Parasomnia: ภาวะการนอนผิดปกติที่มีการเคลื่อนไหวของร่างกายหรือมีการส่งเสียงผิดปกติที่เกิดในช่วงการนอนหลับ


Parasomnia

Sleep 1
ภาวะการนอนผิดปกติที่มีการเคลื่อนไหวของร่างกายหรือมีการส่งเสียงผิดปกติที่เกิดในช่วงการนอนหลับหรือในช่วงการเปลี่ยนแปลงของการตื่นและการนอนหลับ มักจะเกิดซ้ำฯชึ่งอาจเป็นเหตุทำให้เกิดการบาดเจ็บของร่างกายต่อผู้ป่วยหรือผู้อื่นได้ และมีผลทำให้การนอนหลับไม่ต่อเนื่องทำให้การนอนหลับไม่มีประสิทธิภาพและเกิดภาวะง่วงหลับ (hypersomnolence) ตามมา นอกจากนี้ภาวะ Parasomnia มักจะมีความสัมพันธ์กับโรคทางสมอง โรคทางกาย หรือภาวะความผิดปกติทางจิตเวช เป็นต้น

การจัดแบ่งภาวะ Parasomnia

  1. ภาวะสับสนระหว่างการตื่นนอน (Confusional arousal)

  2. การลุกเดินในขณะนอนหลับ (Sleep walking)

  3. ภาวะฝันร้าย (Sleep terror)

  4. ภาวะก้าวร้าวในขณะนอนหลับระยะ REM sleep (REM sleep behavior disorder)

  5. ภาวะการพูดในขณะนอนหลับ (Sleep talking, Somniliquy)

  6. ภาวะสะดุ้งในขณะหลัย (Hypnic jerks)

  7. ภาวะการนอนกัดฟัน (Bruxism)

ภาวะสับสนระหว่างการตื่นนอน (Confusional arousal)

เป็นภาวะสับสนที่เกิดระหว่างการตื่นนอน โดยที่ผ.ป.อยู่ในภาวะครึ่งหลับครึ่งตื่นทำให้มีอาการสับสนหรือการรับรู้ที่ช้ากว่าปกต อาจจะมีอาการสับสนเกี่ยวกับวันเวลาและสถานที่ การเรียบเรียงเรื่องราวผิดไป

 สาเหตและอุบัติการ

มักจะพบบ่อยในผ.ป.เด็กที่มีอายุ < 5 ขวบ และในกลุ่มคนที่ต้องอดนอน อาจจะมีผลกระทบต่อเรื่องความจำได้ สาเหตุมักจะเป็นผลมาจากการอดนอน ไข้ ยาที่มีผลต่อการกดสมอง เช่น ยานอนหลับ ยาคคายเครียด เป็นต้น

การวินิจฉัยแยกโรค

การลุกเดินในขณะนอนหลับ (Sleep walking)

ภาวะฝันร้าย (Sleep terror)

ภาวะก้าวร้าวในขณะนอนหลับระยะ REM sleep (REM sleep behavior disorder)

ภาวะชักในขณะนอนหลับ

 การรักษา

ไม่มีการรักษาโดยการใช้ยา แต่จะต้องหลีกเลี่ยงจากภาวะกระต้นทสาเหต confusional arousalี่ เช่น ภาวะเครียด การอดนอน เป็นต้น

การลุกเดินในขณะนอนหลับ (Sleep walking)

เป็นภาวะที่มีการตื่นจากการหลับลึก (deep sleep) โดยที่ไม่รู้ตัวและมีการลุกเดินหรือมีการทำภาระกิจโดยไม่รู้สึกตัว มักจะมีอาการเป็นซ้ำฯต่อเนื่อง อาจจะทำให้เกิดอันตรายและบาดเจ็บต่อผ.ป.ได้ มักจะเกิดนานประมาณ 1-5 นาทีแต่อาจนานเป็นชั่วใมงได้ มักจะเกิดร่วมกับภาวะฝันร้าย (Sleep terror) เวลาตื่นผ.ป.อาจจะมีอาการสับสนได้

สาเหตและอุบัติการ

มักจะเกิดในเด็กอายุ 4-6 ขวบมากกว่าในผู้ใหญ่ ปัจจัยกระตุ้น เช่น การอดนอน ภาวะเครียด ภาวะปวด การกลั้นปัสสาวะ การดื่มเครื่องดื่มแอลล์กอฮอลล์ เป็นต้น

การวินิจฉัยแยกโรค

ภาวะก้าวร้าวในขณะนอนหลับระยะ REM sleep (REM sleep behavior disorder)

ภาวะสับสนระหว่างการตื่นนอน (Confusional arousal)

ภาวะชักในขณะนอนหลับ

การรักษา

หลีกเลี่ยงจากภาวะกระต้น

การป้องกันไม่ให้เกิดอันตราย

การใช้ยา Benzodiazepine

ภาวะฝันร้าย (Sleep terror)

ภาวะฝันร้ายเป็นภาวะที่ผ.ป.ที่มีการตื่นกระทันหันจากการหลับลึก (deep sleep) ผ.ป.มักจะมีการกรีดร้อง ดูตื่นตระหนก สับสน มักจะมีอาการทางระบบประสาทอัตโนมัติร่วมด้วย เช่น ใจสั่น หายใจเร็ว เป็นต้น อาจจะมีการเคลื่อนไหวชองแขนขาที่ผิดปกติ หรือมีพฤกติกรรมที่หลบหนีและอาจจะก่อให้เกิดอันตรายได้

