Category Archives: Dementia

ความเหงา ซึมเศร้า เมื่อเข้าสู่วัยชรา

พลโท.ดร.นพ.โยธิน. ชินวลัญช์

การแก่ชราเป็นขบวนการที่เริ่มต้นด้วยชีวิตและดำเนินต่อไปตลอดวงจรชีวิตของมนุษย์ซึ่งแสดงถึงช่วงปลายของชีวิต ช่วงเวลาที่บุคคลมองย้อนกลับไปในชีวิตที่ผ่านมา ใช้ชีวิตบนความสำเร็จในอดีต และเริ่มสิ้นสุดเส้นทางชีวิตของตนเอง การปรับตัวให้เข้ากับความเปลี่ยนแปลงที่มาพร้อมกับวัยชรานั้น แต่ละคนต้องมีความยืดหยุ่นและพัฒนาทักษะการเผชิญกับปัญหาใหม่ๆ เพื่อปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงที่มักเกิดขึ้นในช่วงนี้ของชีวิต

มีหลักฐานจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ที่บ่งชี้ให้เห็นว่าปัจจัยทางจิตวิทยาและสังคมวิทยามีอิทธิพลอย่างมากต่ออายุของแต่ละคน การวิจัยเรื่องการสูงวัยได้แสดงให้เห็นความสัมพันธ์เชิงบวกของความเชื่อทาง ศาสนา ความสัมพันธ์ทางด้านสังคม สุขภาพ การรับรู้ความสามารถของตนเอง สถานะทางเศรษฐกิจและสังคม และทักษะการเผชิญปัญหา ตลอดจนความสามารถในการปรับตัวในช่วงอายุที่มากขึ้น

อาการซึมเศร้าหรืออาการซึมเศร้าเป็นอาการที่เห็นได้เด่นชัดขึ้นในกลุ่มผู้สูงอายุ โดยส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิต การศึกษาจำนวนมากแสดงให้เห็นว่าความชุกของอาการซึมเศร้าเพิ่มขึ้นตามอายุ อาการซึมเศร้าไม่เพียงเป็นตัวชี้วัดความสุขทางจิตใจ แต่ยังเป็นที่รู้จักในฐานะตัวทำนายที่สำคัญของสุขภาพ การทำงาน และอายุที่ยืนยาวด้วย การศึกษาระยะยาวแสดงให้เห็นว่าอาการซึมเศร้าที่เพิ่มขึ้นมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญกับความยากลำบากที่เพิ่มขึ้นในการดำเนินกิจกรรมในชีวิตประจำวัน ข้อมูลจากากรศึกษาในชุมชนระบุว่าผู้สูงอายุที่มีโรคซึมเศร้ามีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังมีการศึกษาที่บ่งชี้ว่าโรคซึมเศร้าอาจสัมพันธ์กับการความจำที่ลดลง

แม้ว่ายังมีความเชื่อที่ว่าภาวะซึมเศร้าเหมือนกันกับความชราและภาวะซึมเศร้าเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ก็มีงานวิจัยเมื่อเร็วๆ นี้ซึ่งค้านกับความคิดที่ว่าภาวะซึมเศร้าเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้  แต่ในทางตรงข้ามอาการซึมเศร้ามีสาเหตุมาจากปัญหาทางสังคม ร่างกาย และจิตใจ ซึ่งปัญหาเหล่านี้มักเกิดขึ้นในวัยสูงอายุ ทำให้เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคซึมเศร้า แต่ว่าภาวะซึมเศร้าไม่ใช่เป็นผลของปัญหาเหล่านี้โดยตรง จากการศึกษาพบว่าอายุไม่ได้สัมพันธ์กับการก่อให้เกิดภาวะซึมเศร้าอย่างมีนัยสำคัญเสมอไป พบว่าคนชราที่อายุมากที่สุดอาจมีทักษะในการจัดการกับภาวะซึมเศร้าได้ดีขึ้น แม้ว่าอุบัติการณ์ของอาการซึมเศร้าจะพบได้บ่อยขึ้นในคนสูงอายุแต่อาการก็ไม่รุนแรงเท่ากับในประชากรที่อายุน้อยกว่า

เมื่อภาวะซึมเศร้าเกิดขึ้นครั้งแรกในชีวิต มีแนวโน้มที่จะมีผลจาก ปัจจัยทางพันธุกรรม บุคลิกภาพ และประสบการณ์ชีวิตที่จะมีผลให้เกิดภาวะซึมเศร้า ภาวะซึมเศร้าที่เกิดขึ้นครั้งแรกในชีวิตในวัยชรามีแนวโน้มที่จะสัมพันธ์กับปัญหาสุขภาพร่างกาย ผู้สูงอายุที่มีสุขภาพร่างกายดีมีความเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้าค่อนข้างต่ำ สุขภาพกายเป็นสาเหตุสำคัญของภาวะซึมเศร้าในช่วงปลายชีวิต มีเหตุผลหลายประการ ซึ่งรวมถึงผลกระทบทางจิตวิทยาของการเจ็บป่วยและผลจากการมีภาวะทุพพลภาพ ผลกระทบของความเจ็บปวดเรื้อรัง ผลกระทบสภาวะเจ็บป่วย หรือผลจากยาบางชนิดที่อาจก่อให้เกิดภาวะซึมเศร้าโดยอาจจะมีผลกระทบต่อสมองโดยตรง นอกจากนี้ข้อจำกัดทางสังคมที่เป็นผลจากเจ็บป่วยมีผลกระทบกับการดำเนินชีวิตของผู้สูงอายุ ส่งผลให้เกิดความโดดเดี่ยวและก่อให้เกิดความเหงาตามมา และมีข้อบ่งชี้อย่างชัดเจนว่าภาวะซึมเศร้าเพิ่มความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้อย่างมาก ส่วนใหญ่เกิดจากสาเหตุที่ผิดธรรมชาติและจากโรคหัวใจและหลอดเลือด 

ความเหงาเป็นความรู้สึกส่วนตัวและเชิงลบที่เกี่ยวข้องกับประสบการณ์ของบุคคลที่มีความสัมพันธ์ทางสังคมที่บกพร่อง ตัวกำหนดของความเหงามักถูกกำหนดบนพื้นฐานจากสาเหตุ 2 อย่างคือ จากปัจจัยภายนอก เช่น การมีกิจกรรมทางสังคมที่ลดลง เป็นต้น และผลจากปัจจัยภายในตนเอง เช่น จากลักษณะของบุคลิกภาพและปัจจัยทางด้านจิตวิทยา

ความเหงาอาจนำไปสู่ผลกระทบด้านสุขภาพที่ร้ายแรง เป็นหนึ่งใน 3 ปัจจัยหลักที่นำไปสู่ภาวะซึมเศร้า และเป็นสาเหตุสำคัญของการฆ่าตัวตายและการพยายามฆ่าตัวตาย การศึกษาพบว่าความเหงามีความเกี่ยวข้องกับการปรับตัวทางจิตใจที่ไม่ดี ความไม่พอใจกับชีวิตครอบครัวและความปัญหาทางด้านความสัมพันธ์ทางสังคม

เมื่อคนเราแก่ตัวลง โอกาสที่จะประสบกับความสูญเสียที่เกี่ยวข้องกับอายุก็เพิ่มขึ้น ความสูญเสียดังกล่าวมีผลกระทบต่อการที่ไม่สามารถคงสัมพันธภาพเหมือนเก่าไว้ได้ ส่งผลให้เกิดความเหงามากขึ้น หลายคนประสบกับความเหงาอันเป็นผลมาจากการอยู่คนเดียว ขาดความสัมพันธ์กับคนในครอบครัวที่ใกล้ชิด การลดลงของความสัมพันธ์กับสิ่งที่ทำมาเป็นประจำมาก่อน หรือการไม่สามารถมีส่วนร่วมในกิจกรรมชุมชนท้องถิ่นได้เหมือนก่อน เมื่อสิ่งนี้เกิดขึ้นร่วมกับความพิการทางร่างกาย จากการศึกษาพบว่า ผลกระทบด้านลบของความเหงาต่อสุขภาพในวัยชรา เช่น การเสียชีวิตของคู่สมรสและเพื่อนฝูง และการที่ไม่มีสังคมหลังเลิกงานเหมือนที่เคยทำมาประจำหรือการพบปะเพื่อนบ้านที่คุ้นเคยลดลงหรือหายไป เป็นเหตุการณ์ที่เปลี่ยนแปลงชีวิตที่จะก่อให้เกิดความเหงาในผู้สูงอายุ ในผู้ที่มีอายุมากที่สุดจะมีแนวโน้มที่จะพบอัตราการเกิดความเหงาได้สูงที่สุด ซึ่งสะท้อนถึงความน่าจะเป็นที่เพิ่มขึ้นของการสูญเสียดังกล่าว

การศึกษาพบว่าความเหงามีผลกระทบของภาวะซึมเศร้าและการเสียชีวิต ในคนชราที่อายุมากภาวะซึมเศร้าที่สัมพันธ์กับการเสียชีวิตมักจะมีสาเหตุจากการที่มีความเหงาร่วมด้วย ในผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้ามีอาการ เช่น อาการถอนตัวจากสังคม ภาวะวิตกกังวล การขาดแรงจูงใจ และความเศร้า อันที่จริงผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้านี้มักจะมีอาการเหงาที่ซ่อนเร้นอยู่

