ความเหงา ซึมเศร้า เมื่อเข้าสู่วัยชรา

พลโท.ดร.นพ.โยธิน. ชินวลัญช์

การแก่ชราเป็นขบวนการที่เริ่มต้นด้วยชีวิตและดำเนินต่อไปตลอดวงจรชีวิตของมนุษย์ซึ่งแสดงถึงช่วงปลายของชีวิต ช่วงเวลาที่บุคคลมองย้อนกลับไปในชีวิตที่ผ่านมา ใช้ชีวิตบนความสำเร็จในอดีต และเริ่มสิ้นสุดเส้นทางชีวิตของตนเอง การปรับตัวให้เข้ากับความเปลี่ยนแปลงที่มาพร้อมกับวัยชรานั้น แต่ละคนต้องมีความยืดหยุ่นและพัฒนาทักษะการเผชิญกับปัญหาใหม่ๆ เพื่อปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงที่มักเกิดขึ้นในช่วงนี้ของชีวิต

มีหลักฐานจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ที่บ่งชี้ให้เห็นว่าปัจจัยทางจิตวิทยาและสังคมวิทยามีอิทธิพลอย่างมากต่ออายุของแต่ละคน การวิจัยเรื่องการสูงวัยได้แสดงให้เห็นความสัมพันธ์เชิงบวกของความเชื่อทาง ศาสนา ความสัมพันธ์ทางด้านสังคม สุขภาพ การรับรู้ความสามารถของตนเอง สถานะทางเศรษฐกิจและสังคม และทักษะการเผชิญปัญหา ตลอดจนความสามารถในการปรับตัวในช่วงอายุที่มากขึ้น

อาการซึมเศร้าหรืออาการซึมเศร้าเป็นอาการที่เห็นได้เด่นชัดขึ้นในกลุ่มผู้สูงอายุ โดยส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิต การศึกษาจำนวนมากแสดงให้เห็นว่าความชุกของอาการซึมเศร้าเพิ่มขึ้นตามอายุ อาการซึมเศร้าไม่เพียงเป็นตัวชี้วัดความสุขทางจิตใจ แต่ยังเป็นที่รู้จักในฐานะตัวทำนายที่สำคัญของสุขภาพ การทำงาน และอายุที่ยืนยาวด้วย การศึกษาระยะยาวแสดงให้เห็นว่าอาการซึมเศร้าที่เพิ่มขึ้นมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญกับความยากลำบากที่เพิ่มขึ้นในการดำเนินกิจกรรมในชีวิตประจำวัน ข้อมูลจากากรศึกษาในชุมชนระบุว่าผู้สูงอายุที่มีโรคซึมเศร้ามีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังมีการศึกษาที่บ่งชี้ว่าโรคซึมเศร้าอาจสัมพันธ์กับการความจำที่ลดลง

แม้ว่ายังมีความเชื่อที่ว่าภาวะซึมเศร้าเหมือนกันกับความชราและภาวะซึมเศร้าเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ก็มีงานวิจัยเมื่อเร็วๆ นี้ซึ่งค้านกับความคิดที่ว่าภาวะซึมเศร้าเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้  แต่ในทางตรงข้ามอาการซึมเศร้ามีสาเหตุมาจากปัญหาทางสังคม ร่างกาย และจิตใจ ซึ่งปัญหาเหล่านี้มักเกิดขึ้นในวัยสูงอายุ ทำให้เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคซึมเศร้า แต่ว่าภาวะซึมเศร้าไม่ใช่เป็นผลของปัญหาเหล่านี้โดยตรง จากการศึกษาพบว่าอายุไม่ได้สัมพันธ์กับการก่อให้เกิดภาวะซึมเศร้าอย่างมีนัยสำคัญเสมอไป พบว่าคนชราที่อายุมากที่สุดอาจมีทักษะในการจัดการกับภาวะซึมเศร้าได้ดีขึ้น แม้ว่าอุบัติการณ์ของอาการซึมเศร้าจะพบได้บ่อยขึ้นในคนสูงอายุแต่อาการก็ไม่รุนแรงเท่ากับในประชากรที่อายุน้อยกว่า

