ความเหงา ซึมเศร้า เมื่อเข้าสู่วัยชรา

พลโท.ดร.นพ.โยธิน. ชินวลัญช์

การแก่ชราเป็นขบวนการที่เริ่มต้นด้วยชีวิตและดำเนินต่อไปตลอดวงจรชีวิตของมนุษย์ซึ่งแสดงถึงช่วงปลายของชีวิต ช่วงเวลาที่บุคคลมองย้อนกลับไปในชีวิตที่ผ่านมา ใช้ชีวิตบนความสำเร็จในอดีต และเริ่มสิ้นสุดเส้นทางชีวิตของตนเอง การปรับตัวให้เข้ากับความเปลี่ยนแปลงที่มาพร้อมกับวัยชรานั้น แต่ละคนต้องมีความยืดหยุ่นและพัฒนาทักษะการเผชิญกับปัญหาใหม่ๆ เพื่อปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงที่มักเกิดขึ้นในช่วงนี้ของชีวิต

มีหลักฐานจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ที่บ่งชี้ให้เห็นว่าปัจจัยทางจิตวิทยาและสังคมวิทยามีอิทธิพลอย่างมากต่ออายุของแต่ละคน การวิจัยเรื่องการสูงวัยได้แสดงให้เห็นความสัมพันธ์เชิงบวกของความเชื่อทาง ศาสนา ความสัมพันธ์ทางด้านสังคม สุขภาพ การรับรู้ความสามารถของตนเอง สถานะทางเศรษฐกิจและสังคม และทักษะการเผชิญปัญหา ตลอดจนความสามารถในการปรับตัวในช่วงอายุที่มากขึ้น

อาการซึมเศร้าหรืออาการซึมเศร้าเป็นอาการที่เห็นได้เด่นชัดขึ้นในกลุ่มผู้สูงอายุ โดยส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิต การศึกษาจำนวนมากแสดงให้เห็นว่าความชุกของอาการซึมเศร้าเพิ่มขึ้นตามอายุ อาการซึมเศร้าไม่เพียงเป็นตัวชี้วัดความสุขทางจิตใจ แต่ยังเป็นที่รู้จักในฐานะตัวทำนายที่สำคัญของสุขภาพ การทำงาน และอายุที่ยืนยาวด้วย การศึกษาระยะยาวแสดงให้เห็นว่าอาการซึมเศร้าที่เพิ่มขึ้นมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญกับความยากลำบากที่เพิ่มขึ้นในการดำเนินกิจกรรมในชีวิตประจำวัน ข้อมูลจากากรศึกษาในชุมชนระบุว่าผู้สูงอายุที่มีโรคซึมเศร้ามีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังมีการศึกษาที่บ่งชี้ว่าโรคซึมเศร้าอาจสัมพันธ์กับการความจำที่ลดลง

แม้ว่ายังมีความเชื่อที่ว่าภาวะซึมเศร้าเหมือนกันกับความชราและภาวะซึมเศร้าเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ก็มีงานวิจัยเมื่อเร็วๆ นี้ซึ่งค้านกับความคิดที่ว่าภาวะซึมเศร้าเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้  แต่ในทางตรงข้ามอาการซึมเศร้ามีสาเหตุมาจากปัญหาทางสังคม ร่างกาย และจิตใจ ซึ่งปัญหาเหล่านี้มักเกิดขึ้นในวัยสูงอายุ ทำให้เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคซึมเศร้า แต่ว่าภาวะซึมเศร้าไม่ใช่เป็นผลของปัญหาเหล่านี้โดยตรง จากการศึกษาพบว่าอายุไม่ได้สัมพันธ์กับการก่อให้เกิดภาวะซึมเศร้าอย่างมีนัยสำคัญเสมอไป พบว่าคนชราที่อายุมากที่สุดอาจมีทักษะในการจัดการกับภาวะซึมเศร้าได้ดีขึ้น แม้ว่าอุบัติการณ์ของอาการซึมเศร้าจะพบได้บ่อยขึ้นในคนสูงอายุแต่อาการก็ไม่รุนแรงเท่ากับในประชากรที่อายุน้อยกว่า

เมื่อภาวะซึมเศร้าเกิดขึ้นครั้งแรกในชีวิต มีแนวโน้มที่จะมีผลจาก ปัจจัยทางพันธุกรรม บุคลิกภาพ และประสบการณ์ชีวิตที่จะมีผลให้เกิดภาวะซึมเศร้า ภาวะซึมเศร้าที่เกิดขึ้นครั้งแรกในชีวิตในวัยชรามีแนวโน้มที่จะสัมพันธ์กับปัญหาสุขภาพร่างกาย ผู้สูงอายุที่มีสุขภาพร่างกายดีมีความเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้าค่อนข้างต่ำ สุขภาพกายเป็นสาเหตุสำคัญของภาวะซึมเศร้าในช่วงปลายชีวิต มีเหตุผลหลายประการ ซึ่งรวมถึงผลกระทบทางจิตวิทยาของการเจ็บป่วยและผลจากการมีภาวะทุพพลภาพ ผลกระทบของความเจ็บปวดเรื้อรัง ผลกระทบสภาวะเจ็บป่วย หรือผลจากยาบางชนิดที่อาจก่อให้เกิดภาวะซึมเศร้าโดยอาจจะมีผลกระทบต่อสมองโดยตรง นอกจากนี้ข้อจำกัดทางสังคมที่เป็นผลจากเจ็บป่วยมีผลกระทบกับการดำเนินชีวิตของผู้สูงอายุ ส่งผลให้เกิดความโดดเดี่ยวและก่อให้เกิดความเหงาตามมา และมีข้อบ่งชี้อย่างชัดเจนว่าภาวะซึมเศร้าเพิ่มความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้อย่างมาก ส่วนใหญ่เกิดจากสาเหตุที่ผิดธรรมชาติและจากโรคหัวใจและหลอดเลือด 

ความเหงาเป็นความรู้สึกส่วนตัวและเชิงลบที่เกี่ยวข้องกับประสบการณ์ของบุคคลที่มีความสัมพันธ์ทางสังคมที่บกพร่อง ตัวกำหนดของความเหงามักถูกกำหนดบนพื้นฐานจากสาเหตุ 2 อย่างคือ จากปัจจัยภายนอก เช่น การมีกิจกรรมทางสังคมที่ลดลง เป็นต้น และผลจากปัจจัยภายในตนเอง เช่น จากลักษณะของบุคลิกภาพและปัจจัยทางด้านจิตวิทยา

ความเหงาอาจนำไปสู่ผลกระทบด้านสุขภาพที่ร้ายแรง เป็นหนึ่งใน 3 ปัจจัยหลักที่นำไปสู่ภาวะซึมเศร้า และเป็นสาเหตุสำคัญของการฆ่าตัวตายและการพยายามฆ่าตัวตาย การศึกษาพบว่าความเหงามีความเกี่ยวข้องกับการปรับตัวทางจิตใจที่ไม่ดี ความไม่พอใจกับชีวิตครอบครัวและความปัญหาทางด้านความสัมพันธ์ทางสังคม

เมื่อคนเราแก่ตัวลง โอกาสที่จะประสบกับความสูญเสียที่เกี่ยวข้องกับอายุก็เพิ่มขึ้น ความสูญเสียดังกล่าวมีผลกระทบต่อการที่ไม่สามารถคงสัมพันธภาพเหมือนเก่าไว้ได้ ส่งผลให้เกิดความเหงามากขึ้น หลายคนประสบกับความเหงาอันเป็นผลมาจากการอยู่คนเดียว ขาดความสัมพันธ์กับคนในครอบครัวที่ใกล้ชิด การลดลงของความสัมพันธ์กับสิ่งที่ทำมาเป็นประจำมาก่อน หรือการไม่สามารถมีส่วนร่วมในกิจกรรมชุมชนท้องถิ่นได้เหมือนก่อน เมื่อสิ่งนี้เกิดขึ้นร่วมกับความพิการทางร่างกาย จากการศึกษาพบว่า ผลกระทบด้านลบของความเหงาต่อสุขภาพในวัยชรา เช่น การเสียชีวิตของคู่สมรสและเพื่อนฝูง และการที่ไม่มีสังคมหลังเลิกงานเหมือนที่เคยทำมาประจำหรือการพบปะเพื่อนบ้านที่คุ้นเคยลดลงหรือหายไป เป็นเหตุการณ์ที่เปลี่ยนแปลงชีวิตที่จะก่อให้เกิดความเหงาในผู้สูงอายุ ในผู้ที่มีอายุมากที่สุดจะมีแนวโน้มที่จะพบอัตราการเกิดความเหงาได้สูงที่สุด ซึ่งสะท้อนถึงความน่าจะเป็นที่เพิ่มขึ้นของการสูญเสียดังกล่าว

การศึกษาพบว่าความเหงามีผลกระทบของภาวะซึมเศร้าและการเสียชีวิต ในคนชราที่อายุมากภาวะซึมเศร้าที่สัมพันธ์กับการเสียชีวิตมักจะมีสาเหตุจากการที่มีความเหงาร่วมด้วย ในผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้ามีอาการ เช่น อาการถอนตัวจากสังคม ภาวะวิตกกังวล การขาดแรงจูงใจ และความเศร้า อันที่จริงผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้านี้มักจะมีอาการเหงาที่ซ่อนเร้นอยู่

การเข้าสังคมในวัยชรา

การเข้าสังคมมีบทบาทสำคัญในการป้องกัน ความทุกข์ทางจิตใจและในการเสริมสร้างความเป็นอยู่ที่ดี ปัจจัยทางสังคมที่มีต่ออาการซึมเศร้าในวัยชรา ในอายุที่เพิ่มขึ้น สถานะทางเศรษฐกิจและกิจกรรมทางสังคมที่ลดลง และปริมาณหรือคุณภาพของความสัมพันธ์ทางสังคมที่ลดลงล้วนเกี่ยวข้องกับ เพิ่มการเกิดอาการซึมเศร้า การแยกตัวทางสังคมก็เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ สำหรับปัญหาการหยุดการทำงานในผู้สูงอายุอาจนำไปสู่ความรู้สึกว่างเปล่าและซึมเศร้า “บุคคลที่ยังคงมีกิจกรรมเกี่ยวข้องการเข้าสังคมมักจะได้รับผลกระทบจากปัญหาในชีวิตประจำวันที่น้อยกว่า และมีความรู้สึกที่เป็นอิสระมากกว่า แต่ในคนที่ไม่มีการเข้าสังคมมักจะรู้สึกโดดเดี่ยว ถูกเพิกเฉย และซึมเศร้า มากกว่าอันจะมีผลต่อความสัมพันธ์ภาพที่ไม่ดี มีความพึงพอใจในชีวิตที่น้อยกว่าและมักจะขาดแรงจูงใจในการเปลี่ยนแปลง”

