การบูรและน้ำมันยูคาลิปตัสเป็นสาเหตุกระตุ้นให้เกิดอาการชักได้

ดร. นพ.โยธิน ชินวลัญช์

การดมกลิ่นการบูรและน้ำมันยูคาลิปตัสอาจจะเป็นสาเหตุกระตุ้นการเกิดอาการชักใน ผ.ป.โรคลมชักได้ ในการศึกษาพบว่าการบูรและน้ำมันยูคาลิปตัสซึ่งสารทั้งสองมีที่ใช้ในสูตรยาสามัญทั่วไป เช่น Vicks, Tiger Balm เป็นต้น จากการศึกษาเหล่านี้ถูกตีพิมพ์ ในวารสาร Epilepsia Open ในปี 2560พบผู้ป่วย 10 รายที่เป็นผู้ใหญ่ที่มีอาการชักจากการสูดดมน้ำมันยูคาลิปตัส มีผู้ป่วย 8 รายมีชักแบบเกร็งกระตุกทั้งตัว (GTCS) และมี 2 รายที่มีอาการชักแบบเหม่อลอย (CPS) นาน 2-10 นาทีเมื่อสูดดมน้ำมันหอมระเหยยูคาลิปตัสและน้ำมันการบูร  

พบว่าส่วนผสมที่ออกฤทธิ์ของทั้งน้ำมันยูคาลิปตัสและน้ำมันการบูร คือ สาร 1, 8 – cineole ซึ่งเป็น ซึ่งเป็นสารกระตุ้นให้เกิดอาการชักได้ ส่วนการบูรแต่เดิมใช้เป็นสารใช้ในผู้ป่วยโรคจิตที่เนี่ยวนำให้เกิดอาการชักในการรักษาอาการทางจิต ก่อนที่จะมีการพัฒนามาใช้การกระตุ้นไฟฟ้าแทนในการรักษา ผ.ป.โรคจิต

เวลาดมกลิ่นจะมีการกระตุ้นที่เยื่อบุในโพรงจมูกและจะถ่ายทอดกระแสประสาทภายในเสี้ยววินาทีไปยังส่วนสมอง ส่วน Insular และฮิบโปแคมปัสซึ่งเป็นส่วนของสมองที่มีบทบาทสำคัญใน ผ.ป. โรคลมชัก เช่น การเกิดอาการชักแบบเหม่อลอยในผ.ป.โรคลมชักแบบ temporal lobe epilepsy พบว่าสมองส่วนนี้มีบทบาทสำคัญในการก่อให้เกิดอาการชัก

จากการศึกษาใน ผ.ป.จำนวน 190 คน ใน ผ.ป.โรคลมชักที่คลินิกโรคลมชัก พบว่ามีการใช้น้ำมันหอมระเหยยูคาลิปตัสและน้ำมันการบูร  ในการรักษาอาการปวดศีรษะ ไข้หวัด นอนไม่หลับและปวดกล้ามเนื้อและกระดูก พบว่าส่วนใหญ่ใช้ในทางที่ผิดและพบว่า 9% มีติดยาดมน้ำมันหอมระเหยยูคาลิปตัสและน้ำมันการบูร  และพบว่าประมาณ 52% มีการใช้มานานกว่า 6 ปี จาการศึกษาพบว่าผู้ป่วยจำนวนมากที่มีอาการชักกำเริบจากการใช้ยาดมน้ำมันหอมระเหยยูคาลิปตัสและน้ำมันการบูรเหล่านี้ และทำให้มีอาการชักที่ต่อเนื่องตามมา จากข้อมูลที่ได้พบว่าการใช้ยาดมน้ำมันหอมระเหยยูคาลิปตัสและน้ำมันการบูรมมีความสัมพันธ์ทั้งใน ผ.ป.ที่มีอาการชักครั้งแรกและเป็นปัจจัยกระตุ้นให้เกิดอาการชักซ้ำใน ผ.ป.โรคลมชัก และเชื่อว่าการใช้ยาดมน้ำมันหอมระเหยยูคาลิปตัสและน้ำมันการบูรเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดอาการชักได้ซึ่งเป็นปัจจัยกระตุ้นให้เกิดอาการชักที่ไม่รู้มาก่อนเหมือนปัจจัยอื่นฯ ที่กระตุ้นให้เกิดอาการชักได้ เช่น การอดนอน ภาวะเครียด อากาศร้อน การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กลิ่นที่แรงฯ จากสารบางประเภท (กลิ่นจากกาว น้ำมันเบนซีน) เป็นต้น

จากการศึกษานี้พบว่าส่วนใหญ่โหมดการใช้น้ำมันหอมระเหยใน ผ.ป.ที่มีอาการชัก เป็นการทาเฉพาะที่ เช่น ทาที่บริเวณหน้าผากจมูก ลำคอ สูดดม แบบละอองไอน้ำระเหยหลังจากผสมกับน้ำและ การบริโภค พบว่าระยะเวลาที่เริ่มมีอาการชักหลังจากสูดดมคือ 2 ถึง 10 นาที หรือหลังจากการมีการบริโภคโดยการดื่มกิน คือ 30 นาทีถึง 4 ชั่วโมง และหลังจากทาเฉพาะที่คือ 1 – 24 ชั่วโมง

ดั้งนั้นในกรณีที่ ผ.ป.มีอาการชักเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกหลังจากการใช้น้ำมันหอมระเหยเหล่านี้ หรือโรคลมชักที่มีอาการชักซ้ำหลังมีการใช้ยาดมน้ำมันหอมระเหยยูคาลิปตัสและน้ำมันการบูร ควรที่จะต้องมีการประเมินว่าอาการชักที่เกิดขึ้นมีสาเหตุหรือเป็นปัจจัยที่มีผลจากการใช้สารเหล่านี้หรือไม่ จากข้อมูลเบื้องต้นพบว่าน้ำมันหอมระเหยที่เกี่ยวข้องกับอาการชักเป็นเรื่องที่พบได้และถือว่าอาจจะเป็นเป็นปัจจัยเสี่ยงอันหนึ่งทีกระตุ้นให้เกิดอาการชักได้ แพทย์ส่วนใหญ่ยังไม่ทราบถึงผลกระทบของการใช้สารหอมมระเหยเหล่านี้ จึงถูกมองข้ามไปใน ผ.ป.ที่มีอาการชักครั้งแรกหรือผู้ป่วยที่เป็นโรคลมชักที่มีอาการชักซ้ำ

เมื่อพิจารณาถึงการใช้น้ำมันหอมระเหยอย่างกว้างขวางและอาจจะเป็นปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดอาการชักได้ ดั้งนั้นควรมีการศึกษามากขึ้นถึงความสัมพันธ์ระหว่างการใช้ยาดมน้ำมันหอมระเหยและผลต่อการเกิดการชัก และในโรคลมชักดั้งนั้นผู้ป่วยโรคลมชักทุกคนควรได้รับคำแนะนำหรือหลีกเลี่ยงการใช้น้ำมันหอมระเหยที่อาจจะเป็นปัจจัยกระตุ้นให้เกิดอาการชักได้

Reference:

INTERNATIONAL EPILEPSY NEWS ISSUE 2 – 2019