Category Archives: Sleep

การอดนอนจะทำให้คุณป่วยง่ายจริงหรือไม่

ดร.นพ.โยธิน. ชินวลัญช์. M.D. Ph.D. FAES

เมื่อเวลาเราเป็นหวัด มักจะเกิดขึ้นเวลาที่เรานอนไม่พอ นอนดึก หรือนอนไม่เต็มอิ่ม การได้นอนพักเป็นเวลา 8 ชั่วโมง มักจะทำให้เรามีอาการฟื้นตัวที่เร็วขึ้น ได้มีคำถามที่ว่าการนอนที่ดีสามารถที่ทำให้ ระบบภูมิคุ้มกันต้านทานของร่างกายแข็งแรงขึ้นหรือไม่ มีข้อมูลจากการศึกษามากมายที่บอกว่าภาวะอดนอนจะทำให้เป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดการติดเชื้อได้ง่ายขึ้นเนื่องจาก ลักษณะของการนอนมีผลต่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายในการที่จะต่อต้านเชื้อไวรัสแบคทีเรีย ไวรัส หรือเชื้อที่เป็นสิ่งแปลกปลอมที่จะเข้ามาในร่างกายของคนเรา 

สำหรับการนอนที่ดีจะต้องมีลักษณะอย่างไร 

ข้อที่หนึ่งจะต้องมีจำนวนชั่วโมงการนอนที่เพียงพอ เช่น ในผู้ใหญ่ควรจะต้องมีการนอนหลับประมาณ 7 ถึง 9 ชั่วโมง แต่เพียงการนอนในชั่วโมงที่เพียงพอก็ยังไม่ถือว่าเป็นการนอนที่ดีเพียงพอ ยกตัวอย่างเช่น คนนอนดึกแล้วตื่นสายก็ถือว่าเป็นการนอนที่มีคุณภาพไม่ดี สาเหตุเนื่องจากการนอนที่ดีจะต้องเกี่ยวกับวงจรการตื่นและการหลับที่ดีด้วยเนื่องจากสมองของเราจะมีนาฬิกาเวลาที่กำหนดลักษณะการตื่นและการหลับที่เป็นเวลา ดังนั้นแล้วการนอนที่ดีมากจะต้องมีลักษณะของชั่วโมง ของการนอนที่เพียงพอ ร่วมด้วยกับโครงสร้างของการนอนที่ดีด้วย ลักษณะโครงสร้างของการนอน ของคนเราจะประกอบด้วยการนอนที่เป็นระดับต่างๆ (Sleep staging) เช่น การนอนระดับหนึ่ง (Sleep stage I) สอง (Sleep stage II) สาม (Sleep stage III) และ การนอนระดับ REM sleep จะมีการหมุนเวียนเป็นวงจรทุกๆ 90 นาที (Ultradian rhythm) หรือวงจรการเปลี่ยนแปลงของการนอนหลับระดับต่างๆนี้จะเป็นอย่างต่อเนื่องและไม่ถูกขัดจังหวะด้วยการตื่น ถึงจะถือว่าเป็นการนอนที่มีคุณภาพที่ดี ไม่อย่างนั้นแล้วถ้าเกิดการขัดจังหวะของระดับการนอนหลับจะมีผลทำให้ มีอาการ นอนไม่เต็มอิ่ม มีอาการอ่อนเพลีย เมื่อขณะตื่นขึ้นหรือ ก่อให้เกิดอาการง่วงในช่วงกลางวัน

มีข้อมูลที่ยืนยันว่ามีความสัมพันธ์ระหว่าง การนอนหลับที่ดีและระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายยก ตัวอย่าง เช่น ในสัตว์ ทดลองที่มีการติดเชื้อแบคทีเรียในกลุ่ม ที่อดนอนจะมีการติดเชื้อที่รุนแรงมมากกว่าในสัตว์ทดลองที่มีการนอนหลับอย่างเพียงพอ นอกจากนี้มีการศึกษาในมนุษย์ที่ให้วัคซีน ป้องกันไข้หวัดใหญ่ใน สองกลุ่ม โดยกลุ่มแรกมีการนอนหลับที่เพียงพอและกลุ่มสองที่อดนอน และได้ติดตามเป็นเวลา 10 วัน พบว่าในกลุ่มที่มีการอดนอนจะมีการสร้างภูมิคุ้มกันที่ได้จากการฉีดวัคซีน ด้อยกว่าในกลุ่มที่มีการนอนหลับที่เพียงพอ โดยมีการสร้างโปรตีนที่เรียกว่าภูมิคุ้มกันต่อไข้หวัดใหญ่ผิดปกติในกลุ่มที่มีการอดนอน นอกจากนี้มีการศึกษาในกลุ่มคนที่ได้รับวัคซีนป้องกันโรคตับอักเสบชนิด เอ บี หรือไข้หวัดหมู (Swine influenza or Swine flu)ก็ได้ผลอย่างเดียวกันโดยที่กลุ่มที่อดนอนจะมีการสร้างภูมิจากวัคซีนได้น้อยกว่า

นักวิจัยได้มีการศึกษาและยืนยันว่าคุณภาพการนอนที่ไม่ดีมีผลกระทบต่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย มีการศึกษามากมายที่บอกว่า การอดนอนมีผลทำให้มีการเพิ่มจำนวน เม็ดเลือดขาว ในกระแสเลือดมีผลทำให้จำนวนเม็ดเลือดขาวที่ต้องอยู่ในต่อมน้ำเหลืองหรือม้ามมีจำนวนลดลง การที่มีการ เคลื่อนที่ของเม็ดเลือดขาวเหล่านี้เข้าไปในกระแสเลือด ทำให้ไม่สามารถที่จะช่วยต่อสู้หรือทำลายการติดเชื้อที่เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

มีการศึกษาพบว่าในครึ่งแรกของการนอนจะมีการผลิตสารที่เรียกว่า Pro-inflammatory proteins มีความสำคัญในการป้องกันสิ่งแปลกปลอมที่จะเข้ามาในร่างกาย หลังจากนั้นในการนอนครึ่งหลังจะมีการปรับสมดุลของการสร้างสารที่เรียกว่าสารต่อต้านการอักเสบ (anti-inflammatory protein) การอดนอนจะทำให้ภาวะสมดุลของสารทั้งสองชนิดนี้ผิดปกติไปมีผลทำให้สาร Pro-inflammatory proteins ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์เรา

มีการศึกษายังพบว่าภาวะอดนอนจะทำให้มีการลดลงของเม็ดเลือดขาวที่ใช้ในการฆ่าเชื้อโรคและไวรัสที่เรียกว่า Natural killer cells การนอนหลับที่ดีจะมีผลต่อการเคลื่อนไหวของเม็ดเลือดขาวไปยังจุดที่มีการติดเชื้อได้ดี และในทางตรงกันข้ามถ้ามีเพราะว่าการอดนอนที่เกิดขึ้นจะทำให้กลไกเหล่านี้สูญเสียไป

จากข้อมูลในแง่ของการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันโรค การนอนหลับที่ดีจะช่วยทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายมีการจดจำต่อสิ่งแปลกปลอมที่บุกรุกเข้ามาในร่างกาย ได้ดีมีผลทำให้ระบบ ภูมิคุ้มกันของร่างกาย จะจดจำเชื้อโรคที่บุกเข้ามาได้อย่างรวดเร็วมีผลทำให้ร่างกาย สามารถทำลาย เชื้อโรคที่เข้ามาในร่างกายได้เร็วขึ้น มีการศึกษาพบว่าถ้ามีการนอนหลับในระดับสาม (Sleep stage III) ที่เพียงพอจะมีผลทำให้การจดจำของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ต่อเชื้อแบคทีเรียหรือไวรัสที่บุกรุกเข้ามาในร่างกายได้ดีมาก

