหล่านี้จะมีการตรวจอยู่หลากหลาย เช่น การตรวจการทำงาน  การควบคุม แขน ขา ของร่างกายซีกใดซีกหนึ่ง, การตรวจเรื่องการรับรู้ความรู้สึกของร่างกายส่วนใดส่วนหนึ่ง  หรือว่าการตรวจสมองเรื่องการมองเห็นในกรณีที่พยาธิสภาพที่ก่อให้เกิดการชักอยู่ใกล้ในส่วนของสมองที่ควบคุมเรื่องการมองเห็น เป็นต้น จะเห็นได้ว่าการผ่าตัดโรคลมชักในผู้ป่วยที่ดื้อต่อยาเป็นการผ่าตัดที่มีการเตรียมการผู้ป่วยอย่างละเอียดอ่อนอย่างมาก  ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ดีเราถือว่าการผ่าตัดโรคลมชักมีความเสี่ยงต่อการผิดปกติ หรือผลแทรกซ้อนต่อการผ่าตัดค่อนข้างต่ำมาก  ดังนั้นในผู้ป่วยโรคลมชักที่ดื้อต่อยาหลังจากที่ได้มีการให้ยากันชักอย่างน้อย 2 ตัวแล้วผู้ป่วยยังไม่สามารถที่จะควบคุมอาการชักได้ก็ควรจะต้องได้รับการตรวจโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและรับการตรวจเพื่อตรวจหาตำแหน่งพยาธิสภาพดังที่ได้กล่าวไปแล้ว

ในการรักษาโดยการผ่าตัดส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะต้องไดัรับการผ่าตัดและอยู่ในโรงพยาบาลประมาณ 1 อาทิตย์  หลังจากนั้นอีกประมาณ 2-3 อาทิตย์ผู้ป่วยสามารถที่จะกลับบ้านได้และสามารถทำกิจกรรมได้ตามปกติยกเว้นกิจกรรมใดที่หนักเกินไป เช่น ความเครียดหรือการยกสิ่งของหนักหรือทำงานหนักอาจจะต้องหลีกเลี่ยงในช่วง 2-3 อาทิตย์แรก  หลังจากนั้นผู้ป่วยสามารถดำเนินชีวิตได้ตามปกติ  อย่างไรก็ตามผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดแล้วจะต้องทานยากันชักต่ออีกประมาณ 1-2 ปี  สิ่งเหล่านี้เป็นการที่จะทำให้มั่นใจว่าเซลล์ไฟฟ้าในสมองในส่วนอื่น ๆ ไม่ได้รับการถูกกระตุ้น หรือก่อให้เกิดความผิดปกติตามมา

ส่วนการผ่าตัดรักษาโรคลมชักชนิด Extra Temporal Epilepsy เป็นการรักษาโดยการผ่าตัดที่ยุ่งยากกว่าการผ่าตัดชนิด Temporal Lobe Epilepsy การผ่าตัดรักษาโรคลมชักผู้ป่วยชนิด Extra TEmporal Epilepsy ส่วนใหญ่ผู้ป่วยมักจะต้องได้รับการผ่าตัดอย่างน้อย 2 ครั้งใน 1 อาทิตย์  จะต้องมีการใช้อุปกรณ์พิเศษ  เป็นขั้วไฟฟ้าที่ใช้ในการวัดคลื่นไฟฟ้าจากผิวสมองโดยตรง ที่เรียกว่า  Subdural Grid  เป็นการวางขั้วไฟฟ้าลงบนผิวสมองและวัดไฟฟ้าที่มาจากสมอง  การตรวจชนิดนี้เป็นการตรวจชนิดพิเศษซึ่งจะทำเฉพาะในผู้ป่วยที่มีพยาธิสภาพที่ก่อให้เกิดโรคลมชักอยู่ในสมองส่วน Extra Emporal Epilepsy การผ่าตัดชนิดนี้ผู้ป่วยจำเป็นต้องอยู่ในโรงพยาบาลอย่างน้อย 1-2 อาทิตย์ ผลสำเร็จทางการผ่าตัดชนิดนี้ขึ้นอยู่กับว่าการตรวจหาคลื่นไฟฟ้าสมองได้แม่นยำขนาดไหนโดยจะต้องมีการปรึกษากับแพทย์ผู้ให้การรักษาอย่างใกล้ชิด

โดยสรุปการรักษาผู้ป่วยโรคลมชักที่ดื้อต่อยาโดยวิธีการผ่าตัดเป็นการรักษาที่มาตรฐานในผู้ป่วยที่ได้รับการใช้ยากันชักอย่างน้อย 2 ตัวซึ่งเป็นยามาตรฐานแล้วยังไม่สามารถคุมอาการชักได้  และได้รับการตรวจตามขั้นตอนอย่างละเอียดซึ่งเป็นผู้ป่วยที่แพทย์ประเมินแล้วว่าการผ่าตัดน่าจะได้ประโยชน์ ไม่มีผลแทรกซ้อนที่จะทำให้เกิดความผิดปกติของร่างกาย  การผ่าตัดเหล่านี้สามารถจะทำให้ผู้ป่วยมีอาการชักลดลงหรือหายขาดจากอาการชักได้สูงถึง 50-90%  ขึ้นอยู่กับลักษณะของโรคลมชักที่เป็นอยู่

12th Asian & Oceanian Epilepsy Congress (AOEC) 2018, Bali, Indonesia

Main Sessions 

 

AOEC link

[wpdevart_youtube]gxS8Q7Gv1v0[/wpdevart_youtube]

The 12th AOEC Scientific Programme has been based on a comprehensive schedule of main sessions which are as follows:

THE CHAIRMEN’S SYMPOSIUM:  PERSONALIZED MEDICINE IN EPILEPSY

Chairs: Kurnia KUSUMASTUTI (Indonesia), Byung-In LEE (South Korea) and Parthasarthy SATISHCHANDRA (India)

The concept and scope of personalized medicine in epilepsy – Samuel WIEBE (Canada)

Diagnostic models in the era of personalized medicine – Patrick KWAN (Australia)

Precision therapies through genomics – Sam BERKOVIC (Australia)

Precision medicine through stem cells – Shinichi HIROSE (Japan)

EPILEPSY SURGERY IN PATIENTS WITH NORMAL MRI     

Chair: Tatsuya TANAKA (Japan) and Kheng-Seang LIM (Malaysia)                                              

Approach in resource-limited countries: to refer or to start? – Yotin CHINVARUN (Thailand)

Advances in MRI: is normal MRI really normal? – Greame JACKSON (Australia)

When can non-invasive monitoring be sufficient? – Byung-In LEE (South Korea)

