ข่าวประชาสัมพันธ์ 26 มีนาคม “วันโรคลมชักโลก” หนึ่งวันสำคัญของผู้ป่วยโรคลมชัก ที่ไม่อยากให้ลืม

ข่าวประชาสัมพันธ์

26 มีนาคม “วันโรคลมชักโลก”
หนึ่งวันสำคัญของผู้ป่วยโรคลมชัก ที่ไม่อยากให้ลืม

Epilepsydayแพทย์ไทยย้ำผู้ป่วยโรคลมชักมีเพิ่มมากขึ้นทุกปี แต่กลับเป็นโรคที่กำลังถูกมองข้าม ทั้งที่แท้จริงแล้วพบผู้ป่วยมากกว่า 6-7 แสนคนในประเทศไทย ทั้งเด็กเล็กและผู้สูงอายุ ปัจจุบัน วงการแพทย์ทั่วโลกกำหนดให้วันที่ 26 มีนาคมของทุกปี เป็นวันโรคลมชักโลก (World Epilepsy Day) โดยมีดอกลาเวนเดอร์สีม่วงเป็นเสมือนสัญลักษณ์แทนผู้ป่วย พร้อมกับเน้นย้ำควรให้ความสำคัญกับผู้ป่วย และทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคลมชักว่าไม่ได้เป็นโรคที่น่ารังเกียจ สามารถรักษาให้หายได้ หากผู้ป่วยดูแลตัวเองเพียงพอ รวมถึงครอบครัวเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้ผู้ป่วยยืนอยู่ในสังคมได้อย่างไม่แปลกแยก

Yotin 2พ.อ. (พิเศษ) ดร.นพ. โยธิน ชินวลัญช์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านอายุรกรรมสมองและระบบประสาท โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า เปิดเผยว่า โรคลมชักเป็นโรคที่เกิดขึ้นได้กับคนทุกช่วงอายุ  ซึ่งในปัจจุบันพบผู้ป่วยในประเทศไทยเป็นจำนวน 6-7 แสนคน หรือประมาณว่าใน 100 คน จะพบ 1 คนที่เป็นโรคนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้สูงอายุ ซึ่งโรคนี้เป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติจากกระแสไฟฟ้าภายในสมอง สมอง
ของคนเราจะมีการทำงานของเซลล์ประสาท ซึ่งเซลล์ประสาทจะทำงานโดยใช้กระแสไฟฟ้าในสมองส่งต่อ
ถ้ากระแสไฟฟ้าภายในสมองมีความผิดปกติเกิดขึ้นก็จะทำให้เกิดอาการชัก ซึ่งอาการชักมีหลากหลายอาการด้วยกัน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับตำแหน่งสมองที่มีความผิดปกติ อาทิ อาการชักเฉพาะแบบที่ขาดสติ เหม่อลอยไปชั่วขณะ ผู้ป่วยจะมีอาการไม่รู้สึกตัวเหมือนเบลอไป อาจหมดสติหรือไม่หมดสติก็ได้ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือผู้ป่วยจำอะไร
ในช่วงเวลานั้นไม่ได้ หรือจำได้แค่บางส่วนเท่านั้น หรือมีการสั่งงานของสมองไม่ถูกต้อง เช่นบางคนอยากจะพูดแต่พูดไม่ออก อยากจะเคลื่อนไหวแต่เคลื่อนไหวไม่ได้ หรือพอมีเหตุการณ์ก็จำเหตุการณ์ไม่ได้ว่าเกิดอะไรขึ้น ความทรงจำโดนลบไปชั่วขณะ เมื่อหายแล้วทุกอย่างเป็นปกติ นอกจากนี้ ยังมีอาการชักแบบเกร็งกระตุกทั้งตัว ผู้ป่วยจะมีอาการเกร็งกระตุกไปทั้งตัว แต่ส่วนใหญ่อาการชักที่เกิดขึ้นจะหยุดเอง