การเข้าสังคมเพียงเล็กน้อยหรืออยู่คนเดียวไม่ได้รับประกันถึงความเหงา ซึ่งอันที่จริงแล้วผู้สูงอายุ การใช้เวลาอยู่ร่วมกับครอบครัวอาจมมีความพึงพอใจน้อยกว่าการไปเยี่ยมเพื่อนในวัยเดียวกัน มีการศึกษาพบว่าผู้สูงอายุมักจะสร้างมิตรภาพกับผู้ที่มีอายุเท่ากันได้ดีกว่า ดังนั้นเมื่ออายุมากขึ้น ผู้คนจะสูญเสียความเป็นมิตรภาพเก่าอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และผู้สูงอายุพบว่าเป็นการยากที่จะสร้างมิตรภาพใหม่ แต่อย่างไรก็ตามในผู้ที่มีความพร้อมทั้งในทรัพย์สินและมีความรู้สติปัญญาที่มากกว่าก็มี “ทุน” ทางสังคมมากขึ้น ซึ่งช่วยให้พวกเขาสามารถแสวงหาความสัมพันธ์และรูปแบบใหม่ๆ ของการมีส่วนร่วมทางสังคมต่อไปได้

ปัจจุบันจำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้นทั่วโลก ทำให้ผู้สูงอายุต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงทั้งทางร่างกาย จิตใจ และสังคมมากมายที่ท้าทายความรู้สึกของตนเองและความสามารถในการใช้ชีวิตอย่างมีความสุข ภาวะซึมเศร้าและความเหงาถือเป็นปัญหาสำคัญที่มีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตในผู้สูงอายุ ในทางตรงข้ามในวัยชราอาจเป็นโอกาสอันดีที่จะเป็นการสร้างความรู้จักกับเพื่อนใหม่ พัฒนาความสนใจใหม่ ใช้เวลาการเข้าสังคม อันจะมีผลทำให้มีความสุขในชีวิต และหลีกเลี่ยงและป้องกัน การเกิด ความเหงา ซึมเศร้า เมื่อเข้าสู่วัยชรา

ทำไมเราถึงฝัน

พลตรี.ดร.นพ.โยธิน. ชินวลัญช์

นายกสมาคมนิทราเวชศาสตร์

ทำไมถึงคนเราถึงมีการฝัน จากการศึกษามาเป็นเวลาเกือบ 1000 ปีเรายังไม่สามารถที่จะให้คำตอบได้ชัดเจนว่าทำไมคนเราถึงต้องฝัน

จากทฤษฎีของผู้เชี่ยวชาญพูดถึงเกี่ยวเรื่องความฝันและจากการวิจัยทำให้เราได้มีความรู้ และความเข้าใจในเรื่องของความฝันได้มากขึ้น

ความฝันคืออะไร

ความฝันจะประกอบด้วย ภาพความคิดและอารมณ์ที่เราประสบในช่วงการนอนหลับความฝันอาจจะมีตั้งแต่เหตุการณ์ที่ จินตนาการ เหลือเชื่อ แปลก เข้มข้น ให้อารมณ์ หรือเรื่องที่ไม่มีความหมาย ล่องลอย สับสน หรือ แม้กระทั่งเรื่องที่น่าเบื่อ ความฝัน บางอย่างทำให้มีความสุข สดชื่น แต่บางอย่างก็ทำให้น่าตกใจ สะพรึงกลัวหรือเศร้า ความฝันบางอย่างก็จะมีความหมายที่ชัดเจนแต่ความฝันบางอย่างก็ไม่มีความหมายอะไรเลย

ยังมีสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์ยังไม่ทราบอีกมากเกี่ยวเรื่องการนอนและความฝัน แต่สิ่งที่จากการวิจัยได้กระทำมาแล้วทราบว่าทุกคนจะต้องมีการฝันเมื่อเวลานอนหลับอย่างน้อยประมาณ 2 ชั่วโมง ในช่วงการนอน REM sleep ต่อคืนขึ้นกับว่าจะจำเหตุการณ์ความฝันได้หรือไม่ได้เมื่อเวลาตื่นขึ้นมา

เราจะศึกษาความฝันได้อย่างไร

การศึกษาโดยวิธีดั้งเดิมเกี่ยวกับเรื่องของรายละเอียดของความฝันจะวัดได้จากการสัมภาษณ์ในผู้คนที่ฝันเมื่อเวลาตื่นขึ้นมา อย่างไรก็ตามการศึกษาสามารถประเมินในห้องปฏิบัติการได้ มีการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องของความฝันที่เกิดขึ้นและดูการทำงานของสมองโดยใช้เครื่องตรวจขึ้นแม่เหล็กไฟฟ้าสมองที่เรียกว่า fMRI และมาสัมพันธ์กับอาการฝันของผู้เข้ารับการวิจัย

บทบาทของ ความฝัน

มีทฤษฎีที่เชื่อว่าความฝันที่เกิดขึ้นมี เป็นกระบวนการการทำงานของสมองที่เกี่ยวกับ

  1. เพื่อการสร้างความจำแบบถาวร
  2. เป็นกระบวนการกลไกของอารมณ์ของมนุษย์
  3. เป็นความต้องการที่อยู่ในจิตใต้สำนึกของคนเรา
  4. เป็นกลไกของสมองที่มีการฝึกฝนที่จะเผชิญต่ออันตรายที่จะเกิดขึ้น

แต่อย่างไรก็ตามเราก็เชื่อว่าความฝันเป็นผลรวมของเหตุผลหลายอย่าง มากกว่าจะเป็นเรื่องของเหตุผลอันใดอันหนึ่งและเราเชื่อว่าความฝันมีความจำเป็นสำคัญต่อ จิตใจของมนุษย์ อารมณ์ และ สภาพร่างกายที่สมบูรณ์โดยที่ไม่ได้มีจุดประสงค์เพียงอันใดอันหนึ่ง

การฝันจะเกิดในช่วงในระดับการนอนที่แตกต่างกัน ถ้าเรามีการฝันในช่วงของการนอนหลับ REM sleep เราก็อาจจะจำความฝันอันนั้นได้ แต่อย่างไรก็ตามเราอาจจะฝันในช่วงของนอน Non-REM sleep ได้เช่นกันแต่ความฝันในระยะนี้เราไม่สามารถที่จะจดจำรายละเอียดได้

ความฝันอาจจะสะท้อนจิตไร้สำนึก

ทฤษฎีความฝันของซิกมุนด์ ฟรอยด์ แสดงให้เห็นว่าความฝันเป็นตัวแทนของความปรารถนา ความคิด การเติมเต็มความปรารถนา และแรงจูงใจโดยไม่รู้ตัว ผู้คนมักถูกขับเคลื่อนด้วยความปรารถนาที่เก็บใว้อยู่ใต้จิตสำนึก เช่น สัญชาตญาณที่ก้าวร้าว และ สัญชาตยานทางเพศ แม้ว่าคำกล่าวอ้างของฟรอยด์หลายๆ อย่างจะถูกหักล้าง การวิจัยต่อมมาชี้ให้เห็นว่ามีผลสะท้อนกลับของความฝัน หรือที่เรียกว่าทฤษฎีการสะท้อนกลับของความฝัน ซึ่งการที่มีการยั้บยั้งของความคิดของคนเราในช่วงตื่นจะมักจะส่งผลให้เกิดการฝันถึงสิ่งนั้น

อะไรทำให้ความฝันเกิดขึ้น?

ใน “การตีความหมายของความฝัน” ฟรอยด์ เขียนว่าความฝันคือ “การเติมเต็มความปรารถนาที่เราอดกลั้นหรือยั้บยั้งไว้” นอกจากนี้ เขายังอธิบายถึงองค์ประกอบสองอย่างที่แตกต่างกันของความฝัน: เนื้อหาอย่างชัดแจ้ง และ เนื้อหาแฝง (ความหมายที่ซ่อนอยู่)

ทฤษฎีของฟรอยด์มีส่วนทำให้การตีความหมายของความฝันเพิ่มขึ้นและเป็นที่นิยม แต่จากการวิจัยต่อมาไม่สามารถที่จะแสดงให้เห็นว่าความฝันมีเนื้อหาที่ชัดเจน และ เนื้อหาแฝง อย่างที่ฟรอยด์เคยเสนอไว้ ผู้เชี่ยวชาญบางคนเชื่อว่าความสำคัญทางจิตวิทยาของความฝัน เป็นเรื่องของบทบาทสำคัญในการประมวลของอารมณ์และประสบการณ์ที่ตึงเครียด

ตามแบบจำลองการกระตุ้น-สังเคราะห์ของความฝัน (activation-synthesis theory) ซึ่งเสนอครั้งแรกโดย J. Allan Hobson และ Robert McCarley วงจรในสมองจะทำงานระหว่างการนอนหลับ REM การศึกษาพบว่าสมองส่วน hippocampus และ amygdala จะมีถูกกระตุ้นร่วมมไปถึงวงจรของสมองที่ประกอบด้วยส่วนของสมองที่เรียกว่า limbic system ที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์ ความรู้สึก และความทรงจำ สมองเหล่านี้จะถูกกระตุ้นและพยายามสร้างความหมายจากสัญญาณเหล่านี้ซึ่งส่งผลให้เกิดความฝัน

 ส่งผลให้เกิดการรวบรวมความคิด ภาพ และความทรงจำแบบสุ่มที่ปรากฏขณะฝัน และจะมีการประมวลรวบรวม สิ่งเหล่านี้ในขณะตื่นขึ้นมา