Invasive monitoring: SDE ± depth or Stereo EEG? – Chong WONG (Australia)

INFECTIONS OF THE NERVOUS SYSTEM AND EPILEPSY

Chairs: John DUNNE (Australia) and Chong Tin TAN (Malaysia)

Emerging CNS infection and seizures – Chong Tin TAN (Malaysia)

Tuberculous meningitis and seizures: pathogenesis and management – U.K. MISRA (India)

Neurocysticercosis and seizures; evidence based management guidelines –  Supoch TUNLAYADECHANONT (Thailand)

HIV infection and seizures – Parthasarthy SATISHCHANDRA (India)

GENETIC INVESTIGATIONS IN EPILEPTIC ENCEPHALOPATHIES    

Chairs: Ingrid SCHEFFER (Australia) and Shinichi HIROSE (Japan)

The genetic landscape of the epileptic encephalopathies of infancy and childhood – Ingrid SCHEFFER (Australia)

Diagnostic value of gene panel testing in patients with epileptic encephalopathies – Hoon-Chul KANG (South Korea)

The application of whole-exome sequencing in patients with epileptic encephalopathies – Yuwu JIANG (China)

Detection of low-level somatic mutations and mosaicism for genetic investigation of epileptic encephalopathies – Sangwoo KIM (South Korea)

การทดสอบทางพันธุกรรมในโรคลมชัก

 

 

สถานการณ์ที่จะบ่งบอกถึงความจำเป็นในการทดสอบทางพันธุกรรม

เมื่อมีลักษณะทางคลินิก อายุที่เริ่มมีอาการชัก ลักษณะอาการชักและลักษณะ EEG) สอดคล้องกับกลุ่มอาการทางคลี


นิคและไฟฟ้าที่เฉพาะโรค (Epileptic syndrome)ตามที่กำหนดโดย International League against epilepsy (ILAE)ยกเว้นโรคลมชักที่เป็นโรคลมชักที่ไม่รุนแรง (benign epilepsy)

Epileptic encephalopathies (เช่น Ohtahara syndrome, early onset myoclonic encephalopathy, West syndrome, malignant migrating partial seizures, เป็นต้น)

ชักที่เกี่ยวข้องกับไข้เป็นตัวกระตุ้นที่สำคัญ (ไม่รวมผู้ป่วยที่มีอาการชักจากไข้-febrile convulsion) เช่น Dravet syndrome, Generalized epilepsy with febrile seizures plus

เมื่อการพยากรณ์โรคตามผลการตรวจทางคลินิกและ EEG ไม่เป็นที่น่าพอใจหรือความเป็นไปได้สูงที่จะมีอาการชักรุนแรง ตัวอย่างเช่น:

ความถี่ที่เพิ่มขึ้นและ / หรือความรุนแรงของอาการชักมีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตอย่างกะทันหันของโรคลมชัก (SUDEP)

Myoclonic epilepsy where progressive ที่เกี่ยวกับการถดถอยของระบบประสาท

โรคลมชักที่ดี้อต่อยาตามที่ ILAE กำหนดไว้

Epileptic encephalopathies เมื่อโรคลมชักมีความเกี่ยวข้องกับคุณสมบัติที่บ่งบอกถึงข้อผิดพลาดที่เกิดจาก metabolism ที่สามารถรักษาได้

ลักษณะทางคลินิกมีข้อบ่งชี้ถึงความผิดพลาดใน metabolism  ในทารกในครอบครัวที่มีประวัติครอบครัวที่มีความผิดปกติแบบนี้มาก่อนในบุตรที่เกิดจากพ่อแม่ที่มาจากญาติพี่น้อง หรือในทารกแรกเกิดที่มีการตรวจคัดกรองบ่งชี้ทางชีวเคมีที่เกี่ยวข้องกับโรคลมชักจากการเผาผลาญผิดปกติทาง metabolism

ตัวอย่างโรคที่มีความผิดพลาดใน metabolism ที่รักษาได้ที่สำคัญ ได้แก่

o Pyridoxine dependent epilepsy

o Pyridoxal phosphate dependent epilepsy

o Creatine deficiency syndromes

o Glucose transporter (GLUT1) deficiency

o Cerebral Folate deficiency

เมื่อโรคลมชักมีความเกี่ยวข้องกับรูปแบบที่โดดเด่นของการเกิดความผิดปกติของการพัฒนาทางระบบประสาท (Cortical malformation) ตัวอย่างเช่น:

  • Hemimegalencephaly

  • Lissencephaly

  •   Schizencephaly

  •   Sub cortical band heterotopia (double cortex)

  •   Cortical dysplasia with focal epilepsy

  •   Opercular dysplasia/asymmetric, unilateral or bilateral

  •   Holoprosencephaly

  •   Agenesis of corpus callosum

  •   Polymicrogyria

  •   Periventricular heterotopia

  •   Tuberous Sclerosis

    เมื่อโรคลมชักมีความเกี่ยวข้องกับอาการทางคลินิกของการเสื่อมสภาพของระบบประสาท การเสื่อมสภาพของระบบประสาทอาจมีผลต่อพัฒนาการถดถอยในเด็ก อาการทางระบบประสาทที่แปรปรวน จะมีผลต่อก้าวหน้าของความบกพร่องทางสติปัญญาความพิการของการเคลื่อนไหวและ / หรืออาการทางระบบประสาทและอาการอื่น ๆ ตัวอย่างเช่น

  • Acquired Epileptic Aphasia (Landau Kleffner syndrome)

  • Epileptic encephalopathy with continuous spike wave activity in sleep

  • MECP2 duplication syndrome

  • Atypical Rolandic epilepsy with language deficits+/- cognitive disability

  • Progressive myoclonic epilepsies ((Unverricht-Lundborg, NCL, Lafora body, sialidosisในเด็ก

    โรคลมชักมีความเกี่ยวข้องกับคุณสมบัติทางระบบประสาท paroxysmal ตัวอย่างเช่น:

    • Paroxysmal dyskinesias

    •  Episodic ataxias

    •  Hemiplegic migraine

      เมื่อโรคลมชักมีความสัมพันธ์กับลักษณะทางประสาทวิทยาเพิ่มเติมเช่นความล่าช้าในพัฒนาการ / ความพิการทางสติปัญญาความผิดปกติที่มีมา หรือมีลักษณะที่ผิดปกติแต่กำเนิดหลายอย่างคุณสมบัติ dysmorphic ตัวอย่างเช่น:

      •   Angelman and Angelman-like syndromes

      •   Pitt-Hopkins syndrome

      •   Rett syndrome, and syndromes with Rett-like features

      •   Mowat Wilson

      •   X-linked Epilepsy with Mental Retardation

      •   Syndromic Mental Retardation associated with epilepsy

      •   Tuberous sclerosis

      •   Epilepsy with global developmental delays or autistic traits unspecified/or not classified

        เมื่อโรคลมชักในครอบครัวมีอยู่อย่างน้อย 2 คนในครอบครัวที่มีภาวะโรคลมชัก เว้นเสียแต่ว่าโรคลมชักเป็นอย่างไม่รุนแรงตามที่แสดงไว้ในส่วนด้านล่าง.