การเข้าสังคมในวัยชรา

การเข้าสังคมมีบทบาทสำคัญในการป้องกัน ความทุกข์ทางจิตใจและในการเสริมสร้างความเป็นอยู่ที่ดี ปัจจัยทางสังคมที่มีต่ออาการซึมเศร้าในวัยชรา ในอายุที่เพิ่มขึ้น สถานะทางเศรษฐกิจและกิจกรรมทางสังคมที่ลดลง และปริมาณหรือคุณภาพของความสัมพันธ์ทางสังคมที่ลดลงล้วนเกี่ยวข้องกับ เพิ่มการเกิดอาการซึมเศร้า การแยกตัวทางสังคมก็เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ สำหรับปัญหาการหยุดการทำงานในผู้สูงอายุอาจนำไปสู่ความรู้สึกว่างเปล่าและซึมเศร้า “บุคคลที่ยังคงมีกิจกรรมเกี่ยวข้องการเข้าสังคมมักจะได้รับผลกระทบจากปัญหาในชีวิตประจำวันที่น้อยกว่า และมีความรู้สึกที่เป็นอิสระมากกว่า แต่ในคนที่ไม่มีการเข้าสังคมมักจะรู้สึกโดดเดี่ยว ถูกเพิกเฉย และซึมเศร้า มากกว่าอันจะมีผลต่อความสัมพันธ์ภาพที่ไม่ดี มีความพึงพอใจในชีวิตที่น้อยกว่าและมักจะขาดแรงจูงใจในการเปลี่ยนแปลง”

การเข้าสังคมเพียงเล็กน้อยหรืออยู่คนเดียวไม่ได้รับประกันถึงความเหงา ซึ่งอันที่จริงแล้วผู้สูงอายุ การใช้เวลาอยู่ร่วมกับครอบครัวอาจมมีความพึงพอใจน้อยกว่าการไปเยี่ยมเพื่อนในวัยเดียวกัน มีการศึกษาพบว่าผู้สูงอายุมักจะสร้างมิตรภาพกับผู้ที่มีอายุเท่ากันได้ดีกว่า ดังนั้นเมื่ออายุมากขึ้น ผู้คนจะสูญเสียความเป็นมิตรภาพเก่าอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และผู้สูงอายุพบว่าเป็นการยากที่จะสร้างมิตรภาพใหม่ แต่อย่างไรก็ตามในผู้ที่มีความพร้อมทั้งในทรัพย์สินและมีความรู้สติปัญญาที่มากกว่าก็มี “ทุน” ทางสังคมมากขึ้น ซึ่งช่วยให้พวกเขาสามารถแสวงหาความสัมพันธ์และรูปแบบใหม่ๆ ของการมีส่วนร่วมทางสังคมต่อไปได้

ปัจจุบันจำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้นทั่วโลก ทำให้ผู้สูงอายุต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงทั้งทางร่างกาย จิตใจ และสังคมมากมายที่ท้าทายความรู้สึกของตนเองและความสามารถในการใช้ชีวิตอย่างมีความสุข ภาวะซึมเศร้าและความเหงาถือเป็นปัญหาสำคัญที่มีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตในผู้สูงอายุ ในทางตรงข้ามในวัยชราอาจเป็นโอกาสอันดีที่จะเป็นการสร้างความรู้จักกับเพื่อนใหม่ พัฒนาความสนใจใหม่ ใช้เวลาการเข้าสังคม อันจะมีผลทำให้มีความสุขในชีวิต และหลีกเลี่ยงและป้องกัน การเกิด ความเหงา ซึมเศร้า เมื่อเข้าสู่วัยชรา

ทำไมเราถึงฝัน

พลตรี.ดร.นพ.โยธิน. ชินวลัญช์

นายกสมาคมนิทราเวชศาสตร์

ทำไมถึงคนเราถึงมีการฝัน จากการศึกษามาเป็นเวลาเกือบ 1000 ปีเรายังไม่สามารถที่จะให้คำตอบได้ชัดเจนว่าทำไมคนเราถึงต้องฝัน

จากทฤษฎีของผู้เชี่ยวชาญพูดถึงเกี่ยวเรื่องความฝันและจากการวิจัยทำให้เราได้มีความรู้ และความเข้าใจในเรื่องของความฝันได้มากขึ้น

ความฝันคืออะไร

ความฝันจะประกอบด้วย ภาพความคิดและอารมณ์ที่เราประสบในช่วงการนอนหลับความฝันอาจจะมีตั้งแต่เหตุการณ์ที่ จินตนาการ เหลือเชื่อ แปลก เข้มข้น ให้อารมณ์ หรือเรื่องที่ไม่มีความหมาย ล่องลอย สับสน หรือ แม้กระทั่งเรื่องที่น่าเบื่อ ความฝัน บางอย่างทำให้มีความสุข สดชื่น แต่บางอย่างก็ทำให้น่าตกใจ สะพรึงกลัวหรือเศร้า ความฝันบางอย่างก็จะมีความหมายที่ชัดเจนแต่ความฝันบางอย่างก็ไม่มีความหมายอะไรเลย

ยังมีสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์ยังไม่ทราบอีกมากเกี่ยวเรื่องการนอนและความฝัน แต่สิ่งที่จากการวิจัยได้กระทำมาแล้วทราบว่าทุกคนจะต้องมีการฝันเมื่อเวลานอนหลับอย่างน้อยประมาณ 2 ชั่วโมง ในช่วงการนอน REM sleep ต่อคืนขึ้นกับว่าจะจำเหตุการณ์ความฝันได้หรือไม่ได้เมื่อเวลาตื่นขึ้นมา

เราจะศึกษาความฝันได้อย่างไร

การศึกษาโดยวิธีดั้งเดิมเกี่ยวกับเรื่องของรายละเอียดของความฝันจะวัดได้จากการสัมภาษณ์ในผู้คนที่ฝันเมื่อเวลาตื่นขึ้นมา อย่างไรก็ตามการศึกษาสามารถประเมินในห้องปฏิบัติการได้ มีการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องของความฝันที่เกิดขึ้นและดูการทำงานของสมองโดยใช้เครื่องตรวจขึ้นแม่เหล็กไฟฟ้าสมองที่เรียกว่า fMRI และมาสัมพันธ์กับอาการฝันของผู้เข้ารับการวิจัย

บทบาทของ ความฝัน

มีทฤษฎีที่เชื่อว่าความฝันที่เกิดขึ้นมี เป็นกระบวนการการทำงานของสมองที่เกี่ยวกับ

  1. เพื่อการสร้างความจำแบบถาวร
  2. เป็นกระบวนการกลไกของอารมณ์ของมนุษย์
  3. เป็นความต้องการที่อยู่ในจิตใต้สำนึกของคนเรา
  4. เป็นกลไกของสมองที่มีการฝึกฝนที่จะเผชิญต่ออันตรายที่จะเกิดขึ้น

แต่อย่างไรก็ตามเราก็เชื่อว่าความฝันเป็นผลรวมของเหตุผลหลายอย่าง มากกว่าจะเป็นเรื่องของเหตุผลอันใดอันหนึ่งและเราเชื่อว่าความฝันมีความจำเป็นสำคัญต่อ จิตใจของมนุษย์ อารมณ์ และ สภาพร่างกายที่สมบูรณ์โดยที่ไม่ได้มีจุดประสงค์เพียงอันใดอันหนึ่ง

การฝันจะเกิดในช่วงในระดับการนอนที่แตกต่างกัน ถ้าเรามีการฝันในช่วงของการนอนหลับ REM sleep เราก็อาจจะจำความฝันอันนั้นได้ แต่อย่างไรก็ตามเราอาจจะฝันในช่วงของนอน Non-REM sleep ได้เช่นกันแต่ความฝันในระยะนี้เราไม่สามารถที่จะจดจำรายละเอียดได้

ความฝันอาจจะสะท้อนจิตไร้สำนึก

ทฤษฎีความฝันของซิกมุนด์ ฟรอยด์ แสดงให้เห็นว่าความฝันเป็นตัวแทนของความปรารถนา ความคิด การเติมเต็มความปรารถนา และแรงจูงใจโดยไม่รู้ตัว ผู้คนมักถูกขับเคลื่อนด้วยความปรารถนาที่เก็บใว้อยู่ใต้จิตสำนึก เช่น สัญชาตญาณที่ก้าวร้าว และ สัญชาตยานทางเพศ แม้ว่าคำกล่าวอ้างของฟรอยด์หลายๆ อย่างจะถูกหักล้าง การวิจัยต่อมมาชี้ให้เห็นว่ามีผลสะท้อนกลับของความฝัน หรือที่เรียกว่าทฤษฎีการสะท้อนกลับของความฝัน ซึ่งการที่มีการยั้บยั้งของความคิดของคนเราในช่วงตื่นจะมักจะส่งผลให้เกิดการฝันถึงสิ่งนั้น

อะไรทำให้ความฝันเกิดขึ้น?