แม้ว่าในขณะนอนหลับ สมองของคนเราก็ยังทำงาน Hobson และ McCarley เสนอแนะว่าระหว่างการนอนหลับ กิจกรรมในระดับ พื้นฐานของสมองที่รับผิดชอบต่อขบวนการทางชีววิทยาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก จะถูกตีความโดยส่วนต่างๆ ของสมองที่มีหน้าที่ในระดับสูง เช่น การคิดและการประมวลผลข้อมูล การนอนหลับช่วยให้สมองทำกิจกรรมหลายอย่าง เช่น การทำความสะอาดสมอง และ รวบรวมความทรงจำจากวันก่อนหน้าให้เป็นระเบียบ ทฤษฎีการสังเคราะห์การกระตุ้นแนะนำว่า กระบวนการทางสรีรวิทยาที่เกิดขึ้นเมื่อเรานอนหลับเป็นสาเหตุของความฝัน

ความฝันช่วยในความทรงจำ

ตามทฤษฎีการประมวลผลข้อมูล การนอนหลับช่วยให้เราสามารถรวบรวมและประมวลผลข้อมูลและความทรงจำทั้งหมดที่เราได้รวบรวมไว้เมื่อวันก่อน ผู้เชี่ยวชาญด้านความฝันบางคนแนะนำว่าการฝันเป็นผลพลอยได้หรือแม้แต่ส่วนสำคัญของการประมวลผลประสบการณ์นี้

โมเดลนี้เรียกว่าทฤษฎีการจัดระเบียบตนเองของการฝัน อธิบายว่าการฝันเป็นผลข้างเคียงของการทำงานของระบบประสาทในสมอง เนื่องจากความทรงจำถูกรวมเข้าด้วยกันระหว่างการนอนหลับในระหว่างกระบวนการกระจายข้อมูลในขณะที่เราไม่รู้ตัว ความทรงจำนั้นมีความเข้มแข็งหรืออ่อนแอ ตามทฤษฎีการจัดระเบียบตนเองของความฝัน ในขณะที่เราฝัน ความทรงจำที่เป็นประโยชน์จะทำให้เราจำได้ดีขึ้น ในขณะที่ความจำที่มีประโยชน์น้อยกว่าก็จะจางหายไป จากการวิจัยสนับสนุนทฤษฎีนี้โดยพบว่าเวลาที่คนทำงานที่ซับซ้อนเมื่อบุคคลนั้นฝันหลังจากที่ลงมือทำ พบว่าบุคคลนั้นจะทำงานที่ซับซ้อนได้ดีขึ้น การศึกษายังแสดงให้เห็นว่าในระหว่างการนอนหลับ REM มีคลื่นไฟฟ้าช่วงความถี่ theta ในสมองส่วนหน้า frontal lobe เหมือนกับที่เกิดขึ้นเมื่อคนฯนั้นกำลังเรียนรู้ เก็บและจดจำข้อมูลในช่วงขณะตื่น

ความฝันกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์

อีกทฤษฎีหนึ่งเกี่ยวกับความฝันกล่าวว่า ทฤษฎีความคิดสร้างสรรค์แห่งความฝัน จิตไต้สำนึกของคนเราที่ไม่ถูกจำกัด มีอิสระที่จะท่องไปในศักยภาพที่ไร้ขอบเขต ในขณะที่ไม่ได้รับการยั้บยั้งจากความเป็นจริงในสังคม แต่ความคิดสร้างสรรค์ของคนเราจะถูกยับยั้งชั่งใจของตัวเราองในขณะตื่นมีสติสัมปชัญญะ การวิจัยแสดงให้เห็นว่าความฝันเป็นตัวส่งเสริมให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ที่มีประสิทธิภาพ

จากการวิจัยทางวิทยาศาสตร์มีหลักฐานไม่มากนัก ที่ยืนยันข้อเท็จจริงนี้ มีหลายคนประสบความสำเร็จในการไขว่คว้าความฝันของพวกเขาเพื่อสร้างแรงบันดาลใจ และให้เครดิตว่าเป็นเรื่องบัลดาลใจจากความฝัน ดั้งนั้นความสามารถในการสร้างการเชื่อมต่อระหว่างความทรงจำและความคิดที่ปรากฏในความฝันอาจจะเป็นการก่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ได้

ความฝันสะท้อนชีวิตของคุณ

ภายใต้สมมติฐานที่ต่อเนื่องกัน ความฝันทำหน้าที่เป็นภาพสะท้อนของชีวิตจริงของบุคคล โดยนำประสบการณ์ที่ในช่วงขณะตื่นเข้ามาไว้ในความฝันของ ความฝันจะแสดงเป็นภาพปะติดปะต่อของเศษความทรงจำ ถึงกระนั้น การศึกษาแสดงให้เห็นว่าการนอนหลับ Non-REM อาจเกี่ยวข้องกับหน่วยความจำที่สิ่งที่เป็นกิจวัตรประจำวันมากกว่า ในขณะที่ความฝัน REM เป็นความมจำทีเกี่ยวข้องกับความทรงจำทางอารมณ์และ ความจำที่ทำให้เราเข้าใจหรือเป็นความรู้ โดยทั่วไป ความฝันจาก REM มักจะจำได้ง่ายกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับความฝันจาก Non-REM 

ภายใต้สมมติฐานความต่อเนื่อง ความทรงจำอาจกระจัดกระจายอย่างมีจุดมุ่งหมายในความฝันของเรา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการผสมผสานการเรียนรู้และประสบการณ์ใหม่ๆ เข้าไว้ในความทรงจำระยะยาว แต่ก็ยังมีคำถามที่ยังไม่ได้คำตอบมากมายว่าเหตุไฉนทำไมความทรงจำบางแง่มุมจึงปรากฏเด่นชัดในความฝันของเรา

ความฝันเพื่อเป็นการเตรียมตัวและปกป้อง

ทฤษฎีการฝึกฝนสัญชาตญาณดั้งเดิมและกลยุทธ์การปรับตัวของการฝันเสนอว่าเราฝันที่จะเตรียมตัวให้พร้อมเพื่อเผชิญหน้ากับอันตรายในโลกแห่งความเป็นจริง ความฝันในฐานะฟังก์ชันการจำลองทางสังคมหรือการจำลองภัยคุกคามช่วยให้ผู้ฝันมีสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยในการฝึกฝนทักษะการเอาชีวิตรอดที่สำคัญ ในขณะฝัน เราได้ฝึกฝนสัญชาตญาณการต่อสู้หรือหนี และสร้างความสามารถทางจิตเพื่อรับมือกับสถานการณ์ที่คุกคาม ภายใต้ทฤษฎีการจำลองภัยคุกคาม สมองขณะหลับของเรามุ่งเน้นไปที่กลไกการต่อสู้หรือหนีเพื่อเตรียมเราให้พร้อมสำหรับสถานการณ์ที่คุกคามชีวิตและ/หรือสถานการณ์ที่รุนแรงทางอารมณ์ เช่น วิ่งหนีผู้ไล่ตาม ตกหน้าผา โผล่ที่ไหนสักแห่งในสภาพที่เปลือยเปล่า เข้าห้องน้ำสาธารณะ ลืมอ่านหนังสือสอบปลายภาค เป็นต้น ทฤษฎีนี้แนะนำว่าการฝึกหรือซ้อมทักษะเหล่านี้ในฝันทำให้เราได้เปรียบเชิงวิวัฒนาการในการที่เราจะรับมือหรือหลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่คุกคามในโลกแห่งความเป็นจริงได้ดียิ่งขึ้น สิ่งนี้ช่วยอธิบายได้ว่าทำไมความฝันมากมายจึงมีเนื้อหาที่น่ากลัว ดราม่า หรือเข้มข้น

ความฝันช่วยประมวลผลอารมณ์

ทฤษฎีความฝันเกี่ยวกับการควบคุมอารมณ์กล่าวว่าหน้าที่ของความฝันคือช่วยให้เราประมวลผลและรับมือกับอารมณ์หรือความบอบช้ำทางจิตใจในพื้นที่ที่ปลอดภัย จากการวิจัยแสดงให้เห็นว่า สมองส่วน amygdala และ hippocampus มีบทบาทสำคัญในการกลั่นกรองข้อมูลและย้ายความจำจากหน่วยความจำระยะสั้นไปเก็บที่หน่วยความจำระยะยาว มีการทำงานมากในขณะที่มีการฝันอยู่ สิ่งนี้แสดงให้เห็นว่ามมีความเชื่อมโยงที่ชัดเจนระหว่างความฝัน การจัดเก็บความทรงจำ และการประมวลผลทางด้านอารมณ์

ทฤษฎีนี้ชี้ให้เห็นว่าการนอนหลับ REM มีบทบาทสำคัญในการควบคุมอารมณ์ของสมอง นอกจากนี้ยังช่วยอธิบายว่าเหตุใดความฝันจึงมีเรื่องของอารมณ์อยู่ในความฝันด้วย และเวลาที่เรามีประสบการณ์ทางอารมณ์ที่เลวร้ายหรือประสบบาดแผลทางด้านจิตใจ สิ่งเหล่านี้จึงมักปรากฏขึ้นซ้ำๆ ในความฝัน การวิจัยแสดงให้เห็นความเชื่อมโยงระหว่างความสามารถในการประมวลผลอารมณ์และการนอนหลับ REM ที่เกิดขึ้น