        • Recognizable seizure syndrome with benign course
        • Benign childhood epilepsy with central temporal spikes (previously termedbenign rolandic epilepsy)
        • Mesial temporal lobe epilepsy with hippocampal sclerosis
        • Typical Childhood Absence epilepsy (although if early onset or medicallyrefractory should consider and test for GLUT1 deficiency)
        • Juvenile myoclonic epilepsy well controlled on medications and withoutintellectual disability or any signs of neurodegeneration
        • Acquired Epilepsy (In these conditions epilepsy is often associated with aprimary neurological condition, which may or may not have a genetic basis, but is usually an acquired condition.  เช่น:
        o Post traumatic epilepsy
         o Epilepsy secondary to neonatal-perinatal HIE and sequelae
         o Epilepsy associated with cerebral palsy related to periventricular leukomalacia (PVL)
         o Epilepsy secondary to brain tumors or systemic malignancy
         o Epilepsy associated with complications of chemotherapy, post-transplant immunosuppression
         o Epilepsy related to radiation therapy
         o Epilepsy related to infections of the central nervous system (CNS) (viral, bacterial, TB, fungal) and complications
         o Epilepsy associated with CNS inflammation (autoimmune, vasculitis

ยากันชักตัวใหม่

การใช้ยาพ่นจมูกรักษาการชัก

 

จากการศึกษา และพัฒนา ยากันชัก ที่สามารถ สเปรย์ที่จมูกเพื่อทำให้การจากหยุด ได้ เป็นผลิตภัณที่ชื่อว่า NRL-1: special formulation of diazepam  ใช้ในการรักษาโรคชัด ในกรณีที่มีการชักซ้ำ ทำให้สามารถ  ให้ ยาได้อย่างรวดเร็ว

ปกติเราใช้ Diazepam  ในการรักษา  ภาวะกล้ามเนื้อเกร็ง วิตกกังวลและการชัก ซึ่งในอดีตยาจะมีรูปของเป็นยาเม็ดและ ยาฉีด   แต่ตัว NRL-1  เป็นยา diazepam  ในรูปแบบใหม่ ที่สามารถใช้ในการสเปรย์ เข้าไป โพรงจมูก  ซึ่งพบว่าสามารถทำให้อาการชักหยุดได้ แล้วก็ปลอดภัย  ซึ่งเป็น ยาที่สามารถผู้ป่วยใช้ได้เองอย่างรวดเร็วในการควบคุมอาการชัก  ยา NRL-1  อยู่ในช่วงสุดท้าย ในการวิจัย ใช้ ในทางคลินิก  หลังจากนั้นก็จะมีการขออนุญาต ผ่านทางองค์กรอาหารและยาประเทศ สหรัฐอเมริกา แล้วก็เรา จะมียาใช้ทั่วโลก ในเวลา ไม่ นานมากนัก

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาการรักษากรณีที่ผู้ป่วยเมียการชักซ้ำซ้ำฯติดต่อกัน มีการรักษาหลักก็คือการใช้ ยา diazepam    ฉีดยาเข้าเส้นเลือดดำ หรือการให้ทาง ทวารหนัก  ต่อมามีการใช้ ยา midazolam  ในทางช่องปาก  การที่มิยา NRL-1 ใช้ในทางคลินิก จะทำให้การรักษาผู้ป่วยที่มีการชักซ้ำอย่างต่อเนื่อง ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงขึ้นและอย่างรวดเร็วเพราะสามารถที่จะฉีดสเปรย์เข้าในช่องจมูก ซึ่งจะช่วยทำให้ลด การเกิดอุบัติการณ์ การอาการชัก   ต่อเนื่องแบบไม่หยุด (Status epilepticus)

 

ยากันชักตัวใหม่ – Everolimus

ผลจากการศึกษาจากการสุ่ม placebo-controlled ระยะที่ 3 การทดลองแสดงให้เห็นว่า everolimus (Afinitor จาก Novatis) – เป็นยาทานที่มีการพัฒนาเป็นยารักษาโรคมะเร็ง – สามารถลดอาการชักลงอย่างมีนัยสำคัญความถี่ชักในผู้ป่วยโรคลมชักที่ดี้อต่อยา Tuberous sclerosis (TSC)

Tuberous sclerosis (TSC) เป็นโรคทางพันธุกรรมที่หายาก ที่เกิดจาก overactivati​​on ของเป้าหมายของ rapamycin (mTOR) ที่ทำหน้าที่ส่งเสริมการเจริญเติบโตของเซลล์ ในโรค TSC จะนำไปสู่​​การเกิดอาการชักผิดปกติการเกิด cortical malformations, and neuronal hyperexcitability และทำให้เกิด subependymal astrocytomas เซลล์ยักษ์ (SEGAs)

ผลแม้ว่าอาจมีผลกระทบในวงกว้างมากสำหรับการรักษาโรคลมชัก จนถึงตอนนี้ชึ่งยังไม่ได้รับการรักษาทุกคนสำหรับโรคลมชักของพวกเขา เพียงพวกเขาสำหรับการชักของพวกเขาที่เราได้ให้พวกเขายาเสพติดที่ปราบปรามการชักของพวกเขา แต่เรายังไม่ได้พื้นฐานเปลี่ยนกลไกพื้นฐานที่ซึ่งก่อให้เกิดโรคลมชัก.”

everolimus จะพิสูจน์ให้ประสบความสำเร็จในทีเอสซี แต่มันก็อาจจะมีประโยชน์สำหรับบางดีสเพลเชียเยื่อหุ้มสมองและประเภทอื่น ๆ ของโรคลมชักท​​ี่เธอบอกว่า

“นี่อาจจะเป็นขั้นตอนแรก” ดรฝรั่งเศสซึ่งเป็นผู้วิจัยหลักทั่วโลกสำหรับอยู่จริง 3 (ตรวจสอบ everolimus ในการศึกษาของทีเอสซี) ที่กล่าวว่า