พ.อ. (พิเศษ) ดร.นพ. โยธิน ชินวลัญช์ กล่าวว่า สาเหตุของโรคลมชัก อาจเกิดจากหลายสาเหตุ คือ พันธุกรรม การกระทบกระเทือนหรือมีรอยโรคที่สมอง ภาวะเนื้องอกในสมอง โรคหลอดเลือดสมองผิดปกติ แตก ตีบ หรืออุดตัน อุบัติเหตุทางสมอง และอายุที่มากขึ้น ซึ่งปัจจุบันพบว่าโรคลมชักพบมากขึ้นในผู้สูงอายุที่แข็งแรง
ไม่เคยเป็นโรคอะไรมาก่อน แต่เนื่องจากเมื่ออายุมากขึ้น สมองฝ่อลีบลง ทำให้เซลล์สมองมีโอกาสผิดปกติได้สูงขึ้น จึงอาจทำให้เกิดอาการชักได้ สำหรับผู้ที่มีโรคประจำตัวอยู่แล้ว เช่น โรคไต โรคตับ โรคเส้นเลือดอุดตัน โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ฯลฯ เมื่อมีอายุมากขึ้น ก็มีปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้เกิดโรคลมชักได้เช่นกัน ทั้งนี้โรคลมชักไม่ได้พบแต่ในผู้สูงอายุเท่านั้น แต่พบว่ามีโรคลมชักเกิดขึ้นในเด็กเล็กด้วย  ซึ่งคนรอบข้างอาจจะมีอาการตกใจมากเมื่อพบเห็นลูกหลานเกิดอาการชัก ซึ่งหลายๆ คนมักเกิดอาการนี้และรับมือไม่ถูก ซึ่งโดยปกติอาการชักมักไม่ค่อยมีอันตราย หากผู้ป่วยอยู่ในที่โล่ง โดยอาจเกิดขึ้นและจบลงภายในเวลาไม่กี่นาที แต่ส่วนมากอันตรายที่เกิดขึ้นมักจะเกิดจากคนรอบข้าง หรือผู้ดูแลที่พยายามให้การช่วยเหลืออย่างรู้เท่าไม่ถึงการณ์จนอาจก่อให้เกิดอาการบาดเจ็บทางร่างกายตามมา

สำหรับผู้ป่วยโรคลมชักที่เป็นเด็ก การพาไปพบแพทย์เป็นประจำ เป็นสิ่งจำเป็นเพื่อว่าแพทย์จะได้คอยตรวจสอบ ให้การดูแล และป้องกันการชักซ้ำ ๆ ได้ดีขึ้นในอนาคต เพราะหากผู้ป่วยเกิดอาการชักซ้ำบ่อยครั้ง
ย่อมเกิดผลกระทบต่อพัฒนาการทางการเรียนรู้และการอยู่ร่วมในสังคมอย่างหลีกเลี่ยงได้ยาก เด็กที่ชักบ่อยๆ
จะเริ่มถอยห่างจากเด็กที่ปกติ กลายเป็นเด็กที่สติปัญญาช้า เรียนหนังสือไม่ได้ มีพฤติกรรมก้าวร้าว สมาธิสั้น
และมีปัญหาการเรียนตามมาเรื่อยๆ ส่วนการรักษาโรคลมชักในเด็ก แพทย์จะต้องตรวจอาการจนแน่ใจแล้วว่า
เป็นโรคลมชักแน่ ๆ จึงให้การรักษา โรคลมชักบางชนิดก็อาจจะไม่ต้องรักษา เพราะเมื่อเด็กเข้าสู่วัยรุ่นอาการก็จะค่อย ๆ หายไปเอง บางรายอาจชะลอการรักษาออกไปก่อน ไม่จำเป็นต้องรีบรักษาตั้งแต่การชักครั้งแรก จนกว่าจะมีการประเมินอย่างละเอียด

btn_rxforsafetyส่วนการรักษาโรคลมชักในผู้ใหญ่ จะต้องกินยากันชัก มีการศึกษาพบว่าผู้ป่วยโรคลมชักเมื่อทานยากันชัก 70% หลังทานยา ผู้ป่วยไม่มีอการชักเลย และ 30 % ทานแล้วดื้อต่อยากันชัก ซึ่งใน 70 % ที่ตอบสนองกับ
ยานั้น ผู้ป่วยโรคลมชักต้องทายากันชักในระยะเวลานาน เนื่องจากยาจะไปออกฤทธิ์ในระดับเซลล์ ทำให้เซลล์ค่อยๆ ปรับตัวเป็นปกติ ในผู้ป่วย 70 % ที่ตอบสนองกับยากันชักนั้น ต้องทานยาในระยะเวลาต่อเนื่อง โดยจะมีผู้ป่วยกลุ่มหนึ่งประมานเกือบครึ่ง เมื่อทานยาครบ 3-5 ปี สามารถหยุดยาได้และอาการชักหายไป