ความสัมพันธ์ระหว่างการนอนและภูมิคุ้มกันของร่างกายไม่ใช่เฉพาะว่าการนอนหลับมีผลกระทบต่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายแค่นั้น แต่ระบบคุ้มกันของร่างกายที่ต่อสู้กับเชื้อโรคที่เข้ามาแล้วร่างกายมันจะมีการผลิตสารเคมีตัวหนึ่งที่เรียกว่า cytokine ซึ่งจะมีผลทำให้การนอนหลับดีขึ้น สิ่งเหล่านี้จะเป็นตัวหนึ่งที่ทำให้ระบบ กล้ามเนื้อของร่างกายได้พักในขณะนอนหลับทำให้ร่างกายสามารถที่จะเอาพลังงาน จากสวนนี้ไปใช้เพื่อสร้างระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย

เพื่อช่วยทำให้การนอนหลับมีคุณภาพที่ดีขึ้นเราควรจะต้องมีการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอซึ่งจะทำให้การนอนหลับดีขึ้น และเพิ่มประสิทธิภาพภูมิคุ้มกันของร่างกาย นอกจากนี้มีคำแนะนำว่าในช่วงกลางวันเราควรต้องมีการเจอแสงแดดหรือแสงสว่างในบริเวณกลางแจ้งหรือนอกอาคารบ้าง และในยามกลางคืนก็อยู่ในห้องที่มืดเพียงพอหลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นจากแสงต่างๆโดยเฉพาะในโลกปัจจุบัน เช่น แสงจากโทรศัพท์มือถือหรืออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ในช่วงกลางคืน หรือก่อนนอน จะช่วยทำให้วงจรการนอนและการตื่นให้เป็นปกติด้วย

สาเหตุการเสียชีวิตของดาราดัง บรูซลี (Bruce Lee)

ดร.นพ.โยธิน. ชินวลัญช์

บรูซลี (BRUCE LEE)

บรูซลีเป็นมากกว่าการเป็นดาราภาพยนตร์แอ็คชั่นอยู่ในอาชีพนักแสดงเพียงแค่สี่ปีและมีผลงานการแสดงภาพยนตร์เพียงห้าเรื่องที่เสร็จสมบูรณ์ เขาเป็นสัญลักษณ์ของดาราภาพยนตร์แนวใหม่ก่อนที่เขาจะเสียชีวิตในวัยเพียงแค่ 32 ปี ในวันที่ 20 กรกฏาคม 2516 เพียงหกวันก่อนที่ภาพยนตร์เรื่อง Enter the Dragon จะเริ่มฉายครั้งแรก บรูซลีเสียชีวิตทันทีและลึกลับ ผลอย่างเป็นทางการสาเหตุของการชีวิตว่ามาจากสมองบวม ซึ่งไม่มีสาเหตุที่บ่งชี้ว่าสมองบวมจากอะไรและจากการชันสูตรไม่พบว่ามีหลักฐานการบาดเจ็บจากภายนอก แล้วอะไรที่ทำให้เกิดอาการสมองบวม ?

บรูซลีเริ่มมีสัญญาณของสุขภาพไม่ดีครั้งแรกในเดือนพฤษภาคมปี 1973 เพียงไม่กี่สัปดาห์ก่อนที่บรูซลีจะเสียชีวิต เขามีอาการปวดศีรษะและมีอาการชักแบบเกร็งกระตุกทั้งตัวครั้งแรก เขาได้รับการวินิจฉัยว่ามมีอาการชักแบบเกร็งกระตุกทั้งตัวและมีสมองบวมที่ไม่ทราบสาเหตุ บรูซลีหมดสติอยู่หลายชั่วโมงและฟื้นคืนสติในวันรุ่งขึ้น เขาได้บินไปรับการตรวจรักษาต่อที่ UCLA Medical Center และได้ทำการทดสอบเพิ่มเติมและแพทย์วินิจฉัยว่าบรูซลีว่ามีโรคลมชักแบบเกร็งกระตุกทั้งตัว (Grand mal) แต่ไม่สามารถระบุสาเหตุของอาการชักได้ และเขาไม่ได้รับการรักษาด้วยยากันชักเลยจนกระทั่งต่อมาก็ได้เสียชีวิตในระยะเวลาหลังจากนั้นมาภายในเวลาไม่กี่อาทิตย์

ภาพของ บรูซลี

ในหลายปีที่ผ่านมาได้มีความก้าวหน้าอย่างมากทางด้านการแพทย์นับตั้งแต่การเสียชีวิตของว่าบรูซลีทำให้บ่งบอกสาเหตุการเสียชีวิตของบรูซลีว่าสาเหตุอะไรที่ทำให้เขาถึงเสียชีวิต

ในการประชุมของ American Academy of Sciences ปี 2549 นายแพทย์ James Filkins กล่าวว่าบรูซลีป่วยเป็นโรคลมชักและเสียชีวิต จากภาวะ SUDEP (Sudden unexplained death in epilepsy) หรือ “การเสียชีวิตอย่างเฉียบพลันใน ผ.ป.โรคลมชัก” หมายถึงการเสียชีวิตอย่างเฉียบพลันของคนที่มีสุขภาพดีซึ่งเป็นโรคลมชักที่ไม่สามารถหาสาเหตุของการเสียชีวิตอย่างอื่นฯได้

เป็นภาวะที่เพิ่งมีการศึกษาพบในปี 1995 นับเป็นเวลามากกว่า 20 ปีหลังจากที่ว่าบรูซลีเสียชีวิตที่มีการรายงานภาวะนี้ อาการชักสามารถเกิดขึ้นได้จากความเครียดซึ่งพบว่าบรูซลีเริ่มมีความเครียดสูงก่อนจะมีอาการชักครั้งแรกก่อนจะเสียชีวิตตามมา เขาไม่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคลมชักทั้งฯที่เริ่มมีอาการชักและไม่ได้รับการรักษาด้วยยากันชัก

SUDEP (Sudden unexplained death in epilepsy) หรือ “การเสียชีวิตอย่างเฉียบพลันใน ผ.ป.โรคลมชัก คืออะไร

SUDEP (Sudden unexplained death in epilepsy) หรือ “การเสียชีวิตอย่างเฉียบพลันใน ผ.ป.โรคลมชัก

การเสียชีวิตเนื่องจากโรคลมชักเป็นปัญหาที่รุนแรงในผู้ที่เป็นโรคลมชัก ทำให้มีอัตราการเสียชีวิตสูงกว่าประชากรทั่วไปอย่างมีนัยสำคัญ พบว่าผู้ป่วยโรคลมชักประมาณ 40% ที่เสียชีวิตมีสาเหตุที่เกี่ยวกับอาการชัก เช่น จากความผิดปกติของระบบประสาทที่ก่อให้เกิดอาการชัก อุบัติเหตุจากการชัก ชักแบบไม่หยุด (status epilepticus) การฆ่าตัวตาย และการเสียชีวิตจากภาวะ SUDEP และพบว่า SUDEP พบได้ประมาณ 8% ถึง 17% ของผู้ป่วยโรคลมชักที่เสียชีวิต