เธอแสดงผลที่นี่ในช่วงสถาบันประสาทวิทยาอเมริกัน (AAN) 2016 การประชุมประจำปี EXIST-3 ได้รับการสนับสนุนโดย Novatis

การศึกษารวม 366 ผู้ป่วยที่มี TSC กับอายุเฉลี่ย 10 ปี (ช่วง 2-65 ปี) พวกเขาจะต้องมีอย่างน้อย 16 ชักรักษาทนและได้รับ 1-3 ยากันชัก (เครื่อง AED) ในปริมาณที่มีเสถียรภาพ ในประมาณครึ่งหนึ่งของผู้ป่วย, 6 หรือมากกว่าเครื่อง AED ล้มเหลวก่อนที่จะลงทะเบียนเรียน

มีผู้ป่วยหลายคนยังพยายามวิธีการรักษาอื่น ๆ รวมทั้งไขมันสูงคาร์โบไฮเดรตต่ำอาหาร ketogenic และการกระตุ้นเส้นประสาทเวกั

โดยรวมเฉลี่ยความถี่ยึดพื้นฐานต่อ 28 วันเป็น 37.5 การศึกษาไม่ได้ จำกัด ชนิดของการชักดังนั้นผู้ป่วยที่มียาชูกำลังคลินิก, atonic, clonic, myoclonic และหลายประเภทยึดอื่น ๆ

หลังจาก 8 สัปดาห์เฟสพื้นฐานผู้ป่วยถูกสุ่มให้ได้รับนอกเหนือไปจากเครื่อง AED ของพวกเขาได้รับยาหลอกลดลงยา everolimus (3-7 นาโนกรัม / มิลลิลิตร) หรือสูงกว่ายา everolimus (9-15 ng / มิลลิลิตร)

หลังจากขั้นตอนการไตเตรท 6 สัปดาห์ผู้ป่วยเสร็จสิ้นขั้นตอนการบำรุงรักษา 12 สัปดาห์

อัตราการออกกลางคันตลอดการพิจารณาคดี “ที่ด้านล่างเมื่อเทียบกับการทดลอง AED อื่น ๆ ” ตามที่ดรฝรั่งเศส; เพียง 5 ในกลุ่มยาหลอก 7 ในกลุ่มรักษาขนาดต่ำและ 8 ในการรักษากลุ่มการรักษาสูงกว่าปริมาณที่ยกเลิก

Depression in patients with epilepsy: how could neurologists, psychiatrists and neurosurgeons co-work and how much do Asian colleagues acknowledge it?

ilae

Depression in patients with epilepsy: how could neurologists, psychiatrists and neurosurgeons co-work and how much do Asian colleagues acknowledge it?

Date: October 9-10th, 2016 Venue: Aichi, Japan

On behalf of the ILAE Neuropsychiatry Commission, we are pleased to invite you to attend the conference

“Depression in patients with epilepsy: how could neurologists, psychiatrists and neurosurgeons co-work and how much do Asian colleagues acknowledge it?”. The event will be held in Aichi, October 9-10, 2016. This meeting offers Japanese physicians and surgeons treating patients with seizures a unique opportunity to meet Japanese and international experts on depression in patients with epilepsy. It aims to disseminate recent insights into the epidemiology, pathogenesis, impact, diagnosis, and best treatment of this common co-morbid condition in patients with epilepsy and bridge gaps between psychiatrists and epileptologists without psychiatric training. Every medical staffs and students who are interested in this topic, including participant of the Annual Meeting of the Japanese Epilepsy Society who is interested in this topic is welcome to come to the symposium without charge.

9th Sunday

14:00-14:05 Opening remarks. Kousuke Kanemoto (Japan)
14:05-14:10 Welcome speech by guest of honor. Yozo Miyake (Japan, President of Aichi Medical University) 14:10-14:35 Epidemiology of comorbid depression in patients with epilepsy (including bidirectional relationship between epilepsy and depression). Andres Miguel Kanner (U.S.A)
14:35-15:00 Depression in epilepsy: why should neurologists care? Alice Yu (Taiwan)
15:00-15:25 Neurobiological aspects of mood disorders: do they explain the high comorbidity of depression and epilepsy? Masumi Ito (Japan)

Coffee break 15:25-15:35

15:35-16:00 Can psychiatric adverse events of AEDs be anticipated when a past and /or family history of mood disorders are identified at the time of the initial evaluation of the seizure disorder? Kousuke Kanemoto (Japan)

16:00-16:25 What is the impact of depression on seizure, psychosocial issues and behavioral problems? Sung-Pa Park (South Korea)

16:25-16:50 Can neurologists identify patients with depressive and anxiety disorders in their outpatient clinic?

Aileen MacGonigal (France)
16:50-17:15 When should patients be referred to psychiatrists? Riki Matsumoto (Japan)

17:15-17:40 Do antidepressant drugs worsen or improve epileptic seizures? Pro and Con Debate. Andres Miguel Kanner (USA)and Kousuke Kanemoto(Japan)
17:40-18:05 Depression in patients with epilepsy in Japan. Go Taniguchi (Japan)

10th Monday

9:00-9:20 Depression before and after epilepsy surgery. Takuji Nishida (Japan)
9:20-9:40 Depression in patients with epilepsy in Korea. Oh-Young Kwon (South Korea) 9:40-10:00 Depression in patients with epilepsy in China. Zhou Dong(China)

10:00-10:20 Depression in patients with epilepsy in Thailand. Yotin Chinvarun (Thailand)

10:20-10:40 Depression in patients with epilepsy in Taiwan. Alice Yu (Taiwan) 10:40-11:10 Overall discussion. Sung-Pa Park (South Korea)
11:10-11:20 Closing remarks. Andres Miguel Kanner (USA)Professor of Clinical Neurology, Director of International Comprehensive Epilepsy Center, Chair of Epilepsy Division, University of Miami

Sleep News letters: How to use fixed CPAP

 Sleep newsletters
Sleep watching ASEAN SLEEP TECHNOLOGY NEWSLETTER NEWS / OPINIONS / INSIGHTS (Download Sleep Newsletter)

DR. YOTIN CHINVARUN MD, PhD
Vice-president of Epilepsy Society of Thailand, Director of Comprehensive Epilepsy and Sleep Disorder Program, Phramongkutklao Hospital, Director of Sleep club, The Neurological society of Thailand

Interview with Dr. Yotin Chinvarun on prescribing fixed CPAP

What are the different ways of finding the right pressure to set on fixed CPAP for OSA patient?
CPAP Titration can be done at home using Auto CPAP (APAP) which is called APAP titration or at the Sleep Laboratory which is called manual titration.

