Category Archives: Epilepsy

คู่มือการจัดแบ่งกลุ่มอาการชักภาคปฏิบัติโดย ILAE ฉบับปี 2017

คู่มือการจัดแบ่งกลุ่มอาการชักภาคปฏิบัติโดย ILAE ฉบับปี 2017

Instruction Manual for the ILAE 2017 operational classification of seizure types
Robert S. Fisher, J. Helen Cross, Carol D’Souza, Jacqueline A. French, Sheryl R. Haut,
Norimichi Higurashi, Edouard Hirsch, Floor E. Jansen, Lieven Lagae, Solomon L. Moshe,
Jukka Peltola, Eliane Roulet Perez, Ingrid E. Scheffer, Andreas Schulze-Bonhage, Ernest
Somerville, Michael Sperling, ElzaMarcia Yacubian, and Sameer M. Zuberi on behalf of
the ILAE Commission for Classification and Terminology
Epilepsia, 58(4):531–542, 2017
doi: 10.1111/epi.13671

สรุป
เอกสารประกอบการจัดแบ่งกลุ่มอาการชักโดย ILAE ฉบับปี 2017 นี้ ได้แนะนำถึงการแบ่งประเภทชนิดของชักโดยนำเสนอภาพประกอบในรูปแบบตาราง อธิบายศัพท์ที่เกี่ยวข้อง เปรียบเทียบกับศัพท์เดิมรวมถึงคำย่อที่ใช้และยกตัวอย่างประกอบ มีทั้งรูปแบบมาตรฐาน (basic version) และรูปแบบขยาย (extended version) การพิจารณาเลือกใช้แบบใดขึ้นกับระดับรายละเอียดที่ต้องการ ใช้อาการและอาการแสดงที่สำคัญของชัก (semiology) เป็นพื้นฐานในการในการจัดแบ่งกลุ่มว่าอาการเริ่มต้น (onset) เป็นแบบ focal, generalized หรือ unknown ในกลุ่ม focal seizure นั้นสามารถเลือกอาการแสดงเพิ่มเติมได้อีกว่ามี awareness หรือไม่ หากพบ impaired awareness ในช่วงใดช่วงหนึ่งระหว่างชักจึงจัดเป็น focal impaired awareness seizure และยังสามารถเลือกแสดงรูปแบบการชักเพิ่มเติมได้อีกจากอาการและอาการแสดงหากมีการเคลื่อนไหวขณะเริ่มชัก (motor onset) ซึ่งประกอบด้วย atonic, automatism, clonic, epileptic spasms, hyperkinetic, myoclonic หรือ tonic ส่วน nonmotor-onset seizure นั้นแสดงอาการในรูปแบบ autonomic, behavior arrest, cognitive, emotional และ sensory dysfunction โดยอาการแสดงเริ่มแรกที่เด่นที่สุดเท่านั้นเป็นตัวกำหนดประเภทของชัก ถึงแม้ว่าภายหลังอาจพัฒนาเปลี่ยนเป็นการชักรูปแบบอื่นก็ตาม โดย focal seizure นั้นอาจพัฒนาไปเป็น bilateral clonic-tonic ได้ สำหรับ generalized seizure นั้นมีการกระตุ้น network ของสมองทั้งสองข้างตั้งแต่เริ่มและแสดงลักษณะอาการอันประกอบด้วย atonic, clonic, epileptic spasm, myoclonic, myoclonic-atonic, myotonic-clonic หรือ tonic-clonic ส่วน nonmotor (absence) seizure แบ่งได้เป็น typical, atypical และรูปแบบที่มี eyelid myoclonia เป็นอาการแสดงเด่น และสุดท้าย unknown onset seizure อาจมีรูปแบบการชักที่ยังสามารถใช้แบ่งกลุ่มเพิ่มเติมได้อีกคือ motor, nonmotor, tonic-clonic, epileptic spasms หรือ behavior arrest โดย “คู่มือใช้งาน” สำหรับจัดแบ่งประเภทการชักของ ILAE ฉบับปี 2017 นี้จะช่วยแนะนำระบบการจัดกลุ่มแบบใหม่ให้

The International League Against Epilepsy (ILAE) ได้นำเสนอการจัดประเภทชนิดของการชักฉบับปี 2017 โดยสาเหตุที่นำฉบับปี 1981 มาปรับปรุงนั้นเกิดจากหลายปัจจัย การชักบางรูปแบบ เช่น tonic seizure หรือ epileptic spasms นั้นสามารถแสดงอาการเริ่มต้นได้ทั้ง focal และ generalized หรือการไม่ทราบอาการเริ่มต้นทำให้ไม่สามารถจัดแยกประเภทการชักได้ อีกทั้งศัพท์ที่ใช้เรียกบางครั้งไม่ได้รับความนิยมและไม่สามารถสื่อความหมายได้ เช่น dyscognitive, psychic, partial, simple partial และ complex partial และหากไม่ใช่บุคลากรทางการแพทย์อาจสับสนในการพิจารณาการสูญเสียความรู้สึกตัวระหว่างชัก รวมถึงการจัดประเภทชักแบบใหม่นี้ได้กล่าวถึงชนิดของชักบางประเภทซึ่งไม่มีในฉบับปี 1981 เนื้อหาต่อไปนี้ได้อธิบายถึงวิธีการการนำการจัดประเภทการชักฉบับปี 2017 มาใช้งาน

วิธีการ
การจัดประเภทการชักนั้นเริ่มต้นจากการซักประวัติ สังเกตอาการและอาการแสดง (หรือที่เรียกว่า semiology ของการชัก) ที่ทราบกันดีว่าสัมพันธ์กับรูปแบบการชักที่พบบ่อย ประเด็นคืออาการและการแสดงนั้นไม่สามารถบอกชนิดของการชักได้เนื่องจากอาการแสดงบางอย่างสามารถพบได้ในชักหลายประเภท เช่น behavior arrest เกิดขึ้นได้ทั้งใน focal impaired awareness seizure และ absence seizure ส่วนลักษณะการเคลื่อนไหวแบบ tonic-clonic สามารถเป็นได้ทั้งรูปแบบการเริ่มชักของ generalized seizure หรืออาจเป็นส่วนหนึ่งของ focal-onset seizure ก็ได้ ในทางตรงข้าม ชักชนิดหนึ่งมักมีหลายอาการแสดง อย่างจากชื่อ automatism seizure นั้น ไม่สามารถบอกได้ว่าคือ focal seizure with impaired awareness หรือ absence seizure โดยทั้งสองกลุ่มนี้มีการรักษา และการพยากรณ์โรคแตกต่างกัน จึงมีความสำคัญในการแยกชนิดการชักและจำเป็นต้องมีการวิเคราะห์เพิ่มจากการสังเกตอาการ เพื่อให้ได้การจัดแบ่งชนิดการชักที่แม่นยำ การแยกชนิดชักโดยทั่วไปสามารถบอกได้จากลักษณะรูปแบบการชักที่ทราบกันดีอยู่แล้ว และจากการสังเกตทางเวชปฏิบัติ เช่น typical absence seizure จะมีอาการดีขึ้นเร็วชัดเจนกว่า focal impaired awareness seizures แต่บางครั้งจำเป็นต้องอาศัยข้อมูลเพิ่มเติมจากคลื่นไฟฟ้าสมอง ภาพทางรังสีวิทยา และข้อมูลจากห้องปฏิบัติการเพื่อสามารถแบ่งประเภทชักได้อย่างถูกต้องแม่นยำ ในกลุ่มผู้ป่วยเหล่านี้เริ่มต้นแบ่งประเภทชักโดยการใช้ข้อมูลที่ยังไม่มีในขณะนี้ (imperceptible) เข้ากับการวินิจฉัยกลุ่มโรคลมชัก (epilepsy syndromes) เนื่องจากยังขาดองค์ความรู้ทางด้าน pathophysiology ของชักในรูปแบบต่างๆ การจัดประเภทชักตามอาการและอาการแสดงจึงเหมาะสมในทางปฏิบัติ ซึ่งสามารถใช้บอกรายละเอียดและใช้แยกประเภทได้ การแยกประเภทนี้เพื่อการใช้งานทางเวชปฏิบัติ รวมไปถึงนักวิจัย และกลุ่มอื่นที่มีจุดประสงค์เฉพาะยังคงสามารถใช้งานได้ด้วย

ผล
ILAE นำเสนอการแบ่งรูปแบบการชักฉบับปี 2017 ในแบบมาตรฐาน และขยาย ขึ้นกับว่าต้องการรายละเอียดเพียงใด ทั้งสองมีส่วนคล้ายกัน โดยแบบมาตรฐานจะย่อหัวข้อย่อยลง
การแบ่งประเภทชักแบบมาตรฐาน

 

ภาพที่ 1 แสดงให้เห็นถึงการแบ่งประเภทแบบมาตรฐาน จัดแบ่งประเภทชักครั้งแรกด้วยรูปแบบของการเริ่มต้นชัก การชักที่เริ่มต้นแบบ focal นั้นคือ “เริ่มต้นด้วยเครือข่ายที่ถูกจำกัดอยู่ในสมองข้างเดียว อาจอยู่เป็นหย่อมๆ หรือกระจายกว้างกว่านั้น การชักเฉพาะที่อาจมีจุดเริ่มต้นจาก subcortical structures ได้” ส่วนการเริ่มต้นชักแบบ generalized คือ “เริ่มจากจุดใดจุดหนึ่ง จากนั้นกระตุ้น และแพร่กระจายไปยังเครือข่ายทั้งสองข้างอย่างรวดเร็ว” สำหรับชักที่ไม่ทราบรูปแบบเริ่มต้นนั้นยังคงสามารถเพิ่มเติมในส่วนของรูปแบบการชักที่สังเกตเห็นได้ ได้แก่ Motor (เช่น tonic-clonic) หรือ nonmotor (เช่น Behavior arrest) ร่วมกับการได้ข้อมูล และสังเกตลักษณะการชักในครั้งถัดไป อาจจัดกลุ่มชักใหม่จากการชักที่ไม่ทราบรูปแบบเริ่มต้น เป็นการชักที่เริ่มต้นแบบ focal หรือ generalized ดังนั้นคำว่า “unknown-onset” จึงไม่ใช่ลักษณะรูปแบบการชัก แต่เป็นคำศัพท์ที่ให้ใช้เพื่อความสะดวกในกรณีที่ได้ข้อมูลไม่เพียงพอ เมื่อไรก็ตามที่รูปแบบการชักเริ่มต้นด้วยคำว่า “focal”, “generalized” หรือ “absence” แล้ว คำว่า onset ถึงใช้อธิบายรูปแบบการชักดังกล่าวได้

ตัวเลือกใช้เพื่ออธิบายรูปแบบการชักเพิ่มเติมต่อไปคือระดับของ awareness ในทางปฏิบัติ awareness หมายถึงการรับรู้ถึงตนเองและสิ่งแวดล้อม การสังเกต awareness ในทางปฏิบัติคือการประเมินระดับของการรู้สึกตัวว่าผิดปกติหรือไม่ โดยระหว่าง focal aware seizure ระดับของการรู้สึกตัวจะเป็นปกติ คำว่า awareness นั้นหมายถึง awareness ที่เกิดขึ้นระหว่างการชักเท่านั้น ไม่ได้หมายถึง awareness หลังจากชักไปแล้ว หากในช่วงใดช่วงหนึ่งของการชักมี awareness ผิดปกติไปจึงเรียกชักนั้นว่าเป็น focal impaired awareness ในทางปฏิบัติ focal aware seizure จึงหมายถึงการที่ตรวจสอบแล้วผู้ป่วยยังคงมี awareness ขณะชัก บางครั้งอาจมี transient epileptic amnesia จากชักแต่ยังคงมี awareness ได้ ซึ่งการชักในลักษณะนี้ เป็นข้อยกเว้นที่ผู้เห็นเหตุการณ์ต้องมีการระบุให้ชัดเจน การใช้คำย่อแค่ focal unaware บางครั้งอาจทำให้เข้าใจว่าแค่มีการสูญเสีย awareness บางส่วน ไม่ได้สูญเสียไปทั้งหมด ส่วนการใช้คำว่า focal aware seizure มีความหมายเดียวกับ focal seizure with retained awareness
อีกอาการหนึ่งคือการตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นซึ่งสามารถมีหรือไม่ก็ได้ทั้งในชักที่มี awareness และไม่มี awareness ถึงแม้ว่าการตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นเป็นการบรรยายลักษณะการชักที่สำคัญ แต่ในการจัดแบ่งชนิดการชักโดย ILAE ฉบับปี 2017 ไม่ได้นำการตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นมาพิจารณาร่วมด้วย การจัดแบ่งชนิดการชักแบบมาตรฐานแบ่งการชักออกเป็นอาการเริ่มต้นแบบ motor หรือ nonmotor (เช่น sensory) ซึ่งจะกล่าวถึงการจัดแบ่งเพิ่มเติมในลำดับต่อไป