เกณฑ์การวินิจฉัยการเสียชีวิตอย่างเฉียบพลันใน ผ.ป.โรคลมชัก SUDEP มีดังนี้:
1. ผู้ป่วยมีโรคลมชัก
2. ผู้ป่วยเสียชีวิตอย่างกะทันหันในขณะที่มีสุขภาพสมบูรณ์
3. เสียชีวิตอย่างกะทันหัน (เช่น ภายในไม่กี่นาที)
4. เสียชีวิตในสถานการณ์สิ่งแวดล้อมที่ปกติ
5. สาเหตุของการเสียชีวิตที่ไม่สามารถระบุมีสาเหตุอื่นฯที่ทำให้เสียชีวิตได้จากการชันสูตรศพ
6. สาเหตุของการเสียชีวิตไม่ได้เป็นผลโดยตรงจากการชักหรือการมีอาการชักแบบไม่หยุด (status epilepticus)

ปัจจัยเสี่ยงหลักสำหรับการเกิด SUDEP คือ:
1. ผ.ป.โรคลมชักที่มีอาการชักบ่อยครั้งหรือชักที่ดื้อต่อยา
2. ผ.ป.โรคลมชักที่มีอาการชักแบบเกร็งกระตุกทั้งตัว (Generalized Tonic-clonic seizure)
3. ชักในขณะหลับ และอยู่เพียงคนเดียว

ปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ: เช่น
1. ผ.ป.ที่เริ่มมีอาการชักตั้งแต่อายุยังน้อย มีรายงานการเกิด SUDEP มากที่สุดในผู้ป่วยที่เริ่มมีอาการชักตั้งแต่อายุ 18-40 ปี
2. มีความบกพร่องทางยีนจากพันธุกรรม
3. เพศชาย
4. ป่วยเป็นโรคลมชักมาเป็นเวลานานหลายปี
5. ทานยากันชักไม่สม่ำเสมอหรือขาดยากันชัก
6. เป็นโรคพิษสุราเรื้อรังและมีโรคลมชักร่วมด้วย

สาเหตุของ SUDEP 

สาเหตุของ SUDEP 

ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่นอน แต่เชื่อว่าปัจจัยต่อไปนี้อาจมีบทบาทใน SUDEP ไม่ว่าจะโดยลำพังหรือรวมกัน: เช่น
 
ระบบทางเดินหายใจผิดปกติ
ปัญหาทางเดินหายใจมักพบในผู้ป่วยที่มีอาการชักและได้รับรายงานในผู้ป่วยที่มีอาการ SUDEP และเกือบเสียชีวิตจาก SUDEP ตรวจพบว่ามีปริมาณออกซิเจนลดลงอย่างมีนัยสำคัญและพบว่ามีภาวะหยุดหายใจ (sleep apnea) เกิดขึ้นเนื่องจากจากการที่ศูนย์ควบคุมการหายใจถูกยับยั้งจากการชัก คือไฟฟ้าจากการชักมีผลต่อศูนย์กลางควบคุมทางเดินหายใจในสมองก่อให้เกิดการยั้บยั้งศูนย์กลางควบคุมทางเดินหายใจทำเกิดภาวะหยุดหายใจได้ นอกจากนี้มีสมมุติฐานว่า การที่ผู้ป่วยชักอยู่ในขณะท่านอนคว่ำจะมีผลทำให้มีการอุดตันของทางเดินหายใจส่วนบนได้ง่ายกว่าและจะก่อให้เกิดภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจ (Obstructive sleep apnea)

การศึกษาพบว่าผู้ป่วยที่เสียชีวิตจาก SUDEP มักจะพบอยู่ในท่านอนคว่ำเสียส่วนใหญ่ ดั้งนั้นเชื่อว่าการอุดตันของทางเดินหายใจส่วนบนและความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของการสำลักจะมีความสัมพันธ์กับการก่อให้เกิดการสียชีวิตจาก SUDEP

ภาวะหัวใจวายอาจมีบทบาทก่อให้เกิด SUDEP

ภาวะหัวใจและหลอดเลือดผิดปกติ
ภาวะหัวใจวายอาจมีบทบาทก่อให้เกิด SUDEP มีรายงานการพบภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ที่รุนแรงในผู้ป่วยโรคลมชักที่อาจจะเกิดในขณะที่มีอาการชักหรือไม่มีอาการชัก

มีรายงานการตรวจพบทั้งภาวะหัวใจเต้นเร็วผิดปกติที่พบบ่อยกว่าหรือเต้นช้าผิดปกติในผู้ป่วยโรคลมชัก อีกกลไกที่ อาจจะเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตจากภาวะ SUDEP เกี่ยวข้องกับการนำไฟฟ้าผิดปกติที่หัวใจ เรียกว่าภาวะ QT prolong ที่อาจจะเป็นผลจากการชักหรือภาวะชักมีผลต่อระบบควบคุมระบบประสาทอัตโนมัติทำให้ผู้ป่วยมีหัวใจเต้นผิดจังหวะและหยุดทำให้เกิดการเสียชีวิตอย่างเฉียบพลัน

มีการศึกษายืนยันแล้วพบว่าโรคลมชักที่มีสารพันธุกรรมผิดปกติตั้งแต่วัยเด็กมีผลทำให้เกิดภาวะ QT prolong และอาจจะมีบทบาททำให้เกิดภาวะ SUDEP ความผิดปกติของสารพันธุกรรมที่ก่อให้เกิดโรคลมชักเหล่านี้ เช่น KCNQ1, SCN1A, LQTS, KCNH2 และ SCN5A มีการตรวจพบได้ในผู้ป่วยที่เสียชีวิตจากภาวะ SUDEP ซึ่งเป็นยีนที่พบบ่อยในผู้ป่วยที่มีภาวะ QT prolong

ปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับยา

มีการตรวจพบว่า ผู้ป่วยโรคลมชักที่เสียชีวิตจากภาวะ SUDEP มีระดับของยากันชักมีระดับต่ำกว่าระดับมาตรฐานในการรักษาอาการชัก น่าจะเป็นสาเหตุมาจากการที่ผู้ป่วยขาดยากันชักหรือทานยากันชักไม่ครบ หรือไม่เพียงพอในการรักษาอาการชัก  

การถอนยากันชักในขณะที่ผู้ป่วยมีอาการชักอยู่ มีความเสี่ยงที่จะเกิดอาการชักซ้ำและอาจจะก่อให้เกิดภาวะเสียชีวิตจากภาวะ ​​SUDEP ได้ นอกจากนี้มักจะพบได้ในผู้ป่วยที่ใช้ยากันชักหลายตัว ซึ่งอาจจะเป็นบ่งชี้ว่าผู้ป่วยที่มีอาการชักมากอยู่หรือดื้อต่อยากันชัก ซึ่งจะมีความเสี่ยงในการเกิดภาวะการเสียชีวิตจากภาวะ SUDEP สูงกว่าผู้ป่วยที่ ใช้ยากันชักน้อยตัวกว่า

วิธีการปฏิบัติเพื่อป้องกันและลดความเสี่ยงของการเสียชีวิตจากภาวะ SUDEP?