เมื่อภาวะซึมเศร้าเกิดขึ้นครั้งแรกในชีวิต มีแนวโน้มที่จะมีผลจาก ปัจจัยทางพันธุกรรม บุคลิกภาพ และประสบการณ์ชีวิตที่จะมีผลให้เกิดภาวะซึมเศร้า ภาวะซึมเศร้าที่เกิดขึ้นครั้งแรกในชีวิตในวัยชรามีแนวโน้มที่จะสัมพันธ์กับปัญหาสุขภาพร่างกาย ผู้สูงอายุที่มีสุขภาพร่างกายดีมีความเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้าค่อนข้างต่ำ สุขภาพกายเป็นสาเหตุสำคัญของภาวะซึมเศร้าในช่วงปลายชีวิต มีเหตุผลหลายประการ ซึ่งรวมถึงผลกระทบทางจิตวิทยาของการเจ็บป่วยและผลจากการมีภาวะทุพพลภาพ ผลกระทบของความเจ็บปวดเรื้อรัง ผลกระทบสภาวะเจ็บป่วย หรือผลจากยาบางชนิดที่อาจก่อให้เกิดภาวะซึมเศร้าโดยอาจจะมีผลกระทบต่อสมองโดยตรง นอกจากนี้ข้อจำกัดทางสังคมที่เป็นผลจากเจ็บป่วยมีผลกระทบกับการดำเนินชีวิตของผู้สูงอายุ ส่งผลให้เกิดความโดดเดี่ยวและก่อให้เกิดความเหงาตามมา และมีข้อบ่งชี้อย่างชัดเจนว่าภาวะซึมเศร้าเพิ่มความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้อย่างมาก ส่วนใหญ่เกิดจากสาเหตุที่ผิดธรรมชาติและจากโรคหัวใจและหลอดเลือด 

ความเหงาเป็นความรู้สึกส่วนตัวและเชิงลบที่เกี่ยวข้องกับประสบการณ์ของบุคคลที่มีความสัมพันธ์ทางสังคมที่บกพร่อง ตัวกำหนดของความเหงามักถูกกำหนดบนพื้นฐานจากสาเหตุ 2 อย่างคือ จากปัจจัยภายนอก เช่น การมีกิจกรรมทางสังคมที่ลดลง เป็นต้น และผลจากปัจจัยภายในตนเอง เช่น จากลักษณะของบุคลิกภาพและปัจจัยทางด้านจิตวิทยา

ความเหงาอาจนำไปสู่ผลกระทบด้านสุขภาพที่ร้ายแรง เป็นหนึ่งใน 3 ปัจจัยหลักที่นำไปสู่ภาวะซึมเศร้า และเป็นสาเหตุสำคัญของการฆ่าตัวตายและการพยายามฆ่าตัวตาย การศึกษาพบว่าความเหงามีความเกี่ยวข้องกับการปรับตัวทางจิตใจที่ไม่ดี ความไม่พอใจกับชีวิตครอบครัวและความปัญหาทางด้านความสัมพันธ์ทางสังคม

เมื่อคนเราแก่ตัวลง โอกาสที่จะประสบกับความสูญเสียที่เกี่ยวข้องกับอายุก็เพิ่มขึ้น ความสูญเสียดังกล่าวมีผลกระทบต่อการที่ไม่สามารถคงสัมพันธภาพเหมือนเก่าไว้ได้ ส่งผลให้เกิดความเหงามากขึ้น หลายคนประสบกับความเหงาอันเป็นผลมาจากการอยู่คนเดียว ขาดความสัมพันธ์กับคนในครอบครัวที่ใกล้ชิด การลดลงของความสัมพันธ์กับสิ่งที่ทำมาเป็นประจำมาก่อน หรือการไม่สามารถมีส่วนร่วมในกิจกรรมชุมชนท้องถิ่นได้เหมือนก่อน เมื่อสิ่งนี้เกิดขึ้นร่วมกับความพิการทางร่างกาย จากการศึกษาพบว่า ผลกระทบด้านลบของความเหงาต่อสุขภาพในวัยชรา เช่น การเสียชีวิตของคู่สมรสและเพื่อนฝูง และการที่ไม่มีสังคมหลังเลิกงานเหมือนที่เคยทำมาประจำหรือการพบปะเพื่อนบ้านที่คุ้นเคยลดลงหรือหายไป เป็นเหตุการณ์ที่เปลี่ยนแปลงชีวิตที่จะก่อให้เกิดความเหงาในผู้สูงอายุ ในผู้ที่มีอายุมากที่สุดจะมีแนวโน้มที่จะพบอัตราการเกิดความเหงาได้สูงที่สุด ซึ่งสะท้อนถึงความน่าจะเป็นที่เพิ่มขึ้นของการสูญเสียดังกล่าว

