Category Archives: Epilepsy

ข้อที่ควรรู้เกี่ยวกับการฉีดวัคซีนป้องกัน โควิด-19 และโรคลมชัก (COVID-19 vaccine and Epilepsy)

ดร.นพ โยธิน ชินวลัญช์ (Dr. Yotin. Chinvarun. MD. Ph.D. FAES)

https://www.blockdit.com/posts/608e513108a52b0c546cf24d

  1. วัดซีนป้องกัน COVID-19 ปลอดภัยสำหรับโรคลมชักหรือไม่ ?

(Are the COVID-19 vaccines safe for people with epilepsy?)

คำตอบ

วัคซีนป้องกัน โควิด-19 ทุกชนิดปลอดภัยสำหรับคนที่เป็นโรคลมชัก (all COVID-19 vaccines are safe for people with neurological conditions such as epilepsy)

2. วัดซีนป้องกันโควิด-19 มีผลปฏิกิริยาตีกับยากันชักหรือไม่ (Does COVID-19 vaccines interact with epilepsy medicines ?)

คำตอบ

วัคซีนป้องกัน โควิด-19 ทุกชนิด ไม่มีผลปฏิกิริยากับยากันชักที่ทานอยู่ (COVID-19 vaccines are not expected to interact with epilepsy medicines)

3. ผู้ป่วยโรคลมชักถือว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงที่ต้องได้วัคซีนหรือไม่ ? (Do people with epilepsy have priority to get the COVID-19 vaccine?)

คำตอบ

ผู้ป่วยโรคลมชักในกลุ่มอายุ 16-64 ปี ถือว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะต้องได้วัคซีนป้องกันโควิด-19 แต่เนิ่นฯ  (People aged 16-64 with epilepsy should be included in one of the priority groups for COVID-19 vaccines)

4. วัดซีนป้องกัน COVID-19 อาจจะมีผลข้างเคียง เล็กน้อยถึงปานกลาง เช่น ทำให้เกิดมีอาการไข้ ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ เป็นต้น ซึ่งอาการเหล่านี้จะเป็นแค่ระยะสั้นฯ แล้วจะหายไปเอง แต่อย่างไรก็ตามอาการไข้และอาการที่ทำให้ผู้ป่วยไม่สบายตัวจากผลจากวัคซีนในผู้ป่วยโรคลมชักอาจจะกระตุ้นทำให้เกิดมีการชักขึ้นมาได้ และเราจะป้องกันได้อย่างไร? (COVID vaccine can cause mild or moderate side-effects including fever. Not everyone will get side-effects, but if you do, most will go away after a few days. For some people with epilepsy, fever can make them more likely to have a seizure, So how to prevent the seizure ?)

คำตอบ

ดังนั้นในผู้ป่วยที่มีผลข้างเคียงเหล่านี้เกิดขึ้นอาจจะต้องรีบทานยาป้องกันหรือรักษาอาการทันที  ยกตัวอย่าง เช่น ทานยายาพาราเซตามอล เวลาที่มีไข้หรือปวดกล้ามเนื้อ หรือทานยาป้องกันอาการชัก เช่น การใช้ยา  Frisium ซึ่งในกรณีนี้ควรจะต้องมีการปรึกษาแพทย์ก่อน  (Should be taking a fever-reducing medicine such as paracetamol for 48 hours after you have the vaccine can reduces the risk. If you need to use the rescue therapy such as Frisium, should consult your physicians first)

ความรู้เกี่ยวกับโรคลมชัก (General knowledge in Epilepsy)

เป็นวิดิทัศน์เกี่ยวกับความรู้โรคลมชัก ชนิดและลักษณะของอาการชัก สาเหตุของ โรคลมชัก การตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุของโรคลมชัก และการดูแลและปฏิบัติเบื้องต้นต่อผู้ป่วยโรคลมชัก ที่มีการอาการชักแบบเกร็งกระตุกหรือแบบชนิดเหม่อลอย

สาเหตุการเสียชีวิตของดาราดัง บรูซลี (Bruce Lee)

ดร.นพ.โยธิน. ชินวลัญช์

บรูซลี (BRUCE LEE)