“Focal to bilateral tonic-clonic” ถูกแยกออกมาเป็นพิเศษ เพราะเป็นรูปแบบที่พบบ่อยและมีความสำคัญ เนื่องจากบอกถึงระดับการลุกลามของชักมากกว่าชนิดอื่น การใช้ “focal to bilateral tonic-clonic” แทนข้อความเดิมคือ “secondarily generalized tonic-clonic” ส่วน “bilateral” เป็นรูปแบบการชักชนิดใหม่ ให้ใช้เพื่อสื่อถึงการลุกลามของระดับชัก และใช้ “generalized” เพื่อสื่อถึงว่าชักนั้นเริ่มต้นขึ้นแบบกระจายทั่ว

Generalized-onset seizure แบ่งออกเป็น motor และ nonmotor (absence) seizure โดยไม่ได้พิจารณาถึงระดับ awareness เนื่องจากมักพบว่ามี impaired awareness ใน generalized seizure อยู่แล้ว โดยคำจำกัดความของ generalized คือควรตรวจพบมี motor activity ทั้งสองข้างตั้งแต่เริ่มต้น แต่การจัดชนิดชักแบบพื้นฐานนั้นไม่จำเป็นต้องบอกถึงการเคลื่อนไหว (motor activity) ในทางปฏิบัติระดับการเคลื่อนไหวเริ่มต้นทั้งสองข้างนั้นมักไม่เท่ากัน จึงทำให้ยากในการตัดสินว่าชักครั้งนั้นเป็นแบบ focal หรือ generalized

Absence seizure (ละคำนำหน้าคือ generalized onset ไว้) แสดงออกโดยหยุดการเคลื่อนไหว และสูญเสีย awareness ทันที มันพบในกลุ่มที่อายุน้อยกว่า มีจุดเริ่มต้น และสิ้นสุดให้สังเกตได้ชัดเจนกว่า และมักมี automatism ซับซ้อนน้อยกว่าใน focal seizure with impaired awareness แต่เนื่องแยกได้ลำบาก จึงจำเป็นต้องใช้ข้อมูลจากคลื่นไฟฟ้าสมองร่วมพิจารณาด้วย โดยใน focal seizure จะพบคลื่นไฟฟ้าสมองผิดปกติอยู่ในบริเวณเฉพาะที่ และตรวจพบ synchronous spike-waves ทั้งสองข้างใน absence seizure
การชักที่ไม่ทราบรูปแบบขณะเริ่มต้นแบ่งออกเป็น motor (เช่น tonic-clonic), nonmotor หรือ unclassified โดยใช้ unclassified ในกรณีที่ไม่สามารถจัดรูปแบบการชักลงในกลุ่มย่อยอื่น หรือมีข้อมูลไม่เพียงพอสำหรับจัดแบ่งกลุ่ม

การจัดกลุ่มแบบขยาย

 

จากภาพประกอบที่สอง แสดงให้เห็นถึงชนิดชักอีกระดับหนึ่ง อิงจากการแบ่งชนิดแบบมาตรฐาน การเรียงตามแนวตั้งของรูปแบบ focal seizure นั้นไม่ได้เรียงตามลำดับเนื่องจากสามารถเว้นการระบุถึงการรับรู้ awareness ไว้ได้ focal seizure แบ่งออกได้เป็น focal aware (หรือ “simple partial seizure” จากฉบับปี 1981) และ focal impaired awareness (หรือ “complex partial seizure” จากฉบับปี 1981) โดย focal aware seizure หรือ focal impaired awareness สามารถเลือกแบ่งได้อีกโดยเติมคำว่า motor หรือ nonmotor-onset ซึ่งจะเป็นการแสดงถึงอาการเริ่มต้นอื่นนอกจาก awareness ที่สังเกตได้ ในอีกทางหนึ่งสามารถละ awareness จากชื่อประเภทของ focal seizure ได้ หากไม่ทราบรายละเอียด หรือไม่สามารถประเมิน การแบ่งกลุ่ม focal seizure ว่าเป็น motor หรือ nonmotor นั้นอาศัยจากอาการแสดงเริ่มแรกสุดเพียงเท่านั้น

สำหรับการชักแบบ focal-onset แพทย์ควรประเมินระดับของ awareness เพื่อใช้บรรยายในการจัดประเภทชักแบบพื้นฐาน โดยการสอบถามเพื่อประเมินว่าผู้ป่วยยังคงมี awareness อยู่หรือไม่ระหว่างชัก ถึงแม้ว่าผู้ป่วยรายนั้นไม่ตอบสนอง หรือไม่เข้าใจคำพูดภาษาก็ตาม ช่วงนั้นหากมีใครเดินเข้ามาผู้ป่วยจะสามารถจดจำคนคนนั้นได้ในภายหลังหรือไม่ การซักประวัติจากผู้เห็เหตุการณ์ควรซักถามรูปแบบเหตุการ์ที่เกิดขึ้นระหว่างการชักให้ชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแยกช่วงที่ผู้ป่วยกำลังชักออกจากอาการที่เกิดขึ้นหลังชัก เนื่องจากหลังชัก awareness จะกลับมาเป็นปกติ หากไม่มั่นใจว่าผู้ป่วยมี awareness หรือไม่ เช่นในผู้ป่วย atonic หรือ epileptic spasm seizure อาจระบุชนิดการชักว่าเป็น focal ซึ่งไม่ได้บอกถึง awareness การระบุถึง awareness จึงเป็นทางเลือกที่สามารถระบุได้หากทราบรายละเอียด คำว่า “focal aware seizure” ไม่ว่าจะมีอาการแสดงในรูปแบบอื่นเพิ่มเติมหรือไม่ คือคำเดิมว่า “simple partial seizure” ส่วน “focal impaired awareness” คำเดิมคือ “complex partial seizure” ศัพท์เพิ่มเติมอื่นในแนวตั้งของการจัดกลุ่มแบบขยายช่วยบ่งชี้ลักษณะ focal aware และ focal impaired awareness seizures อย่างไรก็ตามยังคงสามารถละเว้นระดับของ awareness ไว้ได้ และจัดกลุ่มเป็น focal seizure ที่มีอาการแสดงในรูปแบบ motor หรือ nonmotor-onset ดังแสดงในภาพที่สอง

อาการแสดงเริ่มต้นของ focal motor ได้แก่ลักษณะดังต่อไปนี้: atonic (มีการสูญเสียแรงตึงตัวกล้ามเนื้อ (tone) เฉพาะที่), tonic (มีอาการเกร็งค้างเฉพาะส่วน), clonic (กระตุกเป็นจังหวะเฉพาะส่วน), myoclonic (กระตุกสั้นๆไม่เป็นจังหวะเฉพาะส่วน) หรือ automatism โดย automatism คือการเคลื่อนไหวที่เงอะงะ (less coordinated) ซ้ำๆ และไม่มีเป้าหมายชัดเจน ผู้เห็นเหตุการณ์ควรถามผู้ป่วยถึงการเคลื่อนไหวที่ผิดปกตินั้นว่าเกิดขึ้นในชีวิตประจำวันอยู่แล้วหรือไม่ อาการ automatism บางอย่างคาบเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวรูปแบบอื่น เช่นการกระทืบเท้า หรือมีการเคลื่อนไหวมากผิดปกติอาจทำให้แบ่งกลุ่มได้ไม่ชัดเจน การจัดแบ่งกลุ่มโดย ILAE ฉบับปี 2017 นี้จัดให้กระทืบเท้าเป็น hyperkinetic seizures มากกว่าที่จะจัดให้เป็น automatism seizure โดยสามารถพบ automatism ได้ใน focal seizures และ absence seizure

Focal motor seizure with behavioral arrest ทำให้หยุดการเคลื่อนไหว และไม่ตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้น บ่อยครั้งที่พบ
behavioral arrest เป็นอาการเริ่มต้นของชักได้หลายประเภท แต่บอกชัดเจนได้ยาก ดังนั้น focal behavioral seizure ควรมี behavioral arrest เป็นหลักตลอดการชัก ส่วน focal autonomic seizures นั้นแสดงการรับรู้ความรู้สึกที่ผิดปกติเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร ความรู้สึกร้อนหรือเย็น หน้าแดง ขนลุก ใจสั่น มีความตื่นตัวทางเพศ การหายใจเปลี่ยนแปลง และผลจากระบบประสาทอัตโนมัติอื่นๆ focal cognitive seizures แสดงอาการโดยสูญเสียความสามารถทางภาษา การคิด หรือ higher cortical function ที่เกี่ยวข้องระหว่างการชักมากกว่าอาการแสดงที่ผิดปกติอย่างอื่นอย่างชัดเจน ความผิดปกติของ cognitive เช่น déjà vu, jamais vu, hallucinations, illusions และความคิดก้าวร้าว แท้จริงแล้วคำที่ถูกต้องแต่ถูกหูน้อยกว่าควรเป็น focal impaired cognition seizure แต่ focal cognitive seizure เองสามารถทำให้เข้าใจได้ว่าหมายถึง impaired cognition เนื่องจากชักไม่เคยทำให้ cognitive function ดีขึ้น ส่วน focal emotional seizures นั้นมีการเปลี่ยนแปลงของอารมณ์ ได้แก่ กลัว วิตก กระวนกระวาย โมโห กังวล พอใจ มีความสุข ยินดี หัวเราะ (gelastic) หรือร้องไห้ (dacrystic) ความรู้สึกบางอย่างดังกล่าวไม่สามารถทราบได้จากการสังเกต จึงต้องได้รับจากการแจ้งโดยผู้ดูแล หรือจากที่คนไข้นึกออกในภายหลัง อาการแสดงเกี่ยวกับอารมณ์นั้นเป็นอาการที่ไม่สามารถสังเกตเห็นได้ เนื่องจากอาการแสดงที่ออกมาให้เห็นอาจสัมพันธ์ หรือไม่สัมพันธ์กับความรู้สึกจริงๆขณะนั้นก็ได้ และไม่จัดกลุ่มการสูญเสีย awareness ว่าเป็น focal seizure เนื่องจากการสูญเสีย awareness สามารถเกิดขึ้นกับfocal seizure ชนิดใดก็ได้ ส่วน focal sensory seizure นั้นทำให้มีความรู้สึกที่เกี่ยวข้องกับการสัมผัส กลิ่น การมองเห็น การได้ยิน การรับรส ความรู้สึกร้อนเย็น และการทรงตัว

การพิจารณาว่าชักนั้นเกิดขึ้นจากเพียงจุดเดียว (unified single seizure) แล้วมีการลุกลามมากขึ้น หรือเกิดจากชักสองตำแหน่งบางครั้งไม่ใช่เรื่องง่าย แต่แพทย์ควรพิจารณาระบุให้ได้ อาการแสดงทางคลินิก และคลื่นไฟฟ้าสมอง (ถ้ามี) ที่ค่อยๆเป็นมากขึ้นเรื่อยๆจะช่วยบอกได้ว่าน่าจะเป็นการชักที่เกิดขึ้นจากจุดเดียว และพิจารณาว่าเป็นการชักที่เกิดจากจุดเพียงจุดเดียวจากอาการแสดงเริ่มต้นโดยที่มีระดับความรู้สึกตัวผิดปกติหรือปกติระหว่างช่วงการชักก็ได้ ในทางตรงข้าม ชักที่มีรูปแบบไม่ซ้ำ ไม่ต่อเนื่อง เป็นการบ่งชี้ว่าน่าจะเป็นชักมากกว่าหนึ่งรูปแบบ หากเริ่มต้นชักด้วย déjà vu, repetitive purposeless lip-smacking, การสูญเสีย awareness, หันเกร็งไปทางขวา และแขนขวาเกร็ง อาการลักษณะนี้บอกไปทางการชักที่เกิดจากจุดเริ่มต้นเดียว ซึ่งถูกจัดในกลุ่ม focal impaired awareness cognitive seizure ซึ่งสามารถมีคำอธิบายต่อได้อีกเป็น progression to automatism and tonic version อีกเหตุการณ์หนึ่งผู้ป่วยเริ่มต้นด้วยอาการกลัว และสูญเสีย awareness หลังจากนั้น 30 นาทีผู้ป่วยเริ่มมีความรู้สึกยุบยิบแขนขวา ในขณะที่ awareness ปกติ เหตุการณ์ที่กล่าวมานี้ประกอบไปด้วยชักสองรูปแบบ รูปแบบแรกคือ focal impaired awareness emotional seizure และรูปแบบที่สองคือ focal aware sensory seizure