  1. การทานยากันชักอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง ไม่ลืมทานยาหรือขาดยากันชัก
  2. การรักษาป้องกันไม่ให้เกิดอาการชักแบบเกร็งกระตุกทั้งตัว
  3. ในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงอาการชักในขณะหลับไม่ควรอาศัยอยู่แต่เพียงลำพังคนเดียว
  4. ควรได้รับการติดตามดูแลจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสม่ำเสมอ

นอกจากนี้มีรายงานการเสียชีวิตจากภาวะ SUDEP ในดาราฮอลลีวู้ด
และนักกีฬาโอลิมปิก เช่น

คาเมรอนบอยซ์ (Cameron Boyce)

คาเมรอนบอยซ์ (Cameron Boyce) ดาราจากวอลล์ดิสนีย์
คาเมรอนบอยซ์ (Cameron Boyce)

คาเมรอนบอยซ์ (Cameron Boyce) ดาราจากวอลล์ดิสนีย์เสียชีวิตเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2562 ขณะอายุ 20 ปี เขาเริ่มอาชีพนักแสดงเมื่ออายุ 9 ขวบและเคยแสดงในภาพยนตร์สารคดีเรื่อง “Eagle Eye”, “Grown Ups” และ “Grown Ups 2” เช่นเดียวกับซีรี่ส์ Disney Channel “Jesse” และ “The Descendants”

บอยซ์ถูกพบว่า นอนหมดสติและเสียชีวิตในบ้านของเขา ซึ่งสาเหตุของการเสียชีวิตเนื่องจากเขามีอาการชักในขณะนอนหลับจากการชันสูตรศพยืนยันว่าสาเหตุของการตายคือ “การเสียชีวิตอย่างกะทันหันโดยไม่คาดคิดในโรคลมชัก” หรือ SUDEP

Griffith Joyner 

Griffith Joyner: นักกีฬาสามเหรียญทองกีฬาโอลิมปิก
Griffith Joyner: นักกีฬาสามเหรียญทองกีฬาโอลิมปิก

นักกีฬาสามเหรียญทองกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนเสียชีวิตจากภาวะ SUDEPหลังจาก มีอาการชักในขณะนอนหลับ

Griffith Joyner ซึ่งเป็นนักกีฬาสามเหรียญทองในกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนปี 1988 ที่กรุงโซลประเทศเกาหลีใต้ เสียชีวิตเมื่อวันที่ 21 กันยายน 1988 ที่บ้านของเธอใน Mission Viejo เธอมีโรคลมชักจากสาเหตุเส้นเลือดในสมองผิดปกติแต่กำเนิดที่เรียกว่า cavernous angioma มีรายงานว่าเธอเสียชีวิตในท่านอนหน้าคว่ำ ที่บ้านโดยไม่มีสาเหตุผิดปกติอย่างอื่นที่เป็นสาเหตุทำให้เสียชีวิต ผลจากการตรวจพิสูจน์ศพไม่พบว่ามีความผิดปกติใดฯ ที่เป็นสาเหตุให้เสียชีวิต มีข้อบ่งชี้ว่าเธออาจจะไม่ได้ทานยากันชักอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ

Jett Travolta 

Jett Travolta เป็บลูกชายของจอห์น ทราโวลต้า
Jett Travolta

Jett Travolta เป็บลูกชายของจอห์น ทราโวลต้า ดาราฮอลลีวูดชื่อดังซึ่งป่วยเป็นโรคลมชักมาก่อน เสียชีวิตจากภาวะ SUDEP หลังจากมีอาการชักมาเป็นเวลาหลายปีหลังจากมีอาการป่วยเป็นโรคคาวาซากิในช่วงวัยเด็ก ก่อให้เกิดโรคลมชักตามมา

Jett Travolta เสียชีวิตเมื่อขณะอายุ 16 ปีในเดือนมกราคม 2552 ที่เกิดขึ้นในช่วงวันหยุดท่องเที่ยวของครอบครัวที่หมู่เกาะบาฮามาส ปรากฏว่ามีคนไปพบว่า Jett Travolta นอนหมดสติอยู่ในห้องน้ำในช่วงเช้าที่รีสอร์ทที่ครอบครัวพักอยู่และได้มีการผ่าศพพิสูจน์หาสาเหตุของการเสียชีวิต แพทย์ได้ลงความเห็นว่าสาเหตุของการเสียชีวิตของ Jett Travolta มาจากภาวะ SUDEP

Jett Travolta ได้รับการรักษาโรคลมชักมาเป็นเวลาหลายปีโดยการทานยากันชักแต่ก็ไม่สามารถคุมอาการชักได้ทั้งหมด เขายังมีการชักอย่างรุนแรงทุกอาทิตย์ ดั่งนั้นคุณพ่อคุณแม่ของ Jett Travolta จึงได้ตัดสินใจหยุดการใช้ยากันชักเนื่องจากกังวลเรื่องผลข้างเคียงจากยากันชัก และไปใช้การรักษาทางเลือกโดยวิธีธรรมชาติและไม่ได้ทานยากันชักเลย

สาเหตุของการเกิด SUDEP น่าจะเนื่องจากการขาดยากันชัก

นอนไม่หลับมีผลเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคสมองเสื่อมอัลไซเมอร์

จากการศึกษาโดยนักวิจัยในประเทศสวีเดนพบว่าภาวะนอนไม่หลับอย่างเฉียบพลันจะผลเพิ่มสาร (biomarker) ที่ก่อให้เกิดโรคสมองเสื่อมอัลไซเมอร์ ภาวะนอนไม่หลับส่งผลให้ มีการสะสมของสาร Tau protein มากขึ้นซึ่งเป็นสารที่ตรวจพบในสมองของผู้ป่วยที่เป็นโรคสมองเสื่อมอัลไซเมอร์ จากการศึกษานี้ทำให้เชื่อว่าภาวะนอนไม่หลับถือว่าเป็นปัจจัยเสี่ยงอันหนึ่งที่ใช้ในการประเมินผู้ป่วยว่ามีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคโรคสมองเสื่อมอัลไซเมอร์หรือไม่ เป็นเพราะว่าภาวะนอนไม่หลับมีผลทำให้เซลล์ประสาทต้องทำงานมากขึ้นเนี่องจากมีช่วงตื่นที่เพิ่มขึ้น

จากงานวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าการนอนหลับไม่เพียงพอจะมีผลเสี่ยงต่อการเกิดภาวะสมองเสื่อม ในการศึกษาก่อนหน้านี้พบว่าการนอนไม่หลับมีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงที่ค่อยฯ เพิ่มขึ้นของการพัฒนาการเกิดภาวะสมองเสื่อมในคนที่มีสุขภาพดีและสติปัญญาดีจากการสังเกตุอาการ ต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน 40 ปี จากการศึกษาพบว่า ภาวะนอนไม่หลับมีผลทำให้เกิดการเพิ่มของสาร Tau protein ในสมอง โดยการตรวจหาสารตัวนี้จากน้ำไขสันหลัง (CSF) นอกจากนี้ภาวะนอนไม่หลับก็มีผลทำให้มีการเพิ่มของสาร Beta-amyloid ซึ่งเป็นอีกสารอีกตัวหนึ่งที่ตรวจพบในผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมอัลไซเมอร์ เช่นกัน

PET scan แสดงให้เห็นการสะสมของสาร Tau protein (ภาพซ้ายสุดม Tau: สีแดง) และการสะสมของสาร Beta-amyloid (ภาพขวาสุด Beta-amyloid: สีแดง) ในผ.ป.โรคสมองเสื่อมอัลไซเมอร์