บรูซลีเป็นมากกว่าการเป็นดาราภาพยนตร์แอ็คชั่นอยู่ในอาชีพนักแสดงเพียงแค่สี่ปีและมีผลงานการแสดงภาพยนตร์เพียงห้าเรื่องที่เสร็จสมบูรณ์ เขาเป็นสัญลักษณ์ของดาราภาพยนตร์แนวใหม่ก่อนที่เขาจะเสียชีวิตในวัยเพียงแค่ 32 ปี ในวันที่ 20 กรกฏาคม 2516 เพียงหกวันก่อนที่ภาพยนตร์เรื่อง Enter the Dragon จะเริ่มฉายครั้งแรก บรูซลีเสียชีวิตทันทีและลึกลับ ผลอย่างเป็นทางการสาเหตุของการชีวิตว่ามาจากสมองบวม ซึ่งไม่มีสาเหตุที่บ่งชี้ว่าสมองบวมจากอะไรและจากการชันสูตรไม่พบว่ามีหลักฐานการบาดเจ็บจากภายนอก แล้วอะไรที่ทำให้เกิดอาการสมองบวม ?

บรูซลีเริ่มมีสัญญาณของสุขภาพไม่ดีครั้งแรกในเดือนพฤษภาคมปี 1973 เพียงไม่กี่สัปดาห์ก่อนที่บรูซลีจะเสียชีวิต เขามีอาการปวดศีรษะและมีอาการชักแบบเกร็งกระตุกทั้งตัวครั้งแรก เขาได้รับการวินิจฉัยว่ามมีอาการชักแบบเกร็งกระตุกทั้งตัวและมีสมองบวมที่ไม่ทราบสาเหตุ บรูซลีหมดสติอยู่หลายชั่วโมงและฟื้นคืนสติในวันรุ่งขึ้น เขาได้บินไปรับการตรวจรักษาต่อที่ UCLA Medical Center และได้ทำการทดสอบเพิ่มเติมและแพทย์วินิจฉัยว่าบรูซลีว่ามีโรคลมชักแบบเกร็งกระตุกทั้งตัว (Grand mal) แต่ไม่สามารถระบุสาเหตุของอาการชักได้ และเขาไม่ได้รับการรักษาด้วยยากันชักเลยจนกระทั่งต่อมาก็ได้เสียชีวิตในระยะเวลาหลังจากนั้นมาภายในเวลาไม่กี่อาทิตย์

ภาพของ บรูซลี

ในหลายปีที่ผ่านมาได้มีความก้าวหน้าอย่างมากทางด้านการแพทย์นับตั้งแต่การเสียชีวิตของว่าบรูซลีทำให้บ่งบอกสาเหตุการเสียชีวิตของบรูซลีว่าสาเหตุอะไรที่ทำให้เขาถึงเสียชีวิต

ในการประชุมของ American Academy of Sciences ปี 2549 นายแพทย์ James Filkins กล่าวว่าบรูซลีป่วยเป็นโรคลมชักและเสียชีวิต จากภาวะ SUDEP (Sudden unexplained death in epilepsy) หรือ “การเสียชีวิตอย่างเฉียบพลันใน ผ.ป.โรคลมชัก” หมายถึงการเสียชีวิตอย่างเฉียบพลันของคนที่มีสุขภาพดีซึ่งเป็นโรคลมชักที่ไม่สามารถหาสาเหตุของการเสียชีวิตอย่างอื่นฯได้

เป็นภาวะที่เพิ่งมีการศึกษาพบในปี 1995 นับเป็นเวลามากกว่า 20 ปีหลังจากที่ว่าบรูซลีเสียชีวิตที่มีการรายงานภาวะนี้ อาการชักสามารถเกิดขึ้นได้จากความเครียดซึ่งพบว่าบรูซลีเริ่มมีความเครียดสูงก่อนจะมีอาการชักครั้งแรกก่อนจะเสียชีวิตตามมา เขาไม่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคลมชักทั้งฯที่เริ่มมีอาการชักและไม่ได้รับการรักษาด้วยยากันชัก

SUDEP (Sudden unexplained death in epilepsy) หรือ “การเสียชีวิตอย่างเฉียบพลันใน ผ.ป.โรคลมชัก คืออะไร

SUDEP (Sudden unexplained death in epilepsy) หรือ “การเสียชีวิตอย่างเฉียบพลันใน ผ.ป.โรคลมชัก