ทฤษฎีอื่นๆ เกี่ยวกับเหตุผลที่เราฝัน

มีการแนะนำทฤษฎีอื่น ๆ มากมายเพื่ออธิบายว่าทำไมเราถึงฝัน

  1. ทฤษฎีหนึ่งยืนยันว่าความฝันเป็นผลมาจากสมองของเราพยายามตีความสิ่งเร้าภายนอก (เช่น เสียงเห่าของสุนัข เสียงเพลง หรือการร้องไห้ของทารก) ระหว่างการนอนหลับ
  2. อีกทฤษฎีหนึ่งใช้คอมพิวเตอร์อุปมาเพื่ออธิบายความฝัน โดยสังเกตว่าความฝันทำหน้าที่ “ชำระล้าง” ความยุ่งเหยิงออกจากจิตใจ ทำให้สมองสดชื่นสำหรับวันรุ่งขึ้น
  3. ทฤษฎีการเรียนรู้แบบย้อนกลับแสดงให้เห็นว่าเราฝันที่จะลืม สมองของเรามีการเชื่อมต่อทางประสาทนับพันระหว่างความทรงจำ—มากเกินกว่าจะจำได้ทั้งหมด—และความฝันนั้นเป็นส่วนหนึ่งของ “การตัดแต่ง” การเชื่อมต่อเหล่านั้น
  4. ในทฤษฎีการกระตุ้นอย่างต่อเนื่อง เราฝันเพื่อที่จะให้สมองตื่นตัวขณะนอนหลับ เพื่อให้สมองทำงานได้อย่างถูกต้อง

การรู้ถึงความฝัน (Lucid Dreaming)

ความฝันแบบนี้เป็นความฝันที่ค่อนข้างหายากซึ่งผู้ฝันมีความตระหนักอยู่ในความฝันและมักจะควบคุมเนื้อหาความฝันได้ การวิจัยระบุว่าประมาณ 50% ของผู้คนจำได้ว่าเคยมีความฝันที่ชัดเจนอย่างน้อยหนึ่งครั้งในชีวิต และมีเพียง 10% รายงานว่ามีความฝันสองครั้งขึ้นไปต่อเดือน ไม่ทราบสาเหตุที่คนบางคนประสบกับความฝันที่ชัดเจนบ่อยกว่าคนอื่นๆ ในขณะที่ผู้เชี่ยวชาญยังไม่ชัดเจนว่าเหตุใดความฝันที่ชัดเจนจึงเกิดขึ้น การวิจัยเบื้องต้นส่งสัญญาณว่าบริเวณส่วนหน้า prefrontal และสมอง parietal lobe มีบทบาทสำคัญ หลายคนปรารถนาความฝันที่ชัดเจนและแสวงหาประสบการณ์นั้นให้บ่อยขึ้น

วิธีฝึกที่เป็นไปได้สำหรับการกระตุ้นให้เกิดความฝันที่ชัดเจน ได้แก่ การฝึกความรู้ความเข้าใจ การกระตุ้นจากภายนอกระหว่างการนอนหลับ และการใช้ยา มีการพบความเชื่อมโยงที่ชัดเจนระหว่างความฝันที่ชัดเจนกับการคิดเชิงจินตนาการและผลลัพธ์ที่สร้างสรรค์ การวิจัยพบว่าผู้ฝันที่ชัดเจนทำงานได้ดีกับงานสร้างสรรค์มากกว่าผู้ที่ไม่ได้ฝันแบบรู้ถึงความฝัน

ความฝันจากความเครียด

ประสบการณ์ที่ตึงเครียดมักจะปรากฏขึ้นบ่อยครั้งในความฝันของเรา ความฝันความเครียดอาจอธิบายได้ว่าเป็นเรื่องเศร้า น่ากลัว และฝันร้าย ผู้เชี่ยวชาญไม่เข้าใจอย่างถ่องแท้ว่าเหตุใดเนื้อหาที่ตึงเครียดจึงมาอยู่ในความฝันของเราได้อย่างไร แต่หลายคนก็ชี้ไปที่ทฤษฎีต่างๆ มากมาย รวมถึงสมมติฐานความต่อเนื่อง กลยุทธ์ที่ปรับเปลี่ยนได้ และทฤษฎีความฝันที่ควบคุมอารมณ์เพื่ออธิบายเหตุการณ์เหล่านี้ ความฝันความเครียดและสุขภาพจิตดูเหมือนจะไปด้วยกันได้

ความเครียดรายวันมักจะปรากฏขึ้นในความฝัน: การวิจัยพบว่าผู้ที่มีความกังวลมากขึ้นในชีวิตที่ตื่นขึ้นและผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคเครียดหลังเกิดเหตุการ์ณที่กระทบกระเทือนจิตใจ (Post traumatic stress syndrome: PTSD) จะพบว่ามีความถี่และความรุนแรงของฝันร้ายที่สูงขึ้น

ความผิดปกติทางสุขภาพจิตอาจส่งผลต่อความฝันที่: ผู้ที่มีความผิดปกติทางสุขภาพจิต เช่น ความวิตกกังวล โรคอารมณ์สองขั้ว และภาวะซึมเศร้า มักจะมีความฝันที่ไม่ดี ฝันร้าย มากกว่า รวมทั้งนอนหลับยากขึ้นโดยทั่วไปความวิตกกังวลเชื่อมโยงกับความฝันที่เครียด การวิจัยบ่งชี้ถึงความเชื่อมโยงที่ชัดเจนระหว่างความวิตกกังวลและเนื้อหาความฝันที่ตึงเครียด ความฝันเหล่านี้อาจเป็นความพยายามของสมองที่จะช่วยเรารับมือและทำความเข้าใจกับประสบการณ์ที่ตึงเครียดเหล่านี้

ข้อที่ควรรู้เกี่ยวกับการฉีดวัคซีนป้องกัน โควิด-19 และโรคลมชัก (COVID-19 vaccine and Epilepsy)

ดร.นพ โยธิน ชินวลัญช์ (Dr. Yotin. Chinvarun. MD. Ph.D. FAES)

https://www.blockdit.com/posts/608e513108a52b0c546cf24d

  1. วัดซีนป้องกัน COVID-19 ปลอดภัยสำหรับโรคลมชักหรือไม่ ?

(Are the COVID-19 vaccines safe for people with epilepsy?)

คำตอบ

วัคซีนป้องกัน โควิด-19 ทุกชนิดปลอดภัยสำหรับคนที่เป็นโรคลมชัก (all COVID-19 vaccines are safe for people with neurological conditions such as epilepsy)

2. วัดซีนป้องกันโควิด-19 มีผลปฏิกิริยาตีกับยากันชักหรือไม่ (Does COVID-19 vaccines interact with epilepsy medicines ?)

คำตอบ

วัคซีนป้องกัน โควิด-19 ทุกชนิด ไม่มีผลปฏิกิริยากับยากันชักที่ทานอยู่ (COVID-19 vaccines are not expected to interact with epilepsy medicines)

3. ผู้ป่วยโรคลมชักถือว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงที่ต้องได้วัคซีนหรือไม่ ? (Do people with epilepsy have priority to get the COVID-19 vaccine?)

คำตอบ

ผู้ป่วยโรคลมชักในกลุ่มอายุ 16-64 ปี ถือว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะต้องได้วัคซีนป้องกันโควิด-19 แต่เนิ่นฯ  (People aged 16-64 with epilepsy should be included in one of the priority groups for COVID-19 vaccines)

4. วัดซีนป้องกัน COVID-19 อาจจะมีผลข้างเคียง เล็กน้อยถึงปานกลาง เช่น ทำให้เกิดมีอาการไข้ ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ เป็นต้น ซึ่งอาการเหล่านี้จะเป็นแค่ระยะสั้นฯ แล้วจะหายไปเอง แต่อย่างไรก็ตามอาการไข้และอาการที่ทำให้ผู้ป่วยไม่สบายตัวจากผลจากวัคซีนในผู้ป่วยโรคลมชักอาจจะกระตุ้นทำให้เกิดมีการชักขึ้นมาได้ และเราจะป้องกันได้อย่างไร? (COVID vaccine can cause mild or moderate side-effects including fever. Not everyone will get side-effects, but if you do, most will go away after a few days. For some people with epilepsy, fever can make them more likely to have a seizure, So how to prevent the seizure ?)

คำตอบ

ดังนั้นในผู้ป่วยที่มีผลข้างเคียงเหล่านี้เกิดขึ้นอาจจะต้องรีบทานยาป้องกันหรือรักษาอาการทันที  ยกตัวอย่าง เช่น ทานยายาพาราเซตามอล เวลาที่มีไข้หรือปวดกล้ามเนื้อ หรือทานยาป้องกันอาการชัก เช่น การใช้ยา  Frisium ซึ่งในกรณีนี้ควรจะต้องมีการปรึกษาแพทย์ก่อน  (Should be taking a fever-reducing medicine such as paracetamol for 48 hours after you have the vaccine can reduces the risk. If you need to use the rescue therapy such as Frisium, should consult your physicians first)

วิธีการใส่ double mask ที่ถูกต้อง

วิธีการใส่ double mask ที่ถูกต้อง

พลตรี ดร.นพ.โยธิน ชินวลัญช์

การใส่หน้ากากสองชั้นจะช่วยป้องกันการติดเชื้อโคโรนาไวรัสได้ดีขึ้นมีข้อที่ต้องควรรู้ว่าอันไหนควรทำหรือไม่ควรทำ

ในขณะที่มีการแพร่เชื้อของไวรัสโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ซึ่งมีอัตราการแพร่เชื้อได้ง่ายและเร็วจึงได้มีการคำแนะนำให้ใส่หน้ากากสองชั้นในการป้องกันการติดเชื้อ

ทำไมถึงต้องใช้หน้ากากสองชั้นในการป้องกันไวรัสโคโรนาไวรัส

เนื่องจากเชื่อไวรัสโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ มีโอกาสกระจายและแพร่เชื้อได้ง่ายและเร็วมาก จะมีการติดจากคนหนึ่ง ไปอีกคนหนึ่งจากไอละอองของไวรัส วิธีการป้องกันก็คือการใส่หน้ากากจะช่วยป้องกันการกระจายของไวรัสได้ จากการศึกษาพบว่าการใส่หน้ากากสองชั้นจะช่วยเพิ่มการฟิตได้พอดีของหน้ากากเพื่อจะลดช่องว่าง โดยเฉพาะตรงขอบของหน้ากากที่สวมใส่ซึ่งจะช่วยทำให้การป้องกันการกระจายของฝุ่นละอองไวรัสได้ มีประสิทธิภาพดีขึ้น

