อุปกรณ์ที่ผู้ป่วยสวมใส่ในการตรวจวัดความผิดปกติของสมอง (Wearing the detectives)

อุปกรณ์ที่ผู้ป่วยสวมใส่ในการตรวจวัดความผิดปกติของสมอง (Wearing the detectives)

โดย พ.อ.ดร.น.พ.โยธิน  ชินวลัญช์

Thai smart watch Smartwatchวิสแบนด์ สมาร์ทวอทช์ และเครื่องมือในการตรวจวัดอาการชักและความผิดปกติของประสาทวิทยาเป็นเครื่องมือที่อาจจะมีความแม่นยำใช้ในการตรวจวัดและช่วยในการรักษาผู้ป่วยที่มีความผิดปกติทางสมอง ถ้าหากว่านาฬิกาข้อมือที่คุณใส่อยู่สามารถที่จะเตือนว่าจะมีอาการชักที่เกิดขึ้นและทำให้ผู้ป่วยสามารถที่จะเข้าไปอยู่ในบริเวณที่ปลอดภัยหรือหาคนช่วย หรือวิทย์แบนที่สามารถบอกอาการที่เป็นมากขึ้นของโรคปาร์กินสันจะทำให้แพทย์สามารถวางแผนการรักษาได้ สิ่งเหล่านี้เป็นเหมือนในนิยายวิทยาศาสตร์ที่ปัจจุบันได้เป็นจริงแล้วในการใช้ตรวจวัดดูผู้ป่วยและผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงทางประสาทวิทยา การใช้อุปกรณ์ที่สวมใส่ในการตรวจวัดและสามารถให้การเตือนเมื่อผู้ป่วยมีความผิดปกติ ที่เกิดขึ้น จะไม่เหมือนกับวิธีการเก่าฯที่จะต้องมีการจดบันทึก เช่น ในสมุดบันทึกอาการชักในปฏิทิน ในวิทย์แบนและในโทรศัพท์มือถือ app สามารถที่จะบันบันทึกอาการที่เป็นได้ทันทีในขณะนั้นทำให้ได้ข้อมูลที่เป็นละเอียดและถูกต้องในวันนั้นฯ ข้อมูลที่ได้ก็จะเป็นข้อมูลที่ถูกต้อง ข้อมูลเหล่านี้ที่ถูกต้องอาจจะเป็นข้อมูลที่สามารถใช้เป็นการเตือนผู้ป่วยว่าจะเกิดเหตุการณ์ผิดปกติที่จะเกิดขึ้น

อุปกรณ์รุ่นแรกได้มีการพัฒนาเพื่อจะได้ผู้ป่วยโรคลมชักโดยเป็นระบบที่จะมีอาการเตือนให้คนข้างเคียงหรือคนในครอบครัวทราบว่าผู้ป่วยจะมีการอาการชักที่เกิดขึ้น ปัจจุบันเครื่องมือได้มีการพัฒนาที่ซับซ้อนมากขึ้นสามารถที่จะบันทึกอาการชักจากการเปลี่ยนแปลงในอิริยาบถการเดินและอาการอื่นๆที่เกิดขึ้นก่อนจะเกิดอาการชัก

การใช้อุปกรณ์เหล่านี้ในการรักษาผู้ป่วยโรคลมชัก

ผู้ป่วยโรคลมชักโดยปรกติแล้วจะมาติดตามการรักษากับแพทย์ทุกๆ 1- 3 เดือน ถ้าผู้ป่วยมีอาการที่แย่ลงหรือมีอาการชักที่มากขึ้นแพทย์มักจะมีการปรับยาเพื่อคุมอาการชักดังนั้นถ้ามีอุปกรณ์เหล่านี้ในการบันทึกวัดจำนวนของอาการชักจะทำให้การรักษามีประสิทธิภาพที่ดีขึ้อุปกรณ์เหล่านี้จะให้ข้อมูลที่แม่นยำดีกว่าที่บ่งบอกว่าผู้ป่วยมีอาการชักมากน้อยแค่ไหนและแพทย์ก็จะทราบว่ายาตัวไหนที่จะเหมาะกับผู้ป่วยในรายนั้น ปัจจุบันได้มีการพัฒนาซอฟต์แวร์ในเมืองไทยใช้เองแล้วและมีการใช้ที่หน่วยโรคลมชัก ร.พ.พระมงกุฏเกล้า ชึ่งสามารถดาวน์โหลดได้จากเครื่องมือถือที่ใช้ระบบแอนดรอยด์และ