ในการศึกษานี้มีจุดประสงค์เพื่อดูว่า ภาวะนอนไม่หลับมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของระดับของ biomarkers ที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคโรคสมองเสื่อมอัลไซเมอร์หรือไม่ โดยศึกษาดูการเปลี่ยนแปลงของระดับ biomarker นี้ในแต่ละวัน โดยมีศึกษาเปรียบเทียบผู้ เข้าร่วมวิจัยที่มีสุขภาพแข็งแรงจำนวน 15 คน โดยทุกคนจะต้องมีเงื่อนไขที่จะต้องปฏิบัติแตกต่างกันสองประการ – ประการแรกจะต้องมีหนึ่งคืนที่มีการนอนหลับปกติและประการที่สองจะต้องมีอีกหนึ่งคืนที่มีการอดนอนข้ามคืนผู้เข้าร่วมวิจัยทุกคนจะได้รับการตรวจหาสาร Tau protein ซึ่งเป็นสารที่ก่อให้เกิดโรคสมองเสื่อมอัลไซเมอร์ และมีการตรวจหาสารอีกชนิดหนึ่งคือ neurofilament (NfL) สารชนิดนี้เป็นสารที่ตรวจพบเวลามีการทำลายของเซลล์ประสาท จากการตรวจทางเหลืองโดยใช้ชุดตรวจ ultrasensitive ในตัวอย่างพลาสมาที่ได้รับในตอนเย็นและในตอนเช้า

จากผลการศีกษาพบว่าระดับของสาร Tau protein ในพลาสม่าเพิ่มขึ้นทุกเย็นทุกเช้า เมื่อมีภาวะนอนไม่หลับ แต่ระดับของ Tau protein มีการลดลงในสภาวะที่มีการนอนหลับปกติทั้งในช่วงเย็นและช่วงเช้า และในขณะเดียวกันไม่พบความแตกต่างของสาร NfL ที่เป็นตัวบ่งบอกถึงความเสียหายทางระบบประสาททั้งช่วงเช้าและช่วงเย็น ในกรณีที่มีการนอนหลับปกติหรืออดนอน การคที่พบว่าระดับของ NfL ไม่ได้เปลี่ยนไปเนื่องจากการอดนอนหลับอย่างเฉียบพลันเป็นตัวบ่งชี้ว่าการอดนอนไม่ได้เป็นสาเหตุที่ทำให้เซลล์ประสาทได้รับอันตราย (neuroaxonal injury)อย่างเฉียบพลันโดยตรง แต่การอดนอนจะก่อให้เกิดการกระตุ้นทำให้มีการทำงานของเซลล์ประสาทที่มากเกินไปจนก่อให้เกิดมีการสะสมของสาร Tau protein ที่จะก่อให้เกิดโรคสมองเสื่อมอัลไซเมอร์ตามมา

มีคำแนะนำให้มีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อดูว่าวงจรการนอนหลับและการตื่น (circadian rhythm) ในมนุษย์ ถ้าเราไปปรับเปลี่ยนหรือมีความแปรปรวนของวงจรการนอนหลับและการตื่น เกิดขึ้นจะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของสาร Tau protein หรือไม่

ในการศึกษาในอดีตที่ผ่านมาพบว่าภาวะนอนไม่หลับมีผลทำให้มีการสะสมของสาร Tau protein โดยเชื่อว่าภาวะที่นอนไม่หลับอาจจะส่งผลกระทบต่อสาร Tau protein และขบวนการฟอสโฟรีเลชั่นของสารตัวนี้ แต่ก็ยังไม่ชัดเจนว่ากระบวนการเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้รวดเร็วแค่ไหน แต่จากการศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่าการสูญเสียการนอนหลับแค่คืนเดียวก็มีผลทำให้มีสาร Tau protein สูงขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญแต่ก็ไม่ได้มีผลทำให้มีทำลายเซลล์ประสาทโดยทันทีทันใดแต่เชื่อว่าการที่มีผลทำให้มี การกระตุ้นทำให้เซลล์สมองทำงานมากเกินไปจนก่อให้เกิดมีการสะสมของสาร Tau protein สูงขึ้นและการสะสมของสาร Tau protein ในเซลล์ประสาทสมองน่าจะเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดโรคสมองเสื่อมเสื่อมอัลไซเมอร์ตามมา

Reference

SLEEP 2019: 33rd Annual Meeting of the Associated Professional Sleep Societies: Abstract Presented June 10, 2019.

Sleep News letters: How to use fixed CPAP

 Sleep newsletters
Sleep watching ASEAN SLEEP TECHNOLOGY NEWSLETTER NEWS / OPINIONS / INSIGHTS (Download Sleep Newsletter)

DR. YOTIN CHINVARUN MD, PhD
Vice-president of Epilepsy Society of Thailand, Director of Comprehensive Epilepsy and Sleep Disorder Program, Phramongkutklao Hospital, Director of Sleep club, The Neurological society of Thailand

Interview with Dr. Yotin Chinvarun on prescribing fixed CPAP

What are the different ways of finding the right pressure to set on fixed CPAP for OSA patient?
CPAP Titration can be done at home using Auto CPAP (APAP) which is called APAP titration or at the Sleep Laboratory which is called manual titration.

Do you use auto CPAP for finding the right pressure of fixed CPAP? If yes, what is the trial period for auto CPAP before pressure is set on fixed CPAP?
Yes, we use auto CPAP for finding the right pressure of fixed CPAP, called APAP titration and usually we give a trial period of One week for APAP titration.

How do you determine the pressure to be set on fixed CPAP based on auto CPAP report?
In my practice I determine fixed CPAP pressure based on auto titration by identifying the minimal effective pressure level (reference pressure). This is referred to as P90(Philips Respironics)/P95(Resmed). I look at P90/P95 after one week trial of Auto CPAP and set P90/P95 as therapy pressure on fixed CPAP. Different devices may utilize di erent algorithms for monitoring respiratory events.

Does pressure requirements changes on fixed CPAP for OSA patient over period of time? What is the finding of the recent study in this regard?
Yes, pressure changes are necessary in the majority of patients several weeks after CPAP therapy initiation. Therefore, re-evaluation of therapy pressure is useful.

A prospectively study by Netzer NC etal., 2011, in 905 consecutive patients (740 men and 165 women) with SDB and therapeutic intervention with continuous positive airway pressure (CPAP)/bilevel PAP showed pressure change needed in 511 patients (58.2%). Pressure increase was more frequent than pressure reduction (41.7% vs. 11.7%).1

If patient is unable to tolerate starting fixed CPAP pressure, do you use RAMP function to help him adapt to starting pressure on fixed CPAP?
Yes. The RAMP function on CPAP allows a slow increase in airway pressure from a low setting to the prescribed pressure so that the patient can fall asleep at lower pressures.

What is the setting of RAMP pressure and RAMP time? Can respiratory events happen during RAMP time?

In our experience a short RAMP time may be better than a long one. Usually we can set RAMP pressure of 4cmH2O and RAMP time will depend upon sleep latency of the patient eg: if he/she takes 15 min to fall asleep, set RAMP time of 15min. In my experience, if patient falls asleep during RAMP time itself, then there is a possibility of respiratory events happening during RAMP time period.

If patient is unable to tolerate starting xed CPAP pressure, do you lower the xed CPAP pressure initially and then gradually increase it towards the therapy pressure to help patient adapt to xed CPAP pressure?

Yes, if patient is unable to tolerate starting xed CPAP pressure, we lower the xed CPAP pressure initially and then gradually increase it towards the therapy pressure to help patient adapt to xed CPAP pressure.

If answer to question-7 is yes, how long do you take to go back to therapy pressure?

I take 2-4 weeks to go back to therapy pressure after lowering the pressure. Eg: let us assume a patient is prescribed a xed CPAP at 10cmH2O and he/she cannot tolerate 10cmH2O. I will lower the pressure to 6cmH20 and call him after 1 week. If he can tolerate 6cmH2O, I will increase pressure by 1cmH2O and wait for one more week. The new pressure now is 7cmH2O. If he can tolerate 7cmH2O, I will increase pressure by 1cmH2O (New pressure is 8cmH2O) and wait for one week. If he/she can tolerate 8cmH2O, I will increase pressure by 1cmH2O (new pressure become 9cmH2O) and wait for one week. If patient can tolerate 9cmH2O, I will increase pressure by 1cmH2O (new pressure becomes 10cmH2O) and wait for one week for follow up.