บางครั้งอาจพบการชักเฉพาะที่รูปแบบอื่น เช่น focal tonic-clonic seizure แต่เกิดขึ้นไม่บ่อยพอให้สังเกตและจัดกลุ่มเฉพาะให้ได้ จึงควรจัดไว้ในกลุ่ม other ของแต่ละประเภท ควรจัดลงในกลุ่มกว้างๆไว้ก่อน เช่น motor onset หรือ nonmotor-onset เท่านั้นในกรณีที่รายละเอียดของรูปแบบการชักยังไม่ชัดเจน หรือเข้าไม่ได้กับลักษณะการชักที่แนะนำไว้
การจัดกลุ่ม generalized-onset seizure คล้ายกับของฉบับปี 1981 ที่เพิ่มเติมรูปแบบการชักบางประเภท โดยทั่วไปหากชักเริ่มต้นแบบ generalized มักจะสูญเสีย awareness อยู่แล้ว จึงไม่ได้ใช้ awareness มาร่วมพิจารณาการจัดแบ่งประเภทชักในกลุ่มนี้ แต่จะแบ่งกลุ่มย่อยเป็นแบบ “motor” และ “nonmotor (absence)” โดยหากไม่มีลักษณะอาการอื่นร่วมอธิบายแล้วจึงใช้คำว่า motor หรือ nonmotor (absence) seizure แต่ก็สามารถละไว้ได้หากทำให้สับสนเช่นใน generalized tonic seizure และสามารถละคำว่า generalized ได้ หากอยู่ในกลุ่ม absence seizure ซึ่งลักษณะการชักมักเริ่มต้นแบบ generalized อยู่แล้ว

ให้คงใช้ tonic-clonic แทน grand mal seizure ซึ่งเป็นศัพท์ภาษาฝรั่งเศสที่ยังคงนิยมใช้อยู่ เนื่องจากมีประเภทชักแบบใหม่ซึ่งแสดงอาการเคลื่อนไหวเริ่มต้นแบบ myoclonic ตามด้วย tonic (เกร็ง) และ clonic (กระตุกเป็นจังหวะต่อเนื่อง) การระบุรูปแบบการเคลื่อนไหวแรกของ tonic-clonic seizure ว่าเป็นแบบ tonic จึงมีความสำคัญ ในช่วง (phase) clonic ของ tonic-clonic seizure มักมีการกระตุกเป็นจังหวะด้วยความถี่ช้าลงเรื่อยๆ และสูญเสีย awareness ก่อนหรือพร้อมกับเกร็งหรือกระตุก บางครั้ง tonic-clonic seizure อาจทำให้มีความรู้สึกผิดปกติเหมือนกำลังจะชัก หรือมีศีรษะหรือแขนขาบิดข้างใดข้างหนึ่งก่อนช่วงสั้นๆ ซึ่งอาจทำให้เข้าใจ generalized onset ผิด เนื่องจากระบบการทำงานทางชีววิทยา (biological processes) ไม่เคยแสดงอาการออกมาอย่างเท่ากันทั้งสองข้าง แพทย์จึงต้องพิจารณาอย่างรอบคอบว่าอาการแสดงนั้นเป็นการเริ่มต้นการชักนั้นเกิดขึ้นเฉพาะส่วนหรือไม่

เมื่อ generalized clonic seizures เกิดขึ้น เป็นมากขึ้น และสิ้นสุดลงโดยมีการกระตุกแขนขาทั้งสองข้างเป็นจังหวะอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะศีรษะ คอ หน้า และลำตัว อุบัติการณ์เกิดของ generalized clonic seizure นั้นน้อยกว่า tonic-clonic seizure มาก และมักพบในเด็กแรกเกิดและควรแยกจาก jitteriness หรือ shuddering attack

อาการแสดงของ Generalized tonic seizure คือมีการเกร็งหรือยกขึ้นของแขนขาทั้งสองข้างหรือ ส่วนมากมีคอเกร็งร่วมด้วย และต้องไม่มีการเคลื่อนไหวแบบ clonic movement ตามมาจึงสามารถจัดอยู่ในกลุ่มนี้ การเคลื่อนไหวแบบ tonic อาจเกร็งค้างได้ทั้งท่างอ หรือท่าเหยียดแปลกๆได้ อาจมีสั่นร่วมด้วย บางครั้งแยกได้ยากจาก dystonia ซึ่งตามความหมายคือมีการหดเกร็งของกล้ามเนื้อพร้อมกันทั้งในกลุ่ม agonist และ antagonist ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวแบบบิดเกร็ง หากเกิดขึ้นนานสามารถทำให้อยู่ในท่าทางที่ผิดปกติได้

Generalized myoclonic seizure สามารถพบเพียงรูปแบบเดียวหรือเกิดขึ้นระหว่างการเคลื่อนไหวแบบ tonic หรือ atonic ได้ ส่วน myoclonus แตกต่างจาก clonus คือสั้นกว่า และเกิดซ้ำไม่เป็นจังหวะ โดยที่ myoclonus นั้นสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งจากชักหรือจากการเคลื่อนไหวผิดปกติ
Generalized myoclonic-tonic-clonic seizure เริ่มต้นด้วย myoclonic jerk 2-3 ครั้งก่อนมีการเคลื่อนไหวแบบ tonic-clonic ลักษณะชักแบบนี้พบบ่อยในผู้ป่วย juvenile myoclonic epilepsy และในผู้ป่วย generalized epilepsy บางราย โดยสามารถสังเกตได้ไม่ยากว่าการกระตุกที่เกิดขึ้นแต่แรกนั้นเป็นแบบ myoclonic หรือ clonic แต่โอกาสที่จะเกิดขึ้นต่อเนื่องจนกลายเป็น clonic นั้นยากมาก

Myoclonic-atonic seizure มีการเคลื่อนไหวแบบกระตุกช่วงสั้นๆบริเวณแขนขาหรือลำตัว ตามมาด้วยอ่อนแรงปวกเปียกทั่วตัว ลักษณะชักแบบนี้เดิมถูกเรียกว่า myoclonic-astatic seizures ซึ่งส่วนมากพบใน Doose syndrome แต่สามารถพบใน Lennox-Gastaut และ syndrome อื่นได้เช่นกัน

Atonic คือการไม่มีแรงตึงตัวของกล้ามเนื้อ หากกล้ามเนื้อขาสูญเสียแรงตึงตัวระหว่าง generalized atonic seizure ผู้ป่วยจะล้มก้นกระแทกหรือบางครั้งอาจล้มไปด้านหน้า เข่าหรือใบหน้ากระแทกกับพื้น และอาการดีขึ้นภายในไม่กี่วินาที ในทางตรงข้าม หากเป็น tonic หรือ tonic-clonic seizure ผู้ป่วยมักล้มไปข้างหลัง

มีการเรียกชื่อ infantile spasm ใหม่ว่า epileptic spasm แต่ยังสามารถใช้ infantile spasm ได้เฉพาะกรณี epileptic spasm นั้นเกิดขึ้นใน infant โดยมีการงอ เหยียด หรือทั้งงอและเหยียดโดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณลำตัว ต้นแขน และขาอย่างฉับพลัน มักเกิดขึ้นเป็นชุด พบบ่อยในช่วง infant

Absence seizures ชนิดต่างๆถูกจัดไว้ในกลุ่ม generalized nonmotor seizure โดย The Task Force ยังคงแยก typical ออกจาก atypical absence เนื่องจากการชักทั้งสองรูปแบบนั้นมีความแตกต่างกันของคลื่นไฟฟ้าสมอง epilepsy syndromes การรักษา และพยากรณ์โรค จากการแบ่งกลุ่มฉบับปี 1981 ซึ่งอาศัยการวิเคราะห์ video-EEG นั้น ได้จัด absence seizure ที่มีการเปลี่ยน tone มากไปกว่า typical absence และอาการค่อยๆดีขึ้น ไว้ในกลุ่ม atypical absence seizure โดยอาจต้องอาศัยคลื่นไฟฟ้าสมองช่วยแยก typical ออกจาก atypical seizure

Myoclonic absence seizure คือการชักแบบ absence ที่มีการเคลื่อนไหวแบบ myoclonic เป็นจังหวะ 3 ครั้งต่อวินาที มีการกางแขนสองข้างยกขึ้น ร่วมกับพบคลื่นไฟฟ้าสมองแบบ 3 Hz generalized spike-wave discharge นานราว 10-60 วินาที สูญเสียความรู้สึกตัวไม่ชัดเจน การชักแบบ myoclonic absence นี้เกิดขึ้นได้ในความผิดปกติของยีนหลายรูปแบบ โดยที่ไม่พบความสัมพันธ์ชัดเจน

Eyelid myoclonia คือการที่หนังตามีการกระตุกแบบ myoclonic และลูกตาเหลือกมองขึ้นบน มักถูกกระตุ้นได้จากการหลับตา หรือจากแสงสว่าง eyelid myoclonia สามารถพบร่วมกับ absence ได้ และยังอาจเป็น motor seizure โดยที่ไม่พบ absence ร่วมด้วยก็ได้ จึงทำให้ยากต่อการจัดแบ่งกลุ่ม สำหรับการจัดกลุ่มฉบับปี 2017 ได้จัดไว้ใน nonmotor (absence) ซึ่งทำให้ง่ายต่อการใช้งาน ซึ่งคำว่า myoclonia ในความหมายนี้ หมายถึงที่พบร่วมกับ absence มากกว่าหมายถึง nonmotor เองจริงๆ สำหรับ absence seizure with myoclonia ที่ชัก หรือพบมี EEG paroxysm จากการหลับตา หรือกระตุ้นด้วยแสง คือ triad ของ Jeavons syndrome นั่นเอง
ชักในกลุ่ม unknown onset อาจเป็นได้ทั้ง motor หรือ nonmotor สิ่งที่สำคัญที่สุดในการจัดแบ่งกลุ่ม tonic-clonic seizure คือการสังเกตอาการเริ่มต้นให้แน่ชัด ส่วนข้อมูลที่ได้เพิ่มขึ้นภายหลังอาจช่วยให้แบ่งกลุ่มอีกครั้งได้ชัดเจนขึ้นว่าเป็นการชักที่เริ่มต้นแบบ focal หรือ generalized ส่วน epileptic spasm และ behavior arrest เป็นอีกสองรูปแบบที่สามารถถูกจัดอยู่ในกลุ่ม unknown onset ได้ ซึ่งอาจต้องอาศัยรายละเอียดจาก video-EEG monitoring เพิ่มเติมเพื่อสังเกตอาการเริ่มต้นให้ชัดเจน ซึ่งมีความสำคัญเนื่องจากอาการเริ่มต้นแบบ focal มักสัมพันธ์กับความผิดปกติเฉพาะที่ซึ่งรักษาได้ ส่วน unknown-onset behavior arrest seizureนั้นอาจหมายถึง focal impaired awareness behavior arrest seizureหรือ absence seizure โดยอาจเลือกจัดเข้า

กลุ่ม unclassified หากยังมีข้อมูลไม่เพียงพอ หรือไม่สามารถจัดเข้ากลุ่มอื่นได้ หากยังไม่ชัดเจนว่ารูปแบบความผิดปกติที่เกิดนั้นคือชัก ไม่ควรจัดไว้ในกลุ่ม unclassified seizure เนื่องจากกลุ่มนี้มีไว้สำหรับรูปแบบการชักที่พบไม่บ่อย และไม่สามารถจัดลงในกลุ่มอื่นได้เท่านั้น
กรณีมีความลังเลเกิดขึ้นระหว่างการจัดกลุ่มชัก ทาง The Task Force ยอมรับความมั่นใจตามแนวทางปฏิบัตินี้ตั้งแต่ที่ 80% ขึ้นไปในการแยกอาการแสดงเริ่มต้นแบบ focal หรือ generalized หากมีความมั่นใจน้อยกว่านั้นจึงเลือกจัดลงในกลุ่ม unknown onset เนื่องจากที่ระดับ 80% เป็นค่า false-negative cutoff ที่ถูกนำมาใช้บ่อยทางสถิติ จึงเลือกใช้ค่านี้