Seizure calendar 4ในอนาคตอันใกล้ก็สามารถใช้ในระบบ iPhone ได้ ในซอฟต์แวร์ระบบนี้ผู้ป่วยสามารถที่จะบันSeizure calendarทึกอาการชักในขณะนั้นในแต่ละวันรวมทั้งอาการผิดปกติหรือผลข้างเคียงจากยาที่เกิดขึ้น ในโทรศัพท์มือถือและข้อมูลเหล่านี้ก็จะส่งเข้าไปที่ Server ซึ่งจะเชื่อมโยงโดยตรงกับข้อมูลของผู้ป่วยในระบบข้อมูลของแพทย์ในทันทีทำให้แพทย์สามารถให้การรักษาหรือแก้ไขภาวะที่เกิดขึ้นได้ทันที นอกจากนี้ระบบนี้ยังมีการเชื่อมโยงไปถึงระบบฐานข้อมูลทำให้แพทย์ทราบถึงความเป็นไปของผู้ป่วยทำให้การรักษามีประสิทธิภาพดีขึ้นนอกจากนี้ระบบนี้ยังมีการเชื่อมโยง ไปยังระบบโซเชียลเน็ตเวิร์ค แช่น facebook, twitter เป็นต้นทำให้ผู้ป่วยสามารถที่จะสื่อสารระหว่างผู้ป่วยด้วยกันเองและแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้ดีขึ้น

Seizure calendar 3Seizure calendar 2

อุปกรณ์เหล่านี้จะสามารถบันทึกอาการชักที่เกิดขึ้นได้ทั้งในขณะตื่นและขณะนอนหลับ โดยบันทึกการเคลื่อนไหวของแขนขาในขณะที่ผู้ป่วยมีอาการชัก ต่อมาในการพัฒนาการของเครื่องมือก็สามารถที่จะบันทึกถึงอาการชักแบบอื่นๆด้วยโดยที่เครื่องมือที่สามารถวัดการเปลี่ยนแปลงความชื้นของผิวหนังซึ่งสะท้อนถึงการเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟฟ้าสมองของผู้ป่วยที่มีอาการชักแบบเหม่อลอย ที่มักจะชักอยู่นานประมาณ 2 นาทีรวมทั้งผู้ป่วยจะมีอาการส่งเสียงหรือเคลื่อนไหวเล็กน้อยและรวมทั้งบันทึกการเปลี่ยนแปลงของการเต้นของหัวใจ ซึ่งเรามักจะพบว่าหัวใจมักจะมีการเปลี่ยนแปลงที่เต้นเร็วขึ้นในขณะที่มีอาการชัก นอกจากนี้อุปกรณ์เสริมเช่นการวางขั้วไฟฟ้าที่บริเวณศีรษะเพื่อบันทึกคลื่นไฟฟ้าสมองโดยตรง โดยมีการประดิษฐ์อุปกรณ์ที่สามารถสวมใส่ได้สะดวกโดยที่มีขั้วไฟฟ้าที่บันทึกคลื่นไฟฟ้าลมองจากศรีษะโดยตรง

อุปกรณ์การตรวจวัดอาการทางระบบการเคลื่อนไหวของผู้ป่วยที่เป็นโรค Multiple sclerosis