การเสียชีวิตเนื่องจากโรคลมชักเป็นปัญหาที่รุนแรงในผู้ที่เป็นโรคลมชัก ทำให้มีอัตราการเสียชีวิตสูงกว่าประชากรทั่วไปอย่างมีนัยสำคัญ พบว่าผู้ป่วยโรคลมชักประมาณ 40% ที่เสียชีวิตมีสาเหตุที่เกี่ยวกับอาการชัก เช่น จากความผิดปกติของระบบประสาทที่ก่อให้เกิดอาการชัก อุบัติเหตุจากการชัก ชักแบบไม่หยุด (status epilepticus) การฆ่าตัวตาย และการเสียชีวิตจากภาวะ SUDEP และพบว่า SUDEP พบได้ประมาณ 8% ถึง 17% ของผู้ป่วยโรคลมชักที่เสียชีวิต

เกณฑ์การวินิจฉัยการเสียชีวิตอย่างเฉียบพลันใน ผ.ป.โรคลมชัก SUDEP มีดังนี้:
1. ผู้ป่วยมีโรคลมชัก
2. ผู้ป่วยเสียชีวิตอย่างกะทันหันในขณะที่มีสุขภาพสมบูรณ์
3. เสียชีวิตอย่างกะทันหัน (เช่น ภายในไม่กี่นาที)
4. เสียชีวิตในสถานการณ์สิ่งแวดล้อมที่ปกติ
5. สาเหตุของการเสียชีวิตที่ไม่สามารถระบุมีสาเหตุอื่นฯที่ทำให้เสียชีวิตได้จากการชันสูตรศพ
6. สาเหตุของการเสียชีวิตไม่ได้เป็นผลโดยตรงจากการชักหรือการมีอาการชักแบบไม่หยุด (status epilepticus)

ปัจจัยเสี่ยงหลักสำหรับการเกิด SUDEP คือ:
1. ผ.ป.โรคลมชักที่มีอาการชักบ่อยครั้งหรือชักที่ดื้อต่อยา
2. ผ.ป.โรคลมชักที่มีอาการชักแบบเกร็งกระตุกทั้งตัว (Generalized Tonic-clonic seizure)
3. ชักในขณะหลับ และอยู่เพียงคนเดียว

ปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ: เช่น
1. ผ.ป.ที่เริ่มมีอาการชักตั้งแต่อายุยังน้อย มีรายงานการเกิด SUDEP มากที่สุดในผู้ป่วยที่เริ่มมีอาการชักตั้งแต่อายุ 18-40 ปี
2. มีความบกพร่องทางยีนจากพันธุกรรม
3. เพศชาย
4. ป่วยเป็นโรคลมชักมาเป็นเวลานานหลายปี
5. ทานยากันชักไม่สม่ำเสมอหรือขาดยากันชัก
6. เป็นโรคพิษสุราเรื้อรังและมีโรคลมชักร่วมด้วย

สาเหตุของ SUDEP 

สาเหตุของ SUDEP 

ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่นอน แต่เชื่อว่าปัจจัยต่อไปนี้อาจมีบทบาทใน SUDEP ไม่ว่าจะโดยลำพังหรือรวมกัน: เช่น
 
ระบบทางเดินหายใจผิดปกติ
ปัญหาทางเดินหายใจมักพบในผู้ป่วยที่มีอาการชักและได้รับรายงานในผู้ป่วยที่มีอาการ SUDEP และเกือบเสียชีวิตจาก SUDEP ตรวจพบว่ามีปริมาณออกซิเจนลดลงอย่างมีนัยสำคัญและพบว่ามีภาวะหยุดหายใจ (sleep apnea) เกิดขึ้นเนื่องจากจากการที่ศูนย์ควบคุมการหายใจถูกยับยั้งจากการชัก คือไฟฟ้าจากการชักมีผลต่อศูนย์กลางควบคุมทางเดินหายใจในสมองก่อให้เกิดการยั้บยั้งศูนย์กลางควบคุมทางเดินหายใจทำเกิดภาวะหยุดหายใจได้ นอกจากนี้มีสมมุติฐานว่า การที่ผู้ป่วยชักอยู่ในขณะท่านอนคว่ำจะมีผลทำให้มีการอุดตันของทางเดินหายใจส่วนบนได้ง่ายกว่าและจะก่อให้เกิดภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจ (Obstructive sleep apnea)