สามารถสวมหน้ากากแบบ surgical mask สองชั้นได้หรือไม่

คำตอบคือไม่แนะนำให้มีการสวมหน้ากาก surgical mask สองชั้น หน้ากากแบบ surgical mask ซึ่งมีสีฟ้าจะ มีรูปทรงสี่เหลี่ยมคางหมูทำจากวัตถุที่คล้ายกระดาษ จากวัสดุ polypropylene โดยที่หน้ากากชนิดนี้จะมีการกรองไอละอองจากไวรัสได้ ดี พอๆกับหน้ากาก N95 แต่มักจะมีปัญหาที่จะไม่ฟิตพอดีกับใบหน้าทำให้มีช่องว่างตรงด้านข้างทั้งสองข้างของหน้ากากซึ่งทำให้ประสิทธิภาพในการป้องกันการกระจายของโคโรนาไวรัสด้อยลง ถึงแม้เราจะใส่หน้ากากชนิดนี้สองชั้นก็ไม่สามารถที่จะปิดช่องว่างด้านข้างทั้งสองด้านได้

ดังนั้นจะไม่แนะนำให้สวมหน้ากาก surgical mask ทับกันสองชั้นซึ่งไม่ได้ช่วยประโยชน์ในการป้องกันไอละอองจากไวรัสได้มากขึ้นเนื่องจากก็ยังมีช่องว่างด้านข้างทั้งสองข้าง ก็ยังมีอยู่

ส่วนหน้ากากผ้าจะมีข้อดีก็คือจะช่วยทำให้หน้ากากฟิตกับใบหน้าได้ดีขึ้น ดังนั้นคำแนะนำให้ใช้หน้ากากผ้าทับบนหน้ากากsurgical mask ซึ่งเป็นการส่วนหน้ากากแบบสองชั้นได้ถูกต้อง

วิธีที่ไม่ถูกต้องโดยการสวมหน้ากาก surgical mask ทับกันสองชั้น

จะใช้หน้ากากสองชั้นโดยการใช้ หน้ากากชนิด N95 หรือ KN95 ได้หรือไม่

หน้ากากชนิด N95 เป็นมาตรฐานหน้ากากทางการแพทย์. ส่วนหน้ากาก KN95 เป็นหน้ากากที่ทำในประเทศจีนและมีคุณสมบัติที่คล้ายกัน เมื่อใส่หน้ากากทั้งสองชนิดนี้อย่างถูกต้องจะป้องกันไอละออง จากโคโรนาไวรัสได้ถึง 95% ดังนั้นจึงไม่มีความจำเป็นต้องไปใส่หน้ากากสองชั้น ในกรณีที่ใช้หน้ากากชนิด N95 หรือ KN95 แต่อย่างไรก็ตามหน้ากากทั้งสองชนิดนี้ก็จะมีความยากในการจัดหาเนื่องจากมีความขาดแคนของหน้ากากทั้งสองชนิดนี้ แต่อย่างไรก็ตามจะต้องมั่นใจว่าเราได้ใช้หน้ากากทั้งสองชนิดที่ได้มาตรฐานเนื่องจากปัจจุบันมีการปลอมแปลงของหน้ากากชนิดนี้ มาขายในท้องตลาด ดังนั้นควรจะต้องมีการตรวจสอบว่าหน้ากากที่เราได้มา มีมาตรฐานที่รับรองซึ่งเราสามารถที่จะเช็คได้จากเว็บไซต์ ที่รับรองมาตรฐานของหน้ากาก N95 หรือ KN95

ไม่ควรใช้หน้ากากชนิด N95 ร่วมกับหน้ากากชนิดอื่น

ความรู้เกี่ยวกับโรคลมชัก (General knowledge in Epilepsy)

เป็นวิดิทัศน์เกี่ยวกับความรู้โรคลมชัก ชนิดและลักษณะของอาการชัก สาเหตุของ โรคลมชัก การตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุของโรคลมชัก และการดูแลและปฏิบัติเบื้องต้นต่อผู้ป่วยโรคลมชัก ที่มีการอาการชักแบบเกร็งกระตุกหรือแบบชนิดเหม่อลอย

การอดนอนจะทำให้คุณป่วยง่ายจริงหรือไม่

ดร.นพ.โยธิน. ชินวลัญช์. M.D. Ph.D. FAES

เมื่อเวลาเราเป็นหวัด มักจะเกิดขึ้นเวลาที่เรานอนไม่พอ นอนดึก หรือนอนไม่เต็มอิ่ม การได้นอนพักเป็นเวลา 8 ชั่วโมง มักจะทำให้เรามีอาการฟื้นตัวที่เร็วขึ้น ได้มีคำถามที่ว่าการนอนที่ดีสามารถที่ทำให้ ระบบภูมิคุ้มกันต้านทานของร่างกายแข็งแรงขึ้นหรือไม่ มีข้อมูลจากการศึกษามากมายที่บอกว่าภาวะอดนอนจะทำให้เป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดการติดเชื้อได้ง่ายขึ้นเนื่องจาก ลักษณะของการนอนมีผลต่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายในการที่จะต่อต้านเชื้อไวรัสแบคทีเรีย ไวรัส หรือเชื้อที่เป็นสิ่งแปลกปลอมที่จะเข้ามาในร่างกายของคนเรา 

สำหรับการนอนที่ดีจะต้องมีลักษณะอย่างไร 

ข้อที่หนึ่งจะต้องมีจำนวนชั่วโมงการนอนที่เพียงพอ เช่น ในผู้ใหญ่ควรจะต้องมีการนอนหลับประมาณ 7 ถึง 9 ชั่วโมง แต่เพียงการนอนในชั่วโมงที่เพียงพอก็ยังไม่ถือว่าเป็นการนอนที่ดีเพียงพอ ยกตัวอย่างเช่น คนนอนดึกแล้วตื่นสายก็ถือว่าเป็นการนอนที่มีคุณภาพไม่ดี สาเหตุเนื่องจากการนอนที่ดีจะต้องเกี่ยวกับวงจรการตื่นและการหลับที่ดีด้วยเนื่องจากสมองของเราจะมีนาฬิกาเวลาที่กำหนดลักษณะการตื่นและการหลับที่เป็นเวลา ดังนั้นแล้วการนอนที่ดีมากจะต้องมีลักษณะของชั่วโมง ของการนอนที่เพียงพอ ร่วมด้วยกับโครงสร้างของการนอนที่ดีด้วย ลักษณะโครงสร้างของการนอน ของคนเราจะประกอบด้วยการนอนที่เป็นระดับต่างๆ (Sleep staging) เช่น การนอนระดับหนึ่ง (Sleep stage I) สอง (Sleep stage II) สาม (Sleep stage III) และ การนอนระดับ REM sleep จะมีการหมุนเวียนเป็นวงจรทุกๆ 90 นาที (Ultradian rhythm) หรือวงจรการเปลี่ยนแปลงของการนอนหลับระดับต่างๆนี้จะเป็นอย่างต่อเนื่องและไม่ถูกขัดจังหวะด้วยการตื่น ถึงจะถือว่าเป็นการนอนที่มีคุณภาพที่ดี ไม่อย่างนั้นแล้วถ้าเกิดการขัดจังหวะของระดับการนอนหลับจะมีผลทำให้ มีอาการ นอนไม่เต็มอิ่ม มีอาการอ่อนเพลีย เมื่อขณะตื่นขึ้นหรือ ก่อให้เกิดอาการง่วงในช่วงกลางวัน

มีข้อมูลที่ยืนยันว่ามีความสัมพันธ์ระหว่าง การนอนหลับที่ดีและระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายยก ตัวอย่าง เช่น ในสัตว์ ทดลองที่มีการติดเชื้อแบคทีเรียในกลุ่ม ที่อดนอนจะมีการติดเชื้อที่รุนแรงมมากกว่าในสัตว์ทดลองที่มีการนอนหลับอย่างเพียงพอ นอกจากนี้มีการศึกษาในมนุษย์ที่ให้วัคซีน ป้องกันไข้หวัดใหญ่ใน สองกลุ่ม โดยกลุ่มแรกมีการนอนหลับที่เพียงพอและกลุ่มสองที่อดนอน และได้ติดตามเป็นเวลา 10 วัน พบว่าในกลุ่มที่มีการอดนอนจะมีการสร้างภูมิคุ้มกันที่ได้จากการฉีดวัคซีน ด้อยกว่าในกลุ่มที่มีการนอนหลับที่เพียงพอ โดยมีการสร้างโปรตีนที่เรียกว่าภูมิคุ้มกันต่อไข้หวัดใหญ่ผิดปกติในกลุ่มที่มีการอดนอน นอกจากนี้มีการศึกษาในกลุ่มคนที่ได้รับวัคซีนป้องกันโรคตับอักเสบชนิด เอ บี หรือไข้หวัดหมู (Swine influenza or Swine flu)ก็ได้ผลอย่างเดียวกันโดยที่กลุ่มที่อดนอนจะมีการสร้างภูมิจากวัคซีนได้น้อยกว่า

นักวิจัยได้มีการศึกษาและยืนยันว่าคุณภาพการนอนที่ไม่ดีมีผลกระทบต่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย มีการศึกษามากมายที่บอกว่า การอดนอนมีผลทำให้มีการเพิ่มจำนวน เม็ดเลือดขาว ในกระแสเลือดมีผลทำให้จำนวนเม็ดเลือดขาวที่ต้องอยู่ในต่อมน้ำเหลืองหรือม้ามมีจำนวนลดลง การที่มีการ เคลื่อนที่ของเม็ดเลือดขาวเหล่านี้เข้าไปในกระแสเลือด ทำให้ไม่สามารถที่จะช่วยต่อสู้หรือทำลายการติดเชื้อที่เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

มีการศึกษาพบว่าในครึ่งแรกของการนอนจะมีการผลิตสารที่เรียกว่า Pro-inflammatory proteins มีความสำคัญในการป้องกันสิ่งแปลกปลอมที่จะเข้ามาในร่างกาย หลังจากนั้นในการนอนครึ่งหลังจะมีการปรับสมดุลของการสร้างสารที่เรียกว่าสารต่อต้านการอักเสบ (anti-inflammatory protein) การอดนอนจะทำให้ภาวะสมดุลของสารทั้งสองชนิดนี้ผิดปกติไปมีผลทำให้สาร Pro-inflammatory proteins ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์เรา