References: 1. Netzer NC et al. Sleep Breath (2011) 15:107–112.

Summary of Clinical Studies on OSA from Thailand January-June 2016 (Download)

Sleep newsletters

The prevalence of sleep disorders in Thai

The prevalence of sleep disorders in Thai children who underwent polysomnography at a tertiary-care hospital is very high. In restrospective, analysis of 166 pediatric sleep studies done in a tertiary care hospital in Thailand, OSA was the most common diagnosis with prevalence of 92.2%. the second most common diagnosis was Periodic Limb Movement Disorder with a prevalence of 20.6%.

Even in tropical climate area, CPAP adherence and quality of life appeared to improve when heated humidi cation was employed in subjects with moderate to severe OSA with nasopharyngeal symptoms post-split-night polysomnography. In a prospective randomized cross over study, 20 moderate to severe OSA patients were randomized to receive CPAP with and without humi dication and observed for 4 weeks and then crossed over. Informtion on CPAP adherence, quality of life assessed by the Functional Outcomes of Sleep Questionnaire, nasopharyngeal symptoms assessed by a modi ed XERO questionnaire, and bedroom ambient humidity and temperature data were obtained.

In 42 OSA induced hypertension patients, the appropriate cuto points of BMI and neck circumference for Thai STOP-BANG questionnaire were 25kg/m(2) and 36cm.

In a prospective cohort study in Thai pregnant women, pregnant women with a high risk of OSA as assessed by Berlin Questionnaire were at an increased risk of having Pre-Term Delivery, compare with pregnant women with a low risk of OSA.4

References:

1. Veeravigrom M etal. Indian J Pediatr. 2016 May 26.

2. Soudorn C etal. Respir Care. 2016 May 24.

3. Pavarangkul T etal. Neurol Int. 2016 Apr 1;8(1):6104.

4. Na-Rungsri K etal. Sleep Breath. 2016 Apr 8.

CPAP machines: Tips for avoiding 10 common problems

CPAP machines: Tips for avoiding 10 common problems (video)

 CPAP

Continuous positive airway pressure (CPAP) therapy is a common treatment for obstructive sleep apnea. It includes a small machine that supplies a constant and steady air pressure, a hose, and a mask or nose piece. Common problems with CPAP include a leaky mask, trouble falling asleep, and a dry mouth or nose.

The good news is that if one CPAP mask or device doesn’t work for you, you have other options. And most CPAP masks are adjustable, to help make them more comfortable for you. Here are 10 common CPAP problems and what you can do about them.

1. The wrong size or style CPAP mask

Work closely with your doctor and CPAP supplier to make sure you have a CPAP mask that suits your needs and fits you. Everyone has different needs and face shapes, so the right style and size mask for someone else may not work for you.

Many mask styles are available. A range of CPAP masks are available. For example, some feature full face masks that cover your mouth and nose, with straps that stretch across your forehead and cheeks. These may make some people feel claustrophobic, but they work well at providing a stable fit if you move around a lot in your sleep. Other masks feature nasal pillows that fit under your nose and straps that cover less of your face. These can feel less cumbersome. And they may work well if you wear glasses or read with the mask on, because some nasal pillow systems obstruct vision less than do full face masks. However, they may not work if you move

around a lot in your sleep or sleep on your side.

Pay attention to size. Most masks come in different sizes. Just because you’re a certain size in one mask doesn’t mean you’ll be the same size in another. CPAP masks are usually adjustable. Ask your doctor or CPAP supplier to show you how to adjust your mask to get the best fit. Manufacturer product instructions also can help show you how to do this.

2. Trouble getting used to wearing the CPAP device

It may help to start by practicing wearing just the CPAP mask for short periods of time while you’re awake, for example while watching TV. Then try wearing the mask and hose with the air pressure on, still during the daytime, while you’re awake. Once you become accustomed to how that feels, shift to using the CPAP device every time you sleep — at night and during naps. Inconsistently wearing the CPAP device may delay getting used to it. Stick with it for several weeks or more to see if the mask and pressure settings you have will work for you.

3. Difficulty tolerating forced air

You may be able to overcome this by using a “ramp” feature on the machine. This feature allows you to start with low air pressure, followed by an automatic, gradual increase in the pressure to your prescribed setting as you fall asleep. The rate of this ramp feature can be adjusted by your doctor.

If this doesn’t help, talk with your doctor about changing to a different type of device that automatically adjusts the pressure while you’re sleeping. For example, units that supply bi-level positive airway pressure (BiPAP) or devices that have variable pressure contours are available. These provide more pressure when you inhale and less when you exhale.

4. Dry, stuffy nose

A CPAP device that features a heated humidifier, which attaches to the air pressure machine, can help. The level of humidification is adjustable. Using a nasal saline spray at bedtime also can help. Your doctor may prescribe a nasal steroid spray if your dryness doesn’t respond to heated humidity. It’s also important that your mask fit well. A leaky mask can dry out your nose.

5. Feeling claustrophobic

While you’re awake, practice by first just holding the mask up to your face without any of the other parts. Once you’re comfortable with that, try wearing the mask with the straps. Next, try holding on the mask and hose, without the straps, with the hose attached to the CPAP machine at a low pressure setting (turn the ramp feature on). And, finally, wear the mask with the straps and with the air pressure machine turned on while awake. After you’re comfortable with that, try sleeping with it on.

Relaxation exercises, such as progressive muscle relaxation, also may help reduce your anxiety. If you’re still feeling claustrophobic, talk to your doctor or CPAP supplier. It may help to get a different size mask or try a different style, such as one that uses nasal pillows.

6. Leaky mask, skin irritation or pressure sores

A leaky or ill-fitting mask means you’re not getting the full air pressure you need, and you may be irritating your skin. It can also release air into your eyes, causing them to become dry or teary. Try adjusting pads and straps to get a better fit. If the device fits over your nose, make sure it doesn’t sit too high on the bridge of your nose, which can direct air into your eyes.

You may need to ask your supplier to help you find a different size mask, particularly if your weight changes markedly, or try a different style device, such as a nasal pillow or a mask with an inflatable cushion that contours to your face. If you develop skin deterioration or sores, such as on your nose, tell your doctor promptly.

7. Difficulty falling asleep

This is a normal, temporary problem. Wearing the mask alone for some time during the day may help you get accustomed to how it feels. Using the ramp feature, which provides an automatic, gradual increase in the air pressure to your prescribed pressure setting as you fall asleep, also may help. And practice good general sleep habits — exercise regularly, avoid caffeine and alcohol before bedtime, and try to relax. For example, take a warm bath before you go to bed. Avoid going to bed until you’re tired.

8. Dry mouth

If you breathe through your mouth at night or sleep with your mouth open, some CPAP devices may worsen dry mouth. A chin strap may help keep your mouth closed and reduce the air leak if you wear a nasal mask. A full-face-mask-style device that covers your mouth and nose also may work well for you. A CPAP-heated humidifier that attaches to the air pressure machine also may help.