การศึกษาพบว่าผู้ป่วยที่เสียชีวิตจาก SUDEP มักจะพบอยู่ในท่านอนคว่ำเสียส่วนใหญ่ ดั้งนั้นเชื่อว่าการอุดตันของทางเดินหายใจส่วนบนและความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของการสำลักจะมีความสัมพันธ์กับการก่อให้เกิดการสียชีวิตจาก SUDEP

ภาวะหัวใจวายอาจมีบทบาทก่อให้เกิด SUDEP

ภาวะหัวใจและหลอดเลือดผิดปกติ
ภาวะหัวใจวายอาจมีบทบาทก่อให้เกิด SUDEP มีรายงานการพบภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ที่รุนแรงในผู้ป่วยโรคลมชักที่อาจจะเกิดในขณะที่มีอาการชักหรือไม่มีอาการชัก

มีรายงานการตรวจพบทั้งภาวะหัวใจเต้นเร็วผิดปกติที่พบบ่อยกว่าหรือเต้นช้าผิดปกติในผู้ป่วยโรคลมชัก อีกกลไกที่ อาจจะเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตจากภาวะ SUDEP เกี่ยวข้องกับการนำไฟฟ้าผิดปกติที่หัวใจ เรียกว่าภาวะ QT prolong ที่อาจจะเป็นผลจากการชักหรือภาวะชักมีผลต่อระบบควบคุมระบบประสาทอัตโนมัติทำให้ผู้ป่วยมีหัวใจเต้นผิดจังหวะและหยุดทำให้เกิดการเสียชีวิตอย่างเฉียบพลัน

มีการศึกษายืนยันแล้วพบว่าโรคลมชักที่มีสารพันธุกรรมผิดปกติตั้งแต่วัยเด็กมีผลทำให้เกิดภาวะ QT prolong และอาจจะมีบทบาททำให้เกิดภาวะ SUDEP ความผิดปกติของสารพันธุกรรมที่ก่อให้เกิดโรคลมชักเหล่านี้ เช่น KCNQ1, SCN1A, LQTS, KCNH2 และ SCN5A มีการตรวจพบได้ในผู้ป่วยที่เสียชีวิตจากภาวะ SUDEP ซึ่งเป็นยีนที่พบบ่อยในผู้ป่วยที่มีภาวะ QT prolong

ปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับยา

มีการตรวจพบว่า ผู้ป่วยโรคลมชักที่เสียชีวิตจากภาวะ SUDEP มีระดับของยากันชักมีระดับต่ำกว่าระดับมาตรฐานในการรักษาอาการชัก น่าจะเป็นสาเหตุมาจากการที่ผู้ป่วยขาดยากันชักหรือทานยากันชักไม่ครบ หรือไม่เพียงพอในการรักษาอาการชัก  

การถอนยากันชักในขณะที่ผู้ป่วยมีอาการชักอยู่ มีความเสี่ยงที่จะเกิดอาการชักซ้ำและอาจจะก่อให้เกิดภาวะเสียชีวิตจากภาวะ ​​SUDEP ได้ นอกจากนี้มักจะพบได้ในผู้ป่วยที่ใช้ยากันชักหลายตัว ซึ่งอาจจะเป็นบ่งชี้ว่าผู้ป่วยที่มีอาการชักมากอยู่หรือดื้อต่อยากันชัก ซึ่งจะมีความเสี่ยงในการเกิดภาวะการเสียชีวิตจากภาวะ SUDEP สูงกว่าผู้ป่วยที่ ใช้ยากันชักน้อยตัวกว่า

วิธีการปฏิบัติเพื่อป้องกันและลดความเสี่ยงของการเสียชีวิตจากภาวะ SUDEP?

  1. การทานยากันชักอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง ไม่ลืมทานยาหรือขาดยากันชัก
  2. การรักษาป้องกันไม่ให้เกิดอาการชักแบบเกร็งกระตุกทั้งตัว
  3. ในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงอาการชักในขณะหลับไม่ควรอาศัยอยู่แต่เพียงลำพังคนเดียว
  4. ควรได้รับการติดตามดูแลจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสม่ำเสมอ

นอกจากนี้มีรายงานการเสียชีวิตจากภาวะ SUDEP ในดาราฮอลลีวู้ด
และนักกีฬาโอลิมปิก เช่น