ใน “การตีความหมายของความฝัน” ฟรอยด์ เขียนว่าความฝันคือ “การเติมเต็มความปรารถนาที่เราอดกลั้นหรือยั้บยั้งไว้” นอกจากนี้ เขายังอธิบายถึงองค์ประกอบสองอย่างที่แตกต่างกันของความฝัน: เนื้อหาอย่างชัดแจ้ง และ เนื้อหาแฝง (ความหมายที่ซ่อนอยู่)

ทฤษฎีของฟรอยด์มีส่วนทำให้การตีความหมายของความฝันเพิ่มขึ้นและเป็นที่นิยม แต่จากการวิจัยต่อมาไม่สามารถที่จะแสดงให้เห็นว่าความฝันมีเนื้อหาที่ชัดเจน และ เนื้อหาแฝง อย่างที่ฟรอยด์เคยเสนอไว้ ผู้เชี่ยวชาญบางคนเชื่อว่าความสำคัญทางจิตวิทยาของความฝัน เป็นเรื่องของบทบาทสำคัญในการประมวลของอารมณ์และประสบการณ์ที่ตึงเครียด

ตามแบบจำลองการกระตุ้น-สังเคราะห์ของความฝัน (activation-synthesis theory) ซึ่งเสนอครั้งแรกโดย J. Allan Hobson และ Robert McCarley วงจรในสมองจะทำงานระหว่างการนอนหลับ REM การศึกษาพบว่าสมองส่วน hippocampus และ amygdala จะมีถูกกระตุ้นร่วมมไปถึงวงจรของสมองที่ประกอบด้วยส่วนของสมองที่เรียกว่า limbic system ที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์ ความรู้สึก และความทรงจำ สมองเหล่านี้จะถูกกระตุ้นและพยายามสร้างความหมายจากสัญญาณเหล่านี้ซึ่งส่งผลให้เกิดความฝัน

 ส่งผลให้เกิดการรวบรวมความคิด ภาพ และความทรงจำแบบสุ่มที่ปรากฏขณะฝัน และจะมีการประมวลรวบรวม สิ่งเหล่านี้ในขณะตื่นขึ้นมา

แม้ว่าในขณะนอนหลับ สมองของคนเราก็ยังทำงาน Hobson และ McCarley เสนอแนะว่าระหว่างการนอนหลับ กิจกรรมในระดับ พื้นฐานของสมองที่รับผิดชอบต่อขบวนการทางชีววิทยาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก จะถูกตีความโดยส่วนต่างๆ ของสมองที่มีหน้าที่ในระดับสูง เช่น การคิดและการประมวลผลข้อมูล การนอนหลับช่วยให้สมองทำกิจกรรมหลายอย่าง เช่น การทำความสะอาดสมอง และ รวบรวมความทรงจำจากวันก่อนหน้าให้เป็นระเบียบ ทฤษฎีการสังเคราะห์การกระตุ้นแนะนำว่า กระบวนการทางสรีรวิทยาที่เกิดขึ้นเมื่อเรานอนหลับเป็นสาเหตุของความฝัน

ความฝันช่วยในความทรงจำ

ตามทฤษฎีการประมวลผลข้อมูล การนอนหลับช่วยให้เราสามารถรวบรวมและประมวลผลข้อมูลและความทรงจำทั้งหมดที่เราได้รวบรวมไว้เมื่อวันก่อน ผู้เชี่ยวชาญด้านความฝันบางคนแนะนำว่าการฝันเป็นผลพลอยได้หรือแม้แต่ส่วนสำคัญของการประมวลผลประสบการณ์นี้

โมเดลนี้เรียกว่าทฤษฎีการจัดระเบียบตนเองของการฝัน อธิบายว่าการฝันเป็นผลข้างเคียงของการทำงานของระบบประสาทในสมอง เนื่องจากความทรงจำถูกรวมเข้าด้วยกันระหว่างการนอนหลับในระหว่างกระบวนการกระจายข้อมูลในขณะที่เราไม่รู้ตัว ความทรงจำนั้นมีความเข้มแข็งหรืออ่อนแอ ตามทฤษฎีการจัดระเบียบตนเองของความฝัน ในขณะที่เราฝัน ความทรงจำที่เป็นประโยชน์จะทำให้เราจำได้ดีขึ้น ในขณะที่ความจำที่มีประโยชน์น้อยกว่าก็จะจางหายไป จากการวิจัยสนับสนุนทฤษฎีนี้โดยพบว่าเวลาที่คนทำงานที่ซับซ้อนเมื่อบุคคลนั้นฝันหลังจากที่ลงมือทำ พบว่าบุคคลนั้นจะทำงานที่ซับซ้อนได้ดีขึ้น การศึกษายังแสดงให้เห็นว่าในระหว่างการนอนหลับ REM มีคลื่นไฟฟ้าช่วงความถี่ theta ในสมองส่วนหน้า frontal lobe เหมือนกับที่เกิดขึ้นเมื่อคนฯนั้นกำลังเรียนรู้ เก็บและจดจำข้อมูลในช่วงขณะตื่น

ความฝันกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์

อีกทฤษฎีหนึ่งเกี่ยวกับความฝันกล่าวว่า ทฤษฎีความคิดสร้างสรรค์แห่งความฝัน จิตไต้สำนึกของคนเราที่ไม่ถูกจำกัด มีอิสระที่จะท่องไปในศักยภาพที่ไร้ขอบเขต ในขณะที่ไม่ได้รับการยั้บยั้งจากความเป็นจริงในสังคม แต่ความคิดสร้างสรรค์ของคนเราจะถูกยับยั้งชั่งใจของตัวเราองในขณะตื่นมีสติสัมปชัญญะ การวิจัยแสดงให้เห็นว่าความฝันเป็นตัวส่งเสริมให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ที่มีประสิทธิภาพ

จากการวิจัยทางวิทยาศาสตร์มีหลักฐานไม่มากนัก ที่ยืนยันข้อเท็จจริงนี้ มีหลายคนประสบความสำเร็จในการไขว่คว้าความฝันของพวกเขาเพื่อสร้างแรงบันดาลใจ และให้เครดิตว่าเป็นเรื่องบัลดาลใจจากความฝัน ดั้งนั้นความสามารถในการสร้างการเชื่อมต่อระหว่างความทรงจำและความคิดที่ปรากฏในความฝันอาจจะเป็นการก่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ได้

ความฝันสะท้อนชีวิตของคุณ

ภายใต้สมมติฐานที่ต่อเนื่องกัน ความฝันทำหน้าที่เป็นภาพสะท้อนของชีวิตจริงของบุคคล โดยนำประสบการณ์ที่ในช่วงขณะตื่นเข้ามาไว้ในความฝันของ ความฝันจะแสดงเป็นภาพปะติดปะต่อของเศษความทรงจำ ถึงกระนั้น การศึกษาแสดงให้เห็นว่าการนอนหลับ Non-REM อาจเกี่ยวข้องกับหน่วยความจำที่สิ่งที่เป็นกิจวัตรประจำวันมากกว่า ในขณะที่ความฝัน REM เป็นความมจำทีเกี่ยวข้องกับความทรงจำทางอารมณ์และ ความจำที่ทำให้เราเข้าใจหรือเป็นความรู้ โดยทั่วไป ความฝันจาก REM มักจะจำได้ง่ายกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับความฝันจาก Non-REM 

ภายใต้สมมติฐานความต่อเนื่อง ความทรงจำอาจกระจัดกระจายอย่างมีจุดมุ่งหมายในความฝันของเรา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการผสมผสานการเรียนรู้และประสบการณ์ใหม่ๆ เข้าไว้ในความทรงจำระยะยาว แต่ก็ยังมีคำถามที่ยังไม่ได้คำตอบมากมายว่าเหตุไฉนทำไมความทรงจำบางแง่มุมจึงปรากฏเด่นชัดในความฝันของเรา

ความฝันเพื่อเป็นการเตรียมตัวและปกป้อง

ทฤษฎีการฝึกฝนสัญชาตญาณดั้งเดิมและกลยุทธ์การปรับตัวของการฝันเสนอว่าเราฝันที่จะเตรียมตัวให้พร้อมเพื่อเผชิญหน้ากับอันตรายในโลกแห่งความเป็นจริง ความฝันในฐานะฟังก์ชันการจำลองทางสังคมหรือการจำลองภัยคุกคามช่วยให้ผู้ฝันมีสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยในการฝึกฝนทักษะการเอาชีวิตรอดที่สำคัญ ในขณะฝัน เราได้ฝึกฝนสัญชาตญาณการต่อสู้หรือหนี และสร้างความสามารถทางจิตเพื่อรับมือกับสถานการณ์ที่คุกคาม ภายใต้ทฤษฎีการจำลองภัยคุกคาม สมองขณะหลับของเรามุ่งเน้นไปที่กลไกการต่อสู้หรือหนีเพื่อเตรียมเราให้พร้อมสำหรับสถานการณ์ที่คุกคามชีวิตและ/หรือสถานการณ์ที่รุนแรงทางอารมณ์ เช่น วิ่งหนีผู้ไล่ตาม ตกหน้าผา โผล่ที่ไหนสักแห่งในสภาพที่เปลือยเปล่า เข้าห้องน้ำสาธารณะ ลืมอ่านหนังสือสอบปลายภาค เป็นต้น ทฤษฎีนี้แนะนำว่าการฝึกหรือซ้อมทักษะเหล่านี้ในฝันทำให้เราได้เปรียบเชิงวิวัฒนาการในการที่เราจะรับมือหรือหลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่คุกคามในโลกแห่งความเป็นจริงได้ดียิ่งขึ้น สิ่งนี้ช่วยอธิบายได้ว่าทำไมความฝันมากมายจึงมีเนื้อหาที่น่ากลัว ดราม่า หรือเข้มข้น