คำบรรยายที่ใช้บ่อย
Focal seizure ประกอบด้วยอาการ และอาการแสดงหลากหลายมากเกินกว่าจะจัดรวบรวมให้อยู่ในกลุ่มเดียวได้ The Task Force จึงได้รวมรูปแบบข้อความอธิบายพฤติกรรมที่เกิดขึ้นขณะชักที่พบบ่อยไว้ ข้อความเหล่านี้ไม่ใช่ชนิดของชัก โดยสามารถเพิ่มข้อความอธิบายที่ใช้บ่อยนี้เพื่อประกอบคำอธิบายของชักแต่ละชนิดให้ชัดเจนยิ่งขึ้น ซึ่งไม่ได้เฉพาะเจาะจงสำหรับชักชนิดใดชนิดหนึ่ง ด้วยเหตุนี้คำบรรยายจึงควรตามหลังอาการและอาการแสดง เช่น tonic ซึ่งเป็นตัวกำหนดชนิดของชัก ตามด้วยคำอธิบายพิเศษซึ่งมีความสำคัญทางคลินิกเพิ่มเติม ทาง The Task Force ทราบถึงความสำคัญด้วยการบรรยายโดยใช้ข้อความอิสระใดๆเพิ่มเติมจากการจัดกลุ่ม

อภิธานศัพท์
ได้รวบรวมอภิธานศัพท์ที่ใช้ไว้ในตารางที่สอง คำจำกัดความเหล่านี้ไม่สามารถนำไปใช้ได้ทั่วไป แต่ให้ใช้เพื่อสื่อสารมุมมองต่างๆของชัก เช่น sensation ไม่ได้หมายถึงการรับรู้ความรู้สึกทั่วไป แต่ในกรณีนี้หมายถึง sensory seizures โดยยังคงใช้กลุ่มคำจำกัดความที่ได้รับการยอมรับจากอภิธานศัพท์ของ ILAE ในปี 2001 เพียงมีการเพิ่มเติมบางคำศัพท์ ศัพท์เดิมที่เคยใช้ให้อ้างอิงจากฉบับเดิม ส่วนคำศัพท์ที่ไม่แนะนำให้ใช้แล้วจะไม่กล่าวถึง

เปรียบเทียบศัพท์ใหม่ จากศัพท์เดิม
ตารางที่ 3 ได้เปรียบเทียบคำศัพท์ที่เป็นทางการ และได้รับความนิยม กับการจัดรูปแบบการชักในปี 2017

ตาราง 3 เปรียบเทียบศัพท์จัดกลุ่มชักใหม่ และเก่า
ศัพท์ชักเดิม ศัพท์ชักใหม่ [ให้เลือก] (ละได้) ศัพท์ชักเดิม ศัพท์ชักใหม่ [ให้เลือก] (ละได้)
Absence (Generalized) absence Infantile spasms [Focal/generalized/unknows] onset epileptic spasm
Absence, atypical (Generalized) absence, atypical Jacksonian Focal aware motor (Jacksonian)
Absence, typical (Generalized) absence, typical Limbic Focal impaired awareness
Akinetic Focal behavior arrest, generalized absence Major motor Generalized tonic-clonic, focal-onset bilateral tonic-clonic
Astatic [Focal/generalized] atonic Minor motor Focal motor, generalized myoclonic
Atonic [Focal/generalized] atonic Myoclonic [Focal/generalized] myoclonic
Aura Focal aware Neocortical Focal aware or focal impaired awareness
Clonic [Focal/generalized] clonic Occipital lobe Focal
Complex partial Focal impaired awareness Parietal lobe Focal
Convulsion [Focal/generalized] motor [tonic-clonic, tonic, clonic], focal to bilateral tonic-clonic Partial Focal
Dacrystic Focal [aware or impaired awareness] emotional (dacrystic) Petit mal Absence
Dialeptic Focal impaired awareness Psychomotor Focal impaired awareness
Drop attack [Focal /generalized] atonic, [focal/generalized] tonic Rolandic Focal aware motor, focal to bilateral tonic-clonic
Fencer’s posture (asymmetric tonic) Focal [aware or impaired awareness] motor tonic Salaam [Focal/generalized/unknown onset] epileptic sparms
Figure-of-4 Focal [aware or impaired awareness] motor tonic Secondarily generalized Tonic-clonic Focal to bilateral tonic-clonic
Freeze Focal [aware or impaired awareness] behavior arrest Simple partial Focal aware
Frontal lobe Focal Supplementary motor Focal motor tonic
Gelastic Focal [aware or impaired awareness] emotional (gelastic) Sylvian Focal motor
Grand mal Generalized tonic-clonic, focal to bilateral tonic-clonic, unknown-onset tonic-clonic Temporal lobe Focal aware/impaired awareness
Gustatory Focal [aware or impaired awareness] sensory (gustatory) Tonic [Focal/generalized] tonic
Tonic-clonic [Generalized/unknown] onset tonic-clonic, focal to bilateral tonic-clonic
Uncinate Focal [aware impaired awareness] sensory (olfactory)

คำย่อ
ตารางที่ 4 แนะนำคำย่อสำหรับรูปแบบชักหลัก
ตาราง 4 คำย่อสำหรับประเภทชักที่สำคัญ
ประเภทชัก คำย่อ
Focal aware seizure
Focal impaired awareness seizure
Focal motor seizure
Focal nonmotor seizure
Focal epileptic seizure
Focal to bilateral tonic-clonic seizure
Generalized tonic-clonic seizure
Generalized absence seizure
Generalized motor seizure
Generalized epileptic seizure
Unknown onset tonic-clonic seizure FAS
FIAS
FMS
FNMS
FES
FBTCS
GTCS
GAS
GMS
GES
UTCS

ตัวอย่าง
1. Tonic-clonic ภรรยาตื่นขึ้นมาพบสามีกำลังชักบนเตียง โดยไม่ได้เห็นเหตุการณ์แต่แรก ในขณะนั้นเห็นว่ามีแขนขาเกร็งทั้งสองข้าง ตามมาด้วยกระตุก คลื่นไฟฟ้าสมอง และเอกซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าปกติ ชักนี้ถูกจัดอยู่กลุ่ม unknown onset tonic-clonic เนื่องจากไม่มีข้อมูลว่าอาการเริ่มต้นการชักเป็น focal หรือ generalized หากเป็นการจัดกลุ่มแบบเดิม จะไม่สามารถจัดได้

2. Focal onset bilateral tonic-clonic เหตุการณ์เดียวกันกับรายแรก แต่พบว่าคลื่นไฟฟ้าสมองมี clear right parietal slow-wave focus และเอกซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าพบว่ามี right parietal region of cortical dysplasia ดังนั้นจึงจัดเป็น focal to bilateral tonic-clonic ถึงแม้ไม่เห็นอาการชักเริ่มต้น แต่จากการตรวจเพิ่มเติมพบรอยโรคที่แสดงให้เห็นว่าน่าจะทำให้เกิดอาการแสดงเริ่มต้นแบบ focal มากกว่า หากใช้การจัดกลุ่มเดิม จะถูกเรียกเป็น partial onset, secondarily generalized

3. Absence ผู้ป่วยเด็ก Lennnox-Gastaut syndrome ที่ไม่ทราบสาเหตุรายหนึ่ง คลื่นไฟฟ้าสมองมี slow spike-waves รูปแบบชักที่พบได้แก่ absence, tonic และ focal motor seizure โดยที่มี absence seizure นาน การชักเริ่มต้นและสิ้นสุดไม่ชัดเจน บางครั้งทำให้ล้ม ในกรณีนี้จึงจัดกลุ่มการชักเป็น atypical seizure เนื่องจากลักษณะอาการแสดง คลื่นไฟฟ้าสมอง และโรคประจำตัว หากเป็นการจัดกลุ่มแบบเดิมคือ absence seizure

4. Tonic เด็กรายหนึ่งชัก โดยมีอาการเกร็งแขนขาขวาช่วงสั้นๆ ระหว่างนั้นรู้สึกตัวและตอบสนองดี จึงถูกจัดกลุ่มเป็น focal aware tonic seizure (เข้าใจได้ว่าเป็น “motor onset”) หากเป็นการจัดกลุ่มแบบเดิมคือ tonic ทำให้ผู้แปลความอาจสรุปผิดไปว่าเป็น generalized onset

5. Focal impaired awareness หญิง 25 ปีให้ประวัติว่าเริ่มชักโดยมีความรู้สึกจริงจังว่าดนตรีที่เธอคุ้นเคยกำลังเล่นอยู่ ในช่วงนั้นเธอยังได้ยินเสียงคนอื่นพูดคุย แต่เธอเองก็รู้ว่าไม่สามารถแปลความหมายที่ได้ยิน จากนั้น เธอรู้สึกงงเล็กน้อย และต้องมาเรียบเรียงลำดับความตัวเองใหม่ จึงจัดการชักเป็น focal impaired awareness ถึงแม้ว่าผู้ป่วยยังคงตระหนักถึงสิ่งแวดล้อมก็ตาม แต่ไม่สามารถเข้าใจความหมาย และสับสนเล็กน้อย หากเป็นการจัดกลุ่มแบบเดิมคือ complex partial seizure

6. Autonomic ชาย 22 ปีชักโดยมีความรู้สึกว่าขนลุกและซาบซ่าน ในขณะที่มีความรู้ตัวเป็นปกติ จึงถูกจัดกลุ่มเป็น focal aware nonmotor autonomic seizure หรือแบบกระชับว่า focal aware autonomic seizure หากเป็นการจัดกลุ่มแบบเดิมคือ simple partial autonomic seizures

7. Focal clonic เด็กชายอายุ 1 เดือนมีอาการแขนซ้ายกระตุกเป็นจังหวะ เปลี่ยนท่าทางแล้วไม่ดีขึ้น คลื่นไฟฟ้าสมองขณะนั้นพบ right frontal ictal rhythm ชักครั้งนี้คือ focal motor onset clonic seizures หรือสั้นๆว่า focal clonic seizure เนื่องจากไม่สามารถประเมิน awareness ได้ จึงไม่ถูกนำมาประเมิน โดยไม่สามารถจัดแบ่งกลุ่มได้หากใช้เกณฑ์การจัดแบ่งแบบเดิม

8. Sequential seizure manifestation ชาย 75 ปี ชักโดยเริ่มจากมีอาการรู้สึกยิบๆบริเวณแขนขวา ผู้ป่วยให้ประวัติว่าจากนั้นลามกลายเป็นกระตุกเป็นจังหวะนานราว 30 วินาที ช่วงนั้นยังคงมี awareness และจำเหตุการณ์ได้ดี ลักษณะชักเป็น focal (nonmotor-onset) sensory seizure โดยอาจเพิ่มคำอธิบายอาการให้ชัดเจนขึ้นเป็น focal sensory seizure with somatosensory features progressing to right arm clonic activity หากอาการทางการรับรู้และการเคลื่อนไหวไม่ต่อเนื่องกัน หรือไม่มั่นใจว่าชักครั้งนี้เป็นสองเหตุการณ์ (bifocal หรือ multifocal) หรือไม่ จึงค่อยพิจารณาแยกการจัดกลุ่มลักษณะการชักนี้เป็นสองรูปแบบ หากเป็นการจัดกลุ่มเดิมจะถูกเรียกว่า simple partial sensorimotor seizure ข้อดีของการจัดกลุ่มฉบับปี 2017 คือการได้ชี้เฉพาะลักษณะอาการชักที่เริ่มต้นด้วยอาการชา ซึ่งมีความสำคัญในเวชปฏิบัติ

9. Myoclonic-tonic ผู้ป่วยเด็กชาย Doose Syndrome 4 ขวบชัก เริ่มต้นจากกระตุกที่แขนสองสามครั้ง จากนั้นผู้ป่วยสูญเสียแรงตึงตัวของของกล้ามเนื้อ และทรุดลง เข้าได้กับกลุ่มอาการชักที่ถูกจัดขึ้นมาใหม่ คือ myoclonic-atonic seizure จากเดิมถูกเรียกกันอย่างไม่เป็นทางการว่า myoclonic-astatic seizure

10. Myoclonic-tonic-clonic seizure ผู้ป่วย Juvenile Myoclonic Epilepsy วัย 13 ปี ชักโดยเริ่มต้นด้วยกระตุกสองสามครั้ง จากนั้นเกร็งแขนขาทั้งสองข้างและตามด้วยการกระตุกเป็นจังหวะของแขนขาทั้งสองข้าง จึงถูกจัดกลุ่มเป็น myoclonic-tonic-clonic seizure ซึ่งเดิมไม่มีการจัดกลุ่มชักในลักษณะนี้ แต่มักเรียกกันเป็น myoclonic หรือ clonic seizure followed by tonic-clonic seizure

