โรคการนอนหลับผิดปกติ: มหันตภัยต่อสมองและหัวใจ

โรคการนอนหลับผิดปกติเช่น นอนกรน นอนไม่หลับ ภาวะการเคลื่อนไหวผิดปกติในขณะในขณะหลับ โรคลมหลับ เป็นต้น เป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่พบได้บ่อยมาก โดยเฉพาะภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดตัน (obstructive sleep apnea) ทำให้มีผลทำให้เกิดภาวะการขาดออกซิเจน ของร่างกายและสมองอันมีผลทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพและมีผลทำให้เกิด โรคทางระบบหลอดเลือด ของหัวใจและสมอง

central-sleep-apnea sleep-apnea-1

Red puzzle heart with stethoscope on grey wooden background
Red puzzle heart with stethoscope on grey wooden background

Apnea_cardivascular

มีการศึกษาพบว่าภาวะหยุดหายใจขณะ หลับจากการอุดตันพบได้ถึงประมาณเกือบ 30,000,000 คนในผู้ป่วยอายุ 30 ปีในประเทศ สหรัฐอเมริกา โดยมีความชุกของโรค ในประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศต่างๆในเอเชียพบได้ประมาณ 4% ในผู้ชายและ 2% ในปีในผู้หญิง 1

 

จากผลการศึกษาพบว่าภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดตันมี ความสัมพันธ์ก่อให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง 2 โรคเบาหวาน 3 โรคหลอดเลือดสมองอุดตัน 4  โรคหลอดเลือดหัวใจและหัวใจเต้นผิดปกติ 5 โรคความผิดปกติทางเมตตาโบลิซึมเช่นโรคเบาหวาน และมีผลทำให้เกิดภาวะง่วงหลับในขณะทำงานหรือการขับขื่ยานยนต์อันมีผลทำให้เกิดอุบัติเหตุตามมา นอกจากนี้ยังมีผลทำให้เกิดการสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจอันเป็นผลจากตัวโรคที่ทำให้เกิดผลแทรกซ้อนสุขภาพและอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะการก่อให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจและสมองอุดตันซึ่งกระทำให้ต้องdriving-apnea driving-apnea sleep_apnea_facts_statistics_infographic3เสียค่าใช้จ่ายอย่างสูงในการรักษาโรคเหล่านี้ มีการศึกษาพบว่าค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจสูงถึง 190 พันล้านเหรียญต่อปี 6 และค่าใช้จ่ายในการรักษาโรคหลอดเลือดสมองอุดตันสูงถึง 34 พันล้านเหรียญต่อปี7  และมีการศึกษาพบว่า การวินิจฉัยและการรักษาภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดตัน สามารถลดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลอุบัติเหตุได้ถึงเกือบ 50%8 มีการประมาณการว่าจะต้องมีการใช้จ่ายทางด้านสาธารณสุขที่เกิดขึ้นจากการที่ผู้ป่วยที่มีภาวะหยุดหายใจในขณะหลับจากการอุดตันแต่ไม่ได้รับการวินิจฉัยหรือการรักษาที่ถูกต้องสูงถึง 60,000 ถึง 200,000 บาทต่อคนต่อปี9

 

Reference

  1. Young T, Palta M, Dempsey J, et al. The occurrence of sleep- disordered breathing among middle-aged adults. N Engl J Med. 1993;328:1230e1235.
  2. Peppard PE, Young T, Palta M, et al. Prospective study of the association between sleep-disordered breathing and hyper- tension. N Engl J Med. 2000;342:1378e1384.
  3. Reichmuth KJ, Austin D, Skatrud JB, et al. Association of sleep apnea and type II diabetes: a population-based study. Am J Respir Crit Care Med. 2005;172:1590e1595.
  4. Arzt M, Young T, Finn L, et al. Association of sleep-disordered breathing and the occurrence of stroke. Am J Respir Crit Care Med. 2005;172:1447e1451.
  5. Shahar E, Whitney CW, Redline S, et al. Sleep-disordered breathing and cardiovascular disease: cross-sectional results of the Sleep Heart Health Study. Am J Respir Crit Care Med. 2001;163:19e25.
  6. Roger VL, Go AS, Lloyd-Jones DM, et al. Heart disease and stroke statistics e 2012 update: a report from the American Heart Association. Circulation. 2012;125:e2ee220.
  7. Taylor TN, Davis PH, Torner JC, et al. Lifetime cost of stroke in the United States. Stroke e J Cereb Circ. 1996;27:1459e1466.
  8. Berger MB, Sullivan W, Owen R, et al. A Corporate Driven Sleep Apnea Detection and Treatment Program: Results and Challenges. Houston, TX: Schneider National Inc., Precision Pulmonary Diagnostics Inc., and Definity Health Corp.;
  9. Albarrak M, Banno K, Sabbagh AA, et al. Utilization of healthcare resources in obstructive sleep apnea syndrome: a 5-year follow-up study in men using CPAP. Sleep. 2005;28: 1306e1311.