อย่างไรก็ตาม มีผู้ป่วยอีกกลุ่มหนึ่งที่หยุดยากันชักแล้วกลับมาชักอีก ซึ่งกลุ่มนี้พบว่ารอยโรคของผู้ป่วยอาจจะค่อนข้างมาก การทานยาสามารถควบคุมได้ แต่ต้องทานยาตลอดไปเป็นระยะเวลานานขึ้น หรือบางคนต้องทานยาไปตลอดชีวิต สำหรับการรักษาอีกวิธีหนึ่ง คือการรักษาโดยการผ่าตัด ผู้ป่วยที่ดื้อต่อยา 30 % คือทานยาแล้วไม่สามารถควบคุมอาการชักได้ ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีรอยโรคในสมองชัดเจน แพทย์จะพิจารณานำผู้ป่วยมาตรวจตำแหน่งที่ทำให้เกิดการชัก ซึ่งการผ่าตัดสามารถทำได้ประมาน 50-60 % และถือว่ามีความปลอดภัย เพราะมีวิธีการและเทคโนโลยีที่ทันสมัย ผู้ป่วยจะต้องมาตรวจอาการที่ค่อนข้างซับซ้อนเพื่อหาตำแหน่ง คือ การตรวจวัดคลื่นไฟฟ้าสมองเพื่อหาจุดในสมองที่มีความผิดปกติ โดยผู้ป่วยต้องมานอนพักที่โรงพยาบาลเป็นสัปดาห์ และ
ทุกขั้นตอนจะอยู่ในความดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจริงๆ นอกจากนี้ ยังมีการรักษาอย่างอื่นซึ่งอาจเป็นวิธีเสริม เช่น การใช้อาหารในการรักษา ซึ่งประเทศไทยทำมาเกืบ 20 ปีแล้ว เป็นการใช้อาหารไขมันสูง เรียกว่า Ketogenic Diet ซึ่งการมีไขมันในเลือดสูงทำให้เกิด Ketosis ในร่างกาย ซึ่ง Ketosis จะไปกระตุ้นทำให้เซลล์เกิดการยับยั้ง ทำให้อาการชักลดลงได้ วิธีนี้นิยมใช้กับผู้ป่วยโรคลมชักที่เป็นเด็ก เนื่องจากต้องมีการกำหนดส่วนประกอบของอาหาร ซึ่งผู้ปกครองต้องประกอบอาหารเอง จึงเหมาะสมกับผู้ป่วยเด็กมากกว่าผู้ป่วยที่เป็นผู้ใหญ่หรือสูงอายุที่จะเลือกรับประทาน

image 5พ.อ. (พิเศษ) ดร.นพ. โยธิน ชินวลัญช์ กล่าวย้ำว่า นอกจากนี้ ยังมีความหวังอยู่ว่าอาจมีเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่อาจจะเข้ามาใช้ในการรักษาผู้ป่วยโรคลมชักในอนาคตอันใกล้ เช่น การผ่าตัดโดยการใช้เลเซอร์ยิง การใช้ไฟฟ้ากระตุ้นสมอง และเทคโนโลยีใหม่ล่าสุด คือ Photo Genetic หรือการใช้แสงไฟรักษา คือการฝังเซลล์พิเศษ
ที่เปล่งแสงได้เข้าไปในสมองส่วนที่มำให้เกิดอาการชัก คุณสมบัติของเซลล์ตัวนี้ คือ ถ้าเปล่งแสงเมื่อใด จะไปปิด
การนำไฟฟ้าของเซลล์ตรงนั้น ทำให้ไม่มีการส่งผ่านของไฟฟ้าตรงจุดนั้น การฝังเซลล์ตัวนี้เข้าไปในตำแหน่งที่
ทำให้เกิดอาการชัก เมื่อมีคลื่นไฟฟ้าที่ผิดปกติออกมา เครื่องก็จะบันทึกว่าเริ่มมีคลื่นชักมาแล้ว ก็จะมีการยิงแสง
เข้าไป ทำให้เซลล์ตัวนั้นเกิดการบล็อกไม่ให้ไฟฟ้ากระจายไป ผู้ป่วยจึงไม่มีอาการชัก เทคโนโลยีนี้กำลังอยู่ในช่วงการวิจัย และคงมีโอกาสนำมาใช้ในอีก 5-10 ปี ข้างหน้า

