โรคลมชัก (Epilepsy)

โรคลมชัก (Epilepsy)

เรียบเรียงโดย ดร.น.พ.โยธิน ชินวลัญช์

โรคลมชักเป็นปัญหาที่พบได้ในคนทุกเพศทุกวัย โดยมีอุบัติการณ์เกิดประมาณ 1% ของประชากร ในประเทศไทยประมาณว่ามี ผู้ป่วยโรคลมชักประมาณ 6-7 แสนคน โรคลมชักไม่ใช่โรคติดต่อเป็นโรคที่มีสาเหตุจากหลายฯชนิดอาจจะถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ขึ้นกับชนิดของการชัก โรคลมชักพบได้ในช่วงทุกอายุ หากได้รับการรักษาแต่เนิ่นๆและถูกต้องในผู้ป่วยส่วนใหญ่จะสามารถหายขาดได้

อาการชักเกิดเนื่องจากความผิดปรกติของกระแสไฟฟ้าภายในสมอง ซึ่งมีการนำของกระแสไฟฟ้าที่ลัดวงจรก่อให้เกิดอาการชักตามมา โดยถ้ากระแสไฟฟ้าที่ผิดปกติเกิดขึ้นรบกวนสมองเป็นบางส่วนจะทำให้เกิด “อาการชักเฉพาะที่โดยที่ยังรู้ตัวอยู่แต่ถ้ามีเหม่อลอยหมดสติทำอะไรไม่รู้ตัวเรียกว่า อาการชักแบบเหม่อ แต่ถ้ากระแสไฟฟ้าที่ผิดปกติเกิดขึ้นรบกวนสมองทั้งสองข้างจะทำให้เกิดอาการชักแบบเกร็งกระตุกทั้งตัวหรือชักแบบแน่นิ่งที่พบบ่อยในเด็ก

อาการชักเฉพาะที่โดยกระแสไฟฟ้าที่ผิดปรกติอาจรบกวนสมองส่วนที่ควบคุมการทำงานแห่งใดแห่งหนึ่งในร่างกาย ทำให้เกิดอาการต่างฯใดยที่ยังรู้ตัว เช่น อาการชาหรือกระตุกของแขนขา หรือใบหน้าข้างใดข้างหนึ่งเป็นซ้ำฯใดยที่ไม่สามารถควบคุมได้ นอกจากนี้อาจมีอาการคลื่นไส้ ปวดท้อง กลัว ความรู้สึกแปลกฯ ความรู้สึกเหมือนฝัน หูแว่ว เห็นภาพหลอน หรือหัวใจเต้นผิดปรกติ

อาการชักแบบเหม่อลอย ผู้ป่วยมักจะมีอาการเตือนนำมาก่อนเหมือนดังที่ได้กล่าวมาแล้วตามด้วยอาการเหม่อลอย ผู้ป่วยมักจะทำปากขมุบขมิบหรือเคี้ยวปากหรือมือเกร็งหรือขยับมือไปมาอาจคลำตามเสื้อผ้าอย่างไม่รู้ตัว เคลื่อนไหวแขนขาอย่างไร้จุดหมายโดยไม่รับรู้สิ่งรอบข้างแล้ว โดยที่จำเหตุการณ์ระหว่างนั้นไม่ได้อาการเหม่อลอยจะนานประมาณไม่กี่วินาทีจนถึงหลายฯนาทีหลังจาก ผู้ป่วยมักจะมีอาการสับสน ในผู้ป่วยบางรายอาจจะมีอาการพูดไม่ได้หรือยกแขนข้างใดข้างหนึ่งไม่ได้อีกหลายนาที กว่าจะตื่นเป็นปกติ

อาการชักแบบเกร็งกระตุกทั้งตัว เกิดจากการที่กระแสไฟฟ้าที่ผิดปรกติรบกวนการทำงานของสมองทั้งหมดจะเกิดอาการชักที่เรียกว่า “อาการชักทั่วทุกส่วน” หรือที่เรียกว่าโรคลมบ้าหมู ชนิดที่พบบ่อยคือ อาการชักแบบเกร็งกระตุกทั้งตัว ผู้ป่วยจะสูญเสียการรู้สึกตัวทันที และล้มลง กล้ามเนื้อจะแข็งเกร็งทั่วทั้งตัว ตาจะเลือกค้าง น้ำลายฟูมปากอาจจะกัดลิ้นตนเองหรือปัสสาวะราด ระยะเวลาชักจะนานประมาณ 2 – 3 นาที หลังชักมักจะเพลียและนอนหลับหลังจากหยุดชัก

อาการชักแบบแน่นิ่ง พบได้บ่อยในวัยเด็ก อาการจะเกิดขึ้นในระยะเวลาสั้นมาก ผู้ป่วยจะจ้องไปข้างหน้าอย่างไร้จุดหมายเป็นระยะเวลาสั้นๆคล้ายกับเหม่อ ประมาณ 2 – 3 วินาที แล้วกลับมาทำสิ่งที่ค้างอยู่ต่อไปโดยมักไม่มีการเคลื่อนไหวแขนขา

สาเหตุของโรคลมชัก

  1. แผลเป็นในสมอง เช่นการติดเชื้อในสมอง, อุบัติเหตุต่อสมอง, ชักขณะไข้สูงในวัยเด็กที่นานหรือชักติดต่อกันหลายฯครั้ง, สมองขาดออกซิเจน, สมองถูกกระทบกระเทือนในระหว่างอยู่ในครรภ์มารดา แรกคลอด
  2. โรคทางพันธุกรรม
  3. ภาวะมีก้อนในสมองเช่น เนื้องอกในสมอง, พยาธิในสมอง
  4. โรคหลอดเลือดสมองผิดปกติ หรือแตกหรือตีบตัน
  5. โรคทางกายเช่น ภาวะเกลือโซเดียมในร่างกายสูงหรือต่ำ น้ำตาลในเลือดสูงหรือต่ำ, โรคตับ, โรคไต
  6. การดื่มเหล้า การกินยาบ้า เสพยาเสพติด ได้รับสารพิษ