ความฝันช่วยประมวลผลอารมณ์

ทฤษฎีความฝันเกี่ยวกับการควบคุมอารมณ์กล่าวว่าหน้าที่ของความฝันคือช่วยให้เราประมวลผลและรับมือกับอารมณ์หรือความบอบช้ำทางจิตใจในพื้นที่ที่ปลอดภัย จากการวิจัยแสดงให้เห็นว่า สมองส่วน amygdala และ hippocampus มีบทบาทสำคัญในการกลั่นกรองข้อมูลและย้ายความจำจากหน่วยความจำระยะสั้นไปเก็บที่หน่วยความจำระยะยาว มีการทำงานมากในขณะที่มีการฝันอยู่ สิ่งนี้แสดงให้เห็นว่ามมีความเชื่อมโยงที่ชัดเจนระหว่างความฝัน การจัดเก็บความทรงจำ และการประมวลผลทางด้านอารมณ์

ทฤษฎีนี้ชี้ให้เห็นว่าการนอนหลับ REM มีบทบาทสำคัญในการควบคุมอารมณ์ของสมอง นอกจากนี้ยังช่วยอธิบายว่าเหตุใดความฝันจึงมีเรื่องของอารมณ์อยู่ในความฝันด้วย และเวลาที่เรามีประสบการณ์ทางอารมณ์ที่เลวร้ายหรือประสบบาดแผลทางด้านจิตใจ สิ่งเหล่านี้จึงมักปรากฏขึ้นซ้ำๆ ในความฝัน การวิจัยแสดงให้เห็นความเชื่อมโยงระหว่างความสามารถในการประมวลผลอารมณ์และการนอนหลับ REM ที่เกิดขึ้น

ทฤษฎีอื่นๆ เกี่ยวกับเหตุผลที่เราฝัน

มีการแนะนำทฤษฎีอื่น ๆ มากมายเพื่ออธิบายว่าทำไมเราถึงฝัน

  1. ทฤษฎีหนึ่งยืนยันว่าความฝันเป็นผลมาจากสมองของเราพยายามตีความสิ่งเร้าภายนอก (เช่น เสียงเห่าของสุนัข เสียงเพลง หรือการร้องไห้ของทารก) ระหว่างการนอนหลับ
  2. อีกทฤษฎีหนึ่งใช้คอมพิวเตอร์อุปมาเพื่ออธิบายความฝัน โดยสังเกตว่าความฝันทำหน้าที่ “ชำระล้าง” ความยุ่งเหยิงออกจากจิตใจ ทำให้สมองสดชื่นสำหรับวันรุ่งขึ้น
  3. ทฤษฎีการเรียนรู้แบบย้อนกลับแสดงให้เห็นว่าเราฝันที่จะลืม สมองของเรามีการเชื่อมต่อทางประสาทนับพันระหว่างความทรงจำ—มากเกินกว่าจะจำได้ทั้งหมด—และความฝันนั้นเป็นส่วนหนึ่งของ “การตัดแต่ง” การเชื่อมต่อเหล่านั้น
  4. ในทฤษฎีการกระตุ้นอย่างต่อเนื่อง เราฝันเพื่อที่จะให้สมองตื่นตัวขณะนอนหลับ เพื่อให้สมองทำงานได้อย่างถูกต้อง

การรู้ถึงความฝัน (Lucid Dreaming)

ความฝันแบบนี้เป็นความฝันที่ค่อนข้างหายากซึ่งผู้ฝันมีความตระหนักอยู่ในความฝันและมักจะควบคุมเนื้อหาความฝันได้ การวิจัยระบุว่าประมาณ 50% ของผู้คนจำได้ว่าเคยมีความฝันที่ชัดเจนอย่างน้อยหนึ่งครั้งในชีวิต และมีเพียง 10% รายงานว่ามีความฝันสองครั้งขึ้นไปต่อเดือน ไม่ทราบสาเหตุที่คนบางคนประสบกับความฝันที่ชัดเจนบ่อยกว่าคนอื่นๆ ในขณะที่ผู้เชี่ยวชาญยังไม่ชัดเจนว่าเหตุใดความฝันที่ชัดเจนจึงเกิดขึ้น การวิจัยเบื้องต้นส่งสัญญาณว่าบริเวณส่วนหน้า prefrontal และสมอง parietal lobe มีบทบาทสำคัญ หลายคนปรารถนาความฝันที่ชัดเจนและแสวงหาประสบการณ์นั้นให้บ่อยขึ้น

วิธีฝึกที่เป็นไปได้สำหรับการกระตุ้นให้เกิดความฝันที่ชัดเจน ได้แก่ การฝึกความรู้ความเข้าใจ การกระตุ้นจากภายนอกระหว่างการนอนหลับ และการใช้ยา มีการพบความเชื่อมโยงที่ชัดเจนระหว่างความฝันที่ชัดเจนกับการคิดเชิงจินตนาการและผลลัพธ์ที่สร้างสรรค์ การวิจัยพบว่าผู้ฝันที่ชัดเจนทำงานได้ดีกับงานสร้างสรรค์มากกว่าผู้ที่ไม่ได้ฝันแบบรู้ถึงความฝัน

ความฝันจากความเครียด

ประสบการณ์ที่ตึงเครียดมักจะปรากฏขึ้นบ่อยครั้งในความฝันของเรา ความฝันความเครียดอาจอธิบายได้ว่าเป็นเรื่องเศร้า น่ากลัว และฝันร้าย ผู้เชี่ยวชาญไม่เข้าใจอย่างถ่องแท้ว่าเหตุใดเนื้อหาที่ตึงเครียดจึงมาอยู่ในความฝันของเราได้อย่างไร แต่หลายคนก็ชี้ไปที่ทฤษฎีต่างๆ มากมาย รวมถึงสมมติฐานความต่อเนื่อง กลยุทธ์ที่ปรับเปลี่ยนได้ และทฤษฎีความฝันที่ควบคุมอารมณ์เพื่ออธิบายเหตุการณ์เหล่านี้ ความฝันความเครียดและสุขภาพจิตดูเหมือนจะไปด้วยกันได้

ความเครียดรายวันมักจะปรากฏขึ้นในความฝัน: การวิจัยพบว่าผู้ที่มีความกังวลมากขึ้นในชีวิตที่ตื่นขึ้นและผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคเครียดหลังเกิดเหตุการ์ณที่กระทบกระเทือนจิตใจ (Post traumatic stress syndrome: PTSD) จะพบว่ามีความถี่และความรุนแรงของฝันร้ายที่สูงขึ้น

ความผิดปกติทางสุขภาพจิตอาจส่งผลต่อความฝันที่: ผู้ที่มีความผิดปกติทางสุขภาพจิต เช่น ความวิตกกังวล โรคอารมณ์สองขั้ว และภาวะซึมเศร้า มักจะมีความฝันที่ไม่ดี ฝันร้าย มากกว่า รวมทั้งนอนหลับยากขึ้นโดยทั่วไปความวิตกกังวลเชื่อมโยงกับความฝันที่เครียด การวิจัยบ่งชี้ถึงความเชื่อมโยงที่ชัดเจนระหว่างความวิตกกังวลและเนื้อหาความฝันที่ตึงเครียด ความฝันเหล่านี้อาจเป็นความพยายามของสมองที่จะช่วยเรารับมือและทำความเข้าใจกับประสบการณ์ที่ตึงเครียดเหล่านี้

MRI essentials in epileptology: a review from the ILAE Imaging Taskforce

Authors

Irene Wang1  Andrea Bernasconi2  Boris Bernhardt3Hal Blumenfeld4  Fernando Cendes5.  Yotin Chinvarun6  Graeme Jackson7  Victoria Morgan8  Stefan Rampp9. Anna Elisabetta Vaudano10. Paolo Federico11*1

Epilepsy Center, Cleveland Clinic, Cleveland, USA2 

Neuroimaging of Epilepsy Laboratory, McConnell Brain Imaging Centre and Montreal Neurological Institute and Hospital, McGill University, Montreal, Canada3 

Multimodal Imaging and Connectome Analysis lab, McConnell Brain Imaging Centre and Montreal Neurological Institute, McGill University, Montreal, Canada4 

Departments of Neurology, Neuroscience, and Neurosurgery, Yale University, New Haven, USA5 

Department of Neurology, University of Campinas – UNICAMP, Campinas, SP, Brazil6 

Phramongkutklao hospital, Bangkok, Thailand7 

The Florey Institute of Neuroscience and Mental Health and The University of Melbourne, Australia8 

Vanderbilt University Institute of Imaging Science, Vanderbilt University Medical Center, Nashville, USA9 

Department of Neurosurgery, University Hospital Erlangen, Germany10 

Neurology Unit, University of Modena and Reggio Emilia, Modena, Italy11 

Hotchkiss Brain Institute, University of Calgary, Canada* 

Correspondence: Paolo Federico Room C1214a, Foothills Medical Centre, 1403 29th Street NW, Calgary, AB, Canada T2N 2T9

Magnetic resonance imaging (MRI) plays a central role in the management and evaluation of patients with epilepsy. It is important that structural MRI scans are optimally acquired and carefully reviewed by trained experts within the context of all available clinical data. The aim of this review is to discuss the essentials of MRI that will be useful to health care providers specialized in epilepsy, as outlined by the competencies and learning objectives of the recently developed ILAE curriculum. This review contains information on basic MRI principles, sequences, field strengths and safety, when to perform and repeat an MRI, epilepsy MRI protocol (HARNESS-MRI) and the basic reading guidelines, and common epileptic pathologies. More advanced topics such as MRI-negative epilepsy, functional MRI and diffusion-weighted imaging are also briefly discussed. Although the available resources can differ markedly across different centers, it is the hope that this review can provide general guidance in the everyday practice of using MRI for patients with epilepsy.