มีการศึกษายังพบว่าภาวะอดนอนจะทำให้มีการลดลงของเม็ดเลือดขาวที่ใช้ในการฆ่าเชื้อโรคและไวรัสที่เรียกว่า Natural killer cells การนอนหลับที่ดีจะมีผลต่อการเคลื่อนไหวของเม็ดเลือดขาวไปยังจุดที่มีการติดเชื้อได้ดี และในทางตรงกันข้ามถ้ามีเพราะว่าการอดนอนที่เกิดขึ้นจะทำให้กลไกเหล่านี้สูญเสียไป

จากข้อมูลในแง่ของการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันโรค การนอนหลับที่ดีจะช่วยทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายมีการจดจำต่อสิ่งแปลกปลอมที่บุกรุกเข้ามาในร่างกาย ได้ดีมีผลทำให้ระบบ ภูมิคุ้มกันของร่างกาย จะจดจำเชื้อโรคที่บุกเข้ามาได้อย่างรวดเร็วมีผลทำให้ร่างกาย สามารถทำลาย เชื้อโรคที่เข้ามาในร่างกายได้เร็วขึ้น มีการศึกษาพบว่าถ้ามีการนอนหลับในระดับสาม (Sleep stage III) ที่เพียงพอจะมีผลทำให้การจดจำของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ต่อเชื้อแบคทีเรียหรือไวรัสที่บุกรุกเข้ามาในร่างกายได้ดีมาก

ความสัมพันธ์ระหว่างการนอนและภูมิคุ้มกันของร่างกายไม่ใช่เฉพาะว่าการนอนหลับมีผลกระทบต่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายแค่นั้น แต่ระบบคุ้มกันของร่างกายที่ต่อสู้กับเชื้อโรคที่เข้ามาแล้วร่างกายมันจะมีการผลิตสารเคมีตัวหนึ่งที่เรียกว่า cytokine ซึ่งจะมีผลทำให้การนอนหลับดีขึ้น สิ่งเหล่านี้จะเป็นตัวหนึ่งที่ทำให้ระบบ กล้ามเนื้อของร่างกายได้พักในขณะนอนหลับทำให้ร่างกายสามารถที่จะเอาพลังงาน จากสวนนี้ไปใช้เพื่อสร้างระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย

เพื่อช่วยทำให้การนอนหลับมีคุณภาพที่ดีขึ้นเราควรจะต้องมีการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอซึ่งจะทำให้การนอนหลับดีขึ้น และเพิ่มประสิทธิภาพภูมิคุ้มกันของร่างกาย นอกจากนี้มีคำแนะนำว่าในช่วงกลางวันเราควรต้องมีการเจอแสงแดดหรือแสงสว่างในบริเวณกลางแจ้งหรือนอกอาคารบ้าง และในยามกลางคืนก็อยู่ในห้องที่มืดเพียงพอหลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นจากแสงต่างๆโดยเฉพาะในโลกปัจจุบัน เช่น แสงจากโทรศัพท์มือถือหรืออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ในช่วงกลางคืน หรือก่อนนอน จะช่วยทำให้วงจรการนอนและการตื่นให้เป็นปกติด้วย

MRI essentials in epileptology: a review from the ILAE Imaging Taskforce

Authors

Irene Wang1  Andrea Bernasconi2  Boris Bernhardt3Hal Blumenfeld4  Fernando Cendes5.  Yotin Chinvarun6  Graeme Jackson7  Victoria Morgan8  Stefan Rampp9. Anna Elisabetta Vaudano10. Paolo Federico11*1

Epilepsy Center, Cleveland Clinic, Cleveland, USA2 

Neuroimaging of Epilepsy Laboratory, McConnell Brain Imaging Centre and Montreal Neurological Institute and Hospital, McGill University, Montreal, Canada3 

Multimodal Imaging and Connectome Analysis lab, McConnell Brain Imaging Centre and Montreal Neurological Institute, McGill University, Montreal, Canada4 

Departments of Neurology, Neuroscience, and Neurosurgery, Yale University, New Haven, USA5 

Department of Neurology, University of Campinas – UNICAMP, Campinas, SP, Brazil6 

Phramongkutklao hospital, Bangkok, Thailand7 

The Florey Institute of Neuroscience and Mental Health and The University of Melbourne, Australia8 

Vanderbilt University Institute of Imaging Science, Vanderbilt University Medical Center, Nashville, USA9 

Department of Neurosurgery, University Hospital Erlangen, Germany10 

Neurology Unit, University of Modena and Reggio Emilia, Modena, Italy11 

Hotchkiss Brain Institute, University of Calgary, Canada* 

Correspondence: Paolo Federico Room C1214a, Foothills Medical Centre, 1403 29th Street NW, Calgary, AB, Canada T2N 2T9

Magnetic resonance imaging (MRI) plays a central role in the management and evaluation of patients with epilepsy. It is important that structural MRI scans are optimally acquired and carefully reviewed by trained experts within the context of all available clinical data. The aim of this review is to discuss the essentials of MRI that will be useful to health care providers specialized in epilepsy, as outlined by the competencies and learning objectives of the recently developed ILAE curriculum. This review contains information on basic MRI principles, sequences, field strengths and safety, when to perform and repeat an MRI, epilepsy MRI protocol (HARNESS-MRI) and the basic reading guidelines, and common epileptic pathologies. More advanced topics such as MRI-negative epilepsy, functional MRI and diffusion-weighted imaging are also briefly discussed. Although the available resources can differ markedly across different centers, it is the hope that this review can provide general guidance in the everyday practice of using MRI for patients with epilepsy.

Link webpage (full article)

สาเหตุการเสียชีวิตของดาราดัง บรูซลี (Bruce Lee)

ดร.นพ.โยธิน. ชินวลัญช์

บรูซลี (BRUCE LEE)

บรูซลีเป็นมากกว่าการเป็นดาราภาพยนตร์แอ็คชั่นอยู่ในอาชีพนักแสดงเพียงแค่สี่ปีและมีผลงานการแสดงภาพยนตร์เพียงห้าเรื่องที่เสร็จสมบูรณ์ เขาเป็นสัญลักษณ์ของดาราภาพยนตร์แนวใหม่ก่อนที่เขาจะเสียชีวิตในวัยเพียงแค่ 32 ปี ในวันที่ 20 กรกฏาคม 2516 เพียงหกวันก่อนที่ภาพยนตร์เรื่อง Enter the Dragon จะเริ่มฉายครั้งแรก บรูซลีเสียชีวิตทันทีและลึกลับ ผลอย่างเป็นทางการสาเหตุของการชีวิตว่ามาจากสมองบวม ซึ่งไม่มีสาเหตุที่บ่งชี้ว่าสมองบวมจากอะไรและจากการชันสูตรไม่พบว่ามีหลักฐานการบาดเจ็บจากภายนอก แล้วอะไรที่ทำให้เกิดอาการสมองบวม ?

บรูซลีเริ่มมีสัญญาณของสุขภาพไม่ดีครั้งแรกในเดือนพฤษภาคมปี 1973 เพียงไม่กี่สัปดาห์ก่อนที่บรูซลีจะเสียชีวิต เขามีอาการปวดศีรษะและมีอาการชักแบบเกร็งกระตุกทั้งตัวครั้งแรก เขาได้รับการวินิจฉัยว่ามมีอาการชักแบบเกร็งกระตุกทั้งตัวและมีสมองบวมที่ไม่ทราบสาเหตุ บรูซลีหมดสติอยู่หลายชั่วโมงและฟื้นคืนสติในวันรุ่งขึ้น เขาได้บินไปรับการตรวจรักษาต่อที่ UCLA Medical Center และได้ทำการทดสอบเพิ่มเติมและแพทย์วินิจฉัยว่าบรูซลีว่ามีโรคลมชักแบบเกร็งกระตุกทั้งตัว (Grand mal) แต่ไม่สามารถระบุสาเหตุของอาการชักได้ และเขาไม่ได้รับการรักษาด้วยยากันชักเลยจนกระทั่งต่อมาก็ได้เสียชีวิตในระยะเวลาหลังจากนั้นมาภายในเวลาไม่กี่อาทิตย์

ภาพของ บรูซลี

ในหลายปีที่ผ่านมาได้มีความก้าวหน้าอย่างมากทางด้านการแพทย์นับตั้งแต่การเสียชีวิตของว่าบรูซลีทำให้บ่งบอกสาเหตุการเสียชีวิตของบรูซลีว่าสาเหตุอะไรที่ทำให้เขาถึงเสียชีวิต

ในการประชุมของ American Academy of Sciences ปี 2549 นายแพทย์ James Filkins กล่าวว่าบรูซลีป่วยเป็นโรคลมชักและเสียชีวิต จากภาวะ SUDEP (Sudden unexplained death in epilepsy) หรือ “การเสียชีวิตอย่างเฉียบพลันใน ผ.ป.โรคลมชัก” หมายถึงการเสียชีวิตอย่างเฉียบพลันของคนที่มีสุขภาพดีซึ่งเป็นโรคลมชักที่ไม่สามารถหาสาเหตุของการเสียชีวิตอย่างอื่นฯได้

เป็นภาวะที่เพิ่งมีการศึกษาพบในปี 1995 นับเป็นเวลามากกว่า 20 ปีหลังจากที่ว่าบรูซลีเสียชีวิตที่มีการรายงานภาวะนี้ อาการชักสามารถเกิดขึ้นได้จากความเครียดซึ่งพบว่าบรูซลีเริ่มมีความเครียดสูงก่อนจะมีอาการชักครั้งแรกก่อนจะเสียชีวิตตามมา เขาไม่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคลมชักทั้งฯที่เริ่มมีอาการชักและไม่ได้รับการรักษาด้วยยากันชัก

SUDEP (Sudden unexplained death in epilepsy) หรือ “การเสียชีวิตอย่างเฉียบพลันใน ผ.ป.โรคลมชัก คืออะไร