สำหรับข่าวที่มักได้ยินเรื่องผู้ป่วยโรคลมชักไม่สามารถขับรถได้นั้น ความจริงแล้ว ผู้ป่วยโรคลมชักสามารถขับรถได้ เพียงแต่ว่าต้องได้รับการรับรองจากแพทย์เกี่ยวกับเรื่องความต่อเนื่องในการรักษาและทานยา เช่น ทานยากันชักติดกันเป็นเวลา 1 ปี  ไม่มีการชักตอนกลางวัน เป็นต้น ทั้งนี้ ที่เราเร่งพัฒนาการรักษาโรคลมชัก ก็เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยให้ดีขึ้น ไม่ให้ผู้ป่วยรู้สึกว่าตัวเองแปลกแยกจากสังคม ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ทั่วโลก มีการกำหนดวันโรคลมชักโลกขึ้น จากเหตุการณ์ที่มีผู้ป่วยโรคลมชักคนหนึ่งในประเทศแคนนาดา ซึ่งเป็นเด็กผู้หญิง รู้สึกน้อยเนื้อต่ำใจ โดนสังคมดูแคลนว่าเป็นคนประหลาด รวมถึงมีผู้ป่วยบางคนเป็นคนดัง
ในสังคม จึงมีการปกปิดตัวเอง ไม่ยอมรับว่าตัวเองป่วย ไม่ทานยา ไม่หาหมอ ต่อมาเกิดมีอาการชักตอนกลางคืน แล้วเสียชีวิตในเวลาต่อมา จึงมีที่มาของการจัดกิจกรรมเกี่ยวกับโรคลมชักขึ้น เพื่อให้มีการรับรู้ถึงเรื่องโรค
อย่างแท้จริง และเพื่อให้เห็นว่าการเป็นผู้ป่วยโรคลมชักไม่ได้มีความแตกแยกจากคนทั่วไป สามารถเป็นคนปกติซึ่งอยู่ร่วมกันภายในสังคมได้ รวมไปถึงการดูแลผู้ป่วย การให้ความสำคัญกับผู้ป่วย ไม่เฉพาะเพียงร่างกาย
แต่ที่สำคัญคือทางด้านจิตใจ ต่อมากิจกรรมนี้เป็นที่โด่งดังไปทั่วโลก ผู้คนเริ่มให้ความสำคัญกับโรคลมชักมากขึ้น จึงเกิดเป็น วันโรคลมชักโลก (World Epilepsy Day) ขึ้น โดยกำหนดให้เป็นวันที่ 26 มีนาคมของทุกปี

สำหรับการเสวนาในวันนี้ ก็เป็นหนึ่งในกิจกรรมที่ทางโรงพยาบาลพระมงกฎเกล้า ได้ร่วมกับ บริษัท
แกล็กโซสมิทไคล์น (ประเทศไทย) จำกัด จัดขึ้น เพื่อต้องการถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับโรคลมชักให้เป็นที่แพร่หลายต่อสังคม ทำให้คนปกติทั่วไป มีความเข้าใจต่ออาการและความรู้สึกของผู้ป่วยโรคลมชักมากยิ่งขึ้น เพื่อให้ผู้ป่วยโรคลมชักสามารถกล้าใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันกับคนปกติได้อย่างรู้สึกปลอดภัยมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ บริษัท แกล็กโซสมิทไคล์น (ประเทศไทย) จำกัด ยังได้จัดกิจกรรมถ่ายทอด และแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับโรคลมชัก รวมถึงแนวทางการรักษาโรคที่มีการพัฒนาในต่างประเทศ ผ่านทางระบบ Web Cast ขึ้น พร้อมๆ กันกับประเทศอื่นทั่วโลกกว่า 20 ประเทศ เพื่อเป็นการต่อยอดความรู้ให้กับแพทย์ของไทยได้รับทราบอีกทางหนึ่งอีกด้วย พ.อ. (พิเศษ) ดร.นพ. โยธิน ชินวลัญช์ กล่าวทิ้งท้าย

/////////////////////////////////////////////////////////////

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ :

คุณภูษณิศา หฤทัยถาวร ที่ปรึกษาประชาสัมพันธ์ :

บริษัท คอร์แอนด์พีค จำกัด โทร 02-439-4600 ต่อ 8300

โทรศัพท์มือถือ 081-618-9656  อีเมล์ phusanisah@corepeak.com