Link webpage (full article)

นอนไม่หลับมีผลเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคสมองเสื่อมอัลไซเมอร์

จากการศึกษาโดยนักวิจัยในประเทศสวีเดนพบว่าภาวะนอนไม่หลับอย่างเฉียบพลันจะผลเพิ่มสาร (biomarker) ที่ก่อให้เกิดโรคสมองเสื่อมอัลไซเมอร์ ภาวะนอนไม่หลับส่งผลให้ มีการสะสมของสาร Tau protein มากขึ้นซึ่งเป็นสารที่ตรวจพบในสมองของผู้ป่วยที่เป็นโรคสมองเสื่อมอัลไซเมอร์ จากการศึกษานี้ทำให้เชื่อว่าภาวะนอนไม่หลับถือว่าเป็นปัจจัยเสี่ยงอันหนึ่งที่ใช้ในการประเมินผู้ป่วยว่ามีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคโรคสมองเสื่อมอัลไซเมอร์หรือไม่ เป็นเพราะว่าภาวะนอนไม่หลับมีผลทำให้เซลล์ประสาทต้องทำงานมากขึ้นเนี่องจากมีช่วงตื่นที่เพิ่มขึ้น

จากงานวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าการนอนหลับไม่เพียงพอจะมีผลเสี่ยงต่อการเกิดภาวะสมองเสื่อม ในการศึกษาก่อนหน้านี้พบว่าการนอนไม่หลับมีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงที่ค่อยฯ เพิ่มขึ้นของการพัฒนาการเกิดภาวะสมองเสื่อมในคนที่มีสุขภาพดีและสติปัญญาดีจากการสังเกตุอาการ ต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน 40 ปี จากการศึกษาพบว่า ภาวะนอนไม่หลับมีผลทำให้เกิดการเพิ่มของสาร Tau protein ในสมอง โดยการตรวจหาสารตัวนี้จากน้ำไขสันหลัง (CSF) นอกจากนี้ภาวะนอนไม่หลับก็มีผลทำให้มีการเพิ่มของสาร Beta-amyloid ซึ่งเป็นอีกสารอีกตัวหนึ่งที่ตรวจพบในผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมอัลไซเมอร์ เช่นกัน

PET scan แสดงให้เห็นการสะสมของสาร Tau protein (ภาพซ้ายสุดม Tau: สีแดง) และการสะสมของสาร Beta-amyloid (ภาพขวาสุด Beta-amyloid: สีแดง) ในผ.ป.โรคสมองเสื่อมอัลไซเมอร์

ในการศึกษานี้มีจุดประสงค์เพื่อดูว่า ภาวะนอนไม่หลับมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของระดับของ biomarkers ที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคโรคสมองเสื่อมอัลไซเมอร์หรือไม่ โดยศึกษาดูการเปลี่ยนแปลงของระดับ biomarker นี้ในแต่ละวัน โดยมีศึกษาเปรียบเทียบผู้ เข้าร่วมวิจัยที่มีสุขภาพแข็งแรงจำนวน 15 คน โดยทุกคนจะต้องมีเงื่อนไขที่จะต้องปฏิบัติแตกต่างกันสองประการ – ประการแรกจะต้องมีหนึ่งคืนที่มีการนอนหลับปกติและประการที่สองจะต้องมีอีกหนึ่งคืนที่มีการอดนอนข้ามคืนผู้เข้าร่วมวิจัยทุกคนจะได้รับการตรวจหาสาร Tau protein ซึ่งเป็นสารที่ก่อให้เกิดโรคสมองเสื่อมอัลไซเมอร์ และมีการตรวจหาสารอีกชนิดหนึ่งคือ neurofilament (NfL) สารชนิดนี้เป็นสารที่ตรวจพบเวลามีการทำลายของเซลล์ประสาท จากการตรวจทางเหลืองโดยใช้ชุดตรวจ ultrasensitive ในตัวอย่างพลาสมาที่ได้รับในตอนเย็นและในตอนเช้า

จากผลการศีกษาพบว่าระดับของสาร Tau protein ในพลาสม่าเพิ่มขึ้นทุกเย็นทุกเช้า เมื่อมีภาวะนอนไม่หลับ แต่ระดับของ Tau protein มีการลดลงในสภาวะที่มีการนอนหลับปกติทั้งในช่วงเย็นและช่วงเช้า และในขณะเดียวกันไม่พบความแตกต่างของสาร NfL ที่เป็นตัวบ่งบอกถึงความเสียหายทางระบบประสาททั้งช่วงเช้าและช่วงเย็น ในกรณีที่มีการนอนหลับปกติหรืออดนอน การคที่พบว่าระดับของ NfL ไม่ได้เปลี่ยนไปเนื่องจากการอดนอนหลับอย่างเฉียบพลันเป็นตัวบ่งชี้ว่าการอดนอนไม่ได้เป็นสาเหตุที่ทำให้เซลล์ประสาทได้รับอันตราย (neuroaxonal injury)อย่างเฉียบพลันโดยตรง แต่การอดนอนจะก่อให้เกิดการกระตุ้นทำให้มีการทำงานของเซลล์ประสาทที่มากเกินไปจนก่อให้เกิดมีการสะสมของสาร Tau protein ที่จะก่อให้เกิดโรคสมองเสื่อมอัลไซเมอร์ตามมา

มีคำแนะนำให้มีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อดูว่าวงจรการนอนหลับและการตื่น (circadian rhythm) ในมนุษย์ ถ้าเราไปปรับเปลี่ยนหรือมีความแปรปรวนของวงจรการนอนหลับและการตื่น เกิดขึ้นจะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของสาร Tau protein หรือไม่

ในการศึกษาในอดีตที่ผ่านมาพบว่าภาวะนอนไม่หลับมีผลทำให้มีการสะสมของสาร Tau protein โดยเชื่อว่าภาวะที่นอนไม่หลับอาจจะส่งผลกระทบต่อสาร Tau protein และขบวนการฟอสโฟรีเลชั่นของสารตัวนี้ แต่ก็ยังไม่ชัดเจนว่ากระบวนการเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้รวดเร็วแค่ไหน แต่จากการศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่าการสูญเสียการนอนหลับแค่คืนเดียวก็มีผลทำให้มีสาร Tau protein สูงขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญแต่ก็ไม่ได้มีผลทำให้มีทำลายเซลล์ประสาทโดยทันทีทันใดแต่เชื่อว่าการที่มีผลทำให้มี การกระตุ้นทำให้เซลล์สมองทำงานมากเกินไปจนก่อให้เกิดมีการสะสมของสาร Tau protein สูงขึ้นและการสะสมของสาร Tau protein ในเซลล์ประสาทสมองน่าจะเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดโรคสมองเสื่อมเสื่อมอัลไซเมอร์ตามมา

Reference

SLEEP 2019: 33rd Annual Meeting of the Associated Professional Sleep Societies: Abstract Presented June 10, 2019.

อัตราที่สูงขึ้นของสมองเสื่อมในผู้หญิงอธิบายได้อย่างไร

ดร.น.พ.โยธิน. ชินวลัญข์

การลดลงของฮอร์โมนเอสโตรเจนที่เกี่ยวข้องกับวัยหมดประจำเดือนอาจอธิบายได้ว่าทำไมผู้หญิงถึงมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer dementia) ได้มากกว่าผู้ชาย ในการศึกษาวิจัยในผู้หญิง 120 คนในภาวะวัยหมดประจำเดือนเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้ระดับของเบต้าอะไมลอยด์ (Aβ) ซึ่งเป็นสารที่พบได้ในโรคสมองเสื่อมอัลไซเมอร์สูงขึ้น เป็นผลจากการเผาผลาญปริมาณของกลูโคสที่ลดลง การศึกษาในผู้เข้าร่วมวัยกลางคนปกติ 121 คนที่มีอายุระหว่าง 40 ถึง 65 ปี (ผู้หญิง 70%) มีการศึกษาเก็บข้อมูลมากกว่า 12 ปี”การค้นพบนี้ชี้ให้เห็นว่าปัจจัยของฮอร์โมนที่ลดลงอาจจะใช้ในการทำนายได้ว่าใครจะมีการเปลี่ยนแปลงในสมองที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคสมองเสื่อมอัลไซเมอร์ “

ผู้เข้าร่วมทั้งหมดได้รับการประเมินทางระบบประสาทวิทยา การตรวจเรื่องความจำ ความสนใจและภาษา ข้อมูลเกี่ยวกับประวัติครอบครัวของสมองเสื่อมอัลไซเมอร์ เวลาที่เริ่มมีอาการและปัจจัยเสี่ยง ลักษณะการดำเนินชีวิตส่วนบุคคล เช่น การสูบบุหรี่ การควบคุมอาหาร การออกกำลังกายและกิจกรรมทางปัญญา ความเสี่ยงของหลอดเลือดรวมถึงโรคอ้วน ความดันโลหิตสูง, ไขมันในเลือดสูง โรคเบาหวานประเภท 2 ข้อมูลเกี่ยวกับการทำงานของต่อมไทรอยด์และภาวะซึมเศร้าสถานะวัยหมดประจำเดือน (ก่อนวัยหมดประจำเดือน, วัยหมดประจำเดือนและวัยหมดประจำเดือน) ข้อมูลเกี่ยวกับอาการผิดปกติทางอารมณ์ ภาวะนอนไม่หลับ การเปลี่ยนแปลงความอยากอาหาร เป็นต้น“ผลลัพธ์จากการศึกษาแสดงให้เห็นการเปลี่ยนแปลงของสารเบต้าอะไมลอยด์ โดยใช้การตรวจเอกซเรย์ PET scan