SUDEP (Sudden unexplained death in epilepsy) หรือ “การเสียชีวิตอย่างเฉียบพลันใน ผ.ป.โรคลมชัก

การเสียชีวิตเนื่องจากโรคลมชักเป็นปัญหาที่รุนแรงในผู้ที่เป็นโรคลมชัก ทำให้มีอัตราการเสียชีวิตสูงกว่าประชากรทั่วไปอย่างมีนัยสำคัญ พบว่าผู้ป่วยโรคลมชักประมาณ 40% ที่เสียชีวิตมีสาเหตุที่เกี่ยวกับอาการชัก เช่น จากความผิดปกติของระบบประสาทที่ก่อให้เกิดอาการชัก อุบัติเหตุจากการชัก ชักแบบไม่หยุด (status epilepticus) การฆ่าตัวตาย และการเสียชีวิตจากภาวะ SUDEP และพบว่า SUDEP พบได้ประมาณ 8% ถึง 17% ของผู้ป่วยโรคลมชักที่เสียชีวิต

เกณฑ์การวินิจฉัยการเสียชีวิตอย่างเฉียบพลันใน ผ.ป.โรคลมชัก SUDEP มีดังนี้:
1. ผู้ป่วยมีโรคลมชัก
2. ผู้ป่วยเสียชีวิตอย่างกะทันหันในขณะที่มีสุขภาพสมบูรณ์
3. เสียชีวิตอย่างกะทันหัน (เช่น ภายในไม่กี่นาที)
4. เสียชีวิตในสถานการณ์สิ่งแวดล้อมที่ปกติ
5. สาเหตุของการเสียชีวิตที่ไม่สามารถระบุมีสาเหตุอื่นฯที่ทำให้เสียชีวิตได้จากการชันสูตรศพ
6. สาเหตุของการเสียชีวิตไม่ได้เป็นผลโดยตรงจากการชักหรือการมีอาการชักแบบไม่หยุด (status epilepticus)

ปัจจัยเสี่ยงหลักสำหรับการเกิด SUDEP คือ:
1. ผ.ป.โรคลมชักที่มีอาการชักบ่อยครั้งหรือชักที่ดื้อต่อยา
2. ผ.ป.โรคลมชักที่มีอาการชักแบบเกร็งกระตุกทั้งตัว (Generalized Tonic-clonic seizure)
3. ชักในขณะหลับ และอยู่เพียงคนเดียว

ปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ: เช่น
1. ผ.ป.ที่เริ่มมีอาการชักตั้งแต่อายุยังน้อย มีรายงานการเกิด SUDEP มากที่สุดในผู้ป่วยที่เริ่มมีอาการชักตั้งแต่อายุ 18-40 ปี
2. มีความบกพร่องทางยีนจากพันธุกรรม
3. เพศชาย
4. ป่วยเป็นโรคลมชักมาเป็นเวลานานหลายปี
5. ทานยากันชักไม่สม่ำเสมอหรือขาดยากันชัก
6. เป็นโรคพิษสุราเรื้อรังและมีโรคลมชักร่วมด้วย

สาเหตุของ SUDEP 

สาเหตุของ SUDEP 

ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่นอน แต่เชื่อว่าปัจจัยต่อไปนี้อาจมีบทบาทใน SUDEP ไม่ว่าจะโดยลำพังหรือรวมกัน: เช่น
 
ระบบทางเดินหายใจผิดปกติ
ปัญหาทางเดินหายใจมักพบในผู้ป่วยที่มีอาการชักและได้รับรายงานในผู้ป่วยที่มีอาการ SUDEP และเกือบเสียชีวิตจาก SUDEP ตรวจพบว่ามีปริมาณออกซิเจนลดลงอย่างมีนัยสำคัญและพบว่ามีภาวะหยุดหายใจ (sleep apnea) เกิดขึ้นเนื่องจากจากการที่ศูนย์ควบคุมการหายใจถูกยับยั้งจากการชัก คือไฟฟ้าจากการชักมีผลต่อศูนย์กลางควบคุมทางเดินหายใจในสมองก่อให้เกิดการยั้บยั้งศูนย์กลางควบคุมทางเดินหายใจทำเกิดภาวะหยุดหายใจได้ นอกจากนี้มีสมมุติฐานว่า การที่ผู้ป่วยชักอยู่ในขณะท่านอนคว่ำจะมีผลทำให้มีการอุดตันของทางเดินหายใจส่วนบนได้ง่ายกว่าและจะก่อให้เกิดภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจ (Obstructive sleep apnea)

การศึกษาพบว่าผู้ป่วยที่เสียชีวิตจาก SUDEP มักจะพบอยู่ในท่านอนคว่ำเสียส่วนใหญ่ ดั้งนั้นเชื่อว่าการอุดตันของทางเดินหายใจส่วนบนและความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของการสำลักจะมีความสัมพันธ์กับการก่อให้เกิดการสียชีวิตจาก SUDEP

ภาวะหัวใจวายอาจมีบทบาทก่อให้เกิด SUDEP

ภาวะหัวใจและหลอดเลือดผิดปกติ
ภาวะหัวใจวายอาจมีบทบาทก่อให้เกิด SUDEP มีรายงานการพบภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ที่รุนแรงในผู้ป่วยโรคลมชักที่อาจจะเกิดในขณะที่มีอาการชักหรือไม่มีอาการชัก

มีรายงานการตรวจพบทั้งภาวะหัวใจเต้นเร็วผิดปกติที่พบบ่อยกว่าหรือเต้นช้าผิดปกติในผู้ป่วยโรคลมชัก อีกกลไกที่ อาจจะเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตจากภาวะ SUDEP เกี่ยวข้องกับการนำไฟฟ้าผิดปกติที่หัวใจ เรียกว่าภาวะ QT prolong ที่อาจจะเป็นผลจากการชักหรือภาวะชักมีผลต่อระบบควบคุมระบบประสาทอัตโนมัติทำให้ผู้ป่วยมีหัวใจเต้นผิดจังหวะและหยุดทำให้เกิดการเสียชีวิตอย่างเฉียบพลัน

มีการศึกษายืนยันแล้วพบว่าโรคลมชักที่มีสารพันธุกรรมผิดปกติตั้งแต่วัยเด็กมีผลทำให้เกิดภาวะ QT prolong และอาจจะมีบทบาททำให้เกิดภาวะ SUDEP ความผิดปกติของสารพันธุกรรมที่ก่อให้เกิดโรคลมชักเหล่านี้ เช่น KCNQ1, SCN1A, LQTS, KCNH2 และ SCN5A มีการตรวจพบได้ในผู้ป่วยที่เสียชีวิตจากภาวะ SUDEP ซึ่งเป็นยีนที่พบบ่อยในผู้ป่วยที่มีภาวะ QT prolong

ปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับยา

มีการตรวจพบว่า ผู้ป่วยโรคลมชักที่เสียชีวิตจากภาวะ SUDEP มีระดับของยากันชักมีระดับต่ำกว่าระดับมาตรฐานในการรักษาอาการชัก น่าจะเป็นสาเหตุมาจากการที่ผู้ป่วยขาดยากันชักหรือทานยากันชักไม่ครบ หรือไม่เพียงพอในการรักษาอาการชัก  

การถอนยากันชักในขณะที่ผู้ป่วยมีอาการชักอยู่ มีความเสี่ยงที่จะเกิดอาการชักซ้ำและอาจจะก่อให้เกิดภาวะเสียชีวิตจากภาวะ ​​SUDEP ได้ นอกจากนี้มักจะพบได้ในผู้ป่วยที่ใช้ยากันชักหลายตัว ซึ่งอาจจะเป็นบ่งชี้ว่าผู้ป่วยที่มีอาการชักมากอยู่หรือดื้อต่อยากันชัก ซึ่งจะมีความเสี่ยงในการเกิดภาวะการเสียชีวิตจากภาวะ SUDEP สูงกว่าผู้ป่วยที่ ใช้ยากันชักน้อยตัวกว่า

วิธีการปฏิบัติเพื่อป้องกันและลดความเสี่ยงของการเสียชีวิตจากภาวะ SUDEP?

  1. การทานยากันชักอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง ไม่ลืมทานยาหรือขาดยากันชัก
  2. การรักษาป้องกันไม่ให้เกิดอาการชักแบบเกร็งกระตุกทั้งตัว
  3. ในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงอาการชักในขณะหลับไม่ควรอาศัยอยู่แต่เพียงลำพังคนเดียว
  4. ควรได้รับการติดตามดูแลจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสม่ำเสมอ

นอกจากนี้มีรายงานการเสียชีวิตจากภาวะ SUDEP ในดาราฮอลลีวู้ด
และนักกีฬาโอลิมปิก เช่น

คาเมรอนบอยซ์ (Cameron Boyce)

คาเมรอนบอยซ์ (Cameron Boyce) ดาราจากวอลล์ดิสนีย์
คาเมรอนบอยซ์ (Cameron Boyce)

คาเมรอนบอยซ์ (Cameron Boyce) ดาราจากวอลล์ดิสนีย์เสียชีวิตเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2562 ขณะอายุ 20 ปี เขาเริ่มอาชีพนักแสดงเมื่ออายุ 9 ขวบและเคยแสดงในภาพยนตร์สารคดีเรื่อง “Eagle Eye”, “Grown Ups” และ “Grown Ups 2” เช่นเดียวกับซีรี่ส์ Disney Channel “Jesse” และ “The Descendants”

บอยซ์ถูกพบว่า นอนหมดสติและเสียชีวิตในบ้านของเขา ซึ่งสาเหตุของการเสียชีวิตเนื่องจากเขามีอาการชักในขณะนอนหลับจากการชันสูตรศพยืนยันว่าสาเหตุของการตายคือ “การเสียชีวิตอย่างกะทันหันโดยไม่คาดคิดในโรคลมชัก” หรือ SUDEP

Griffith Joyner 

Griffith Joyner: นักกีฬาสามเหรียญทองกีฬาโอลิมปิก
Griffith Joyner: นักกีฬาสามเหรียญทองกีฬาโอลิมปิก

นักกีฬาสามเหรียญทองกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนเสียชีวิตจากภาวะ SUDEPหลังจาก มีอาการชักในขณะนอนหลับ

