History CEP Phramongkutklao hospital

ประวัติโครงการโรคลมชักโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า

(History of Comprehensive Epilepsy Program, Phramongkutklao hospital)

PMK hospital 1

โครงการโรคลมชักลูกพยาบาล พระมงกุฏเกล้า ได้มีการก่อตั้งตั้งแต่ปี 2000 โดยในเบื้องต้นได้มีการก่อตั้งคลีนิกโรคลมชักและมีการให้บริการรักษาผู้ป่วยโรคลมชักครบวงจร คลีนิกโรคลมชักได้ให้บริการรักษาผู้ป่วยโรคลมชักแก่ผู้ป่วยพลเรือนทั่วไป ข้าราชการทั่วไป ข้าราชการทหารและครอบครัว โดยให้การรักษาผู้ป่วยโรคลมชักทั่วไปและผู้ป่วยโรคลมชักที่ดื้อต่อยา มีการรักษาโดยการใช้ทั้งยาและการรักษาโดยวิธีการผ่าตัดรักษา โดยมีคณะแพทย์ที่ก่อตั้ง โครงการรักษาผู้ป่วยโรคลมชักแบตวงจรดังนี้

หัวหนัาโครงการและผู้ก่อตั้ง  พลตรี.ดร.นพ.โยธิน  ชินวลัญช์

ประสาทศัลยแพทย์     พลตรี น.พ. สิรรุจน์ สกุลณะมรรคา
ประสาทกุมารแพทย์   พันเอกพิเศษ น.พ. ชาคริน ณ. บางช้าง

EEG technicians       ส,อ.หญิง มะลิว้ลย์  ศรืคำมูล, จ.ส.อ.สถาพร  บูญเจริญ

Hx epilepsy 2

ในระยะเริ่มต้นของการก่อตั้งในปี 2000 มีการให้การรักษาผู้ป่วยโรคลมชักและการตรวจ วัดคลื่นไฟฟ้าสมองแบบทั่วไป [routine EEG] ได้มีการจัดตั้งวิธีการ เอกซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าสมองอย่างละเอียด (MRI brain with epilepsy protocol) เพื่อใช้ตรวจหาตำแหน่งที่เป็นสาเหตุของการชักในผู้ป่วยโรคลมชัก การตรวจวัดคลื่นไฟฟ้าสมองพร้อมเครื่องวิดิทัศน์แบบ 24 ชั่วโมง การตรวจทางกัมมันตรังสีโดยการใช้เครื่อง SPECT เพื่อตรวจหาตำแหน่งที่ก่อให้ ก่อให้เกิดอาการชักโดยการฉีดสารกัมมันตรังสีทางการแพทย์ในขณะที่ผู้ป่วยมีอาการชักทำให้สามารถทราบตำแหน่งที่ทำให้เกิดอาการซักได้อย่างแม่นยำถูกต้อง การตรวจเรื่องความจำด้วยวิธีการตรวจโดยการทดสอบความจำ (Neuropsychological tests) และการตรวจเรื่องความจำและศูนย์ การทำงานของภาษาของสมองโดยการตรวจWADA test ทำให้การวางแผนการผ่าตัดรักษาผู้ป่วยโรคลมชักสามารถหลีกเลี่ยงการเกิดผลแทรกซ้อนเรื่องความจำถอยได้หลังการผ่าตัดรักษา ในช่วงปีแรก ของการก่อตั้งได้มีการผ่าตัดรักษาผู้ป่วยโรคลมชักชนิดTemporal lobe epilepsy เป็นส่วนใหญ่

Hx epilepsy 3

ต่อมาในปี 2001 ได้มีการพัฒนาการผ่าตัดรักษาโรคลมชักโดยการฝังสายวัดไฟฟ้าบนสมอง โดยตรง[Intracranial monitoring] โดยการใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า subdural grid ซึ่งเป็นแถบของขั้วไฟฟ้าวางบนผิวสมองโดยตรงเพื่อตรวจวัดขึ้นไฟฟ้าที่ก่อให้เกิดอาการชักว่าอยู่ตำแหน่งไหนของสมอง โดยเฉพาะในทุกป่วยโรคลมชักที่เป็นชนิดExtratemporal lobe epilepsy และการตรวจดูการทำงานของสมองแต่ละส่วนโดยวิธีการกระตุ้นไฟฟ้าในสมองส่วนนั้นฯเรียกว่าการตรวจ Cortical stimulation เป็นการวางแผนเพื่อการผ่าตัดรักษาโรคลมชักได้อย่างปลอดภัยโดยที่ผู้ป่วยจะไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนความ ผิดปกติของสมองหลังการผ่าตัด ได้มีการผ่าตัดรักษาผู้ป่วยโรคลมชักที่ดื้อต่อยาจากจำนวนการผ่าตัดรักษา 20 ถึง 30 รายต่อปีได้ก็ค่อยเพิ่มขึ้นเป็นจำนวน 50 รายต่อปี เป็นผู้ป่วยทั้งเด็กและผู้ใหญ ซึ่งถือว่าเป็นจำนวนเกือบครึ่งหนึ่งของจำนวนผู้ป่วยโรคลมชักทีดี้อต่อยาที่ได้รับการรักษาโดยวิธีการผ่าตัดในประเทศไทย (มีผู้ป่วยจำนวน 100 รายต่อปีในประเทศไทยที่ได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัดรักษา โรคลมชัก)