คาเมรอนบอยซ์ (Cameron Boyce)

คาเมรอนบอยซ์ (Cameron Boyce) ดาราจากวอลล์ดิสนีย์
คาเมรอนบอยซ์ (Cameron Boyce)

คาเมรอนบอยซ์ (Cameron Boyce) ดาราจากวอลล์ดิสนีย์เสียชีวิตเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2562 ขณะอายุ 20 ปี เขาเริ่มอาชีพนักแสดงเมื่ออายุ 9 ขวบและเคยแสดงในภาพยนตร์สารคดีเรื่อง “Eagle Eye”, “Grown Ups” และ “Grown Ups 2” เช่นเดียวกับซีรี่ส์ Disney Channel “Jesse” และ “The Descendants”

บอยซ์ถูกพบว่า นอนหมดสติและเสียชีวิตในบ้านของเขา ซึ่งสาเหตุของการเสียชีวิตเนื่องจากเขามีอาการชักในขณะนอนหลับจากการชันสูตรศพยืนยันว่าสาเหตุของการตายคือ “การเสียชีวิตอย่างกะทันหันโดยไม่คาดคิดในโรคลมชัก” หรือ SUDEP

Griffith Joyner 

Griffith Joyner: นักกีฬาสามเหรียญทองกีฬาโอลิมปิก
Griffith Joyner: นักกีฬาสามเหรียญทองกีฬาโอลิมปิก

นักกีฬาสามเหรียญทองกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนเสียชีวิตจากภาวะ SUDEPหลังจาก มีอาการชักในขณะนอนหลับ

Griffith Joyner ซึ่งเป็นนักกีฬาสามเหรียญทองในกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนปี 1988 ที่กรุงโซลประเทศเกาหลีใต้ เสียชีวิตเมื่อวันที่ 21 กันยายน 1988 ที่บ้านของเธอใน Mission Viejo เธอมีโรคลมชักจากสาเหตุเส้นเลือดในสมองผิดปกติแต่กำเนิดที่เรียกว่า cavernous angioma มีรายงานว่าเธอเสียชีวิตในท่านอนหน้าคว่ำ ที่บ้านโดยไม่มีสาเหตุผิดปกติอย่างอื่นที่เป็นสาเหตุทำให้เสียชีวิต ผลจากการตรวจพิสูจน์ศพไม่พบว่ามีความผิดปกติใดฯ ที่เป็นสาเหตุให้เสียชีวิต มีข้อบ่งชี้ว่าเธออาจจะไม่ได้ทานยากันชักอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ

Jett Travolta 

Jett Travolta เป็บลูกชายของจอห์น ทราโวลต้า
Jett Travolta

Jett Travolta เป็บลูกชายของจอห์น ทราโวลต้า ดาราฮอลลีวูดชื่อดังซึ่งป่วยเป็นโรคลมชักมาก่อน เสียชีวิตจากภาวะ SUDEP หลังจากมีอาการชักมาเป็นเวลาหลายปีหลังจากมีอาการป่วยเป็นโรคคาวาซากิในช่วงวัยเด็ก ก่อให้เกิดโรคลมชักตามมา

Jett Travolta เสียชีวิตเมื่อขณะอายุ 16 ปีในเดือนมกราคม 2552 ที่เกิดขึ้นในช่วงวันหยุดท่องเที่ยวของครอบครัวที่หมู่เกาะบาฮามาส ปรากฏว่ามีคนไปพบว่า Jett Travolta นอนหมดสติอยู่ในห้องน้ำในช่วงเช้าที่รีสอร์ทที่ครอบครัวพักอยู่และได้มีการผ่าศพพิสูจน์หาสาเหตุของการเสียชีวิต แพทย์ได้ลงความเห็นว่าสาเหตุของการเสียชีวิตของ Jett Travolta มาจากภาวะ SUDEP

Jett Travolta ได้รับการรักษาโรคลมชักมาเป็นเวลาหลายปีโดยการทานยากันชักแต่ก็ไม่สามารถคุมอาการชักได้ทั้งหมด เขายังมีการชักอย่างรุนแรงทุกอาทิตย์ ดั่งนั้นคุณพ่อคุณแม่ของ Jett Travolta จึงได้ตัดสินใจหยุดการใช้ยากันชักเนื่องจากกังวลเรื่องผลข้างเคียงจากยากันชัก และไปใช้การรักษาทางเลือกโดยวิธีธรรมชาติและไม่ได้ทานยากันชักเลย