11. Focal epileptic spasm เด็กหญิงวัย 14 ปี เหยียดแขนสองข้างทันทีร่วมกับงอลำตัวนาน 2 วินาที อาการชักนี้เกิดเป็นชุด คลื่นไฟฟ้าสมองพบ hypsarrythmia with bilateral spikes เด่นชัดบริเวณ parietal ด้านซ้าย เอกซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าพบ left parietal dysplasia หลังการผ่าตัด (resection of dysplasia) อาการชักหายไป จากรายละเอียดที่ได้มา จึงจัดชักไว้ในกลุ่ม focal epileptic spasms (สามารถละ motor onset ไว้ได้) หากเป็นการจัดกลุ่มแบบเดิมคือ infantile spasms ซึ่งไม่มีข้อมูลถึงการมีตำแหน่งที่ชัดเจนของรอยโรค โดยยังคงสามารถใช้คำว่า infantile spasm ได้หากอาการ spasm เกิดขึ้นใน infant

12. Unclassified ชาย 75 ปีเป็นลมชัก ให้ประวัติว่ารู้สึกมีการสั่นในร่างกาย และรู้สึกสับสน ไม่มีข้อมูลอื่น ผลคลื่นไฟฟ้าสมอง และเอกซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าอยู่ในเกณฑ์ปกติ เหตุการณ์นี้จัดอยู่ในกลุ่ม unclassified

อภิปราย
คู่มือฉบับนี้นำเสนอโครงสร้างและที่มาของการจัดกลุ่มอาการชักโดย ILAE ฉบับปี 2017 ประกอบคำแนะนำการใช้งาน อย่างไรก็ตามในเวชปฏิบัติไม่สามารถใช้คำบรรยายใดๆเพื่อทำให้การแบ่งกลุ่มชัดเจนไร้ข้อสงสัย เช่น generalized onset tonic-clonic seizure อาจจะมีความไม่เท่ากันของการเริ่มต้นชักโดยการหันศีรษะไปทางใดทางหนึ่ง และจะต้องมีอาการแสดงแบบเฉพาะที่แตกต่างกันทั้งสองข้างอย่างไรถึงสามารถใช้คำว่า focal onset ได้ คำตอบขึ้นกับแต่ละครั้งที่ประเมินการ โดย The Task Force แนะนำไว้ที่ความมั่นใจที่ราว 80% ในการเรียกการชักว่าเป็น focal หรือ generalized ซึ่งในทางปฏิบัติอาจแบ่งได้ไม่ชัดเจนนัก ถ้ามั่นใจน้อยกว่า 80% จึงพิจารณาจัดไว้ในกลุ่ม unknown onset
และการแบ่งกลุ่มจะยิ่งไม่ชัดเจนมากขึ้นถ้ามีอาการแสดงหลายรูปแบบในช่วงแรกของการชัก เช่น แขนเกร็ง ร่วมกับ automatism ดังนั้นควรเลือกอาการแสดงเด่นที่เกิดแรกสุด แต่ผู้ประเมินต่างกัน อาจเรียกชื่อรูปแบบการชักต่างกัน ขึ้นกับการตีความรายงานรวมถึงการสังเกตอาการและอาการแสดง การที่มีความรู้เกี่ยวกับรูปแบบการแสดงเฉพาะของการชักที่พบได้บ่อยนั้นช่วยทำให้การจัดแบ่งกลุ่มมีความแม่นยำมากขึ้น เช่นการมี behavioral arrest ตามมาด้วยตากระพริบ และผงกศีรษะเป็นเวลา 5 วินาที จากนั้นกลับเป็นปกติ เข้าได้กับลักษณะของ typical absence seizure ถึงแม้ว่าแต่ละอาการสามารถเกิดขึ้นในชักหลายๆรูปแบบ การเพิ่มเติมคำอธิบายจะช่วยสื่อสารลักษณะชักได้ชัดเจนขึ้น เช่น การเพิ่ม “with laughing” ต่อจาก “focal impaired awareness emotional seizure”
สามารถพบการเคลื่อนไหวได้หลายรูปแบบทั้งใน focal และใน generalized-onset seizure แต่ไม่อาจสรุปได้ว่าทั้งหมดมี pathophysiology เหมือนกัน focal tonic seizure อาจจะมีกลไกการเกิดโรคต่างจาก generalized onset และการชักแต่ละชนิดมีการพยาการณ์โรค การตอบสนองการรักษา กลุ่มประชากร และความสัมพันธ์กับ epilepsy syndrome แตกต่างกัน ถึงแม้ว่าถูกจัดอยู่ในกลุ่ม focal เหมือนกัน สำหรับ focal activity ที่พบใน focal impaired awareness seizure (หรือคือ การบิดระหว่างเกิด complex partial seizure) อาจมีการแสดงแตกต่างอย่างสิ้นเชิงเมื่อเทียบกับ focal tonic seizure ใน Lennox-Gastaut syndrome จึงควรเรียนรู้การจัดกลุ่มรูปแบบชักชนิดใหม่ และ syndrome ที่เกี่ยวข้อง
ในอนาคตจะมีการจัดทำ learning และ adoption curve ในกลุ่มชุมชนโรคลมชักที่ใช้การแบ่งกลุ่มอาการชักฉบับปี 2017 นี้ เมื่อเวลาผ่านไป เสียงส่วนใหญ่จะบอกว่าชักในประเภทใดที่สามารถนำเสนอกลุ่มอาการและอาการแสดงแตกต่างที่สำคัญได้ดีที่สุด จากประสบการณที่ผ่านมาคาดว่าจะค่อยๆมีการนำการจัดกลุ่มฉบับปี 2017 ใช้แทนคำศัพท์หลากหลายก่อนหน้านี้ การนำฉบับปี 2017 ไปใช้งานจริงจะเกิดแรงผลักดันให้มีการปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น เป้าหมายของการจัดกลุ่มโดย ILAE ฉบับปี 2017 คือเพื่อให้การสื่อสารโดยแพทย์ ชุมชนที่ไม่อยู่ในวงการแพทย์ และนักวิจัย นั้นง่ายขึ้น และยังคงมีการแบ่งกลุ่มแบบกว้างๆในอนาคตต่อไปอีกจนกระทั่งมีความรู้เพียงพอที่จะจัดการแยกประเภทกลุ่มบนเหตุผลพื้นฐานของการชักในรูปแบบที่แตกต่างกันได้

Translated by
Dr. Sippanont Samchai M.D.
Dr. Yotin Chinvarun M.D. Ph.D.
Comprehensive Epilepsy Program, Phramongkutklao hospital, BANGKOK, THAILAND

กระตุ้นทางไฟฟ้าส่วนลึกของสมอง (Deep brain stimulation: DBS) ในการรักษาโรคลมชัก

กระตุ้นทางไฟฟ้าส่วนลึกของสมอง (Deep brain stimulation: DBS) ในการรักษาโรคลมชัก

โดย พลตรี.ดร.นพ.โยธิน  ชินวลัญช์

  

Deep brain stimulation (DBS) เป็นวิธีการกระตุ้นทางไฟฟ้าสมองที่กำหนดไว้ล่วงหน้า (open-loop)ที่สมองส่วนลึกผ่านทางขั้วไฟฟ้าที่ฝังอยู่ซึ่งเชื่อมต่อกับเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าgeneratorที่อยู่นอกสมองเพื่อใช้ในการรักษาผู้ป่วยโรคลมชัก จากการทดลองทางคลินิกเมื่อไม่นานมานี้ พบว่า การกระตุ้นไฟฟ้าสมอง DBS ของ ในส่วนของสมองที่เรียกว่า centro-medial ของ thalamus ได้รับการรับรองสำหรับใช้ในการรักษาผู้ป่วยโรคลมชักในยุโรป แคนาดาและ ออสเตรเลียนอกจากนี้ DBS ยังใช้ในทางการแพทย์ในการ รักษาผู้ป่วยที่มีการเคลื่อนไหวผิดปรกติ เช่น ผู้ป่วยโรคปาร์กินสัน อาการสั่นจาก โรค essential tremor และได้แสดงให้เห็นถึงศักยภาพในการรักษาความผิดปกติของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ ภาวะซึมเศร้าและ โรคซึมเศร้า – อาการย้ำคิดย้ำทำ

มีการศึกษาการใช้การกระตุ้นไฟฟ้าสมอง DBS ตั้งแต่ปี 1970และ 1980 แต่อย่างไรก็ตามข้อมูลการทดลองแบบ randomized controlled trial (RCT) ที่มีจำนวนผู้ป่วยมากมีอยู่เพียงการศึกษาเดียว ที่ มีการใช้ในการกระตุ้นสมองส่วน anterior nucleus of thalamus(ANT) ได้แก่ การศึกษาวิจัย SANTE พบว่าแม้ว่าการกระตุ้นไฟฟ้าจะมีผลที่ทำให้มีอาการชักดีขึ้นแต่ก็ยังมีที่ยังไม่รู้ว่าทำไมมีผู้ป่วยบางรายไม่ตอบสนอง และก็ยังไม่ทราบกลไกที่ชัดเจนว่าการกระตุ้นไฟฟ้าสมองมีผลอย่างไรที่ทำให้มีอาการชักดีขึ้น

ปัจจุบันได้มีการพิจารณาการใช้วิธีการกระตุ้นไฟฟ้าสมองในผู้ป่วยโรคลมชักที่ดื้อต่อยาหรือผู้ป่วยที่ไม่สามารถรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดได้โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่มีจุดกำเนิดไฟฟ้าที่ก่อให้เกิดอาการชักมีมากกว่า 1 ตำแหน่งที่ไม่สามารถจะผ่าตัดรักษาให้หายขาดได้หรือโรคลมชักบางชนิด เช่น โรคลมชักLennox Gastaut Syndromeที่ผู้ป่วยมักจะมีอาการชักหลายแบบ เช่น อาการชักแบบทรุดล้ม (Drop attack) อาการชักแบบเหม่อลอย (Focal seizure with loss awareness)และอาการชักเกร็ง (Tonic seizure) ร่วมกับมีความผิดปกติของการพัฒนาการเรื่องความจำและการเรียนรู้และพฤติกรรม ได้มีการศึกษามากขึ้นในวิธีการใช้การรักษาชนิดนี้ในผู้ป่วย Lennox Gastaut Syndrome พบว่าทำให้อาการชักดีขึ้นรวมถึงการเรียนรู้และพฤติกรรมดีขึ้นด้วย

ถึงแม้การรักษาด้วยวิธีการกระตุ้นไฟฟ้าทางสมองมักจะเป็นวิธีการรักษาที่ทำให้อาการชักลดลงแต่จำนวนผู้ป่วยที่จะหายขาดจากอาการชักจากการรักษาวิธีนี้อาจจะยังน้อยอยู่ แต่การควบคุมโรคลมชักที่ดีขึ้นจะมีผลทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยดีขึ้นทำให้ความจำดีขึ้นและทำให้สามารถช่วยตัวเองมากขึ้น และรวมถึงอาจจะทำให้สามารถลดยากันชักได้ ซึ่งถือว่าเป็นการรักษาแบบทางเลือกและเสริมและทำให้ผู้ป่วยนอกชักมีอาการที่ดีขึ้น ถือว่าเป็นการรักษาที่ปลอดภัยโดยที่ผู้ป่วยไม่ต้องได้รับการผ่าตัดสมองแต่เป็นการวางสายขั้วไฟฟ้า ซึ่งจะมีความเสี่ยงน้อยกว่าการผ่าตัดสมอง

ผลการศึกษาเร็วนี้พบว่าการกระตุ้นไฟฟ้าในส่วนลึกของสมองส่วนanterior thalamus (ANT)และ Hippocampus (HC) ในระยะยาว พบว่าทำให้มีอาการชักลดลง 46-90% และ 48% -95% ในกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการศึกษาทั้งหมด แต่การกระตุ้นไฟฟ้าในส่วนลึกสมองตำแหน่งอื่นๆยังมีผลการตอบสนองที่ยังไม่ชัดเจน  พบว่า>70% ของผู้ป่วยที่ได้รับการกระตุ้นไฟฟ้าในส่วนลึกของสมอง ANT หรือ HC ทำให้ลดอาการชักได้อย่างน้อย 50% และผลข้างเคียงและภาวะแทรกซ้อนของการรักษาด้วยวิธีนี้(DBS) ในโรคลมชักที่ดื้อต่อยามีลักษณะคล้ายคลึงกับที่สังเกตได้ จากการรักษาด้วย DBS สำหรับข้อบ่งชี้อื่น ๆ การตอบสนองต่อผู้ป่วยแต่ละรายอาจจะมีแตกต่างกันไป ดังนั้น การรักษาชนิดนี้จะเป็นทางเลือก ในผู้ป่วยโรคลมชักที่ดื้อต่อยาที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้จากการผ่าตัด หรือมีโรคลมชัดที่เป็นกลุ่ม epileptic syndrome เช่น Lennox Gastaut Syndrome, Epileptic encephalopathy เป็นต้น