ในปีที่แล้ว บริษัทไบโอเจน เป็นบริษัทที่ผลิตอุปกรณ์ในการรักษาผู้ป่วยโรคนี้ได้ ร่วมมือกับบริษัท Google-X ในการศึกษาการใช้วิทย์แบนฟิคบิดในการติดตามการเคลื่อนไหวของผู้ป่วยเพื่อดูคุณภาพของการเดินและการเคลื่อนไหวของผู้ป่วยเพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงในผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้ ในปีที่แล้วได้มีการแจกอุปกรณนี้ให้แก่ผู้ป่วยที่เป็นโรค multiple sclerosis 250 รายเพื่อติดตามดูการเคลื่อนไหวการนอนหลับ นอกจากนี้มีการพัฒนาตัวซอฟต์แวร์ ใน iPad  ที่สามารถที่จะบันทึกการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ แต่อย่างไรก็ตามตัววิทย์แบนด์นี้ยังไม่ซับซ้อนเพียงพอในการที่จะบันทึกแยกรูปแบบการเคลื่อนไหวผู้ป่วยคงต้องจะมีการพัฒนาต่อไป จากผลการศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสาร journal of bio-medical materials and engineering โดยการใช้อุปกรณ์ ที่ติดที่ส้นรองเท้าในผู้ป่วย multiple sclerosis 8 ราย เปรียบเทียบกับผู้ป่วยปกติ 6 ราย เพื่อดูการเปลี่ยนแปลงของการเคลื่อนไหวและการเดิน จากการศึกษาพบว่ามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญในผู้ป่วยเกี่ยวกับเรื่องการเดินเปรียบเทียบกับคนปกติ อุปกรณ์นี้จะใช้ในการศึกษาภาวะการทดถอยของการเดินในผู้ป่วยโรคได้ นอกจากนี้มีการนำอุปกรณ์นี้ไปศึกษาในผู้ป่วยที่เป็นโรคกล้ามเนื้อ muscular dystrophy เพื่อดูการเปลี่ยนแปลงของอาการของตัวโรคและช่วยทำให้แพทย์เข้าใจในการรักษาผู้ป่วยและการปรับยา ให้กับผู้ป่วย

ในการศึกษาปี 2014 ตีพิมพ์ในวารสาร Journal of Visualized Experiments ในการศึกษาโดยใช้ iPad ติดในหลังของผู้ป่วยมีการตรวจวัดความจำของสมองหรือการตรวจ cognitive performance test เพื่อจะช่วยในการวัดความผิดปกติของผู้ป่วยmultiple sclerosis เปรียบเทียบ อาการทดถอยของการเคลื่อนไหวของป่วย เปรียบเทียบกับกลไกของเรื่องความจำของสมอง คือตั้งใจเอาอุปกรณ์มาติดในผู้ป่วยเพื่อวัดความยืดหยุ่นของร่างกาย วิธีการตรวจเหล่านี้คงได้มีการพัฒนาเพื่อไปใช้ในการตรวจวัดการเคลื่อนไหวของผู้ป่วยวัดความเร็วของการเดินการทรงตัวและความยืดหยุ่นของร่างกายในผู้ป่วยที่เป็นโรค multiple sclerosis ซึ่งจะทำให้แพทย์เข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงและการของโลกที่มากขึ้นและจะได้มีปั่นปรับเปลี่ยนการรักษาเพื่อช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

อุปกรณ์ที่สวมใส่ในผู้ป่วยโรคปาร์กินสัน                 

เมื่อเร็วๆนี้นักวิจัยในประเทศอิสราเอล ได้ร่วมมือกับมูลนิธิ Michael J Fox ได้มีการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ที่สามารถที่จะวิเคราะห์อาการเคลื่อนไหวต่างๆ 300 อิริยาบถ ในแต่ละวันของป่วยโรคปาร์กินสัน ข้อมูลจะถูกเก็บมาจากอุปกรณ์สมาร์ทวอทช์ซึ่งเชื่อมต่อกับสมาร์ทโฟนเพื่อใช้วิธีการวิเคราะห์และสังเกตเช่นผู้ป่วย ลุกจากเก้าอี้ได้ยากง่ายแค่ไหน ลุกจากเตียงหรือยกสิ่งของ การเปิดขวด การใช้อุปกรณ์เครื่องครัวในบ้าน ข้อมูลเหล่านี้จะช่วยทำให้แพทย์ใช้ในการวิเคราะห์อาการความรุนแรงของผู้ป่วยได้อย่าง มีประสิทธิภาพ  ถึงแม้ว่าในขณะนี้จะมีจำนวนผู้ป่วยไม่มากนักที่ใช้อุปกรณ์เหล่านี้ได้ แต่ในอนาคตอันใกล้จะมีการใช้ของอุปกรณ์ในจำนวนที่มากขึ้น แม้กระทั่งบริษัท Apple ได้มีการพัฒนาซอฟต์แวร์ที่ใช้ใน iPhone เรียกว่า Parkinson mPower จะเก็บข้อมูลของผู้ป่วยโรคปาร์กินสัน software ตัวนี้สามารถที่จะวัดความยืดหยุ่นของผู้ป่วยโดยการวัดดูว่าผู้ป่วยสามารถที่จะพิมพ์ได้เร็วมากน้อยขนาดไหน ผู้ป่วยสามารถบันทึกเสียงในแต่ละวันที่จะช่วยทำให้นักวิจัยสามารถดูการเปลี่ยนแปลงเรื่องของการสั่น ที่จะบ่งบอกถึงอาการเปลี่ยนแปลงของผู้ป่วย โดยการใช้ การเชื่อมต่อ iPhone กับที่พี่เอสทำให้ทราบถึงการเคลื่อนไหวและความเร็วของการเคลื่อนไหวของผู้ป่วย และยังสามารถที่จะวัดการทรงตัว Software ตัวนี้สามารถที่จะดาวน์โหลดจาก Apple store