การวินิจฉัย

แพทย์จะวินิจฉัยโรคลมชักโดยอาศัยข้อมูลของลักษณะชักที่ได้จากคนไข้และผู้พบเห็นผู้ป่วยในขณะชัก (ประวัติการเจ็บป่วยในอดีต, ปัจจุบัน, ประวัติครอบครัว) การตรวจร่างกาย, การตรวจทางห้องปฏิบัติการ, การตรวจคลื่นสมอง (EEG) บางครั้งอาจใช้การวินิจฉัยอื่นๆอาจมีความจำเป็น เช่น การตรวจเอ๊กซ์เรยคลื่นแม่เหล็กสมอง (MRI), การตรวจคลื่นสมองพร้อมวีดีโอ 24 ชั่วโมง, การตรวจสมองโดยใช้สารกัมมันตรังสี (SPECT) เพื่อตรวจหาพยาธิสภาพในสมอง

 

การรักษาโรคลมชัก

  1. การรักษาโดยการใช้ยาเพื่อไปช่วยปรับกระแสไฟฟ้าที่ผิดปกติในสมองให้กลับมาเป็นปกติซึ่งจะต้องใช้เวลาในการทานยาประมาณ 2-5 ปี ถึงแพทย์ จะพิจารณาหยุดยาได้โดยที่ประมาณ 60-70% หายขาดจากโรคลมชักเลย ยากันชักในปัจจุบันมีมากกว่า 10 ชนิด แต่ละชนิดก็ใช้ได้ดีกับการชักต่างชนิดกันออกไปแพทย์จะเป็นผู้พิจารณาเลือกใช้ยาที่เหมาะสมตามชนิดของการชักของผู้ป่วย เนื่องจากการตอบสนองของยากันชักและขนาดที่ใช้จะแตกต่างในแต่ละคนดั้งนั้น ผู้ป่วยจะต้องติดตามผลการรักษาอย่างใกล้ชิดปรับใช้ชนิดยาและปริมาณของยาที่เหมาะสม

2..การรักษาโดยการใช้การผ่าตัด บัจจุบันถือว่าเป็นการรักษามารตฐานทั่วโลก ในผู้ป่วยที่มีแผลเป็นในสมอง และดื้อต่อยาร่วมถึงผู้ป่วยที่มีอาการชักอันก่อให้เกิดอันตราย หรือมีผลกระทบมากต่อการงานและสังคมอย่างไรก็ตามก่อนการผ่าตัดจะต้องมีการตรวจอย่างละเอียด

ข้อพึงปฏิบัติในการรักษาโรคลมชัก

  1. ควรรับประทานยากันชักตามคำแนะนำของแพทย์ทุกวันอย่างสม่ำเสมอและตามเวลาที่แนะนำ
  2. ควรสังเกตอาการข้างเคียงของยาตามคำแนะนำของแพทย์ หากพบควรรีบปรึกษาแพทย์ก่อนตัดสินใจหยุดยาเองเพราะบางกรณีหากหยุดยาเองอาจทำให้เกิดอาการชักอย่างรุนแรงเพราะขาดยาได้
  3. จดบันทึกลักษณะอาการชักทุกครั้งที่มีตลอดจนวันและเวลาที่มีอาการเพื่อเป็นประโยชน์ต่อแพทย์ในการปรับขนาดยา หรือช่วงเวลาที่จะให้ยาแก่ผู้ป่วย
  4. ควรหลีกเลี่ยงภาวะต่างๆที่อาจจะเสี่ยงต่อกาชักซ้ำ เช่น การอดนอน, การออกกำลังกายหักโหม, ขาดยากันชัก, อดอาหารเป็นต้น

การปฐมพยาบาลเบื้องต้น

  1. เมื่อพบผู่ป่วยที่กำลังชัก ตั้งสติให้ดี อย่าตกใจ
  2. จับผู้ป่วยนอนตะแคงหันศีรษะไปด้านใดด้านหนึ่ง เพื่อป้องกันการสำลัก และลิ้นตกไปอุดทางเดินหายใจ
  3. คลายเสื้อผ้าให้หลวม
  4. ห้ามใช้นิ้วหรือสิ่งของใดๆงัดปากผู้ป่วยขณะชัก เพราะอาจเกิดอันตรายต่อผู้ป่วยและผู้ช่วยเหลือ
  5. ผู้ป่วยหลังชักอาจมีอาการงงอยู่ ขณะยังไม่รู้สติ ห้ามยึดจับผู้ป่วยเพราะจะกระตุ้นผู้ป่วยให้ทำการต่อสู้รุนแรงได้
  6. ในกรณีที่ผู้ป่วยหลับหลังชักควรปล่อยให้หลับต่อ ห้าม ป้อนอาหารหรือยาจนกว่าจะฟื้นเป็นปรกติเพราะอาจสำลักได้
  7. ถ้าชักนานกว่าปรกติหรือชักซ้ำ ขณะที่ยังไม่ฟื้นเป็นปรกติควรนำส่งโรงพยาบาล

“การมีอาการชักบ่อยๆอาจทำให้การทำงานของสมองบกพร่องได้”