Do you use auto CPAP for finding the right pressure of fixed CPAP? If yes, what is the trial period for auto CPAP before pressure is set on fixed CPAP?
Yes, we use auto CPAP for finding the right pressure of fixed CPAP, called APAP titration and usually we give a trial period of One week for APAP titration.

How do you determine the pressure to be set on fixed CPAP based on auto CPAP report?
In my practice I determine fixed CPAP pressure based on auto titration by identifying the minimal effective pressure level (reference pressure). This is referred to as P90(Philips Respironics)/P95(Resmed). I look at P90/P95 after one week trial of Auto CPAP and set P90/P95 as therapy pressure on fixed CPAP. Different devices may utilize di erent algorithms for monitoring respiratory events.

Does pressure requirements changes on fixed CPAP for OSA patient over period of time? What is the finding of the recent study in this regard?
Yes, pressure changes are necessary in the majority of patients several weeks after CPAP therapy initiation. Therefore, re-evaluation of therapy pressure is useful.

A prospectively study by Netzer NC etal., 2011, in 905 consecutive patients (740 men and 165 women) with SDB and therapeutic intervention with continuous positive airway pressure (CPAP)/bilevel PAP showed pressure change needed in 511 patients (58.2%). Pressure increase was more frequent than pressure reduction (41.7% vs. 11.7%).1

If patient is unable to tolerate starting fixed CPAP pressure, do you use RAMP function to help him adapt to starting pressure on fixed CPAP?
Yes. The RAMP function on CPAP allows a slow increase in airway pressure from a low setting to the prescribed pressure so that the patient can fall asleep at lower pressures.

What is the setting of RAMP pressure and RAMP time? Can respiratory events happen during RAMP time?

In our experience a short RAMP time may be better than a long one. Usually we can set RAMP pressure of 4cmH2O and RAMP time will depend upon sleep latency of the patient eg: if he/she takes 15 min to fall asleep, set RAMP time of 15min. In my experience, if patient falls asleep during RAMP time itself, then there is a possibility of respiratory events happening during RAMP time period.

If patient is unable to tolerate starting xed CPAP pressure, do you lower the xed CPAP pressure initially and then gradually increase it towards the therapy pressure to help patient adapt to xed CPAP pressure?

Yes, if patient is unable to tolerate starting xed CPAP pressure, we lower the xed CPAP pressure initially and then gradually increase it towards the therapy pressure to help patient adapt to xed CPAP pressure.

If answer to question-7 is yes, how long do you take to go back to therapy pressure?

I take 2-4 weeks to go back to therapy pressure after lowering the pressure. Eg: let us assume a patient is prescribed a xed CPAP at 10cmH2O and he/she cannot tolerate 10cmH2O. I will lower the pressure to 6cmH20 and call him after 1 week. If he can tolerate 6cmH2O, I will increase pressure by 1cmH2O and wait for one more week. The new pressure now is 7cmH2O. If he can tolerate 7cmH2O, I will increase pressure by 1cmH2O (New pressure is 8cmH2O) and wait for one week. If he/she can tolerate 8cmH2O, I will increase pressure by 1cmH2O (new pressure become 9cmH2O) and wait for one week. If patient can tolerate 9cmH2O, I will increase pressure by 1cmH2O (new pressure becomes 10cmH2O) and wait for one week for follow up.

References: 1. Netzer NC et al. Sleep Breath (2011) 15:107–112.

Summary of Clinical Studies on OSA from Thailand January-June 2016 (Download)

Sleep newsletters

The prevalence of sleep disorders in Thai

The prevalence of sleep disorders in Thai children who underwent polysomnography at a tertiary-care hospital is very high. In restrospective, analysis of 166 pediatric sleep studies done in a tertiary care hospital in Thailand, OSA was the most common diagnosis with prevalence of 92.2%. the second most common diagnosis was Periodic Limb Movement Disorder with a prevalence of 20.6%.

Even in tropical climate area, CPAP adherence and quality of life appeared to improve when heated humidi cation was employed in subjects with moderate to severe OSA with nasopharyngeal symptoms post-split-night polysomnography. In a prospective randomized cross over study, 20 moderate to severe OSA patients were randomized to receive CPAP with and without humi dication and observed for 4 weeks and then crossed over. Informtion on CPAP adherence, quality of life assessed by the Functional Outcomes of Sleep Questionnaire, nasopharyngeal symptoms assessed by a modi ed XERO questionnaire, and bedroom ambient humidity and temperature data were obtained.

In 42 OSA induced hypertension patients, the appropriate cuto points of BMI and neck circumference for Thai STOP-BANG questionnaire were 25kg/m(2) and 36cm.

In a prospective cohort study in Thai pregnant women, pregnant women with a high risk of OSA as assessed by Berlin Questionnaire were at an increased risk of having Pre-Term Delivery, compare with pregnant women with a low risk of OSA.4

References:

1. Veeravigrom M etal. Indian J Pediatr. 2016 May 26.

2. Soudorn C etal. Respir Care. 2016 May 24.

3. Pavarangkul T etal. Neurol Int. 2016 Apr 1;8(1):6104.

4. Na-Rungsri K etal. Sleep Breath. 2016 Apr 8.

อุปกรณ์ที่ผู้ป่วยสวมใส่ในการตรวจวัดความผิดปกติของสมอง (Wearing the detectives)

อุปกรณ์ที่ผู้ป่วยสวมใส่ในการตรวจวัดความผิดปกติของสมอง (Wearing the detectives)

โดย พ.อ.ดร.น.พ.โยธิน  ชินวลัญช์

Thai smart watch Smartwatchวิสแบนด์ สมาร์ทวอทช์ และเครื่องมือในการตรวจวัดอาการชักและความผิดปกติของประสาทวิทยาเป็นเครื่องมือที่อาจจะมีความแม่นยำใช้ในการตรวจวัดและช่วยในการรักษาผู้ป่วยที่มีความผิดปกติทางสมอง ถ้าหากว่านาฬิกาข้อมือที่คุณใส่อยู่สามารถที่จะเตือนว่าจะมีอาการชักที่เกิดขึ้นและทำให้ผู้ป่วยสามารถที่จะเข้าไปอยู่ในบริเวณที่ปลอดภัยหรือหาคนช่วย หรือวิทย์แบนที่สามารถบอกอาการที่เป็นมากขึ้นของโรคปาร์กินสันจะทำให้แพทย์สามารถวางแผนการรักษาได้ สิ่งเหล่านี้เป็นเหมือนในนิยายวิทยาศาสตร์ที่ปัจจุบันได้เป็นจริงแล้วในการใช้ตรวจวัดดูผู้ป่วยและผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงทางประสาทวิทยา การใช้อุปกรณ์ที่สวมใส่ในการตรวจวัดและสามารถให้การเตือนเมื่อผู้ป่วยมีความผิดปกติ ที่เกิดขึ้น จะไม่เหมือนกับวิธีการเก่าฯที่จะต้องมีการจดบันทึก เช่น ในสมุดบันทึกอาการชักในปฏิทิน ในวิทย์แบนและในโทรศัพท์มือถือ app สามารถที่จะบันบันทึกอาการที่เป็นได้ทันทีในขณะนั้นทำให้ได้ข้อมูลที่เป็นละเอียดและถูกต้องในวันนั้นฯ ข้อมูลที่ได้ก็จะเป็นข้อมูลที่ถูกต้อง ข้อมูลเหล่านี้ที่ถูกต้องอาจจะเป็นข้อมูลที่สามารถใช้เป็นการเตือนผู้ป่วยว่าจะเกิดเหตุการณ์ผิดปกติที่จะเกิดขึ้น