The Biostamp

Biostamp

อุปกรณ์นี้เป็นเหมือนแผ่นเทปเล็กๆขนาดเท่าแสตมป์ที่สามารถติดที่ผิวหนัง ใตยพลาสเตอร์แบนด์เอดอุปกรณ์นี้พัฒนาโดย โดย MC10 โดยมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ในอุปกรณ์นี้จะมีเซ็นเซอร์เล็กๆที่จะเก็บข้อมูลของการเคลื่อนไหวและกิจกรรมในสมองและกล้ามเนื้อและจะส่งข้อมูลแบบไร้สายเข้าไปในสมาร์ทวอทช์ ในขณะนี้ได้มีการพัฒนาเครื่องมือนี้มาใช้ในผู้ป่วยโรคลมชักและโรคทางสมองอื่น เชื่อว่าจะได้เอามาใช้ในการดูการเปลี่ยนแปลงของตัวโรคและช่วยในการรักษาผู้ป่วยในอนาคตอันใก้ล

Embrace

Embrace

ตอนนี้เป็นสมาร์ทวอทช์ที่ผู้ป่วยจะสวมใส่แล้วก็ชนิดกันตรวจวัดอาการชักในสมองโดยใช้หลักการบันทึกการเปลี่ยนแปลงของกระแสฟ้าในบริเวณผิวหนังหรืออุปกรณ์สามารถตรวจจับว่ามีคลื่นไฟฟ้าที่เป็น เริ่มต้นก่อนจะเกิดการชักเกิดขึ้น เครื่องก็จะส่งสัญญาณไปเตือนให้ผู้สวมใส่ว่าจะมีการชักจะเกิดขึ้น จะได้เป็นการป้องกันหรือเตรียมตัวก่อนจะเกิดอาการชักเกิดขึ้น แต่ในปัจจุบันเครื่องมือชนิดนี้สามารถบันทึกโดยเฉพาะ อาการชักที่มีการเคลื่อนไหวที่เป็นบอกว่าเป็นอาการชักแต่ยังไม่สามารถบันทึกการชักแบบเหม่อลอยหรือ absence ได้แต่การวิจัยยังดำเนินต่อไปเพื่อที่เครื่องมือชนิดนี้สามารถที่จะตรวจวัดอาการชักแบบเหม่อลอยได้ ถ้าผู้ป่วยมีอาการ automatisms เช่น เคี้ยวปาก (chewing) ขยับแขนไปมา (fumbling) หรือเดินไปมาขณะมีอาการชัก (wandering)

Brain Sentinel

Sentinel

อุปกรณ์ชนิดนี้ใช้หลักการโดยการใช้ขั้ว ไฟฟ้ายึดติดกับการ กล้ามเนื้อ bicep  เพื่อจะตรวจวัดในการ เคลื่อนไหวของของแขน เวลามีอาการ ชักแบบ tonic-clinic seizure อุปกรณ์นี้จะช่วยในการตรวจวัดอาการชักที่มีจุดกำเนิดในส่วนของสมอง motor cortex หรือมีการกระจายของไฟฟ้าสมองมากที่ส่วนนี้ อุปกรณ์นี้ไม่สามารถตรวจวัดอาการชักที่เป็นชนิดชักแบบเหม่อลอยได้

