สาเหตุการเสียชีวิตของดาราดัง บรูซลี (Bruce Lee)

ดร.นพ.โยธิน. ชินวลัญช์

บรูซลี (BRUCE LEE)

บรูซลีเป็นมากกว่าการเป็นดาราภาพยนตร์แอ็คชั่นอยู่ในอาชีพนักแสดงเพียงแค่สี่ปีและมีผลงานการแสดงภาพยนตร์เพียงห้าเรื่องที่เสร็จสมบูรณ์ เขาเป็นสัญลักษณ์ของดาราภาพยนตร์แนวใหม่ก่อนที่เขาจะเสียชีวิตในวัยเพียงแค่ 32 ปี ในวันที่ 20 กรกฏาคม 2516 เพียงหกวันก่อนที่ภาพยนตร์เรื่อง Enter the Dragon จะเริ่มฉายครั้งแรก บรูซลีเสียชีวิตทันทีและลึกลับ ผลอย่างเป็นทางการสาเหตุของการชีวิตว่ามาจากสมองบวม ซึ่งไม่มีสาเหตุที่บ่งชี้ว่าสมองบวมจากอะไรและจากการชันสูตรไม่พบว่ามีหลักฐานการบาดเจ็บจากภายนอก แล้วอะไรที่ทำให้เกิดอาการสมองบวม ?

บรูซลีเริ่มมีสัญญาณของสุขภาพไม่ดีครั้งแรกในเดือนพฤษภาคมปี 1973 เพียงไม่กี่สัปดาห์ก่อนที่บรูซลีจะเสียชีวิต เขามีอาการปวดศีรษะและมีอาการชักแบบเกร็งกระตุกทั้งตัวครั้งแรก เขาได้รับการวินิจฉัยว่ามมีอาการชักแบบเกร็งกระตุกทั้งตัวและมีสมองบวมที่ไม่ทราบสาเหตุ บรูซลีหมดสติอยู่หลายชั่วโมงและฟื้นคืนสติในวันรุ่งขึ้น เขาได้บินไปรับการตรวจรักษาต่อที่ UCLA Medical Center และได้ทำการทดสอบเพิ่มเติมและแพทย์วินิจฉัยว่าบรูซลีว่ามีโรคลมชักแบบเกร็งกระตุกทั้งตัว (Grand mal) แต่ไม่สามารถระบุสาเหตุของอาการชักได้ และเขาไม่ได้รับการรักษาด้วยยากันชักเลยจนกระทั่งต่อมาก็ได้เสียชีวิตในระยะเวลาหลังจากนั้นมาภายในเวลาไม่กี่อาทิตย์

ภาพของ บรูซลี

ในหลายปีที่ผ่านมาได้มีความก้าวหน้าอย่างมากทางด้านการแพทย์นับตั้งแต่การเสียชีวิตของว่าบรูซลีทำให้บ่งบอกสาเหตุการเสียชีวิตของบรูซลีว่าสาเหตุอะไรที่ทำให้เขาถึงเสียชีวิต

ในการประชุมของ American Academy of Sciences ปี 2549 นายแพทย์ James Filkins กล่าวว่าบรูซลีป่วยเป็นโรคลมชักและเสียชีวิต จากภาวะ SUDEP (Sudden unexplained death in epilepsy) หรือ “การเสียชีวิตอย่างเฉียบพลันใน ผ.ป.โรคลมชัก” หมายถึงการเสียชีวิตอย่างเฉียบพลันของคนที่มีสุขภาพดีซึ่งเป็นโรคลมชักที่ไม่สามารถหาสาเหตุของการเสียชีวิตอย่างอื่นฯได้

เป็นภาวะที่เพิ่งมีการศึกษาพบในปี 1995 นับเป็นเวลามากกว่า 20 ปีหลังจากที่ว่าบรูซลีเสียชีวิตที่มีการรายงานภาวะนี้ อาการชักสามารถเกิดขึ้นได้จากความเครียดซึ่งพบว่าบรูซลีเริ่มมีความเครียดสูงก่อนจะมีอาการชักครั้งแรกก่อนจะเสียชีวิตตามมา เขาไม่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคลมชักทั้งฯที่เริ่มมีอาการชักและไม่ได้รับการรักษาด้วยยากันชัก

SUDEP (Sudden unexplained death in epilepsy) หรือ “การเสียชีวิตอย่างเฉียบพลันใน ผ.ป.โรคลมชัก คืออะไร