อุปกรณ์รุ่นแรกได้มีการพัฒนาเพื่อจะได้ผู้ป่วยโรคลมชักโดยเป็นระบบที่จะมีอาการเตือนให้คนข้างเคียงหรือคนในครอบครัวทราบว่าผู้ป่วยจะมีการอาการชักที่เกิดขึ้น ปัจจุบันเครื่องมือได้มีการพัฒนาที่ซับซ้อนมากขึ้นสามารถที่จะบันทึกอาการชักจากการเปลี่ยนแปลงในอิริยาบถการเดินและอาการอื่นๆที่เกิดขึ้นก่อนจะเกิดอาการชัก

การใช้อุปกรณ์เหล่านี้ในการรักษาผู้ป่วยโรคลมชัก

ผู้ป่วยโรคลมชักโดยปรกติแล้วจะมาติดตามการรักษากับแพทย์ทุกๆ 1- 3 เดือน ถ้าผู้ป่วยมีอาการที่แย่ลงหรือมีอาการชักที่มากขึ้นแพทย์มักจะมีการปรับยาเพื่อคุมอาการชักดังนั้นถ้ามีอุปกรณ์เหล่านี้ในการบันทึกวัดจำนวนของอาการชักจะทำให้การรักษามีประสิทธิภาพที่ดีขึ้อุปกรณ์เหล่านี้จะให้ข้อมูลที่แม่นยำดีกว่าที่บ่งบอกว่าผู้ป่วยมีอาการชักมากน้อยแค่ไหนและแพทย์ก็จะทราบว่ายาตัวไหนที่จะเหมาะกับผู้ป่วยในรายนั้น ปัจจุบันได้มีการพัฒนาซอฟต์แวร์ในเมืองไทยใช้เองแล้วและมีการใช้ที่หน่วยโรคลมชัก ร.พ.พระมงกุฏเกล้า ชึ่งสามารถดาวน์โหลดได้จากเครื่องมือถือที่ใช้ระบบแอนดรอยด์และ

Seizure calendar 4ในอนาคตอันใกล้ก็สามารถใช้ในระบบ iPhone ได้ ในซอฟต์แวร์ระบบนี้ผู้ป่วยสามารถที่จะบันSeizure calendarทึกอาการชักในขณะนั้นในแต่ละวันรวมทั้งอาการผิดปกติหรือผลข้างเคียงจากยาที่เกิดขึ้น ในโทรศัพท์มือถือและข้อมูลเหล่านี้ก็จะส่งเข้าไปที่ Server ซึ่งจะเชื่อมโยงโดยตรงกับข้อมูลของผู้ป่วยในระบบข้อมูลของแพทย์ในทันทีทำให้แพทย์สามารถให้การรักษาหรือแก้ไขภาวะที่เกิดขึ้นได้ทันที นอกจากนี้ระบบนี้ยังมีการเชื่อมโยงไปถึงระบบฐานข้อมูลทำให้แพทย์ทราบถึงความเป็นไปของผู้ป่วยทำให้การรักษามีประสิทธิภาพดีขึ้นนอกจากนี้ระบบนี้ยังมีการเชื่อมโยง ไปยังระบบโซเชียลเน็ตเวิร์ค แช่น facebook, twitter เป็นต้นทำให้ผู้ป่วยสามารถที่จะสื่อสารระหว่างผู้ป่วยด้วยกันเองและแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้ดีขึ้น

Seizure calendar 3Seizure calendar 2

อุปกรณ์เหล่านี้จะสามารถบันทึกอาการชักที่เกิดขึ้นได้ทั้งในขณะตื่นและขณะนอนหลับ โดยบันทึกการเคลื่อนไหวของแขนขาในขณะที่ผู้ป่วยมีอาการชัก ต่อมาในการพัฒนาการของเครื่องมือก็สามารถที่จะบันทึกถึงอาการชักแบบอื่นๆด้วยโดยที่เครื่องมือที่สามารถวัดการเปลี่ยนแปลงความชื้นของผิวหนังซึ่งสะท้อนถึงการเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟฟ้าสมองของผู้ป่วยที่มีอาการชักแบบเหม่อลอย ที่มักจะชักอยู่นานประมาณ 2 นาทีรวมทั้งผู้ป่วยจะมีอาการส่งเสียงหรือเคลื่อนไหวเล็กน้อยและรวมทั้งบันทึกการเปลี่ยนแปลงของการเต้นของหัวใจ ซึ่งเรามักจะพบว่าหัวใจมักจะมีการเปลี่ยนแปลงที่เต้นเร็วขึ้นในขณะที่มีอาการชัก นอกจากนี้อุปกรณ์เสริมเช่นการวางขั้วไฟฟ้าที่บริเวณศีรษะเพื่อบันทึกคลื่นไฟฟ้าสมองโดยตรง โดยมีการประดิษฐ์อุปกรณ์ที่สามารถสวมใส่ได้สะดวกโดยที่มีขั้วไฟฟ้าที่บันทึกคลื่นไฟฟ้าลมองจากศรีษะโดยตรง

อุปกรณ์การตรวจวัดอาการทางระบบการเคลื่อนไหวของผู้ป่วยที่เป็นโรค Multiple sclerosis