Seizalarm

Seizalarm

เป็นแอพที่ใช้ใน iwatch และ iPhone ใช้ในการส่งข้อมูลข้อความช่วยเหลือเมื่อ มีอาการเตือนจะเกิดอาการชัก นอกจากนี้มีฟังก์ชัน ที่ช่วยบันทึกจำนวนของการชัก ผู้ป่วยสามารถที่จะตั้งค่าให้มีการส่งข้อมูลช้าลงในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการเตือนอย่างเดียวและผู้ป่วยสามารถที่จะระงับการส่งข้อมูลได้ถ้าไม่มีอาการชักแบบไม่รู้ตัว แต่ถ้าไม่มีระงับการส่งข้อมูลนั้นแสดงว่าแสดงว่าผู้ป่วยมีอาการไม่รู้ตัวไปแล้ว การส่งข้อมูลสามารถส่งเป็นข้อความอีเมลและทางโทรศัพท์โดยสัมพันธ์กับตำแหน่ง GPS การใช้บริการแอพนี้สามารถดาวน์โหลดได้ฟรีแต่ใช้ได้ในเวลาจำกัดหลังจากนั้นแล้วจะต้องมีค่าเสียค่าใช้จ่ายเป็นรายเดือน ในอนาคตอาจจะมีการพัฒนา Seizalarm สามารถบันทึกอาการชักที่แบบชนิดเกร็งกระตุกได้

Smartwatch

Smartwatch

อุปกรณ์การพัฒนาครั้งแรกในปี 2012 ใน San Jose, California, U.S.A. อุปกรณ์นี้จะช่วยเตือน ผู้ป่วย และผู้ดูแลว่าผู้ป่วยมีอาการชัก ส่วนใหญ่อุปกรณ์นี้จะใช้ในผู้ป่วยโรคลมชักที่มีอายุน้อยกว่า 20 ปีพบว่าช่วยในการบันทึกอาการชักในขณะนอนหลับ อุปกรณ์นี้ก็ยังอยู่ในช่วงขออนุญาตจาก FDA ในประเทศ สหรัฐอเมริกา ราคาค่าอุปกรณ์จะตกอยู่ประมาณ 149 US dollar และมีค่าใช้จ่ายรายเดือนตกประมาณ 20 เหรียญต่อเดือน แต่ถ้ามีการบันทึกลงใน GPS และมีการเตือนเรื่องการทานยาด้วยมีราคาประมาณ 199 เหรียญและค่าสมาชิกรายเดือนประมาณ 30 เหรียญต่อเดือน

จะเห็นได้ว่าอุปกรณ์เหล่านี้ถ้าจะเอามาใช้ในผู้ป่วยโรคลมชักในประเทศไทยจะมีค่าใช้จ่ายที่มากพอสมควรอาจจะทำให้ผู้ป่วยโรคลมชักส่วนใหญ่ไม่สามารถที่จะซื้อหาหรือใช้อุปกรณ์เหล่านี้ได้ดังนั้น หน่วยโรคลมชักโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ได้ร่วมมือกับศูนย์เทคโนโลยี NECTEC พัฒนาอุปกรณ์ Thai Smart watch เพื่อเป็นอุปกรณ์ในการตรวจวัดอาการชักชนิดแบบเกร็งกระตุกหรือแบบเหม่อลอย โดยในขณะนี้ได้มีการเอาอุปกรณ์เครื่องมือมาใช้ในผู้ป่วยโรคลมชักบ้างแล้ว

Thai smart watch

ในอนาคตอันใกล้การใช้อุปกรณ์ที่สวมใส่ในผู้ป่วยในการตรวจวัดอาการชักที่เกิดขึ้นจะมีการนำไปร่วมกับอุปกรณ์ที่ใช้ในการรักษาที่จะยับยั้งอาการชักไม่ให้เกิดขึ้น เช่น อุปกรณ์การตรวจวัดอาการชักอาจจะมีการทำงานร่วมกันกับอุปกรณ์ที่จะส่งกระแสไฟฟ้าไปที่สมองไปยับยั้งอาการชักหรืออาจจะทำงานร่วมกันกับอุปกรณ์ที่จะให้ยาเข้าไปผู้ป่วยเพื่อยับยั้งอาการชักที่จะเกิดขึ้น ในส่วนของผู้ป่วยเองการที่ผู้ป่วยทราบว่าอาการชักกำลังจะเกิดขึ้นจะทำให้ผู้ป่วยสามารถที่จะเตรียมตัวเองเพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายที่จะเกิดจากอาการชักได้