ผู้ป่วยที่มีความสนใจในการรักษาโรคลมชักด้วยวิธีการกระตุ้นไฟฟ้าในส่วนลึกของสมอง(DBS) สามารถติดต่อ ได้ที่

คลินิกโรคลมชัก โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า

โรคลมชักที่ดื้อต่อยาและการรักษาโดยการผ่าตัด

โรคลมชักที่ดื้อต่อยาและการรักษาโดยการผ่าตัด

โรคลมชักที่ดื้อต่อยาและการรักษาโดยการผ่าตัด

 

โดย พลตรี.ดร.นพ.โยธิน  ชินวลัญช์

พบว่าอุบัติการณ์โรคลมชักในประเทศไทยมีประมาณ 1% หรือคิดเป็นจำนวนประชากรประมาณ 700,000 คนในผู้ป่วยคนไทยที่ป่วยเป็นโรคลมชัก  มีผู้ป่วยโรคลมชักประมาณ 30% หรือคิดเป็นตัวเลขประมาณ 40,000-50,000 คน เป็นอย่างต่ำที่เป็นผู้ป่วยที่ดื้อยา  ในเกณฑ์การวินิจฉัยผู้ป่วยโรคลมชักที่ดื้อยา คือ ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาโดยการใช้ยากันชักอย่างเหมาะสมแล้วอย่างน้อย 2 ตัว  แล้วยังไม่สามารถคุมอาการชักได้  โดยที่อาจจะยังมีอาการชักอย่างต่อเนื่องในผู้ป่วยเหล่านี้เป็นผู้ป่วยที่สมควรจะได้รับการประเมินเพื่อหาพยาธิสภาพในสมองที่ผิดปกติ เพื่อตรวจดูว่าผู้ป่วยจะสามารถทำการรักษาโดยการผ่าตัดได้หรือไม่   แต่อย่างไรก็ตามในการตรวจวินิจฉัยเหล่านี้เป็นขั้นตอนที่มีความยุ่งยากและสลับซับซ้อน  และในการตรวจเหล่านี้จะต้องมีความละเอียด รอบคอบที่จะตรวจหาตำแหน่งพยาธิสภาพ ที่ก่อให้เกิดโรคลมชักได้อย่างถูกต้องแม่นยำ   มิฉะนั้นแล้วการรักษาโดยการผ่าตัดโดยที่ไม่ได้รับการตรวจวินิจฉัยที่แม่นยำเพียงพออาจจะทำให้การผ่าตัดไม่ได้ผล หรือก่อให้เกิดผลแทรกซ้อนได้  ในการตรวจสิ่งเหล่านี้จะต้องได้รับการประเมินและการตรวจวินิจัฉยโดยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคลมชักโดยตรง

ขั้นตอนการตรวจรักษา มีดังต่อไปนี้

1. การตรวจ X-Ray  คลื่นแม่เหล็กสมองหรือ MRI Brain  ซึ่งเป็นการตรวจเพื่อดูโครงสร้างของสมอง  เพื่อตรวจหาพยาธิสภาพที่เป็นแผลเป็นในสมอง   การตรวจ MRI Brain ในปัจจุบัน มีการนำเครื่อง MRI ที่มีความคมชัดสูง คือ MRI 3 Tesla เข้ามาใช้ทำให้มีการตรวจหาพยาธิสภาพที่ก่อให้เกิดโรคลมชักได้แม่นยำขึ้น  อนึ่งสิ่งที่สำคัญมากในการตรวจ MRI ก็คือ จะต้องมีการใช้เทคนิคในการตรวจ X-Ray สมองที่ถูกต้อง  ในทางทั่วไปการตรวจ MRI Brain ไม่ได้มีความละเอียดลออในการตรวจเช็คผู้ป่วยโรคลมชัก  แต่ในผู้ป่วยโรคลมชักจะต้องมีการใช้เทคนิคพิเศษที่เรียกว่า Epilepsy Protocol  ซึ่งจะทำให้การตรวจหาพยาธิสภาพแผลเป็นได้ถูกต้องและแม่นยำมากขึ้น  รวมทั้งการวินิจฉัย X-Ray สมอง  จะต้องได้รับการวินิจฉัยโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับการฝึกอบรมโรคลมชักมาโดยตรง  เราพบว่าพยาธิสภาพในสมองที่ก่อให้เกิดโรคลมชักในผู้ป่วยที่ดื้อต่อยา ประมาณ 50% ของผู้ป่วยมักจะเป็น hippocampal Sclerosis  ซึ่งเป็นพยาธิสภาพที่เป็นสาเหตุมาจากสมองได้รับการกระทบกระเทือนตั้งแต่ในช่วงวัยเด็ก  เช่น  มีการติดเชื้อในสมอง, สมองขาดออกซิเจน, มีไข้สูงแล้วชัก หรือมีอุบัติเหตุแล้วทำให้เกิดแผลเป็นชนิดนี้ในเด็ก  ต่อมาเมื่อผู้ป่วยมีอายุมากกว่า 10 ปี หรือเข้าสู่ภาวะ 20 ปี  ก็จะเริ่มมีอาการชักเกิดขึ้นจากแผลเป็นชนิดนี้  นอกจากนี้ยังมีพยาธิสภาพอย่างอื่นอีกมากมาย  ที่ก่อให้เกิดโรคลมชักที่ดื้อต่อยา เช่น การมีเนื้องอกในสมอง, หยักในสมองผิดปกติ, เซลล์ในสมองอยู่ผิดที่ หรือเซลล์มีการจับตัวเป็นโครงสร้างที่ผิดปกติ สิ่งเหล่านี้เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดประจุไฟฟ้าในสมองผิดปกติ  และก่อให้เกิดโรคลมชักที่ดื้อต่อยา ข้อมูลที่ได้จากการตรวจ MRI Brain จะเป็นข้อมูลพื้นฐานที่จะนำไปประกอบการวินิจฉัยเพื่อหาตำแหน่งร่วมกับข้อมูลอย่างอื่น เช่น การตรวจคลื่นไฟฟ้าสมองแบบ 24 ชม. หรือ การตรวจทางกัมมันตรังสีต่อไป

2. การตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง (EEG)  ซึ่งการตรวจคลื่นไฟฟ้าสมองมีอยู่ 2 ชนิดใหญ่ ๆ คือ

2.1 การตรวจคลื่นไฟฟ้าสมองแบบทั่วไป (routine EEG) ใช้เวลาในการทำประมาณ 30 นาที  เป็นการตรวจในขณะที่ผู้ป่วยยังไม่มีอาการชัก  การตรวจชนิดนี้สามารถทำได้ง่ายแบบผู้ป่วยนอกได้  แต่ข้อจำกัดของการตรวจชนิดนี้ คือ โอกาสที่จะพบความผิดปกติของคลื่นไฟฟ้าที่ผิดปกติในผู้ป่วยโรคลมชักมีอยู่แค่ประมาณ 40%

2.2 การตรวจคลื่นไฟฟ้าแบบ 24 ชม. (VEM; video-EEG monitoring) การตรวจชนิดนี้เป็นการตรวจดูคลื่นไฟฟ้าที่ยาวขึ้น และมีจุดประสงค์เพื่อดูคลื่นไฟฟ้าในขณะที่ผู้ป่วยมีอาการชัก ดังนั้นผู้ป่วยจำเป็นต้องนอนในในโรงพยาบาล และมีการตรวจวัดคลื่นไฟฟ้าสมองตลอดเวลา  โดยที่มีการใช้ขั้วไฟฟ้าติดที่หนังศีรษะโดยใช้กาวพิเศษทำให้ไม่หลุดได้ง่าย  การตรวจชนิดนี้ก็เป็นการตรวจเพื่อดูลักษณะอาการชักของผู้ป่วยว่ามีอาการชักเป็นชนิดไหน  รวมทั้งดูตำแหน่งของไฟฟ้าที่เกิดอาการชักว่ามีจุดก่อกำเนิดมาจากส่วนไหนของสมอง  การตรวจชนิดนี้จะเป็นการตรวจที่มีความสำคัญมากในการที่จะใช้เป็นข้อมูลไปประกอบกับผลการตรวจ MRI Scan  เพื่อจะดูว่าตำแหน่งที่ ก่อให้เกิดโรคลมชักนั้นสามารถที่จะผ่าตัดได้หรือไม่

3. การตรวจทางกัมมันตรังสี (Ictal SPECT)  การตรวจทางกัมมันตรังสีโดยที่จะมีการฉีดสารกัมมันตรังสีเข้าไปในร่างกายผู้ป่วยในขณะที่มีอาการชักสารกัมมันตรังสีตัวนี้เป็นสารกัมมันตรังสีที่ใช้ในการแพทย์และมีความปลอดภัย ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย  การตรวจ Ictal SPECT จะทำไปพร้อมกับในขณะที่ผู้ป่วยตรวจคลื่นไฟฟ้า 24 ชม. ในโรงพยาบาลโดยที่จะมีการฉีดสารกัมมันตรังสีในขณะที่ผู้ป่วยมีอาการชัก  หลังจากนั้นผู้ป่วยจะได้รับการส่งไปตรวจทำ Scan  เพื่อดูภาพในสมองว่าจุดกำเนิดที่ทำให้เกิดอาการชักมาจากตำแหน่งส่วนใดของสมอง  ภาพที่ได้ในส่วนนี้จะเป็นข้อมูลที่นำไปใช้ประกอบร่วมการพิจารณากับผล MRI Brain และผลการตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง

4. การตรวจ PET Scan เป็นการตรวจหาตำแหน่งพยาธิสภาพที่ทำให้เกิดอาการชักอีกวิธีหนึ่งโดยดูการเปลี่ยนแปลงการดูดซึมสารน้ำตาลในสมอง  เราพบว่าในผู้ป่วยโรคลมชักตำแหน่งที่ทำให้เกิดอาการชักมักจะมีการดูดซึมสารของน้ำตาลที่ผิดปกติ  โดยสารน้ำตาลตัวนี้จะมีการเกาะกับสารกัมมันตรังสีที่จะฉีดเข้าไปในตัวผู้ป่วย  การตรวจชนิดนี้สามารถทำได้ในขณะที่ผู้ป่วยไม่มีอาการชัก  เป็นการตรวจชนิดหนึ่งซึ่งจะได้ข้อมูลมาประกอบการพิจารณาเพื่อหาตำแหน่งร่วมกับการตรวจชนิดอื่น

5. การตรวจเรื่องความจำ (Memory test) ซึ่งการตรวจชนิดนี้มีความจำเป็นจะต้องทำในผู้ป่วยชนิด Temporal Lobe Epilepsy   ในการรักษาผู้ป่วยชนิดนี้  การผ่าตัดอาจจะมีความเสี่ยงต่อเรื่องของการสูญเสียเรื่องความจำระยะสั้นได้  ดังนั้นจะต้องมีการประเมินเรื่องความจำว่าอยู่ในตำแหน่งส่วนใดของสมองเพื่อจะพิจารณาว่าการผ่าตัด Temporal Lobectomy ว่าสามารถทำได้หรือไม่  หากตรวจแล้วพบว่าสมองเกี่ยวกับเรื่องของความจำอยู่ในตำแหน่งที่จะเข้าไปผ่าตัด  การผ่าตัดนั้นก็ไม่สามารถที่จะกระทำต่อได้

นอกจากนี้ยังมีการตรวจหาตำแหน่งของศูนย์ที่เกี่ยวกับภาษาว่าอยู่ในตำแหน่งส่วนไหนของสมองอยู่ทางซีกซ้ายหรือซีกขวา   สิ่งเหล่านี้จะมีการตรวจในกรณีที่ผู้ป่วยมีพยาธิสภาพอยู่ใกล้ตำแหน่งที่เราคาดว่าจะเป็นสมองส่วนที่ควบคุมเรื่องการพูดหรือว่าสมองเรื่องการเข้าใจ