ในปีที่แล้ว บริษัทไบโอเจน เป็นบริษัทที่ผลิตอุปกรณ์ในการรักษาผู้ป่วยโรคนี้ได้ ร่วมมือกับบริษัท Google-X ในการศึกษาการใช้วิทย์แบนฟิคบิดในการติดตามการเคลื่อนไหวของผู้ป่วยเพื่อดูคุณภาพของการเดินและการเคลื่อนไหวของผู้ป่วยเพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงในผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้ ในปีที่แล้วได้มีการแจกอุปกรณนี้ให้แก่ผู้ป่วยที่เป็นโรค multiple sclerosis 250 รายเพื่อติดตามดูการเคลื่อนไหวการนอนหลับ นอกจากนี้มีการพัฒนาตัวซอฟต์แวร์ ใน iPad  ที่สามารถที่จะบันทึกการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ แต่อย่างไรก็ตามตัววิทย์แบนด์นี้ยังไม่ซับซ้อนเพียงพอในการที่จะบันทึกแยกรูปแบบการเคลื่อนไหวผู้ป่วยคงต้องจะมีการพัฒนาต่อไป จากผลการศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสาร journal of bio-medical materials and engineering โดยการใช้อุปกรณ์ ที่ติดที่ส้นรองเท้าในผู้ป่วย multiple sclerosis 8 ราย เปรียบเทียบกับผู้ป่วยปกติ 6 ราย เพื่อดูการเปลี่ยนแปลงของการเคลื่อนไหวและการเดิน จากการศึกษาพบว่ามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญในผู้ป่วยเกี่ยวกับเรื่องการเดินเปรียบเทียบกับคนปกติ อุปกรณ์นี้จะใช้ในการศึกษาภาวะการทดถอยของการเดินในผู้ป่วยโรคได้ นอกจากนี้มีการนำอุปกรณ์นี้ไปศึกษาในผู้ป่วยที่เป็นโรคกล้ามเนื้อ muscular dystrophy เพื่อดูการเปลี่ยนแปลงของอาการของตัวโรคและช่วยทำให้แพทย์เข้าใจในการรักษาผู้ป่วยและการปรับยา ให้กับผู้ป่วย

ในการศึกษาปี 2014 ตีพิมพ์ในวารสาร Journal of Visualized Experiments ในการศึกษาโดยใช้ iPad ติดในหลังของผู้ป่วยมีการตรวจวัดความจำของสมองหรือการตรวจ cognitive performance test เพื่อจะช่วยในการวัดความผิดปกติของผู้ป่วยmultiple sclerosis เปรียบเทียบ อาการทดถอยของการเคลื่อนไหวของป่วย เปรียบเทียบกับกลไกของเรื่องความจำของสมอง คือตั้งใจเอาอุปกรณ์มาติดในผู้ป่วยเพื่อวัดความยืดหยุ่นของร่างกาย วิธีการตรวจเหล่านี้คงได้มีการพัฒนาเพื่อไปใช้ในการตรวจวัดการเคลื่อนไหวของผู้ป่วยวัดความเร็วของการเดินการทรงตัวและความยืดหยุ่นของร่างกายในผู้ป่วยที่เป็นโรค multiple sclerosis ซึ่งจะทำให้แพทย์เข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงและการของโลกที่มากขึ้นและจะได้มีปั่นปรับเปลี่ยนการรักษาเพื่อช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

อุปกรณ์ที่สวมใส่ในผู้ป่วยโรคปาร์กินสัน                 

เมื่อเร็วๆนี้นักวิจัยในประเทศอิสราเอล ได้ร่วมมือกับมูลนิธิ Michael J Fox ได้มีการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ที่สามารถที่จะวิเคราะห์อาการเคลื่อนไหวต่างๆ 300 อิริยาบถ ในแต่ละวันของป่วยโรคปาร์กินสัน ข้อมูลจะถูกเก็บมาจากอุปกรณ์สมาร์ทวอทช์ซึ่งเชื่อมต่อกับสมาร์ทโฟนเพื่อใช้วิธีการวิเคราะห์และสังเกตเช่นผู้ป่วย ลุกจากเก้าอี้ได้ยากง่ายแค่ไหน ลุกจากเตียงหรือยกสิ่งของ การเปิดขวด การใช้อุปกรณ์เครื่องครัวในบ้าน ข้อมูลเหล่านี้จะช่วยทำให้แพทย์ใช้ในการวิเคราะห์อาการความรุนแรงของผู้ป่วยได้อย่าง มีประสิทธิภาพ  ถึงแม้ว่าในขณะนี้จะมีจำนวนผู้ป่วยไม่มากนักที่ใช้อุปกรณ์เหล่านี้ได้ แต่ในอนาคตอันใกล้จะมีการใช้ของอุปกรณ์ในจำนวนที่มากขึ้น แม้กระทั่งบริษัท Apple ได้มีการพัฒนาซอฟต์แวร์ที่ใช้ใน iPhone เรียกว่า Parkinson mPower จะเก็บข้อมูลของผู้ป่วยโรคปาร์กินสัน software ตัวนี้สามารถที่จะวัดความยืดหยุ่นของผู้ป่วยโดยการวัดดูว่าผู้ป่วยสามารถที่จะพิมพ์ได้เร็วมากน้อยขนาดไหน ผู้ป่วยสามารถบันทึกเสียงในแต่ละวันที่จะช่วยทำให้นักวิจัยสามารถดูการเปลี่ยนแปลงเรื่องของการสั่น ที่จะบ่งบอกถึงอาการเปลี่ยนแปลงของผู้ป่วย โดยการใช้ การเชื่อมต่อ iPhone กับที่พี่เอสทำให้ทราบถึงการเคลื่อนไหวและความเร็วของการเคลื่อนไหวของผู้ป่วย และยังสามารถที่จะวัดการทรงตัว Software ตัวนี้สามารถที่จะดาวน์โหลดจาก Apple store

The Biostamp

Biostamp

อุปกรณ์นี้เป็นเหมือนแผ่นเทปเล็กๆขนาดเท่าแสตมป์ที่สามารถติดที่ผิวหนัง ใตยพลาสเตอร์แบนด์เอดอุปกรณ์นี้พัฒนาโดย โดย MC10 โดยมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ในอุปกรณ์นี้จะมีเซ็นเซอร์เล็กๆที่จะเก็บข้อมูลของการเคลื่อนไหวและกิจกรรมในสมองและกล้ามเนื้อและจะส่งข้อมูลแบบไร้สายเข้าไปในสมาร์ทวอทช์ ในขณะนี้ได้มีการพัฒนาเครื่องมือนี้มาใช้ในผู้ป่วยโรคลมชักและโรคทางสมองอื่น เชื่อว่าจะได้เอามาใช้ในการดูการเปลี่ยนแปลงของตัวโรคและช่วยในการรักษาผู้ป่วยในอนาคตอันใก้ล