Hx epilepsy 7

ในปี 2004 ทางศูนย์โรคลมชักโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้าได้มีการนำวิธีใหม่ในการรักษา โรคลมชักโดยวิธีการกระตุ้นไฟฟ้าสมองโดยการใช้เครื่องมือที่เรียกว่าVagal nerve stimulation มาใช้ในการรักษาผู้ป่วยโรคลมชักที่ดื้อต่อยาวิธีการนี้ จะมีการฝั่งตัวกระตุ้นไฟฟ้าไว้ที่ตรงบริเวณผิวหนังตรงหน้าอกข้างซ้ายโดยที่แบตเตอรี่ตัวนี้จะมีการเชื่อมต่อกับเคเบิ้ลที่ไปกระตุ้นเส้นประสาท vagus nerve ที่บริเวณคอข้างช้าย ซึ่งจะช่วยทำให้ลดอาการชักลง 50 ถึง 75% ในผู้ป่วยโรคลมชักที่รักษาโดยการทานยาหรือผ่าตัดได้หรือไม่ได้แล้วยาคุมอาการชักไม่ได้ ได้มีการฝังอุปกรณ์นี้ในผู้ป่วยโรคลมชักประมาณ 10 ราย วิธีการผ่าตัดรักษาโดยการใช้แสง Gamma knife ซึ่งได้มีการรับผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาวิธีนี้อยู่ 6 ราย

Hx epilepsy 5

ในปี 2007 ทางศูนย์โรคลมชักโรงพยาบาล พระมงกุฏเกล้า ได้มีการพัฒนาการใช้อาหาร Ketogenic diet และสูตรอาหาร modified Atkin diet ในการรักษาผู้ป่วยโรคลมชักที่ดื้อต่อยาโดยเฉพาะในผู้ป่วยเด็ก และยังได้มีการพัฒนาการตรวจวัดคลื่นไฟฟ้าสมองในผู้ป่วยโรคลมชัก แบบต่อเนื่องไม่หยุด status epilepticus และในผู้ป่วยที่มีอาการวิกฤต (ICU monitoring) และได้มีการขยายแยกเป็นศูนย์การรักษาโรคลมชักในผู้ใหญ่และโรคลมชักในเด็ก

ทางศูนย์โรคลมชักโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ได้มีการเปิดฝึกอบรมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคลมชักแบตต่อยอด มาเป็นเวลา 10 ปีแล้วโดยหลักสูตรมีการฝึกอบรมใช้เวลา 2 ปีถือว่าเป็นสถาบันเริ่มต้นที่มีการเปิดฝึกอบรม พวกเชี่ยวชาญทางด้านนี้

Hx epilepsy 4

นอกจากนี้ทางศูนย์โรคลมชักโรงพยาบาล พระมงกุฏเกล้า ได้มีการริเริ่มทำการวิจัยร่วมกับนานาชาติในการใช้ยากันชักชนิดใหม่ในการวิจัยรักษาผู้ป่วยโรคลมชักที่ดื้อต่อยา [GCP drug trials] มาเป็นเวลามากกว่า 10 ปี และ

Hx epilepsy 6ได้มีการทำวิจัยอย่างต่อเนื่องมา 2 ปีแล้วร่วมกับโรงพยาบาล Toronto west hospital และ Faculty of bio-engineering, Toronto University ประเทศแคนาดา ในการพัฒนาวิธีการที่จะตรวจหาคลื่นไฟฟ้าที่ผิดปกติในขณะผู้ป่วยเริ่มต้น ก่อนจะมีอาการชักเกิดขึ้นเพื่อจะใช้ประโยชน์ในการที่จะป้องกันอาการชักที่จะเกิดขึ้นและลักษณะชองคลื่นชักที่จำเพาะที่จะช่วยในการผ่าตัดได้ถูกต้องและแม่นยำขึ้น นอกจากนี้ได้มีการวิจัยการใช้ อิเล็คโทรนิกส์ Calendar เพื่อใช้บันทึกอาการชักชองผู้ป่วยทำให้การบันทึกอาการชักของผู้ป่วยได้ถูกต้องแม่นยำโดยสามารถทำบันทึกได้ในโทรศัพท์มือถือ รวมถึงในขณะนี้ได้มีการร่วมมือกับศูนย์เทคโนโลยีเนคเทคในการพัฒนาอุปกรณ์บันทึกอาการชักวิทย์แบน (wrist band) ที่ให้ผู้ป่วยสวมใส่ เพื่อบันทึกอาการชักที่เกิดขึ้นทำให้สามารถบันทึกการชักได้ถูกต้องมากขึ้น