ส่วนการตรวจการทำงานของสมองในแต่ละส่วนจะมีการตรวจบ่งชี้ในผู้ป่วยที่มีพยาธิสภาพในตำแหน่งที่เราสงสัยว่าอาจจะเป็นสมองส่วนที่ควบคุมการทำงานของร่างกาย  ในผู้ป่วยแต่ละรายจะมีความแตกต่างกัน การตรวจเหล่านี้จะมีการตรวจอยู่หลากหลาย เช่น การตรวจการทำงาน  การควบคุม แขน ขา ของร่างกายซีกใดซีกหนึ่ง, การตรวจเรื่องการรับรู้ความรู้สึกของร่างกายส่วนใดส่วนหนึ่ง  หรือว่าการตรวจสมองเรื่องการมองเห็นในกรณีที่พยาธิสภาพที่ก่อให้เกิดการชักอยู่ใกล้ในส่วนของสมองที่ควบคุมเรื่องการมองเห็น เป็นต้น จะเห็นได้ว่าการผ่าตัดโรคลมชักในผู้ป่วยที่ดื้อต่อยาเป็นการผ่าตัดที่มีการเตรียมการผู้ป่วยอย่างละเอียดอ่อนอย่างมาก  ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ดีเราถือว่าการผ่าตัดโรคลมชักมีความเสี่ยงต่อการผิดปกติ หรือผลแทรกซ้อนต่อการผ่าตัดค่อนข้างต่ำมาก  ดังนั้นในผู้ป่วยโรคลมชักที่ดื้อต่อยาหลังจากที่ได้มีการให้ยากันชักอย่างน้อย 2 ตัวแล้วผู้ป่วยยังไม่สามารถที่จะควบคุมอาการชักได้ก็ควรจะต้องได้รับการตรวจโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและรับการตรวจเพื่อตรวจหาตำแหน่งพยาธิสภาพดังที่ได้กล่าวไปแล้ว

ในการรักษาโดยการผ่าตัดส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะต้องไดัรับการผ่าตัดและอยู่ในโรงพยาบาลประมาณ 1 อาทิตย์  หลังจากนั้นอีกประมาณ 2-3 อาทิตย์ผู้ป่วยสามารถที่จะกลับบ้านได้และสามารถทำกิจกรรมได้ตามปกติยกเว้นกิจกรรมใดที่หนักเกินไป เช่น ความเครียดหรือการยกสิ่งของหนักหรือทำงานหนักอาจจะต้องหลีกเลี่ยงในช่วง 2-3 อาทิตย์แรก  หลังจากนั้นผู้ป่วยสามารถดำเนินชีวิตได้ตามปกติ  อย่างไรก็ตามผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดแล้วจะต้องทานยากันชักต่ออีกประมาณ 1-2 ปี  สิ่งเหล่านี้เป็นการที่จะทำให้มั่นใจว่าเซลล์ไฟฟ้าในสมองในส่วนอื่น ๆ ไม่ได้รับการถูกกระตุ้น หรือก่อให้เกิดความผิดปกติตามมา

ส่วนการผ่าตัดรักษาโรคลมชักชนิด Extra Temporal Epilepsy เป็นการรักษาโดยการผ่าตัดที่ยุ่งยากกว่าการผ่าตัดชนิด Temporal Lobe Epilepsy การผ่าตัดรักษาโรคลมชักผู้ป่วยชนิด Extra TEmporal Epilepsy ส่วนใหญ่ผู้ป่วยมักจะต้องได้รับการผ่าตัดอย่างน้อย 2 ครั้งใน 1 อาทิตย์  จะต้องมีการใช้อุปกรณ์พิเศษ  เป็นขั้วไฟฟ้าที่ใช้ในการวัดคลื่นไฟฟ้าจากผิวสมองโดยตรง ที่เรียกว่า  Subdural Grid  เป็นการวางขั้วไฟฟ้าลงบนผิวสมองและวัดไฟฟ้าที่มาจากสมอง  การตรวจชนิดนี้เป็นการตรวจชนิดพิเศษซึ่งจะทำเฉพาะในผู้ป่วยที่มีพยาธิสภาพที่ก่อให้เกิดโรคลมชักอยู่ในสมองส่วน Extra Emporal Epilepsy การผ่าตัดชนิดนี้ผู้ป่วยจำเป็นต้องอยู่ในโรงพยาบาลอย่างน้อย 1-2 อาทิตย์ ผลสำเร็จทางการผ่าตัดชนิดนี้ขึ้นอยู่กับว่าการตรวจหาคลื่นไฟฟ้าสมองได้แม่นยำขนาดไหนโดยจะต้องมีการปรึกษากับแพทย์ผู้ให้การรักษาอย่างใกล้ชิด

โดยสรุปการรักษาผู้ป่วยโรคลมชักที่ดื้อต่อยาโดยวิธีการผ่าตัดเป็นการรักษาที่มาตรฐานในผู้ป่วยที่ได้รับการใช้ยากันชักอย่างน้อย 2 ตัวซึ่งเป็นยามาตรฐานแล้วยังไม่สามารถคุมอาการชักได้  และได้รับการตรวจตามขั้นตอนอย่างละเอียดซึ่งเป็นผู้ป่วยที่แพทย์ประเมินแล้วว่าการผ่าตัดน่าจะได้ประโยชน์ ไม่มีผลแทรกซ้อนที่จะทำให้เกิดความผิดปกติของร่างกาย  การผ่าตัดเหล่านี้สามารถจะทำให้ผู้ป่วยมีอาการชักลดลงหรือหายขาดจากอาการชักได้สูงถึง 50-90%  ขึ้นอยู่กับลักษณะของโรคลมชักที่เป็นอยู่

12th Asian & Oceanian Epilepsy Congress (AOEC) 2018, Bali, Indonesia

Main Sessions 

 

AOEC link

[wpdevart_youtube]gxS8Q7Gv1v0[/wpdevart_youtube]

The 12th AOEC Scientific Programme has been based on a comprehensive schedule of main sessions which are as follows:

THE CHAIRMEN’S SYMPOSIUM:  PERSONALIZED MEDICINE IN EPILEPSY

Chairs: Kurnia KUSUMASTUTI (Indonesia), Byung-In LEE (South Korea) and Parthasarthy SATISHCHANDRA (India)

The concept and scope of personalized medicine in epilepsy – Samuel WIEBE (Canada)

Diagnostic models in the era of personalized medicine – Patrick KWAN (Australia)

Precision therapies through genomics – Sam BERKOVIC (Australia)

Precision medicine through stem cells – Shinichi HIROSE (Japan)

EPILEPSY SURGERY IN PATIENTS WITH NORMAL MRI     

Chair: Tatsuya TANAKA (Japan) and Kheng-Seang LIM (Malaysia)                                              

Approach in resource-limited countries: to refer or to start? – Yotin CHINVARUN (Thailand)

Advances in MRI: is normal MRI really normal? – Greame JACKSON (Australia)

When can non-invasive monitoring be sufficient? – Byung-In LEE (South Korea)

Invasive monitoring: SDE ± depth or Stereo EEG? – Chong WONG (Australia)

INFECTIONS OF THE NERVOUS SYSTEM AND EPILEPSY

Chairs: John DUNNE (Australia) and Chong Tin TAN (Malaysia)

Emerging CNS infection and seizures – Chong Tin TAN (Malaysia)

Tuberculous meningitis and seizures: pathogenesis and management – U.K. MISRA (India)

Neurocysticercosis and seizures; evidence based management guidelines –  Supoch TUNLAYADECHANONT (Thailand)

HIV infection and seizures – Parthasarthy SATISHCHANDRA (India)

GENETIC INVESTIGATIONS IN EPILEPTIC ENCEPHALOPATHIES    

Chairs: Ingrid SCHEFFER (Australia) and Shinichi HIROSE (Japan)

The genetic landscape of the epileptic encephalopathies of infancy and childhood – Ingrid SCHEFFER (Australia)

Diagnostic value of gene panel testing in patients with epileptic encephalopathies – Hoon-Chul KANG (South Korea)

The application of whole-exome sequencing in patients with epileptic encephalopathies – Yuwu JIANG (China)

Detection of low-level somatic mutations and mosaicism for genetic investigation of epileptic encephalopathies – Sangwoo KIM (South Korea)

การทดสอบทางพันธุกรรมในโรคลมชัก

 

 

สถานการณ์ที่จะบ่งบอกถึงความจำเป็นในการทดสอบทางพันธุกรรม

เมื่อมีลักษณะทางคลินิก อายุที่เริ่มมีอาการชัก ลักษณะอาการชักและลักษณะ EEG) สอดคล้องกับกลุ่มอาการทางคลี


นิคและไฟฟ้าที่เฉพาะโรค (Epileptic syndrome)ตามที่กำหนดโดย International League against epilepsy (ILAE)ยกเว้นโรคลมชักที่เป็นโรคลมชักที่ไม่รุนแรง (benign epilepsy)

Epileptic encephalopathies (เช่น Ohtahara syndrome, early onset myoclonic encephalopathy, West syndrome, malignant migrating partial seizures, เป็นต้น)

ชักที่เกี่ยวข้องกับไข้เป็นตัวกระตุ้นที่สำคัญ (ไม่รวมผู้ป่วยที่มีอาการชักจากไข้-febrile convulsion) เช่น Dravet syndrome, Generalized epilepsy with febrile seizures plus

เมื่อการพยากรณ์โรคตามผลการตรวจทางคลินิกและ EEG ไม่เป็นที่น่าพอใจหรือความเป็นไปได้สูงที่จะมีอาการชักรุนแรง ตัวอย่างเช่น:

ความถี่ที่เพิ่มขึ้นและ / หรือความรุนแรงของอาการชักมีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตอย่างกะทันหันของโรคลมชัก (SUDEP)

Myoclonic epilepsy where progressive ที่เกี่ยวกับการถดถอยของระบบประสาท

โรคลมชักที่ดี้อต่อยาตามที่ ILAE กำหนดไว้

Epileptic encephalopathies เมื่อโรคลมชักมีความเกี่ยวข้องกับคุณสมบัติที่บ่งบอกถึงข้อผิดพลาดที่เกิดจาก metabolism ที่สามารถรักษาได้

ลักษณะทางคลินิกมีข้อบ่งชี้ถึงความผิดพลาดใน metabolism  ในทารกในครอบครัวที่มีประวัติครอบครัวที่มีความผิดปกติแบบนี้มาก่อนในบุตรที่เกิดจากพ่อแม่ที่มาจากญาติพี่น้อง หรือในทารกแรกเกิดที่มีการตรวจคัดกรองบ่งชี้ทางชีวเคมีที่เกี่ยวข้องกับโรคลมชักจากการเผาผลาญผิดปกติทาง metabolism

ตัวอย่างโรคที่มีความผิดพลาดใน metabolism ที่รักษาได้ที่สำคัญ ได้แก่

o Pyridoxine dependent epilepsy

o Pyridoxal phosphate dependent epilepsy

o Creatine deficiency syndromes

o Glucose transporter (GLUT1) deficiency

o Cerebral Folate deficiency

เมื่อโรคลมชักมีความเกี่ยวข้องกับรูปแบบที่โดดเด่นของการเกิดความผิดปกติของการพัฒนาทางระบบประสาท (Cortical malformation) ตัวอย่างเช่น:

  • Hemimegalencephaly

  • Lissencephaly

  •   Schizencephaly

  •   Sub cortical band heterotopia (double cortex)

  •   Cortical dysplasia with focal epilepsy

  •   Opercular dysplasia/asymmetric, unilateral or bilateral

  •   Holoprosencephaly

  •   Agenesis of corpus callosum

  •   Polymicrogyria

  •   Periventricular heterotopia

  •   Tuberous Sclerosis

    เมื่อโรคลมชักมีความเกี่ยวข้องกับอาการทางคลินิกของการเสื่อมสภาพของระบบประสาท การเสื่อมสภาพของระบบประสาทอาจมีผลต่อพัฒนาการถดถอยในเด็ก อาการทางระบบประสาทที่แปรปรวน จะมีผลต่อก้าวหน้าของความบกพร่องทางสติปัญญาความพิการของการเคลื่อนไหวและ / หรืออาการทางระบบประสาทและอาการอื่น ๆ ตัวอย่างเช่น

  • Acquired Epileptic Aphasia (Landau Kleffner syndrome)

  • Epileptic encephalopathy with continuous spike wave activity in sleep

  • MECP2 duplication syndrome

  • Atypical Rolandic epilepsy with language deficits+/- cognitive disability

  • Progressive myoclonic epilepsies ((Unverricht-Lundborg, NCL, Lafora body, sialidosisในเด็ก

    โรคลมชักมีความเกี่ยวข้องกับคุณสมบัติทางระบบประสาท paroxysmal ตัวอย่างเช่น:

    • Paroxysmal dyskinesias

    •  Episodic ataxias

    •  Hemiplegic migraine

      เมื่อโรคลมชักมีความสัมพันธ์กับลักษณะทางประสาทวิทยาเพิ่มเติมเช่นความล่าช้าในพัฒนาการ / ความพิการทางสติปัญญาความผิดปกติที่มีมา หรือมีลักษณะที่ผิดปกติแต่กำเนิดหลายอย่างคุณสมบัติ dysmorphic ตัวอย่างเช่น:

      •   Angelman and Angelman-like syndromes

      •   Pitt-Hopkins syndrome

      •   Rett syndrome, and syndromes with Rett-like features

      •   Mowat Wilson

      •   X-linked Epilepsy with Mental Retardation

      •   Syndromic Mental Retardation associated with epilepsy

      •   Tuberous sclerosis

      •   Epilepsy with global developmental delays or autistic traits unspecified/or not classified

        เมื่อโรคลมชักในครอบครัวมีอยู่อย่างน้อย 2 คนในครอบครัวที่มีภาวะโรคลมชัก เว้นเสียแต่ว่าโรคลมชักเป็นอย่างไม่รุนแรงตามที่แสดงไว้ในส่วนด้านล่าง.

