Q&A: Alzheimer’s dementia

ประเด็นคำถามเรื่อง รู้เท่าทัน ห่างไกล อัลไซเมอร์

ดร.นพ.โยธิน ชินวลัญช์

  1. โรคอัลไซเมอร์ คืออะไร มีวิธีสังเกตอาการอย่างไร
  • โรคสมองเสื่อมโรคอัลไซเมอร์ เป็นภาวะที่มีการเสื่อมการทำงานของสมอง โดยจะมีการสะสมของสารเบต้าอมีลอยด์ ที่จะมีผลอันตรายต่อเซลล์สมอง อาการจะค่อยๆเป็นมากขึ้น โดยที่ การเสื่อมของสมอง จะไม่สามารถกลับคืนมาเป็นปกติได้ ทำให้มีผลกระทบ ทำให้ความจำเสื่อม สมาธิเสียไปและความคิดอ่านสูญเสีย
  • อาการเริ่มต้นของโรคสมองเสื่อมอัลไซเมอร์ จะเริ่มมีอาการของความจำถดถอยก่อน ตั้งแต่อายุ 50 ปีขึ้นไป อาการเริ่มต้น ที่มักจะพบได้  เช่น  แต่นึกคำ หรือใช้คำไม่ถูกต้อง  การถามซ้ำๆ  ปัญหาในการจำชื่อคน  สิ่งของ  มีความยากลำบากในการทำงานหรือการทำอะไรยากลำบากขึ้น ทั้งทั้งที่เคยทำเป็นประจำอยู่  หลงลืม หรือนึกไม่ออก ในเหตุการณ์ที่พึ่งเกิดขึ้น หรือ พึ่งอ่านมา หลงลืมในสิ่งของที่ว่าง มีความยากลำบากในการแก้ปัญหา การวางแผนทั้งฯที่เคยทำได้มาก่อนทั้งที่บ้านและการงาน หลงทางในสถานที่ที่คุ้นเคย การกะระยะทางที่สูญเสียไป มีอารมณ์เปลี่ยนแปลง ซึ่งน่าจะเป็น อารมณ์ เช่น หงุดหงิดง่ายขึ้น  มีอารมณ์ก้าวร้าว หรือซึมเศร้า  นอกจากนี้ ผู้ป่วย มักจะรู้สึกว่า ความจำตัวเองถดถอยลง แต่ พยายามจะปกปิดอะไร

 

  1. อธิบายความเกี่ยวโยงกันของโรคความจำถดถอย อัลไซเมอร์และสมองเสื่อม

โรคสมองเสื่อมอัลไซเมอร์ จะเป็นโรค ที่เขาค่อยๆเป็นโดยที่อาการเริ่มต้นจะเป็นโรคความจำถดถอย นำมาก่อน ประมาณ 10 ถึง 15 ปี ซึ่งมักจะเริ่มเป็น ตั้งแต่อายุ 50 ปี โดยที่ผู้ป่วย อาจจะเริ่มมีอาการ คงความจำถดถอย แต่ยังสามารถ ทำงาน และใช้ชีวิต ได้เป็นปกติอยู่ ตัวโรคจะมีการพัฒนาการของการเสื่อมถอยของความจำอย่างช้าๆ  แต่อย่างไรก็ตาม ก็จะมีกลุ่มผู้ป่วยโรคความจำถดถอย ที่มีอาการ ความจำถดถอยตามอายุ โดยไม่พัฒนาการ ไปเป็นโรคสมองเสื่อมอัลไซเมอร์  ดังนั้นการวินิจฉัยผู้ป่วยที่มีโรคความจำถดถอย ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคสมองอัลไซเมอร์ จึงเป็นสิ่งที่ยากในทางคลินิก

  1. อัลไซเมอร์มีวิธีตรวจวินิจฉัย หรือ test ทดสอบระดับความรุนแรงอย่างไร

ปัจจุบัน มีวิธีการวินิจฉัย โรคสมองเสื่อมอัลไซเมอร์ โดยการตรวจ

การตรวจการทดสอบเรื่องความจำ

การตรวจหาสาร ที่ก่อให้เกิดโรคอัลไซเมอร์  คือ  การตรวจหาสารสารเบต้าอมีลอยด์ ในอดีตมีการตรวจจากน้ำไขสันหลัง แต่ในปัจจุบัน สามารถตรวจด้วยการทำ เอกซเรย์สมอง โดยใช้เครื่อง PET brain  ในการตรวจหาสารชนิดนี้

  1. ขั้นตอนของการรักษาโรค และ โรคนี้สามารถหายขาดได้หรือไม่

ปัจจุบันจากการศึกษาและวิจัย พบว่า ยังไม่มียาชนิดใด ในการ รักษาโรคสมองเสื่อมอัลไซเมอร์ ให้หายขาดได้  แต่ พบว่า ถ้าสามารถ วินิจฉัยตั้งแต่ผู้ป่วยมีโรคความจำถดถอย ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคสมองเสื่อมอัลไซเมอร์ จะสามารถที่จะชะลอการเกิดโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดั่งนั้น จึงมีแนวโน้ม ที่จะให้มีการตรวจวินิจฉัยในผู้ป่วยที่มีความจำถดถอย ว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงหรือไม่ ตั้งแต่อายุ 50 ปีขึ้นไป

  1. วิธีการในการดูแลผู้ป่วย ป้องกัน หรือชะลออาการอย่างไร

ปรับพฤติกรรมในการดำเนินชีวิตสามารถที่จะช่วยชะลอตัวโรค ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น อ่านหนังสือ การทำงาน โดยไม่เกษียณตัวเอง เล่นเกมส์ที่อาศัยการคิดคำนวณ การพบปะพูดคุยเข้าสังคม ดูแลสุขภาพจิตให้ดี คิดบวก ลดความเครียด ทานอาหารที่มีประโยชน์ การนอนหลับที่ดี ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เป็นต้น ซึ่งจะช่วยชะลอหรือทุเลาอาการเสื่อมที่จะเกิดขึ้นได้

  1. ญาติควรรับมืออย่างไรกับผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์

คำแนะนำของญาติ ในกรณี ที่มี บุคคลในครอบครัว ที่มีอายุ 50 ปี ขึ้นไป และเริ่มมีอาการ ของโรคความจำถดถอย ควรได้รับการตรวจจากแพทย์ เพื่อดูว่า เป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะเกิดโรคสมองเสื่อมอัลไซเมอร์หรือไม่แต่เนิ่นฯ  อย่าคิดว่าเป็นเพราะว่าความจำถดถอยตามอายุ  เพราะเมื่อผู้ป่วยเริ่มต้นโรคสมองเสื่อมอัลไซเมอร์แล้ว จะไม่มีวิธีการรักษาและชะลอตัวโรคได้ทัน อันจะเป็นภาระต่อครอบครัวที่ต้องดูแลผู้ป่วยอย่างมาก