สาเหตุของการเกิด SUDEP น่าจะเนื่องจากการขาดยากันชัก

การบูรและน้ำมันยูคาลิปตัสเป็นสาเหตุกระตุ้นให้เกิดอาการชักได้

ดร. นพ.โยธิน ชินวลัญช์

การดมกลิ่นการบูรและน้ำมันยูคาลิปตัสอาจจะเป็นสาเหตุกระตุ้นการเกิดอาการชักใน ผ.ป.โรคลมชักได้ ในการศึกษาพบว่าการบูรและน้ำมันยูคาลิปตัสซึ่งสารทั้งสองมีที่ใช้ในสูตรยาสามัญทั่วไป เช่น Vicks, Tiger Balm เป็นต้น จากการศึกษาเหล่านี้ถูกตีพิมพ์ ในวารสาร Epilepsia Open ในปี 2560พบผู้ป่วย 10 รายที่เป็นผู้ใหญ่ที่มีอาการชักจากการสูดดมน้ำมันยูคาลิปตัส มีผู้ป่วย 8 รายมีชักแบบเกร็งกระตุกทั้งตัว (GTCS) และมี 2 รายที่มีอาการชักแบบเหม่อลอย (CPS) นาน 2-10 นาทีเมื่อสูดดมน้ำมันหอมระเหยยูคาลิปตัสและน้ำมันการบูร  

พบว่าส่วนผสมที่ออกฤทธิ์ของทั้งน้ำมันยูคาลิปตัสและน้ำมันการบูร คือ สาร 1, 8 – cineole ซึ่งเป็น ซึ่งเป็นสารกระตุ้นให้เกิดอาการชักได้ ส่วนการบูรแต่เดิมใช้เป็นสารใช้ในผู้ป่วยโรคจิตที่เนี่ยวนำให้เกิดอาการชักในการรักษาอาการทางจิต ก่อนที่จะมีการพัฒนามาใช้การกระตุ้นไฟฟ้าแทนในการรักษา ผ.ป.โรคจิต

เวลาดมกลิ่นจะมีการกระตุ้นที่เยื่อบุในโพรงจมูกและจะถ่ายทอดกระแสประสาทภายในเสี้ยววินาทีไปยังส่วนสมอง ส่วน Insular และฮิบโปแคมปัสซึ่งเป็นส่วนของสมองที่มีบทบาทสำคัญใน ผ.ป. โรคลมชัก เช่น การเกิดอาการชักแบบเหม่อลอยในผ.ป.โรคลมชักแบบ temporal lobe epilepsy พบว่าสมองส่วนนี้มีบทบาทสำคัญในการก่อให้เกิดอาการชัก

จากการศึกษาใน ผ.ป.จำนวน 190 คน ใน ผ.ป.โรคลมชักที่คลินิกโรคลมชัก พบว่ามีการใช้น้ำมันหอมระเหยยูคาลิปตัสและน้ำมันการบูร  ในการรักษาอาการปวดศีรษะ ไข้หวัด นอนไม่หลับและปวดกล้ามเนื้อและกระดูก พบว่าส่วนใหญ่ใช้ในทางที่ผิดและพบว่า 9% มีติดยาดมน้ำมันหอมระเหยยูคาลิปตัสและน้ำมันการบูร  และพบว่าประมาณ 52% มีการใช้มานานกว่า 6 ปี จาการศึกษาพบว่าผู้ป่วยจำนวนมากที่มีอาการชักกำเริบจากการใช้ยาดมน้ำมันหอมระเหยยูคาลิปตัสและน้ำมันการบูรเหล่านี้ และทำให้มีอาการชักที่ต่อเนื่องตามมา จากข้อมูลที่ได้พบว่าการใช้ยาดมน้ำมันหอมระเหยยูคาลิปตัสและน้ำมันการบูรมมีความสัมพันธ์ทั้งใน ผ.ป.ที่มีอาการชักครั้งแรกและเป็นปัจจัยกระตุ้นให้เกิดอาการชักซ้ำใน ผ.ป.โรคลมชัก และเชื่อว่าการใช้ยาดมน้ำมันหอมระเหยยูคาลิปตัสและน้ำมันการบูรเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดอาการชักได้ซึ่งเป็นปัจจัยกระตุ้นให้เกิดอาการชักที่ไม่รู้มาก่อนเหมือนปัจจัยอื่นฯ ที่กระตุ้นให้เกิดอาการชักได้ เช่น การอดนอน ภาวะเครียด อากาศร้อน การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กลิ่นที่แรงฯ จากสารบางประเภท (กลิ่นจากกาว น้ำมันเบนซีน) เป็นต้น