        • Recognizable seizure syndrome with benign course
        • Benign childhood epilepsy with central temporal spikes (previously termedbenign rolandic epilepsy)
        • Mesial temporal lobe epilepsy with hippocampal sclerosis
        • Typical Childhood Absence epilepsy (although if early onset or medicallyrefractory should consider and test for GLUT1 deficiency)
        • Juvenile myoclonic epilepsy well controlled on medications and withoutintellectual disability or any signs of neurodegeneration
        • Acquired Epilepsy (In these conditions epilepsy is often associated with aprimary neurological condition, which may or may not have a genetic basis, but is usually an acquired condition.  เช่น:
        o Post traumatic epilepsy
         o Epilepsy secondary to neonatal-perinatal HIE and sequelae
         o Epilepsy associated with cerebral palsy related to periventricular leukomalacia (PVL)
         o Epilepsy secondary to brain tumors or systemic malignancy
         o Epilepsy associated with complications of chemotherapy, post-transplant immunosuppression
         o Epilepsy related to radiation therapy
         o Epilepsy related to infections of the central nervous system (CNS) (viral, bacterial, TB, fungal) and complications
         o Epilepsy associated with CNS inflammation (autoimmune, vasculitis

ยากันชักตัวใหม่

การใช้ยาพ่นจมูกรักษาการชัก

 

จากการศึกษา และพัฒนา ยากันชัก ที่สามารถ สเปรย์ที่จมูกเพื่อทำให้การจากหยุด ได้ เป็นผลิตภัณที่ชื่อว่า NRL-1: special formulation of diazepam  ใช้ในการรักษาโรคชัด ในกรณีที่มีการชักซ้ำ ทำให้สามารถ  ให้ ยาได้อย่างรวดเร็ว

ปกติเราใช้ Diazepam  ในการรักษา  ภาวะกล้ามเนื้อเกร็ง วิตกกังวลและการชัก ซึ่งในอดีตยาจะมีรูปของเป็นยาเม็ดและ ยาฉีด   แต่ตัว NRL-1  เป็นยา diazepam  ในรูปแบบใหม่ ที่สามารถใช้ในการสเปรย์ เข้าไป โพรงจมูก  ซึ่งพบว่าสามารถทำให้อาการชักหยุดได้ แล้วก็ปลอดภัย  ซึ่งเป็น ยาที่สามารถผู้ป่วยใช้ได้เองอย่างรวดเร็วในการควบคุมอาการชัก  ยา NRL-1  อยู่ในช่วงสุดท้าย ในการวิจัย ใช้ ในทางคลินิก  หลังจากนั้นก็จะมีการขออนุญาต ผ่านทางองค์กรอาหารและยาประเทศ สหรัฐอเมริกา แล้วก็เรา จะมียาใช้ทั่วโลก ในเวลา ไม่ นานมากนัก

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาการรักษากรณีที่ผู้ป่วยเมียการชักซ้ำซ้ำฯติดต่อกัน มีการรักษาหลักก็คือการใช้ ยา diazepam    ฉีดยาเข้าเส้นเลือดดำ หรือการให้ทาง ทวารหนัก  ต่อมามีการใช้ ยา midazolam  ในทางช่องปาก  การที่มิยา NRL-1 ใช้ในทางคลินิก จะทำให้การรักษาผู้ป่วยที่มีการชักซ้ำอย่างต่อเนื่อง ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงขึ้นและอย่างรวดเร็วเพราะสามารถที่จะฉีดสเปรย์เข้าในช่องจมูก ซึ่งจะช่วยทำให้ลด การเกิดอุบัติการณ์ การอาการชัก   ต่อเนื่องแบบไม่หยุด (Status epilepticus)

 

ยากันชักตัวใหม่ – Everolimus

ผลจากการศึกษาจากการสุ่ม placebo-controlled ระยะที่ 3 การทดลองแสดงให้เห็นว่า everolimus (Afinitor จาก Novatis) – เป็นยาทานที่มีการพัฒนาเป็นยารักษาโรคมะเร็ง – สามารถลดอาการชักลงอย่างมีนัยสำคัญความถี่ชักในผู้ป่วยโรคลมชักที่ดี้อต่อยา Tuberous sclerosis (TSC)

Tuberous sclerosis (TSC) เป็นโรคทางพันธุกรรมที่หายาก ที่เกิดจาก overactivati​​on ของเป้าหมายของ rapamycin (mTOR) ที่ทำหน้าที่ส่งเสริมการเจริญเติบโตของเซลล์ ในโรค TSC จะนำไปสู่​​การเกิดอาการชักผิดปกติการเกิด cortical malformations, and neuronal hyperexcitability และทำให้เกิด subependymal astrocytomas เซลล์ยักษ์ (SEGAs)

ผลแม้ว่าอาจมีผลกระทบในวงกว้างมากสำหรับการรักษาโรคลมชัก จนถึงตอนนี้ชึ่งยังไม่ได้รับการรักษาทุกคนสำหรับโรคลมชักของพวกเขา เพียงพวกเขาสำหรับการชักของพวกเขาที่เราได้ให้พวกเขายาเสพติดที่ปราบปรามการชักของพวกเขา แต่เรายังไม่ได้พื้นฐานเปลี่ยนกลไกพื้นฐานที่ซึ่งก่อให้เกิดโรคลมชัก.”

everolimus จะพิสูจน์ให้ประสบความสำเร็จในทีเอสซี แต่มันก็อาจจะมีประโยชน์สำหรับบางดีสเพลเชียเยื่อหุ้มสมองและประเภทอื่น ๆ ของโรคลมชักท​​ี่เธอบอกว่า

“นี่อาจจะเป็นขั้นตอนแรก” ดรฝรั่งเศสซึ่งเป็นผู้วิจัยหลักทั่วโลกสำหรับอยู่จริง 3 (ตรวจสอบ everolimus ในการศึกษาของทีเอสซี) ที่กล่าวว่า

เธอแสดงผลที่นี่ในช่วงสถาบันประสาทวิทยาอเมริกัน (AAN) 2016 การประชุมประจำปี EXIST-3 ได้รับการสนับสนุนโดย Novatis

การศึกษารวม 366 ผู้ป่วยที่มี TSC กับอายุเฉลี่ย 10 ปี (ช่วง 2-65 ปี) พวกเขาจะต้องมีอย่างน้อย 16 ชักรักษาทนและได้รับ 1-3 ยากันชัก (เครื่อง AED) ในปริมาณที่มีเสถียรภาพ ในประมาณครึ่งหนึ่งของผู้ป่วย, 6 หรือมากกว่าเครื่อง AED ล้มเหลวก่อนที่จะลงทะเบียนเรียน

มีผู้ป่วยหลายคนยังพยายามวิธีการรักษาอื่น ๆ รวมทั้งไขมันสูงคาร์โบไฮเดรตต่ำอาหาร ketogenic และการกระตุ้นเส้นประสาทเวกั

โดยรวมเฉลี่ยความถี่ยึดพื้นฐานต่อ 28 วันเป็น 37.5 การศึกษาไม่ได้ จำกัด ชนิดของการชักดังนั้นผู้ป่วยที่มียาชูกำลังคลินิก, atonic, clonic, myoclonic และหลายประเภทยึดอื่น ๆ

หลังจาก 8 สัปดาห์เฟสพื้นฐานผู้ป่วยถูกสุ่มให้ได้รับนอกเหนือไปจากเครื่อง AED ของพวกเขาได้รับยาหลอกลดลงยา everolimus (3-7 นาโนกรัม / มิลลิลิตร) หรือสูงกว่ายา everolimus (9-15 ng / มิลลิลิตร)

หลังจากขั้นตอนการไตเตรท 6 สัปดาห์ผู้ป่วยเสร็จสิ้นขั้นตอนการบำรุงรักษา 12 สัปดาห์

อัตราการออกกลางคันตลอดการพิจารณาคดี “ที่ด้านล่างเมื่อเทียบกับการทดลอง AED อื่น ๆ ” ตามที่ดรฝรั่งเศส; เพียง 5 ในกลุ่มยาหลอก 7 ในกลุ่มรักษาขนาดต่ำและ 8 ในการรักษากลุ่มการรักษาสูงกว่าปริมาณที่ยกเลิก

Depression in patients with epilepsy: how could neurologists, psychiatrists and neurosurgeons co-work and how much do Asian colleagues acknowledge it?

ilae

Depression in patients with epilepsy: how could neurologists, psychiatrists and neurosurgeons co-work and how much do Asian colleagues acknowledge it?

Date: October 9-10th, 2016 Venue: Aichi, Japan

On behalf of the ILAE Neuropsychiatry Commission, we are pleased to invite you to attend the conference

“Depression in patients with epilepsy: how could neurologists, psychiatrists and neurosurgeons co-work and how much do Asian colleagues acknowledge it?”. The event will be held in Aichi, October 9-10, 2016. This meeting offers Japanese physicians and surgeons treating patients with seizures a unique opportunity to meet Japanese and international experts on depression in patients with epilepsy. It aims to disseminate recent insights into the epidemiology, pathogenesis, impact, diagnosis, and best treatment of this common co-morbid condition in patients with epilepsy and bridge gaps between psychiatrists and epileptologists without psychiatric training. Every medical staffs and students who are interested in this topic, including participant of the Annual Meeting of the Japanese Epilepsy Society who is interested in this topic is welcome to come to the symposium without charge.

9th Sunday

14:00-14:05 Opening remarks. Kousuke Kanemoto (Japan)
14:05-14:10 Welcome speech by guest of honor. Yozo Miyake (Japan, President of Aichi Medical University) 14:10-14:35 Epidemiology of comorbid depression in patients with epilepsy (including bidirectional relationship between epilepsy and depression). Andres Miguel Kanner (U.S.A)
14:35-15:00 Depression in epilepsy: why should neurologists care? Alice Yu (Taiwan)
15:00-15:25 Neurobiological aspects of mood disorders: do they explain the high comorbidity of depression and epilepsy? Masumi Ito (Japan)

Coffee break 15:25-15:35

15:35-16:00 Can psychiatric adverse events of AEDs be anticipated when a past and /or family history of mood disorders are identified at the time of the initial evaluation of the seizure disorder? Kousuke Kanemoto (Japan)

16:00-16:25 What is the impact of depression on seizure, psychosocial issues and behavioral problems? Sung-Pa Park (South Korea)

16:25-16:50 Can neurologists identify patients with depressive and anxiety disorders in their outpatient clinic?

Aileen MacGonigal (France)
16:50-17:15 When should patients be referred to psychiatrists? Riki Matsumoto (Japan)

17:15-17:40 Do antidepressant drugs worsen or improve epileptic seizures? Pro and Con Debate. Andres Miguel Kanner (USA)and Kousuke Kanemoto(Japan)
17:40-18:05 Depression in patients with epilepsy in Japan. Go Taniguchi (Japan)

10th Monday

9:00-9:20 Depression before and after epilepsy surgery. Takuji Nishida (Japan)
9:20-9:40 Depression in patients with epilepsy in Korea. Oh-Young Kwon (South Korea) 9:40-10:00 Depression in patients with epilepsy in China. Zhou Dong(China)

10:00-10:20 Depression in patients with epilepsy in Thailand. Yotin Chinvarun (Thailand)

10:20-10:40 Depression in patients with epilepsy in Taiwan. Alice Yu (Taiwan) 10:40-11:10 Overall discussion. Sung-Pa Park (South Korea)
11:10-11:20 Closing remarks. Andres Miguel Kanner (USA)Professor of Clinical Neurology, Director of International Comprehensive Epilepsy Center, Chair of Epilepsy Division, University of Miami