SUDEP (Sudden unexplained death in epilepsy) หรือ “การเสียชีวิตอย่างเฉียบพลันใน ผ.ป.โรคลมชัก

การเสียชีวิตเนื่องจากโรคลมชักเป็นปัญหาที่รุนแรงในผู้ที่เป็นโรคลมชัก ทำให้มีอัตราการเสียชีวิตสูงกว่าประชากรทั่วไปอย่างมีนัยสำคัญ พบว่าผู้ป่วยโรคลมชักประมาณ 40% ที่เสียชีวิตมีสาเหตุที่เกี่ยวกับอาการชัก เช่น จากความผิดปกติของระบบประสาทที่ก่อให้เกิดอาการชัก อุบัติเหตุจากการชัก ชักแบบไม่หยุด (status epilepticus) การฆ่าตัวตาย และการเสียชีวิตจากภาวะ SUDEP และพบว่า SUDEP พบได้ประมาณ 8% ถึง 17% ของผู้ป่วยโรคลมชักที่เสียชีวิต

เกณฑ์การวินิจฉัยการเสียชีวิตอย่างเฉียบพลันใน ผ.ป.โรคลมชัก SUDEP มีดังนี้:
1. ผู้ป่วยมีโรคลมชัก
2. ผู้ป่วยเสียชีวิตอย่างกะทันหันในขณะที่มีสุขภาพสมบูรณ์
3. เสียชีวิตอย่างกะทันหัน (เช่น ภายในไม่กี่นาที)
4. เสียชีวิตในสถานการณ์สิ่งแวดล้อมที่ปกติ
5. สาเหตุของการเสียชีวิตที่ไม่สามารถระบุมีสาเหตุอื่นฯที่ทำให้เสียชีวิตได้จากการชันสูตรศพ
6. สาเหตุของการเสียชีวิตไม่ได้เป็นผลโดยตรงจากการชักหรือการมีอาการชักแบบไม่หยุด (status epilepticus)

ปัจจัยเสี่ยงหลักสำหรับการเกิด SUDEP คือ:
1. ผ.ป.โรคลมชักที่มีอาการชักบ่อยครั้งหรือชักที่ดื้อต่อยา
2. ผ.ป.โรคลมชักที่มีอาการชักแบบเกร็งกระตุกทั้งตัว (Generalized Tonic-clonic seizure)
3. ชักในขณะหลับ และอยู่เพียงคนเดียว

ปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ: เช่น
1. ผ.ป.ที่เริ่มมีอาการชักตั้งแต่อายุยังน้อย มีรายงานการเกิด SUDEP มากที่สุดในผู้ป่วยที่เริ่มมีอาการชักตั้งแต่อายุ 18-40 ปี
2. มีความบกพร่องทางยีนจากพันธุกรรม
3. เพศชาย
4. ป่วยเป็นโรคลมชักมาเป็นเวลานานหลายปี
5. ทานยากันชักไม่สม่ำเสมอหรือขาดยากันชัก
6. เป็นโรคพิษสุราเรื้อรังและมีโรคลมชักร่วมด้วย

สาเหตุของ SUDEP 

สาเหตุของ SUDEP 

ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่นอน แต่เชื่อว่าปัจจัยต่อไปนี้อาจมีบทบาทใน SUDEP ไม่ว่าจะโดยลำพังหรือรวมกัน: เช่น
 
ระบบทางเดินหายใจผิดปกติ
ปัญหาทางเดินหายใจมักพบในผู้ป่วยที่มีอาการชักและได้รับรายงานในผู้ป่วยที่มีอาการ SUDEP และเกือบเสียชีวิตจาก SUDEP ตรวจพบว่ามีปริมาณออกซิเจนลดลงอย่างมีนัยสำคัญและพบว่ามีภาวะหยุดหายใจ (sleep apnea) เกิดขึ้นเนื่องจากจากการที่ศูนย์ควบคุมการหายใจถูกยับยั้งจากการชัก คือไฟฟ้าจากการชักมีผลต่อศูนย์กลางควบคุมทางเดินหายใจในสมองก่อให้เกิดการยั้บยั้งศูนย์กลางควบคุมทางเดินหายใจทำเกิดภาวะหยุดหายใจได้ นอกจากนี้มีสมมุติฐานว่า การที่ผู้ป่วยชักอยู่ในขณะท่านอนคว่ำจะมีผลทำให้มีการอุดตันของทางเดินหายใจส่วนบนได้ง่ายกว่าและจะก่อให้เกิดภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจ (Obstructive sleep apnea)