ในผู้หญิงเข้าสู่ภาวะวัยหมดประจำเดือนอาจเป็นตัวทำนายที่ดีที่สุดสำหรับการเปลี่ยนแปลงสมองที่เกี่ยวข้องกับโรคสมองเสื่อมในผู้หญิง”พบว่าในผู้ป่วยสูงอายุเพศหญิง ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่พบในผู้ป่วยที่เริ่มเป็นโรคสมองเสื่อมโรคอัลไซเมอร์ ประมาณสองในสามของผู้ป่วยเป็นสตรีวัยหมดประจำเดือนมีสัดส่วนมากกว่า 60% และเกิดเนื่องจากอายุขัยของผู้หญิงที่ยาวนานขึ้นเมื่อเทียบกับผู้ชาย ปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบความเสี่ยงมากขึ้น

ถ้าผ.ป. มีประวัติทางพันธุกรรมด้วย เช่น ประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคสมองเสื่อมอัลไซเมอร์หรือมียีน APOE หรือมีภาวะซึมเศร้า โรคหลอดเลือดสมอง และโรคเบาหวาน ก็จะเพิ่มความเสี่ยงมากขึ้น ร่วมกับความเสี่ยงที่เกี่ยวกับฮอร์โมน เช่น วัยหมดประจำเดือนและโรคไทรอยด์นอกจากนี้พบว่าปัจจัยเหล่านี้ก็มีผลป้องกันเกิดโรคสมองเสื่อมอัลไซเมอร์ เช่นลักษณะการดำเนินชีวิต การงดสูบบุหรี่ การควบคุมอาหารป้องกันโรคอ้วน การออกกำลังกายและมีการบริหารสมองอย่างต่อเนื่องจะมีผลป้องกันการเกิดโรคสมองเสื่อมอัลไซเมอร์

อาหารที่ลดความเสี่ยงของโรคสมองเสื่อมอัลไซเมอร์

  1. อาหารเมดิเตอร์เรเนียน มีหลักฐาน ที่แสดงให้เห็นสามารถ ลดความเสี่ยงของ อัลไซเมอร์ การรับประทาน ปลาที่มีไขมัน เช่นปลาแซลมอน , ปลาเฮอริ่ง , ปลาทูน่า หรือ สีขาว สัปดาห์ละครั้ง อาจชะลอตัวลดลงของความจำได้ถึง 10% กรดไขมันโอเมก้า 3 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ชนิด ที่เรียกว่า DHA ที่พบใน ปลาที่มีไขมัน ดูเหมือนจะเป็น กุญแจสำคัญ

Fatty acidระดับที่สูงของ DHA มีความจำเป็นสำหรับการพัฒนาสมองที่ปกติ

นอกจากนี้ยังมี โอเมก้า 3 กรดไขมัน สายพันธุ์ ทั้งหมด – รวมทั้งที่พบใน วอลนัท , flaxseed และ น้ำมันมะกอก – ช่วยลดการอักเสบ ซึ่ง อาจนำไปสู่ การสร้างโปรตีนในสมอง

2. อาหารที่มี Vitamins C and E

ผลิตภัณฑ์ ทั้งหมดของ ปฏิกิริยาเคมีในสมองของเราจะทำให้เกิดสารอนุมูลอิสระโมเลกุลที่ไม่เสถียร ซึ่งจะมีผลทำลายเซลล์ในร่างกาย อาจจะเร่งทำให้เกิดภาวะสมองเสื่อมมากขึ้น ดั่งนั้นอาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระอาจจะต่อต้านอนุมูลอิสระเหล่านี้ ” เรียกว่าซับสาร ” มลพิษ ” ในสมองของคุณ

งานวิจัยเกี่ยวกับ พฤติกรรมการบริโภคอาหาร ของ คนกลุ่มใหญ่พบว่าการกินอาหารที่อุดมด้วย vitamin C  เช่น พริกแดง , ลูกเกด , เบอคอรี่ และ สตรอเบอร์รี่  และอาหารที่มีวิตามินอีมาก เช่น น้ำมันมะกอก และ อัลมอนด์  อาจลดความเสี่ยง ของการพัฒนา สมองเสื่อม

Vit C E

 

 

 

 

 

 

 

 

Art as Therapy—Can Creative Expression Soothe Dementia Symptoms?

With a final stroke of the brush, Laura Baxter puts finishing touches on her painting, a piece of abstract art others deem a masterpiece. Baxter was diagnosed with Alzheimer’s disease at age 62. Now 77, she cannot remember how to sign her name without assistance. When she is done with her painting, she needs help finding her way to the bathroom down the hall and back to the art room, where several other people are creating their own works. “Are you Laura?” a woman asks, pointing to Baxter’s freshly signed painting. “It looks like you were sitting here.” Baxter smiles as she seems to recognize her own work, still glistening red with wet paint, and reclaims her spot at the table.

A woman with dementia displays her painting at Amber Grove Place in Chico, California. Caregivers at the assisted living community notice residents benefit in many ways from the creative arts.Image courtesy of Lorrie Badour, Amber Grove Place.

Scenes like this one at Amber Grove Place, an assisted living community for people with Alzheimer’s disease and other dementias in Chico, California, are emerging from a growing appreciation that the creative arts can help people with dementia in myriad ways. Art improves mood, reduces depression and anxiety, deepens connections with other people. In some cases, art even boosts cognition, claim some caregivers and clinicians who work with people engaged in this form of therapy. The evidence is largely qualitative and anecdotal, but some small placebo-controlled studies hint that the effects—which are inherently difficult to measure—may be real

Figuring out whether art therapy interventions benefit people with dementia is important. It’s also a tall order, said Anjan Chatterjee of the University of Pennsylvania in Philadelphia. With the dearth of pharmacological treatments for the burgeoning population of people with dementia, it is high time to explore artistic engagement for the relief of neuropsychiatric symptoms, Chatterjee told Alzforum. While there are drugs in the pipeline, none are imminent or expected to be a cure (see Alzforum Therapeutics database). “We are forced to think about what else can be done,” he said. Having recently published the book “The Aesthetic Brain: How We Evolved to Desire Beauty and Enjoy Art,” Chatterjee thinks the time is ripe for more research in the area. “There is an increased interest in art and the brain,” he said. “The zeitgeist seems ready for this.”

Excitement about art as therapy grew after the 2009 documentary “I Remember Better When I Paint.” Directed by Eric Ellena and Berna Huebner, whose mother painted prolifically before dying of Alzheimer’s disease, the film showcases initiatives around the world to engage people with dementia in art, whether by doing art projects inside assisted living facilities, by bringing people to museums, or by immersing them in other creative experiences. The movie draws upon the expertise of clinicians, caregivers, and art therapists, all of whom have witnessed the power of art in reaching those with dementia.

Berna Huebner drew upon her mother’s experiences with art therapy for the documentary and the book “I Remember Better When I Paint.” Courtesy of the Hilgos Foundation.

Huebner’s mother, Hilda Gorenstein, was a professional painter, but put her brushes aside after being diagnosed with AD in her 80s. She moved into a nursing home at age 90, and there she became anxious, apathetic, and aggressive—sometimes to the point of needing to be restrained. One day, when Huebner asked her mother if she’d like to paint, Gorenstein responded enthusiastically, “Yes, I remember better when I paint!” In response, Huebner invited students from the School of the Art Institute of Chicago to help her mother regain her skill and zest for the craft. After months of visits from one dedicated student, Jenny Graf Sheppard, Gorenstein gradually came out of her shell and started to paint. With the help of Sheppard and other students, Gorenstein produced around 300 paintings in the final years of her life. Doctors, caregivers, and family members noticed that the art sessions calmed Gorenstein, increased her focus, and made her receptive to communication.

“She was regaining the quality of life that she lost when she entered the nursing home,” recalled Sheppard in the film. According to Sheppard, the nursing home staff had subscribed to the idea that the “lights were off” for Gorenstein, and that she was no longer capable of engaging meaningfully. Huebner described her mother’s resurgence as a breakthrough, and hopes to share the same experience with others. She founded the Hilgos Foundation, which awards scholarships to students at the School of the Art Institute of Chicago to involve people with dementia in the arts.

Buoyed by dedicated students, artist Hilda Gorenstein painted prolifically in the final years of her life before succumbing to Alzheimer’s. From “I Remember Better When I Paint,” courtesy of the Hilgos Foundation.

While Gorenstein’s comeback is but one anecdotal account, other caregivers and researchers claim to have witnessed similar transformations. Judy Holstein, who is featured in the film and previously directed art programs at the Council for the Jewish Elderly in Chicago, told Alzforum that art engagement leads to closer connection with others, better attention, and greater mental and physical well-being. People tend to focus deeply during creative activities, become more present, and forget about aches, pains, and other things that would otherwise cause agitation, Holstein said. She recalled one instance when a woman who used a walker left it behind to participate in a drama session. Art can serve as a healthy outlet for people to express their fears, she said. “When you engage in art, you know your sense of well-being and inner and outer health is improved, not just during it, but afterwards,” she said.