การศึกษาพบว่าความเหงามีผลกระทบของภาวะซึมเศร้าและการเสียชีวิต ในคนชราที่อายุมากภาวะซึมเศร้าที่สัมพันธ์กับการเสียชีวิตมักจะมีสาเหตุจากการที่มีความเหงาร่วมด้วย ในผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้ามีอาการ เช่น อาการถอนตัวจากสังคม ภาวะวิตกกังวล การขาดแรงจูงใจ และความเศร้า อันที่จริงผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้านี้มักจะมีอาการเหงาที่ซ่อนเร้นอยู่

การเข้าสังคมในวัยชรา

การเข้าสังคมมีบทบาทสำคัญในการป้องกัน ความทุกข์ทางจิตใจและในการเสริมสร้างความเป็นอยู่ที่ดี ปัจจัยทางสังคมที่มีต่ออาการซึมเศร้าในวัยชรา ในอายุที่เพิ่มขึ้น สถานะทางเศรษฐกิจและกิจกรรมทางสังคมที่ลดลง และปริมาณหรือคุณภาพของความสัมพันธ์ทางสังคมที่ลดลงล้วนเกี่ยวข้องกับ เพิ่มการเกิดอาการซึมเศร้า การแยกตัวทางสังคมก็เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ สำหรับปัญหาการหยุดการทำงานในผู้สูงอายุอาจนำไปสู่ความรู้สึกว่างเปล่าและซึมเศร้า “บุคคลที่ยังคงมีกิจกรรมเกี่ยวข้องการเข้าสังคมมักจะได้รับผลกระทบจากปัญหาในชีวิตประจำวันที่น้อยกว่า และมีความรู้สึกที่เป็นอิสระมากกว่า แต่ในคนที่ไม่มีการเข้าสังคมมักจะรู้สึกโดดเดี่ยว ถูกเพิกเฉย และซึมเศร้า มากกว่าอันจะมีผลต่อความสัมพันธ์ภาพที่ไม่ดี มีความพึงพอใจในชีวิตที่น้อยกว่าและมักจะขาดแรงจูงใจในการเปลี่ยนแปลง”

การเข้าสังคมเพียงเล็กน้อยหรืออยู่คนเดียวไม่ได้รับประกันถึงความเหงา ซึ่งอันที่จริงแล้วผู้สูงอายุ การใช้เวลาอยู่ร่วมกับครอบครัวอาจมมีความพึงพอใจน้อยกว่าการไปเยี่ยมเพื่อนในวัยเดียวกัน มีการศึกษาพบว่าผู้สูงอายุมักจะสร้างมิตรภาพกับผู้ที่มีอายุเท่ากันได้ดีกว่า ดังนั้นเมื่ออายุมากขึ้น ผู้คนจะสูญเสียความเป็นมิตรภาพเก่าอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และผู้สูงอายุพบว่าเป็นการยากที่จะสร้างมิตรภาพใหม่ แต่อย่างไรก็ตามในผู้ที่มีความพร้อมทั้งในทรัพย์สินและมีความรู้สติปัญญาที่มากกว่าก็มี “ทุน” ทางสังคมมากขึ้น ซึ่งช่วยให้พวกเขาสามารถแสวงหาความสัมพันธ์และรูปแบบใหม่ๆ ของการมีส่วนร่วมทางสังคมต่อไปได้

ปัจจุบันจำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้นทั่วโลก ทำให้ผู้สูงอายุต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงทั้งทางร่างกาย จิตใจ และสังคมมากมายที่ท้าทายความรู้สึกของตนเองและความสามารถในการใช้ชีวิตอย่างมีความสุข ภาวะซึมเศร้าและความเหงาถือเป็นปัญหาสำคัญที่มีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตในผู้สูงอายุ ในทางตรงข้ามในวัยชราอาจเป็นโอกาสอันดีที่จะเป็นการสร้างความรู้จักกับเพื่อนใหม่ พัฒนาความสนใจใหม่ ใช้เวลาการเข้าสังคม อันจะมีผลทำให้มีความสุขในชีวิต และหลีกเลี่ยงและป้องกัน การเกิด ความเหงา ซึมเศร้า เมื่อเข้าสู่วัยชรา