จากการศึกษานี้พบว่าส่วนใหญ่โหมดการใช้น้ำมันหอมระเหยใน ผ.ป.ที่มีอาการชัก เป็นการทาเฉพาะที่ เช่น ทาที่บริเวณหน้าผากจมูก ลำคอ สูดดม แบบละอองไอน้ำระเหยหลังจากผสมกับน้ำและ การบริโภค พบว่าระยะเวลาที่เริ่มมีอาการชักหลังจากสูดดมคือ 2 ถึง 10 นาที หรือหลังจากการมีการบริโภคโดยการดื่มกิน คือ 30 นาทีถึง 4 ชั่วโมง และหลังจากทาเฉพาะที่คือ 1 – 24 ชั่วโมง

ดั้งนั้นในกรณีที่ ผ.ป.มีอาการชักเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกหลังจากการใช้น้ำมันหอมระเหยเหล่านี้ หรือโรคลมชักที่มีอาการชักซ้ำหลังมีการใช้ยาดมน้ำมันหอมระเหยยูคาลิปตัสและน้ำมันการบูร ควรที่จะต้องมีการประเมินว่าอาการชักที่เกิดขึ้นมีสาเหตุหรือเป็นปัจจัยที่มีผลจากการใช้สารเหล่านี้หรือไม่ จากข้อมูลเบื้องต้นพบว่าน้ำมันหอมระเหยที่เกี่ยวข้องกับอาการชักเป็นเรื่องที่พบได้และถือว่าอาจจะเป็นเป็นปัจจัยเสี่ยงอันหนึ่งทีกระตุ้นให้เกิดอาการชักได้ แพทย์ส่วนใหญ่ยังไม่ทราบถึงผลกระทบของการใช้สารหอมมระเหยเหล่านี้ จึงถูกมองข้ามไปใน ผ.ป.ที่มีอาการชักครั้งแรกหรือผู้ป่วยที่เป็นโรคลมชักที่มีอาการชักซ้ำ

เมื่อพิจารณาถึงการใช้น้ำมันหอมระเหยอย่างกว้างขวางและอาจจะเป็นปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดอาการชักได้ ดั้งนั้นควรมีการศึกษามากขึ้นถึงความสัมพันธ์ระหว่างการใช้ยาดมน้ำมันหอมระเหยและผลต่อการเกิดการชัก และในโรคลมชักดั้งนั้นผู้ป่วยโรคลมชักทุกคนควรได้รับคำแนะนำหรือหลีกเลี่ยงการใช้น้ำมันหอมระเหยที่อาจจะเป็นปัจจัยกระตุ้นให้เกิดอาการชักได้

Reference:

INTERNATIONAL EPILEPSY NEWS ISSUE 2 – 2019


MEDTRONIC APAC Epilepsy Symposium

Severance Hospital, Korea

Course Objective:
The participants will be able to consider DBS as an effective treatment option for Epilepsy disease and further to increase DBS application through knowing the patient selection, lead target region and post-op management.

The workshop will cover the following aspects.
⚫ Review of Clinical Evidence of Epilepsy DBS
⚫ Pathological Brain Network in Patients with Epilepsy
⚫ Patient Selection & Collaboration of Multidisciplinary Team
⚫ Optimization of Medication and Stimulation & Trouble shooting 

⚫ Consideration Factors of Surgical Procedure
⚫ Stimulation Targets for Epilepsy
⚫ Imaging and Pre-operative Planning for ANT DBS

Target attendees are:
Interested in Epilepsy DBS are welcome to join, particularly those regions attempting to expand DBS application to Epilepsy disease.(Skill-up in both neurologists and neurosurgeons)

Course Director Information:

Prof JukkaPeltolaDepartment of Neurology
Tampere University Hospital, Finland
Prof KaiLehtimäkiConsultant neurosurgeon
Tampere University Hospital, Finland
Dr. JohnArcherDepartment of Neurology Heidelberg Neurology, AustraliaProf Jin Woo ChangDepartmentof Neurosurgery Severance Hospital, Korea
Prof Jung Il LeeDepartment of Neurosurgery Samsung Medical Center, KoreaProf Won Seok ChangDepartmentof Neurosurgery Severance Hospital, Korea

AGENDA (DOWNLOAD)

DATE: Jan 17-18(FRI-SAT), 2020
TARGET: APAC PHYSICIANS
VENUE: SEVERANCE HOSPITAL, KOREA



Phramongkutklao Epilepsy Meeting 2019

Download

Registration

Day 1: Thursday 19th December 2019

Day 1:  MRI Essentials in Epileptology

By Dr. Yotin. Chinvarun. M.D. Ph.D.

9.00-10.00              Introduction to Neuroimaging in Epilepsy and MRI technology (teaching course)

10.00-10.30            MRI Investigation in Temporal Lobe Epilepsy (teaching course) 

10.30-10.45            Coffee break

10-45-11.15             Methodological MRI in Extra-Temporal Lobe Epilepsy and Main structural pathology in extra-temporal epilepsy (teaching course)

11.15-12.15             MRI in epilepsy: Tumors (teaching course)

12.15-13.15             Lunch symposium (ESAI)

“The role of AMPA receptors in Status epilepticus”

13.15-13.45             DBS in intractable epilepsy: Anatomy, imaging and Case selection and Outcome of ANT DBS (Dr.Yotin)

13.45-14.15             Surgical technique and Pre-operative planning of ANT DBS (Dr. Siraruj)

14.15-14.30             Coffee break

14.30-15.00             Vagal Nerve Stimulation: What are we now ? (Dr. Siraruj)

Day 2: Friday 20th December 2019

Day 2: Neuroimaging and New treatment

9.00-9.30              MRI in epilepsy (teaching course): Vascular Lesions

9.30-10.00 MRI in epilepsy (teaching course): Post-traumatic lesions

10.00-10.15 Coffee break

10.15-11.15          MRI Essentials in Epileptology (Dr. Yotin)

11-15-12.15           Interesting cases  (Dr. Pasiri and Dr. Yotin)

12.15-13.15             Lunch symposium (GSK): Toward management of epilepsy with Levetiracetam

13.15-13.45             Marijuana in epilepsy (Dr. Yotin)

13.45-14.15             Psychogenic Nonepileptic Seizures (Dr. Pasiri)

14.15-14.30             Coffee break

14.30-15.00            New treatment in epilepsy: New AEDs (Dr. Pasiri)

15.00-15.30             New treatment in epilepsy: New route AEDs (Dr. Yotin)


การกระตุ้นสมองส่วนลึกด้วยไฟฟ้าเพื่อรักษาลมชักที่ดื้อต่อยา (Deep brain stimulation for drug-resistant epilepsy)

การกระตุ้นสมองส่วนลึกด้วยไฟฟ้าเพื่อรักษาลมชักที่ดื้อต่อยา (DEEP BRAIN STIMULATION FOR DRUG-RESISTANT EPILEPSY)

•การกระตุ้นสมองส่วนลึกAnteriornucleus of the thalamus (ANT), hippocampus (HC) พบว่าสามารถลดความถี่ของอาการชักในผู้ป่วยโรคลมชักที่ดื้อต่อยาได้

•จากการศึกษาพบว่าครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยโรคลมชักที่ดื้อต่อยาจะมีอาการชักลดลงถึง46%-90%หลังจากได้รับการรักษาด้วยการกระตุ้นสมองส่วนลึกด้วยการกระตุ้นไฟฟ้าไฟฟ้าสมองส่วนลึก ตำแหน่งthalamus (ANT-DBS)และพบว่าการกระตุ้นสมองส่วนลึกที่ตำแหน่งhippocampus(HC-DBS)จะทำให้อาการชักลดลงถึง48%-95%

•พบว่าในผู้ป่วยโรคลมชักที่ดื้อต่อยาประมาณว่า3 ใน4 ของผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยการกระตุ้นไฟฟ้าในส่วนลึกของสมองที่ตำแหน่งANT, HC,หรือ Centromediannucleus of the thalamus (CMT) จะทำให้ความถี่ของการชักลดได้ถึง50%.