สาเหตและอุบัติการ

มักพบบ่อย 3% ในเด็กและ 1 % ในผู้ใหญ่และพบได้ในผู้สูงอายุ พบในผู้ชายมากกว่าในผู้หญิ้ง

การวินิจฉัยแยกโรค

ภาวะนอนฝันร้าย (Nightmares, REM sleep)

ภาวะชักในขณะนอนหลับ

 การรักษา

ถ้าเป็นไม่บ่อยอาจไม่จำเป็นให้การรักษาด้วยยา ยาที่ใชัในการรักษา เช่น Diazepam, Clonazepam, TCA เป็นต้น การรักษาจืตบำบัด ลดความเครียด ยานอนหลัย

ภาวะก้าวร้าวในขณะนอนหลับระยะ REM sleep (REM sleep behavior disorder; RBD)

เป็นภาวะ parasomnia ที่มีความสัมพันธ์กับโรคที่มีความเสื่อมของระบบประสาทสมอง (Neurodegenerative disease) ผ.ป.จะมีอาการความผิดปกติทางพฤกติกรรมซึ่งมักจะเป็นพฤกติกรรมก้าวร้าวในขณะนอนหลับอยู่ในช่วง REM sleep

RBD อาจจะเป็นอาการนำหลายปืก่อนที่ผ.ป.จะเริ่มมีอาการโรคปาร์กินสันหรือโรคสมองเสื่อม (Dementia) พบได้ประมาณ 15-20%  ผ.ป.มักจะมีอาการเคลื่อนไหวแขนขาอย่างรุนแรง เช่น ชกต่อย แตะขา มักจะทำให้เกิดการบาดเจ็บต่อคนที่นอนข้างด้วยหรือตนเอง อาการมักจะเกิดหลังจากหลับไปได้ประมาณ 90 นาที และมักจะเกิดในช่วงหลังของการนอนหลับ

อาการพฤกติกรรมที่อาจจะพบร่วมได้ เช่น ส่งเสียงร้อง ร้องเพลง ตะโกน กรีดร้อง ลุกเดิน วิ่ง แตะต่อย กระโดด ทำร้ายร่างกายผู้อื่น เป็นต้น

สาเหตและอุบัติการ

พบได้บ่อยในผู้ชายมากว่าในผู้หญิง (M:F; 87%: 13%) อายุที่พบบ่อยเฉลี่ย 61 ปี มักจะก่อให้เกิดอันตรายต่อผ.ป. (32%) และคนที่นอนข้างด้วย (16%)

การวินิจฉัย

การซักประวัติ และการตรวจเรื่องการนอนหลับผิดปกติ (Polysomnography) จะช่วยยืนยันในการวินิจฉัย

การวินิจฉัยแยกโรค

การลุกเดินในขณะนอนหลับ (Sleep walking)

ภาวะฝันร้าย (Sleep terror)

ภาวะชักในขณะนอนหลับ

ภาวะการพูดในขณะนอนหลับ (Sleep talking, Somniliquy)

การเคลื่อนไหวของขาผิดปกติ ขณะนอนหลับ (Periodic leg movements)

การรักษา

การตรวจทางระบบสมองอย่างละเอียด

การปรับเปลี่ยนสภาพรอบข้างที่นอนหลับเพื่อป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดได้

หลีกเลี่ยง กาแฟ และการใช้ยากลุ่ม SSRI, selegiline, clomipramine, venlafaxine, mirtazepam, TCA, MAOIs, anticholinergic  เป็นต้น

ให้ยา Clonazepam จใ/ถ ข ๅ ทเ

Melatoni

Levodopa, dopamine agonist

Anticonvulsants

ภาวะการพูดในขณะนอนหลับ (Sleep talking, Somniliquy)

เป็นภาวะการพูดในขณะหลับ มักจะไม่มีอาการอย่างอื่นร่วมด้วย ผ.ป. จะไม่สามารถจำในสิ่งที่พูดได้ และไม่สัมพันธ์กับระดับของการนอนหลับ

การรักษา

ให้คำแนะนำ

ภาวะสะดุ้งในขณะหลัย (Hypnic jerks)

ภาวะสะดุ้งของร่างกายมักจะเแป็นครั้งฯไปและมักจะเแป็นช่วงการนอนหลับตอนต้นโดยที่มักจะเแป็นส่วนขามากกว่าแขนและมากกว่าศีรษะ ผ.ป.อาจจะมีความรู้สึกคล้ายตกจากที่สูง เห็นแสงสว่างจ้าได้

สาเหตุ

การดื่มกาแฟ สูบบุหร่่ ภาวะเครียด การออกกำลังกายมากเกินไป

 การวินิจฉัยแยกโรค

ภาวะชักในขณะนอนหลับ

การเคลื่อนไหวของขาผิดปกติ ขณะนอนหลับ (Periodic leg movements)

 การรักษา

หลีกเลี่ยงจากสิ่งกระตุ้น

ส่วนน้อยที่จำเป็นต้องใชัยา Benzodizepams (hypnotic dose)

ภาวะการนอนกัดฟัน (Bruxism)

เป็นภาวะที่มีการกัดฟันในขณะนอนหลับ พบได้ประมาณ 5-10% ยังไม่ทราบชัดเจนว่าเกี่ยวกับความเครียดหรือไม่ สามารถเกิดได้ทุกระยะของการนอนหลับ เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคฟันตามมา เช่น ฟันฝุ ฟันสึกหรอ โรคเหงือก เป็นต้น

การวินิจฉัย

การซักประวัติ การ การตรวจเรื่องการนอนหลับผิดปกติ (Polysomnography)

 การรักษา

การลดความเครียด การใช้ mouth guard การใช้ยา Benzodiazepine