Others extol the benefits of bringing people to art, rather than bringing art to people. Sean Caulfield is the co-founder and creative director of ARTZ: Artists for Alzheimer’s. This Boston-based nonprofit, also featured in Huebner’s documentary, creates guided, interactive programs at museums, parks, theaters, and other stimulating environments where people with dementia and their caregivers can engage. ARTZ focuses on getting people with dementia out into the community. Last year its museum program, “Meet Me at the Museum,” drew 800 people from 48 different care facilities, Caulfield said. “Consciousness is being raised about the idea that ‘getting out’ is therapy for all of us, and when people are deprived of that, their condition can worsen,” he said.

Like Holstein, Caulfield speaks of improvements in mood and communication. By acknowledging nonverbal forms of communication among the participants, such as a smile or thoughtful glance at a painting, program leaders sometimes find that people who had stopped speaking will suddenly pipe up. “Once the person’s anxiety about speaking is removed, and they feel accepted, that person will then speak. It just comes right out,” Caulfield said. While these momentary breakthroughs may not happen directly because of the art, Caulfield said it works as a catalyst. “That’s what makes art the great equalizer. By removing some of the physical, environmental, and social barriers, we’re left with the person.”

Where is the Proof?

While firsthand accounts of the transformative power of art in dementia abound, controlled trials do not. Chatterjee, who believes that engagement in the arts benefits people with dementia, readily concedes that solid research is lacking. “People have intuition but what is the evidence?” he asked. Chatterjee and colleagues recently reviewed the literature  (see Chancellor et al., 2014), uncovering a dozen case studies and four randomized controlled trials. Together they point to neuropsychiatric benefits of art engagement for people with dementia, but most were methodologically weak, Chatterjee said. “The problems with the studies are typically that they are anecdotal, or lack proper control groups. Also, they haven’t looked at basic questions of how many sessions there should be, or whether the effects generalize beyond the sessions, ” he said.

One study led by Diane Waller of the University of London, U.K., compared cognitive and psychological changes in people with dementia who had weekly art therapy sessions to those in people who took up other recreational activities for 40 weeks (see Rusted et al., 2006). The people in the art group became mentally sharper, calmer, and more social compared to those in the recreational group. After the study, participants in the art therapy group became more depressed for a while. Conclusions were hard to draw, however, because only 21 of the 45 people enrolled in the trial completed it, and had been diagnosed with several different kinds of dementia to begin with.

Another study, led by Toru Mase at the National Center for Geriatrics and Gerontology in Obu, Aichi, Japan, enrolled 39 people with mild Alzheimer’s disease in a 12-week trial that compared the cognitive and psychological effects of weekly art therapy to those of sessions where participants tried to solve math problems. Quality of life reportedly improved modestly for those in the art therapy sessions (seeHattori et al., 2011).

Chatterjee said future studies should parse out which kinds of art therapy most benefit people with dementia. The ideal study would start with people in similar stages of the same disease, intervene several times per week over the course of months, and incorporate appropriate control therapies based on social activity. He also suggested tracking whether benefits to patients persist beyond the art sessions, and whether the mental health of caregivers improves. Such studies would be time-intensive and costly, he said. “Funding would have to come from the government, but there’s more of a push towards biologically oriented interventions,” he said.

Does Art Defy Dementia?

Many reports on art’s effects on people with dementia are case studies. Luis Fornazzari of the University of Toronto has published a handful over the past decade, documenting that artistic or musical ability is relatively preserved in people with dementia (see Fornazzari, 2005Fornazzari et al., 2006). Most recently he published a collection of sketches the sculptor Mary Hecht made as she struggled with severe vascular dementia in the last years of her life (see Fornazzari et al., 2013). While Hecht scored low on cognitive tests such as the mini-mental state exam and, oddly enough, the clock drawing test, she produced detailed drawings of other things from memory, such as one of a reclining Buddha, and one of a famous cellist she had seen years before. “She proved the point that art, regardless of progressive dementia, is more resistant to neurodegenerative pathologies,” Fornazzari claimed. He also noted that Hecht came alive whenever art came up in conversation. “She couldn’t recall my name or who I was, but everything in the realm of art was there and fresh and ready to be discovered,” he told Alzforum. “The art was preserved, but the mundane, day-to-day things were impaired.” Fornazzari claims to have witnessed a similar preservation with other artists and musicians with Alzheimer’s disease.

In some cases, particularly in people with frontotemporal dementia (FTD), new artistic abilities emerge as the disease progresses. Bruce Miller of the University of California, San Francisco, recalled a businessman who had never painted before entering a period of “artistic brilliance” (see Miller et al., 1996). Miller observed similar episodes in other FTD patients, including, most famously, the scientist Anne Adams, who painted renderings of musical compositions while sliding into progressive aphasia (Seeley et al., 2008; see also New Scientist story). Although most patients with dementia never become renowned artists, the observation that their artistic expression remains intact while other faculties deteriorate could indicate that art poses a unique avenue of expression for those with dementia, said Miller. “These observations have taught me that despite the degenerative process, there’s a human being inside. There are things that give dementia patients great pleasure, and they still have potential,” he said.

Other clinicians make similar observations treating a disease that, like Alzheimer’s, devastates some parts of the brain and leaves others relatively spared. “Although verbal memory is almost always affected early, the disease is different in everyone,” said Brad Hyman of Massachusetts General Hospital. “I frequently ask our families to try nonverbal communication and skills, and in some cases this can be art. One of my patients recently won a local art contest despite struggling with our ‘standardized’ tests. Others respond well to music. Not every patient benefits. Even so, I concur with the idea that even in advanced dementia there is a person alive inside, and am committed to finding ways to help get them out,” he said.

In 2007, Miller compared art by people with FTD or AD to that made by healthy controls using raters blinded to each person’s diagnosis. People with FTD tended to produce disorganized yet vivid art, whereas people with AD tended to paint with muted colors and produce slightly distorted images (seeRankin et al., 2007). Miller thinks these artistic differences reflect the parts of the brain respectively ravaged by the each disease. When the frontal lobes degenerate, as in FTD, executive function and language suffer but visual processing may get a boost. In contrast, because Alzheimer’s progresses to the back of the brain where visuospatial processing occurs, this disease could lead to less vibrant or distorted drawing, Miller said. Overall, he believes that when certain parts of the brain degenerate, others become more active. “There’s this constant back and forth of one circuit turning off and the other turning on,” he said. This would explain why a subset of people with FTD may suddenly experience intense visual perception and hence be drawn to producing art, he said.

Even so, Miller doubts that creating or enjoying art can improve cognitive function or slow neurodegeneration in dementia. “I don’t think it changes the course of the disease, but it’s symptomatic therapy,” he said. Not all patients enjoy producing art, he added, and the type of creative activity to which people gravitate—including dancing or music—varies from person to person.

Miller champions the biological focus at the nation’s funding agencies, because finding cures for dementia should be the ultimate goal, he said. In the meantime, other interventions are sorely needed. “People live a long time with these diseases, so these other therapies are also important and their study should be funded,” he said.

Other leading Alzheimer’s researchers agree that rigorous data on art therapy may be hard to get. “A key challenge with dietary or lifestyle interventions is reducing things to a prescription.  We can now do that with physical exercise (three 30-minute sessions per week of weight training or brisk walking), but factors such as mental and social engagement cannot yet be reduced to a randomized, controlled trial. As a result we do not have an evidence-based regimen we can prescribe. The same is true of art therapy,” said Sam Gandy of Mount Sinai School of Medicine in New York. “Still, art may improve quality of life for patients and caregivers, even if temporarily. Anything that brings respite and joy into their lives is worth a shot while we are chasing down the science.”

How to make accurate Diagnosis of Dementia in patients who have mild cognitive impairment

How to make accurate Diagnosis of Dementia

in patients who have mild cognitive impairment

 

การตรวจวินิจฉัยโรคสมองเสื่อมหรือผู้ป่วยที่เริ่มมีความผิดปกติด้านความจำเบื้องต้นให้ถูกต้องแม่นยำ

โรคภาวะสมองเสื่อม (Dementia) เป็นปัญหาสาธารณสุขทั่วโลกและมีจำนวนผู้ป่วยที่มากขึ้นเป็นทวีคูณ มีการประมาณการว่าจำนวนผู้ป่วย Dementia จะเพิ่มมากเท่าตัวในช่วง 20 ปีข้างหน้า มีการประมาณการว่าจำนวนผู้ป่วยใน U.S.A. เพิ่มจาก 35 ล้านคนในปี 2000 เป็น 70 ล้านคนในปี 2030

ปัจจุบันมีผู้ป่วย Dementia 27 ล้านคนทั่วโลก และจะมีผู้ป่วยใหม่ประมาณ 5 ล้านคนต่อปี โดยชนิดของ Dementia ที่พบบ่อยที่สุดคือ Alzheimer’s dementia ประมาณ 65% ของผู้ป่วย Dementia ทั้งหมด

นอกจากนี้มี dementia จากสาเหตุอื่นๆ เช่น Vascular Dementia (VAD) พบประมาณ 15%-20% ของภาวะ dementia ใน U.S.A. แต่พบประมาณ 50% ของภาวะ dementia ในประเทศญี่ปุ่น ส่วน dementia with Lewy body (DLB) พบประมาณ 30% ของผู้ป่วยและ Frontotemporal dementia พบประมาณ 5%