Griffith Joyner ซึ่งเป็นนักกีฬาสามเหรียญทองในกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนปี 1988 ที่กรุงโซลประเทศเกาหลีใต้ เสียชีวิตเมื่อวันที่ 21 กันยายน 1988 ที่บ้านของเธอใน Mission Viejo เธอมีโรคลมชักจากสาเหตุเส้นเลือดในสมองผิดปกติแต่กำเนิดที่เรียกว่า cavernous angioma มีรายงานว่าเธอเสียชีวิตในท่านอนหน้าคว่ำ ที่บ้านโดยไม่มีสาเหตุผิดปกติอย่างอื่นที่เป็นสาเหตุทำให้เสียชีวิต ผลจากการตรวจพิสูจน์ศพไม่พบว่ามีความผิดปกติใดฯ ที่เป็นสาเหตุให้เสียชีวิต มีข้อบ่งชี้ว่าเธออาจจะไม่ได้ทานยากันชักอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ

Jett Travolta 

Jett Travolta เป็บลูกชายของจอห์น ทราโวลต้า
Jett Travolta

Jett Travolta เป็บลูกชายของจอห์น ทราโวลต้า ดาราฮอลลีวูดชื่อดังซึ่งป่วยเป็นโรคลมชักมาก่อน เสียชีวิตจากภาวะ SUDEP หลังจากมีอาการชักมาเป็นเวลาหลายปีหลังจากมีอาการป่วยเป็นโรคคาวาซากิในช่วงวัยเด็ก ก่อให้เกิดโรคลมชักตามมา

Jett Travolta เสียชีวิตเมื่อขณะอายุ 16 ปีในเดือนมกราคม 2552 ที่เกิดขึ้นในช่วงวันหยุดท่องเที่ยวของครอบครัวที่หมู่เกาะบาฮามาส ปรากฏว่ามีคนไปพบว่า Jett Travolta นอนหมดสติอยู่ในห้องน้ำในช่วงเช้าที่รีสอร์ทที่ครอบครัวพักอยู่และได้มีการผ่าศพพิสูจน์หาสาเหตุของการเสียชีวิต แพทย์ได้ลงความเห็นว่าสาเหตุของการเสียชีวิตของ Jett Travolta มาจากภาวะ SUDEP

Jett Travolta ได้รับการรักษาโรคลมชักมาเป็นเวลาหลายปีโดยการทานยากันชักแต่ก็ไม่สามารถคุมอาการชักได้ทั้งหมด เขายังมีการชักอย่างรุนแรงทุกอาทิตย์ ดั่งนั้นคุณพ่อคุณแม่ของ Jett Travolta จึงได้ตัดสินใจหยุดการใช้ยากันชักเนื่องจากกังวลเรื่องผลข้างเคียงจากยากันชัก และไปใช้การรักษาทางเลือกโดยวิธีธรรมชาติและไม่ได้ทานยากันชักเลย

สาเหตุของการเกิด SUDEP น่าจะเนื่องจากการขาดยากันชัก

การบูรและน้ำมันยูคาลิปตัสเป็นสาเหตุกระตุ้นให้เกิดอาการชักได้

ดร. นพ.โยธิน ชินวลัญช์

การดมกลิ่นการบูรและน้ำมันยูคาลิปตัสอาจจะเป็นสาเหตุกระตุ้นการเกิดอาการชักใน ผ.ป.โรคลมชักได้ ในการศึกษาพบว่าการบูรและน้ำมันยูคาลิปตัสซึ่งสารทั้งสองมีที่ใช้ในสูตรยาสามัญทั่วไป เช่น Vicks, Tiger Balm เป็นต้น จากการศึกษาเหล่านี้ถูกตีพิมพ์ ในวารสาร Epilepsia Open ในปี 2560พบผู้ป่วย 10 รายที่เป็นผู้ใหญ่ที่มีอาการชักจากการสูดดมน้ำมันยูคาลิปตัส มีผู้ป่วย 8 รายมีชักแบบเกร็งกระตุกทั้งตัว (GTCS) และมี 2 รายที่มีอาการชักแบบเหม่อลอย (CPS) นาน 2-10 นาทีเมื่อสูดดมน้ำมันหอมระเหยยูคาลิปตัสและน้ำมันการบูร  

พบว่าส่วนผสมที่ออกฤทธิ์ของทั้งน้ำมันยูคาลิปตัสและน้ำมันการบูร คือ สาร 1, 8 – cineole ซึ่งเป็น ซึ่งเป็นสารกระตุ้นให้เกิดอาการชักได้ ส่วนการบูรแต่เดิมใช้เป็นสารใช้ในผู้ป่วยโรคจิตที่เนี่ยวนำให้เกิดอาการชักในการรักษาอาการทางจิต ก่อนที่จะมีการพัฒนามาใช้การกระตุ้นไฟฟ้าแทนในการรักษา ผ.ป.โรคจิต

เวลาดมกลิ่นจะมีการกระตุ้นที่เยื่อบุในโพรงจมูกและจะถ่ายทอดกระแสประสาทภายในเสี้ยววินาทีไปยังส่วนสมอง ส่วน Insular และฮิบโปแคมปัสซึ่งเป็นส่วนของสมองที่มีบทบาทสำคัญใน ผ.ป. โรคลมชัก เช่น การเกิดอาการชักแบบเหม่อลอยในผ.ป.โรคลมชักแบบ temporal lobe epilepsy พบว่าสมองส่วนนี้มีบทบาทสำคัญในการก่อให้เกิดอาการชัก

จากการศึกษาใน ผ.ป.จำนวน 190 คน ใน ผ.ป.โรคลมชักที่คลินิกโรคลมชัก พบว่ามีการใช้น้ำมันหอมระเหยยูคาลิปตัสและน้ำมันการบูร  ในการรักษาอาการปวดศีรษะ ไข้หวัด นอนไม่หลับและปวดกล้ามเนื้อและกระดูก พบว่าส่วนใหญ่ใช้ในทางที่ผิดและพบว่า 9% มีติดยาดมน้ำมันหอมระเหยยูคาลิปตัสและน้ำมันการบูร  และพบว่าประมาณ 52% มีการใช้มานานกว่า 6 ปี จาการศึกษาพบว่าผู้ป่วยจำนวนมากที่มีอาการชักกำเริบจากการใช้ยาดมน้ำมันหอมระเหยยูคาลิปตัสและน้ำมันการบูรเหล่านี้ และทำให้มีอาการชักที่ต่อเนื่องตามมา จากข้อมูลที่ได้พบว่าการใช้ยาดมน้ำมันหอมระเหยยูคาลิปตัสและน้ำมันการบูรมมีความสัมพันธ์ทั้งใน ผ.ป.ที่มีอาการชักครั้งแรกและเป็นปัจจัยกระตุ้นให้เกิดอาการชักซ้ำใน ผ.ป.โรคลมชัก และเชื่อว่าการใช้ยาดมน้ำมันหอมระเหยยูคาลิปตัสและน้ำมันการบูรเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดอาการชักได้ซึ่งเป็นปัจจัยกระตุ้นให้เกิดอาการชักที่ไม่รู้มาก่อนเหมือนปัจจัยอื่นฯ ที่กระตุ้นให้เกิดอาการชักได้ เช่น การอดนอน ภาวะเครียด อากาศร้อน การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กลิ่นที่แรงฯ จากสารบางประเภท (กลิ่นจากกาว น้ำมันเบนซีน) เป็นต้น

จากการศึกษานี้พบว่าส่วนใหญ่โหมดการใช้น้ำมันหอมระเหยใน ผ.ป.ที่มีอาการชัก เป็นการทาเฉพาะที่ เช่น ทาที่บริเวณหน้าผากจมูก ลำคอ สูดดม แบบละอองไอน้ำระเหยหลังจากผสมกับน้ำและ การบริโภค พบว่าระยะเวลาที่เริ่มมีอาการชักหลังจากสูดดมคือ 2 ถึง 10 นาที หรือหลังจากการมีการบริโภคโดยการดื่มกิน คือ 30 นาทีถึง 4 ชั่วโมง และหลังจากทาเฉพาะที่คือ 1 – 24 ชั่วโมง

ดั้งนั้นในกรณีที่ ผ.ป.มีอาการชักเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกหลังจากการใช้น้ำมันหอมระเหยเหล่านี้ หรือโรคลมชักที่มีอาการชักซ้ำหลังมีการใช้ยาดมน้ำมันหอมระเหยยูคาลิปตัสและน้ำมันการบูร ควรที่จะต้องมีการประเมินว่าอาการชักที่เกิดขึ้นมีสาเหตุหรือเป็นปัจจัยที่มีผลจากการใช้สารเหล่านี้หรือไม่ จากข้อมูลเบื้องต้นพบว่าน้ำมันหอมระเหยที่เกี่ยวข้องกับอาการชักเป็นเรื่องที่พบได้และถือว่าอาจจะเป็นเป็นปัจจัยเสี่ยงอันหนึ่งทีกระตุ้นให้เกิดอาการชักได้ แพทย์ส่วนใหญ่ยังไม่ทราบถึงผลกระทบของการใช้สารหอมมระเหยเหล่านี้ จึงถูกมองข้ามไปใน ผ.ป.ที่มีอาการชักครั้งแรกหรือผู้ป่วยที่เป็นโรคลมชักที่มีอาการชักซ้ำ

เมื่อพิจารณาถึงการใช้น้ำมันหอมระเหยอย่างกว้างขวางและอาจจะเป็นปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดอาการชักได้ ดั้งนั้นควรมีการศึกษามากขึ้นถึงความสัมพันธ์ระหว่างการใช้ยาดมน้ำมันหอมระเหยและผลต่อการเกิดการชัก และในโรคลมชักดั้งนั้นผู้ป่วยโรคลมชักทุกคนควรได้รับคำแนะนำหรือหลีกเลี่ยงการใช้น้ำมันหอมระเหยที่อาจจะเป็นปัจจัยกระตุ้นให้เกิดอาการชักได้

Reference:

INTERNATIONAL EPILEPSY NEWS ISSUE 2 – 2019