Embrace

Embrace

ตอนนี้เป็นสมาร์ทวอทช์ที่ผู้ป่วยจะสวมใส่แล้วก็ชนิดกันตรวจวัดอาการชักในสมองโดยใช้หลักการบันทึกการเปลี่ยนแปลงของกระแสฟ้าในบริเวณผิวหนังหรืออุปกรณ์สามารถตรวจจับว่ามีคลื่นไฟฟ้าที่เป็น เริ่มต้นก่อนจะเกิดการชักเกิดขึ้น เครื่องก็จะส่งสัญญาณไปเตือนให้ผู้สวมใส่ว่าจะมีการชักจะเกิดขึ้น จะได้เป็นการป้องกันหรือเตรียมตัวก่อนจะเกิดอาการชักเกิดขึ้น แต่ในปัจจุบันเครื่องมือชนิดนี้สามารถบันทึกโดยเฉพาะ อาการชักที่มีการเคลื่อนไหวที่เป็นบอกว่าเป็นอาการชักแต่ยังไม่สามารถบันทึกการชักแบบเหม่อลอยหรือ absence ได้แต่การวิจัยยังดำเนินต่อไปเพื่อที่เครื่องมือชนิดนี้สามารถที่จะตรวจวัดอาการชักแบบเหม่อลอยได้ ถ้าผู้ป่วยมีอาการ automatisms เช่น เคี้ยวปาก (chewing) ขยับแขนไปมา (fumbling) หรือเดินไปมาขณะมีอาการชัก (wandering)

Brain Sentinel

Sentinel

อุปกรณ์ชนิดนี้ใช้หลักการโดยการใช้ขั้ว ไฟฟ้ายึดติดกับการ กล้ามเนื้อ bicep  เพื่อจะตรวจวัดในการ เคลื่อนไหวของของแขน เวลามีอาการ ชักแบบ tonic-clinic seizure อุปกรณ์นี้จะช่วยในการตรวจวัดอาการชักที่มีจุดกำเนิดในส่วนของสมอง motor cortex หรือมีการกระจายของไฟฟ้าสมองมากที่ส่วนนี้ อุปกรณ์นี้ไม่สามารถตรวจวัดอาการชักที่เป็นชนิดชักแบบเหม่อลอยได้

Seizalarm

Seizalarm

เป็นแอพที่ใช้ใน iwatch และ iPhone ใช้ในการส่งข้อมูลข้อความช่วยเหลือเมื่อ มีอาการเตือนจะเกิดอาการชัก นอกจากนี้มีฟังก์ชัน ที่ช่วยบันทึกจำนวนของการชัก ผู้ป่วยสามารถที่จะตั้งค่าให้มีการส่งข้อมูลช้าลงในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการเตือนอย่างเดียวและผู้ป่วยสามารถที่จะระงับการส่งข้อมูลได้ถ้าไม่มีอาการชักแบบไม่รู้ตัว แต่ถ้าไม่มีระงับการส่งข้อมูลนั้นแสดงว่าแสดงว่าผู้ป่วยมีอาการไม่รู้ตัวไปแล้ว การส่งข้อมูลสามารถส่งเป็นข้อความอีเมลและทางโทรศัพท์โดยสัมพันธ์กับตำแหน่ง GPS การใช้บริการแอพนี้สามารถดาวน์โหลดได้ฟรีแต่ใช้ได้ในเวลาจำกัดหลังจากนั้นแล้วจะต้องมีค่าเสียค่าใช้จ่ายเป็นรายเดือน ในอนาคตอาจจะมีการพัฒนา Seizalarm สามารถบันทึกอาการชักที่แบบชนิดเกร็งกระตุกได้

Smartwatch

Smartwatch

อุปกรณ์การพัฒนาครั้งแรกในปี 2012 ใน San Jose, California, U.S.A. อุปกรณ์นี้จะช่วยเตือน ผู้ป่วย และผู้ดูแลว่าผู้ป่วยมีอาการชัก ส่วนใหญ่อุปกรณ์นี้จะใช้ในผู้ป่วยโรคลมชักที่มีอายุน้อยกว่า 20 ปีพบว่าช่วยในการบันทึกอาการชักในขณะนอนหลับ อุปกรณ์นี้ก็ยังอยู่ในช่วงขออนุญาตจาก FDA ในประเทศ สหรัฐอเมริกา ราคาค่าอุปกรณ์จะตกอยู่ประมาณ 149 US dollar และมีค่าใช้จ่ายรายเดือนตกประมาณ 20 เหรียญต่อเดือน แต่ถ้ามีการบันทึกลงใน GPS และมีการเตือนเรื่องการทานยาด้วยมีราคาประมาณ 199 เหรียญและค่าสมาชิกรายเดือนประมาณ 30 เหรียญต่อเดือน

จะเห็นได้ว่าอุปกรณ์เหล่านี้ถ้าจะเอามาใช้ในผู้ป่วยโรคลมชักในประเทศไทยจะมีค่าใช้จ่ายที่มากพอสมควรอาจจะทำให้ผู้ป่วยโรคลมชักส่วนใหญ่ไม่สามารถที่จะซื้อหาหรือใช้อุปกรณ์เหล่านี้ได้ดังนั้น หน่วยโรคลมชักโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ได้ร่วมมือกับศูนย์เทคโนโลยี NECTEC พัฒนาอุปกรณ์ Thai Smart watch เพื่อเป็นอุปกรณ์ในการตรวจวัดอาการชักชนิดแบบเกร็งกระตุกหรือแบบเหม่อลอย โดยในขณะนี้ได้มีการเอาอุปกรณ์เครื่องมือมาใช้ในผู้ป่วยโรคลมชักบ้างแล้ว

Thai smart watch

ในอนาคตอันใกล้การใช้อุปกรณ์ที่สวมใส่ในผู้ป่วยในการตรวจวัดอาการชักที่เกิดขึ้นจะมีการนำไปร่วมกับอุปกรณ์ที่ใช้ในการรักษาที่จะยับยั้งอาการชักไม่ให้เกิดขึ้น เช่น อุปกรณ์การตรวจวัดอาการชักอาจจะมีการทำงานร่วมกันกับอุปกรณ์ที่จะส่งกระแสไฟฟ้าไปที่สมองไปยับยั้งอาการชักหรืออาจจะทำงานร่วมกันกับอุปกรณ์ที่จะให้ยาเข้าไปผู้ป่วยเพื่อยับยั้งอาการชักที่จะเกิดขึ้น ในส่วนของผู้ป่วยเองการที่ผู้ป่วยทราบว่าอาการชักกำลังจะเกิดขึ้นจะทำให้ผู้ป่วยสามารถที่จะเตรียมตัวเองเพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายที่จะเกิดจากอาการชักได้