ส่วนสาเหตุที่รองลงมาเช่น Creutzfeldt-Jakob disease, HIV-associated dementia, Parkinson’s dementia, Normal pressure hydrocepholus, dementia จากการสัมผัสยาและสารพิษ (เช่น ชา แอลกอฮอลล์ ยาเสพติด เป็นต้น) จากความผิดปกติของโรคทางกายหรือภาวะทางจิตเวช

อาการของผู้ป่วยที่จะเริ่มเป็นโรคสมองเสื่อม (dementia) ผู้ป่วยจะมีอาการหลงลืมเล็กน้อยแต่จะยังไม่มีความผิดปกติในการทำงานหรือการใช้ชีวิตประจำวันทำให้การวินิจฉัยหรือการให้การรักษาแต่เนิ่นๆ ไม่สามารถทำได้ ในทางการแพทย์พบว่าถ้ามีการวินิจฉัยได้ตั้งแต่เนิ่นๆ มีความสำคัญเพราะว่าการให้การรักษาทางยามีผลทำให้ชะลอการเกิดโรคหรืออาจจะป้องกันการเกิดโรคสมองเสื่อมตามมาได้มีทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าประหยัดค่าใช้จ่ายในการรักษากว่าการรักษาในขณะที่มีภาวะที่เป็นอาการเริ่มต้นของอาการหลงลืม

 

อาการหลงลืมเริ่มต้นมีสาเหตุที่สำคัญอยู่ 2 ภาวะคือ

  1. Age-associated memory impairment (AAMI) ภาวะความจำที่ถดถอยตามอายุ

 

  1. Mile cognitive impairment (MCI) ภาวะความจำที่ถดถอยที่ผิดปกติและมากาก่าเกณท์ความจำที่ปกติในผ.ป.อายุรุ่นคราวเดียวกัน

 

  1. ภาวะ AAMI เป็นภาวะที่ผู้ป่วยมีการสูญเสียความจำเพียงเล็กน้อย ผู้ป่วยในอายุ 50 ปีขึ้นไป จะมีอาการว่ามีความจำถดถอยลงเมื่อเทียบกับขณะอายุน้อย แต่ต้องมีความจำใกล้เคียงกับคนในวัยเดียวกัน จะพบอุบัติการของ AAMI ประมาณ 40% ของคนอายุ 65 ปีหรือมากกว่า และจะมีแค่ประมาณ 1% ของผู้ป่วย AAMI ที่กลายเป็นโรคสมองเสื่อมต่อปี

 

  1. MCI จะมีความรุนแรงของการสูญเสียความจำมากกว่ากลุ่ม AAMI แต่ก็ไม่มีผลกระทบต่อการทำงานและการใช้ชีวิตประจำวัน

มีผู้ป่วยจำนวนมากพอสมควรที่สมองมีพยาธิสภาพคล้ายผู้ป่วย Alzheimer’s dementia และพบว่ามีประมาณ 15% ของผู้ป่วย MCI จะกลายเป็นโรค Alzheimer’s dementia ต่อปี

 

ปัญหาและอุปสรรคในการวินิจฉัยภาวะสมองเสื่อม

ถึงแม้มีวิธีการวินิจฉัยจากประวัติการตรวจเรื่องความจำและ MRI Brain ที่ดีขึ้น แต่พบว่ามีโอกาสที่จะวินิจฉัยถูกต้องประมาณ 50%-90% ทำให้การรักษาผิดพลาดทั้งที่เป็น AAMI หรือทำให้ผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษาแต่เนิ่นๆ

แพทย์มักจะใช้เพียง CT หรือ MRI Brain ช่วยในการตรวจวินิจฉัยภาวะสมองเสื่อมอย่างเดียวซึ่งมักจะทำให้เกิดความผิดพลาดในการวินิจฉัยอย่างมาก

ส่วนการตรวจเรื่องความจำ จากการใช้จำนวนคะแนนจากการตรวจเรื่องความจำ ซึ่งเป็นปัญหาในการวินิจฉัยผู้ป่วยเป็น AAMI หรือ MCI ในปัจจุบันยังไม่มีการตรวจชนิดใดที่แม่นยำเพียงพอในการใช้ทางคลินิค การตรวจเรื่องความจำมีโอกาสผิดพลาดได้ เช่น ผู้ป่วยที่มีการศึกษาสูงเมื่อมีภาวะสมองเสื่อมในระยะเริ่มต้นอาจจะไม่พบความผิดปกติจากการตรวจเรื่องความจำได้หรือผู้ป่วยที่มีการศึกษาไม่สูงอาจจะพบว่าการตรวจเรื่องความจำผิดปกติแม้ว่าไม่มีโรคความจำเสื่อม

ดังนั้นการตรวจเรื่องความจำอย่างเดียวไม่สามารถใช้ยืนยันภาวะความจำเสื่อมเบื้องต้นได้ แต่จะต้องใช้ประกอบกับการตรวจชนิดอื่น

 

การตรวจด้วย PET scan

การใช้ PET scan ช่วยในการตรวจวินิจฉัยภาวะเริ่มต้นของสมองเสื่อมร่วมกับข้อมูลทางคลีนิค จะเพิ่มความแม่นยำในการวินิจฉัยภาวะเริ่มต้นของสมองเสื่อมได้ดีขึ้น จากการศึกษาพบว่า

ถ้าการตรวจวินิจฉัยภาวะเริ่มต้นของสมองเสื่อมมีการใช้ FDG PET scan ร่วมด้วย จะเพิ่มความแม่นยำได้สูงถึง 91.5%  3.5% เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้ใช้ PET scan ในการตรวจ (66%  17%)

 

ส่วนกรณีในผู้ป่วยที่เป็นโรคสมองเสื่อมแล้ว PET Scan

PET จะช่วยในการแยกชนิดของโรคสมองเสื่อมชนิดใดเช่น ว่าเป็น Alzheimer’s dementia, Vascular dementia, Fronto-temporal dementia หรือ Lewy-body dementia

 

ในบ้จจุบันทาง FDA ของสหรัฐอเมริกาได้ยอมรับการใชั PET ในการตรวจวินิจฉัยแยกโรคระหว่างโรคสมองเสื่อม Alzheimer’s dementia แยกจากโรคสมองเสื่อม Fronto-temporal dementia ชึ่งจากการศึกษาพบว่าถูกต้องสูงถึง 97.6% นอกจากนี้การตรวจ PET จะช่วยในการแยกโรคสมองเสื่อมอื่นฯด้วยเช่น แยกโรคสมองเสื่อม Alzheimer’s dementia จาก Lewy-body dementia หรือจาก Neurodegenerative disorder อื่นฯ

การรู้ถึงชนิดของโรคสมองเสื่อมจะทำให้ทราบว่าควรจะให้การรักษาอย่างไรและการบอกถึงการพยากรณ์โรค พบว่าผู้ป่วยสมองเสื่อมชนิด Fronto-temporal dementia จะไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยา  Acetyl cholinasterase inhibitor ที่ใช้ในการรักษาโรคสมองเสื่อม Alzheimer’s dementia

นอกจากนี้มีการศึกษาด้วยว่า PET สามารถใช้ในการตรวจหาสาร apohoporotein epsilon 4 (APOE-4) ซึ่งเป็นสารที่เป็นสาเหตุของ Alzheimer’s dementia จากการศึกษาพบว่า PET สามารถใช้คาดการณ์ได้ว่าผู้สูงอายุที่ปกติแต่มี APOE-4 จะเกิดภาวะสมองเสื่อมตามมา หรือใช้ในการคาดการณ์ว่าผู้ป่วย MCI จะกลายเป็นภาวะโรคสมองเสื่อมตามมา

นอกจากนี้ PET Scan อาจจะมีประโยชน์ในการตรวจผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงของโรค Alzheimer’s dementia เช่น ผู้ป่วยที่มีอุบัติเหตุทางสมองและผู้ป่วยเหล่านี้บางกลุ่มจะมีความเสี่ยงในการเกิดโรค Alzheimer’s dementia หรือผู้ป่วยที่มีญาติพี่น้องป่วยเป็นโรค Alzheimer’s dementia

 

การตรวจ PET Scan ถ้าผลเป็นปกติ จะได้ลดความวิตกกังวลของบุคคลที่มีความเสี่ยงเหล่านี้ หรือถ้าตรวจพบว่ามีความผิดปกติ จะทำให้บุคคลที่มีความเสี่ยงเหล่านี้ได้รับการรักษาแต่เนิ่นๆ

มีคำแนะนำจากการศึกษาพบว่าถ้าผู้ป่วยมีความผิดปกติของความจำจากการตรวจเรื่องความจำเบื้องต้น แล้ววิเคราะห์จากประวัติแล้ว ควรได้รับการตรวจหาสาเหตุความจำเสื่อมเบื้องต้นรวมถึง MRI Brain การตรวจหา PET Scan จะทำให้การตรวจวินิจฉัยได้แม่นยำขึ้น รวมทั้งผู้ป่วยที่มีการตรวจเบื้องต้นไม่พบความผิดปกติ ควรจะได้ทำการตรวจ PET Scan หรือการใช้ PET ในผู้ป่วยสมองเสื่อม และควรใช้เป็นข้อมูลร่วมกับอาการทางคลีนิคในการวินิจฉัยชนิดของโรคสมองเสื่อม