การศึกษาพบว่าผู้ป่วยที่เสียชีวิตจาก SUDEP มักจะพบอยู่ในท่านอนคว่ำเสียส่วนใหญ่ ดั้งนั้นเชื่อว่าการอุดตันของทางเดินหายใจส่วนบนและความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของการสำลักจะมีความสัมพันธ์กับการก่อให้เกิดการสียชีวิตจาก SUDEP

ภาวะหัวใจวายอาจมีบทบาทก่อให้เกิด SUDEP

ภาวะหัวใจและหลอดเลือดผิดปกติ
ภาวะหัวใจวายอาจมีบทบาทก่อให้เกิด SUDEP มีรายงานการพบภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ที่รุนแรงในผู้ป่วยโรคลมชักที่อาจจะเกิดในขณะที่มีอาการชักหรือไม่มีอาการชัก

มีรายงานการตรวจพบทั้งภาวะหัวใจเต้นเร็วผิดปกติที่พบบ่อยกว่าหรือเต้นช้าผิดปกติในผู้ป่วยโรคลมชัก อีกกลไกที่ อาจจะเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตจากภาวะ SUDEP เกี่ยวข้องกับการนำไฟฟ้าผิดปกติที่หัวใจ เรียกว่าภาวะ QT prolong ที่อาจจะเป็นผลจากการชักหรือภาวะชักมีผลต่อระบบควบคุมระบบประสาทอัตโนมัติทำให้ผู้ป่วยมีหัวใจเต้นผิดจังหวะและหยุดทำให้เกิดการเสียชีวิตอย่างเฉียบพลัน

มีการศึกษายืนยันแล้วพบว่าโรคลมชักที่มีสารพันธุกรรมผิดปกติตั้งแต่วัยเด็กมีผลทำให้เกิดภาวะ QT prolong และอาจจะมีบทบาททำให้เกิดภาวะ SUDEP ความผิดปกติของสารพันธุกรรมที่ก่อให้เกิดโรคลมชักเหล่านี้ เช่น KCNQ1, SCN1A, LQTS, KCNH2 และ SCN5A มีการตรวจพบได้ในผู้ป่วยที่เสียชีวิตจากภาวะ SUDEP ซึ่งเป็นยีนที่พบบ่อยในผู้ป่วยที่มีภาวะ QT prolong

ปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับยา

มีการตรวจพบว่า ผู้ป่วยโรคลมชักที่เสียชีวิตจากภาวะ SUDEP มีระดับของยากันชักมีระดับต่ำกว่าระดับมาตรฐานในการรักษาอาการชัก น่าจะเป็นสาเหตุมาจากการที่ผู้ป่วยขาดยากันชักหรือทานยากันชักไม่ครบ หรือไม่เพียงพอในการรักษาอาการชัก  

การถอนยากันชักในขณะที่ผู้ป่วยมีอาการชักอยู่ มีความเสี่ยงที่จะเกิดอาการชักซ้ำและอาจจะก่อให้เกิดภาวะเสียชีวิตจากภาวะ ​​SUDEP ได้ นอกจากนี้มักจะพบได้ในผู้ป่วยที่ใช้ยากันชักหลายตัว ซึ่งอาจจะเป็นบ่งชี้ว่าผู้ป่วยที่มีอาการชักมากอยู่หรือดื้อต่อยากันชัก ซึ่งจะมีความเสี่ยงในการเกิดภาวะการเสียชีวิตจากภาวะ SUDEP สูงกว่าผู้ป่วยที่ ใช้ยากันชักน้อยตัวกว่า

วิธีการปฏิบัติเพื่อป้องกันและลดความเสี่ยงของการเสียชีวิตจากภาวะ SUDEP?

  1. การทานยากันชักอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง ไม่ลืมทานยาหรือขาดยากันชัก
  2. การรักษาป้องกันไม่ให้เกิดอาการชักแบบเกร็งกระตุกทั้งตัว
  3. ในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงอาการชักในขณะหลับไม่ควรอาศัยอยู่แต่เพียงลำพังคนเดียว
  4. ควรได้รับการติดตามดูแลจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสม่ำเสมอ

นอกจากนี้มีรายงานการเสียชีวิตจากภาวะ SUDEP ในดาราฮอลลีวู้ด
และนักกีฬาโอลิมปิก เช่น

คาเมรอนบอยซ์ (Cameron Boyce)