9. Unintentionally removing the CPAP device during the night

It’s normal to sometimes wake up to find you’ve removed the mask in your sleep. If you move a lot in your sleep, you may find that a full face mask will stay on your face better. You may be pulling off the mask because your nose is congested. If so, ensuring a good mask fit and adding a CPAP-heated humidifier may help. A chin strap also may help keep the device on your face. If this is a consistent problem, consider setting an alarm for sometime in the night, to check whether the device is still on. You could progressively set the alarm for later in the night if you find you’re keeping the device on longer.

10. Annoyed by the noise

Most new models of CPAP devices are almost silent, but if you find a device’s noise is bothersome, first check to make sure the device air filter is clean and unblocked. Something in its way may be contributing to noise. If this doesn’t help, have your doctor or CPAP supplier check the device to ensure it’s working properly. If the device is working correctly and the noise still bothers you, try wearing earplugs or using a white-noise sound machine to mask the noise.

Time and patience key to success

Using a CPAP device can be frustrating as you try to get used to it, but it’s important you stick with it. The treatment is essential to avoiding obstructive sleep apnea-related complications, such as heart problems and daytime fatigue. Work with your doctor and CPAP supplier to ensure the best fit and device for you, and try making adjustments if you’re experiencing some of the common CPAP problems. It may take several months to find the correct settings for you and to adapt to the mask. With time and patience, CPAP can positively affect your quality of life and health.

 

 

 

Sleep-Disordered Breathing and Acute Ischemic Stroke

Sleep-Disordered Breathing and Acute Ischemic Stroke

By Dr. Yotin  Chinvarun  M.D. Ph.D.

stroke1-570x250

 

 

 

Abstract

A strong link between sleep disordered breathing (SDB) and stroke, large-scale studies established moderate-to-severe untreated OSA as independent modifiable risk factor for stroke and other cardiovascular events (CVE). Untreated severe SDB (apnea-hypopnea index [AHI]>30) increased significantly risk of fatal and nonfatal cardiovascular events.  Several studies have been performed to demonstrate that SDB is the cause and is not the consequence of stroke.  Type of respiratory event was generally obstructive, with dominant central apneas in only 6% of patients. High prevalence of obstructive apneas demonstrating SDB is more probably the cause rather than the consequence of stroke. Several changes occurring with respiratory events including hypoxemia, reduction of cerebral blood flow, decreased cardiac output, cardiac arrhythmias, blood pressure swings, increased sympathetic activity, baroreceptor dysfunction, endothelial dysfunction, inflammatory changes, decreased fibronolytic activity, and increased platelet aggregability. These might be responsible for onset or rapid progression of stroke during sleep in patients with SDB.

Sleep stroke

Diagnosis of SDB in Acute Stroke could be made with automatic CPAP. Standard polysomnography is cumbersome, expensive, and often not available in stroke units. Application of nasal continuous positive airway pressure could reduce risk of hypertension and stroke in patients with SDB and improve early rehabilitation potential after stroke. SDB is associated with an increased long-term mortality in which the AHI significantly lower in survivors. Stroke and Cheyne-Stokes respiration is commonly found in a half of the patients suffering from heart failure, however, stroke can also predispose to the development of Cheyne-Stokes respiration (CSR), which found about 20.6% of patients suffering from acute lacunar strokes.

 

Treatment of SDB in Stroke Patients should include prevention and early treatment of secondary complications (e.g., aspiration, respiratory infections, pain). There should be cautious use/avoidance of alcohol and sedative hypnotic drugs that may negatively interfere with breathing control during sleep. Body position may influence SDB as obstructive events may be aggravated by supine position. On the other hand, lying on the hemiparetic side can aggravate hypoxemia. CPAP may be highly beneficial in stroke patients with SDB, and treatment success in up to 70% well selected patients. Also, compliance to CPAP may be reduced by such problems as dementia, aphasia, anosognosia and facial and pseudobulbar/bulbar palsy. While treatment of CSR, therapy of underlying disease is the first priority. Bilevel positive pressure therapy was applied to patients with CSR not responsive to CPAP. Treatment of Cheyne-Stokes respiration by using adaptive servo ventilation was found very useful and might become the new standard of treatment for CSR.

 

Parasomnia: ภาวะการนอนผิดปกติที่มีการเคลื่อนไหวของร่างกายหรือมีการส่งเสียงผิดปกติที่เกิดในช่วงการนอนหลับ


Parasomnia

Sleep 1
ภาวะการนอนผิดปกติที่มีการเคลื่อนไหวของร่างกายหรือมีการส่งเสียงผิดปกติที่เกิดในช่วงการนอนหลับหรือในช่วงการเปลี่ยนแปลงของการตื่นและการนอนหลับ มักจะเกิดซ้ำฯชึ่งอาจเป็นเหตุทำให้เกิดการบาดเจ็บของร่างกายต่อผู้ป่วยหรือผู้อื่นได้ และมีผลทำให้การนอนหลับไม่ต่อเนื่องทำให้การนอนหลับไม่มีประสิทธิภาพและเกิดภาวะง่วงหลับ (hypersomnolence) ตามมา นอกจากนี้ภาวะ Parasomnia มักจะมีความสัมพันธ์กับโรคทางสมอง โรคทางกาย หรือภาวะความผิดปกติทางจิตเวช เป็นต้น

การจัดแบ่งภาวะ Parasomnia

  1. ภาวะสับสนระหว่างการตื่นนอน (Confusional arousal)

  2. การลุกเดินในขณะนอนหลับ (Sleep walking)

  3. ภาวะฝันร้าย (Sleep terror)

  4. ภาวะก้าวร้าวในขณะนอนหลับระยะ REM sleep (REM sleep behavior disorder)

  5. ภาวะการพูดในขณะนอนหลับ (Sleep talking, Somniliquy)

  6. ภาวะสะดุ้งในขณะหลัย (Hypnic jerks)

  7. ภาวะการนอนกัดฟัน (Bruxism)

ภาวะสับสนระหว่างการตื่นนอน (Confusional arousal)

เป็นภาวะสับสนที่เกิดระหว่างการตื่นนอน โดยที่ผ.ป.อยู่ในภาวะครึ่งหลับครึ่งตื่นทำให้มีอาการสับสนหรือการรับรู้ที่ช้ากว่าปกต อาจจะมีอาการสับสนเกี่ยวกับวันเวลาและสถานที่ การเรียบเรียงเรื่องราวผิดไป

 สาเหตและอุบัติการ

มักจะพบบ่อยในผ.ป.เด็กที่มีอายุ < 5 ขวบ และในกลุ่มคนที่ต้องอดนอน อาจจะมีผลกระทบต่อเรื่องความจำได้ สาเหตุมักจะเป็นผลมาจากการอดนอน ไข้ ยาที่มีผลต่อการกดสมอง เช่น ยานอนหลับ ยาคคายเครียด เป็นต้น

การวินิจฉัยแยกโรค

การลุกเดินในขณะนอนหลับ (Sleep walking)

ภาวะฝันร้าย (Sleep terror)

ภาวะก้าวร้าวในขณะนอนหลับระยะ REM sleep (REM sleep behavior disorder)

ภาวะชักในขณะนอนหลับ

 การรักษา

ไม่มีการรักษาโดยการใช้ยา แต่จะต้องหลีกเลี่ยงจากภาวะกระต้นทสาเหต confusional arousalี่ เช่น ภาวะเครียด การอดนอน เป็นต้น

การลุกเดินในขณะนอนหลับ (Sleep walking)

