การวินิจฉัยโรคสมองเสื่อมอัลไชเมอร์ตั้งแต่ระยะเริ่มต้น

การวินิจฉัยโรคสมองเสื่อมอัลไชเมอร์ตั้งแต่ระยะเริ่มต้น

Amyloid

อาการความจำถดถอยจะมีอาการอยู่หลายปีก่อนจะเริ่มต้นของโรคสมองเสื่อมอัลไชเมอร์ ภาวะนี้เรียกว่า อาการความจำถดถอย (Minimal cognitive impairment; MCI) บัจจุบันโดยการพัฒนาการตรวจหาสาร biomaker การตรวจหา biomaker จะมีลักษณะสองอย่างคือการตรวจหาพยาธิสภาพของการเกิดโรคสมองเสื่อมอัลไชเมอร์และการตรวจหาการที่เซลล์ประสาทได้รับบาดเจ็บ สารที่เป็นพยาธิสภาพชองโรคสมองเสื่อมอัลไชเมอร์ก็คือ สารเบต้าอมีลอยด์ (AB)ซึ่งสามารถตรวจได้จากการตรวจ PET imaging หรือจากการตรวจในน้ำไขสันหลังโดยวิธีการตรวจ PET imaging

ในการวินิจฉัยจากภาพการตรวจ 11C-PIB PET ในผ.ป.โรคสมองเสื่อมอัลไชเมอร์จะพบว่ามีการตรวจพบสารเบต้าอมีลอยด์ อย่างชัดเจนแต่จะไม่สัมพันธ์กับความรุนแรงของโรคในคนปกติสูงอายุได้ซึ่งจะมีการตรวจพบสารเบต้าอมีลอยด์ได้ประมาณ 12% ในคนอายุ 60 ปี 30% ในคนอายุ 70 ปี และ 50% ในคนอายุ 80 ปีคนปกติที่มีสารเบต้าอมีลอยด์ มักจะมีความสัมพันธ์อย่างสูงกับการมี APoE-e4 allele

ในคนปกติที่มีสารเบต้าอมีลอยด์ จะมีความเสี่ยงสูงที่มีความจำถดถอยและสมองฝ่อที่จะเป็นอาการเริ่มต้นของโรคสมองเสื่อมอัลไชเมอร์ จากการศึกษาระยะยาว (Longitudinal studies) โดยการใช้ 11C-PiB ยืนยันว่าการสะสมของสารเบต้าอมีลอยด์ จะเป็นไปอย่างช้าฯ ในผู้สูงอายุที่มีความจำปกติอยู่แต่มีการตรวจพบสารเบต้าอมีลอยด์ จะมีการเพิ่มขึ้นของสารเบต้าอมีลอยด์ประมาณ 2-3% ต่อปีชึ่งจะเหมือนในผ.ป. ที่มีความจำถดถอย (MCI) การสะสมของสารเบต้าอมีลอยด์จะใช้เวลา 10-20 ปีก่อนที่จะมีอาการสมองเสื่อมอัลไซเมอร์

ความถูกต้องแม่นยำของการตรวจสารเบต้าอมีลอยด์ จากการใช้ PET scan จากข้อมูลการตรวจหาสารเบต้าอมีลอยด์ในการวินิจฉัยโรคอัลไซเมอร์พบว่ามีความไวในการตรวจพบและความแม่นยำสูงแต่จะลดลงเมื่ออายุมากขึ้น มีความแม่นยำในการวินิจฉัยโรคอัลไซเมอร์ 90% ในผ.ป.อายุ 70 ปี 75-80% ในผ.ป.อายุ 80 ปี แต่ความแม่นยำในการตรวจว่ามีสารเบต้าอมีลอยด์ หรือไม่มีพบว่ามีความไวสูงมากในทุกช่วงอายุ ยังไม่มีรายงานการตรวจพบว่ามีผลเป็นบวกเทียม (false positive) และก็มีน้อยมากที่มีผลเป็นลบเทียม (false negative) มีการศึกษาพบว่าการตรวจสารเบต้าอมีลอยด์ โดยการใช้ 11C-PIB-PET มีความคาดเดา (predictive value) ได้แม่นยำมากในผ.ป.ที่มีความจำถดถอย (MCI) ว่าจะเกิดโรคอัลไซเมอร์หรือไม่  พบว่า 70% ของผ.ป.ที่มีการตรวจพบการตรวจสารเบต้าอมีลอยด์ จากการตรวจ PET scan จะพัฒนาไปเป็นโรคอัลไซเมอร์ในระยะเวลา 3 ปี นอกจากนี้การใช้การตรวจแยกโรคจากโรคลมองเสื่อม fronto-temporal มีดวามแม่ยำสูงมาก เนื่องจากจะไม่มีการตรวจพบสารเบต้าอมีลอยด์ในโรคสมองเสื่อมชนิดนี้