คาเมรอนบอยซ์ (Cameron Boyce) ดาราจากวอลล์ดิสนีย์
คาเมรอนบอยซ์ (Cameron Boyce)

คาเมรอนบอยซ์ (Cameron Boyce) ดาราจากวอลล์ดิสนีย์เสียชีวิตเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2562 ขณะอายุ 20 ปี เขาเริ่มอาชีพนักแสดงเมื่ออายุ 9 ขวบและเคยแสดงในภาพยนตร์สารคดีเรื่อง “Eagle Eye”, “Grown Ups” และ “Grown Ups 2” เช่นเดียวกับซีรี่ส์ Disney Channel “Jesse” และ “The Descendants”

บอยซ์ถูกพบว่า นอนหมดสติและเสียชีวิตในบ้านของเขา ซึ่งสาเหตุของการเสียชีวิตเนื่องจากเขามีอาการชักในขณะนอนหลับจากการชันสูตรศพยืนยันว่าสาเหตุของการตายคือ “การเสียชีวิตอย่างกะทันหันโดยไม่คาดคิดในโรคลมชัก” หรือ SUDEP

Griffith Joyner 

Griffith Joyner: นักกีฬาสามเหรียญทองกีฬาโอลิมปิก
Griffith Joyner: นักกีฬาสามเหรียญทองกีฬาโอลิมปิก

นักกีฬาสามเหรียญทองกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนเสียชีวิตจากภาวะ SUDEPหลังจาก มีอาการชักในขณะนอนหลับ

Griffith Joyner ซึ่งเป็นนักกีฬาสามเหรียญทองในกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนปี 1988 ที่กรุงโซลประเทศเกาหลีใต้ เสียชีวิตเมื่อวันที่ 21 กันยายน 1988 ที่บ้านของเธอใน Mission Viejo เธอมีโรคลมชักจากสาเหตุเส้นเลือดในสมองผิดปกติแต่กำเนิดที่เรียกว่า cavernous angioma มีรายงานว่าเธอเสียชีวิตในท่านอนหน้าคว่ำ ที่บ้านโดยไม่มีสาเหตุผิดปกติอย่างอื่นที่เป็นสาเหตุทำให้เสียชีวิต ผลจากการตรวจพิสูจน์ศพไม่พบว่ามีความผิดปกติใดฯ ที่เป็นสาเหตุให้เสียชีวิต มีข้อบ่งชี้ว่าเธออาจจะไม่ได้ทานยากันชักอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ

Jett Travolta 

Jett Travolta เป็บลูกชายของจอห์น ทราโวลต้า
Jett Travolta

Jett Travolta เป็บลูกชายของจอห์น ทราโวลต้า ดาราฮอลลีวูดชื่อดังซึ่งป่วยเป็นโรคลมชักมาก่อน เสียชีวิตจากภาวะ SUDEP หลังจากมีอาการชักมาเป็นเวลาหลายปีหลังจากมีอาการป่วยเป็นโรคคาวาซากิในช่วงวัยเด็ก ก่อให้เกิดโรคลมชักตามมา

Jett Travolta เสียชีวิตเมื่อขณะอายุ 16 ปีในเดือนมกราคม 2552 ที่เกิดขึ้นในช่วงวันหยุดท่องเที่ยวของครอบครัวที่หมู่เกาะบาฮามาส ปรากฏว่ามีคนไปพบว่า Jett Travolta นอนหมดสติอยู่ในห้องน้ำในช่วงเช้าที่รีสอร์ทที่ครอบครัวพักอยู่และได้มีการผ่าศพพิสูจน์หาสาเหตุของการเสียชีวิต แพทย์ได้ลงความเห็นว่าสาเหตุของการเสียชีวิตของ Jett Travolta มาจากภาวะ SUDEP

Jett Travolta ได้รับการรักษาโรคลมชักมาเป็นเวลาหลายปีโดยการทานยากันชักแต่ก็ไม่สามารถคุมอาการชักได้ทั้งหมด เขายังมีการชักอย่างรุนแรงทุกอาทิตย์ ดั่งนั้นคุณพ่อคุณแม่ของ Jett Travolta จึงได้ตัดสินใจหยุดการใช้ยากันชักเนื่องจากกังวลเรื่องผลข้างเคียงจากยากันชัก และไปใช้การรักษาทางเลือกโดยวิธีธรรมชาติและไม่ได้ทานยากันชักเลย

สาเหตุของการเกิด SUDEP น่าจะเนื่องจากการขาดยากันชัก