เป็นภาวะที่มีการตื่นจากการหลับลึก (deep sleep) โดยที่ไม่รู้ตัวและมีการลุกเดินหรือมีการทำภาระกิจโดยไม่รู้สึกตัว มักจะมีอาการเป็นซ้ำฯต่อเนื่อง อาจจะทำให้เกิดอันตรายและบาดเจ็บต่อผ.ป.ได้ มักจะเกิดนานประมาณ 1-5 นาทีแต่อาจนานเป็นชั่วใมงได้ มักจะเกิดร่วมกับภาวะฝันร้าย (Sleep terror) เวลาตื่นผ.ป.อาจจะมีอาการสับสนได้

สาเหตและอุบัติการ

มักจะเกิดในเด็กอายุ 4-6 ขวบมากกว่าในผู้ใหญ่ ปัจจัยกระตุ้น เช่น การอดนอน ภาวะเครียด ภาวะปวด การกลั้นปัสสาวะ การดื่มเครื่องดื่มแอลล์กอฮอลล์ เป็นต้น

การวินิจฉัยแยกโรค

ภาวะก้าวร้าวในขณะนอนหลับระยะ REM sleep (REM sleep behavior disorder)

ภาวะสับสนระหว่างการตื่นนอน (Confusional arousal)

ภาวะชักในขณะนอนหลับ

การรักษา

หลีกเลี่ยงจากภาวะกระต้น

การป้องกันไม่ให้เกิดอันตราย

การใช้ยา Benzodiazepine

ภาวะฝันร้าย (Sleep terror)

ภาวะฝันร้ายเป็นภาวะที่ผ.ป.ที่มีการตื่นกระทันหันจากการหลับลึก (deep sleep) ผ.ป.มักจะมีการกรีดร้อง ดูตื่นตระหนก สับสน มักจะมีอาการทางระบบประสาทอัตโนมัติร่วมด้วย เช่น ใจสั่น หายใจเร็ว เป็นต้น อาจจะมีการเคลื่อนไหวชองแขนขาที่ผิดปกติ หรือมีพฤกติกรรมที่หลบหนีและอาจจะก่อให้เกิดอันตรายได้

สาเหตและอุบัติการ

มักพบบ่อย 3% ในเด็กและ 1 % ในผู้ใหญ่และพบได้ในผู้สูงอายุ พบในผู้ชายมากกว่าในผู้หญิ้ง

การวินิจฉัยแยกโรค

ภาวะนอนฝันร้าย (Nightmares, REM sleep)

ภาวะชักในขณะนอนหลับ

 การรักษา

ถ้าเป็นไม่บ่อยอาจไม่จำเป็นให้การรักษาด้วยยา ยาที่ใชัในการรักษา เช่น Diazepam, Clonazepam, TCA เป็นต้น การรักษาจืตบำบัด ลดความเครียด ยานอนหลัย

ภาวะก้าวร้าวในขณะนอนหลับระยะ REM sleep (REM sleep behavior disorder; RBD)

เป็นภาวะ parasomnia ที่มีความสัมพันธ์กับโรคที่มีความเสื่อมของระบบประสาทสมอง (Neurodegenerative disease) ผ.ป.จะมีอาการความผิดปกติทางพฤกติกรรมซึ่งมักจะเป็นพฤกติกรรมก้าวร้าวในขณะนอนหลับอยู่ในช่วง REM sleep

RBD อาจจะเป็นอาการนำหลายปืก่อนที่ผ.ป.จะเริ่มมีอาการโรคปาร์กินสันหรือโรคสมองเสื่อม (Dementia) พบได้ประมาณ 15-20%  ผ.ป.มักจะมีอาการเคลื่อนไหวแขนขาอย่างรุนแรง เช่น ชกต่อย แตะขา มักจะทำให้เกิดการบาดเจ็บต่อคนที่นอนข้างด้วยหรือตนเอง อาการมักจะเกิดหลังจากหลับไปได้ประมาณ 90 นาที และมักจะเกิดในช่วงหลังของการนอนหลับ

อาการพฤกติกรรมที่อาจจะพบร่วมได้ เช่น ส่งเสียงร้อง ร้องเพลง ตะโกน กรีดร้อง ลุกเดิน วิ่ง แตะต่อย กระโดด ทำร้ายร่างกายผู้อื่น เป็นต้น

สาเหตและอุบัติการ

พบได้บ่อยในผู้ชายมากว่าในผู้หญิง (M:F; 87%: 13%) อายุที่พบบ่อยเฉลี่ย 61 ปี มักจะก่อให้เกิดอันตรายต่อผ.ป. (32%) และคนที่นอนข้างด้วย (16%)

การวินิจฉัย

การซักประวัติ และการตรวจเรื่องการนอนหลับผิดปกติ (Polysomnography) จะช่วยยืนยันในการวินิจฉัย

การวินิจฉัยแยกโรค

การลุกเดินในขณะนอนหลับ (Sleep walking)

ภาวะฝันร้าย (Sleep terror)

ภาวะชักในขณะนอนหลับ

ภาวะการพูดในขณะนอนหลับ (Sleep talking, Somniliquy)

การเคลื่อนไหวของขาผิดปกติ ขณะนอนหลับ (Periodic leg movements)

การรักษา

การตรวจทางระบบสมองอย่างละเอียด

การปรับเปลี่ยนสภาพรอบข้างที่นอนหลับเพื่อป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดได้

หลีกเลี่ยง กาแฟ และการใช้ยากลุ่ม SSRI, selegiline, clomipramine, venlafaxine, mirtazepam, TCA, MAOIs, anticholinergic  เป็นต้น

ให้ยา Clonazepam จใ/ถ ข ๅ ทเ

Melatoni

Levodopa, dopamine agonist

Anticonvulsants

ภาวะการพูดในขณะนอนหลับ (Sleep talking, Somniliquy)

เป็นภาวะการพูดในขณะหลับ มักจะไม่มีอาการอย่างอื่นร่วมด้วย ผ.ป. จะไม่สามารถจำในสิ่งที่พูดได้ และไม่สัมพันธ์กับระดับของการนอนหลับ

การรักษา

ให้คำแนะนำ

ภาวะสะดุ้งในขณะหลัย (Hypnic jerks)

ภาวะสะดุ้งของร่างกายมักจะเแป็นครั้งฯไปและมักจะเแป็นช่วงการนอนหลับตอนต้นโดยที่มักจะเแป็นส่วนขามากกว่าแขนและมากกว่าศีรษะ ผ.ป.อาจจะมีความรู้สึกคล้ายตกจากที่สูง เห็นแสงสว่างจ้าได้

สาเหตุ

การดื่มกาแฟ สูบบุหร่่ ภาวะเครียด การออกกำลังกายมากเกินไป

 การวินิจฉัยแยกโรค

ภาวะชักในขณะนอนหลับ

การเคลื่อนไหวของขาผิดปกติ ขณะนอนหลับ (Periodic leg movements)

 การรักษา

หลีกเลี่ยงจากสิ่งกระตุ้น

ส่วนน้อยที่จำเป็นต้องใชัยา Benzodizepams (hypnotic dose)

ภาวะการนอนกัดฟัน (Bruxism)

เป็นภาวะที่มีการกัดฟันในขณะนอนหลับ พบได้ประมาณ 5-10% ยังไม่ทราบชัดเจนว่าเกี่ยวกับความเครียดหรือไม่ สามารถเกิดได้ทุกระยะของการนอนหลับ เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคฟันตามมา เช่น ฟันฝุ ฟันสึกหรอ โรคเหงือก เป็นต้น

การวินิจฉัย

การซักประวัติ การ การตรวจเรื่องการนอนหลับผิดปกติ (Polysomnography)

 การรักษา

การลดความเครียด การใช้ mouth guard การใช้ยา Benzodiazepine