โรคลมชัก (Epilepsy)

โรคลมชัก (Epilepsy)

โรคลมชักเป็นปัญหาที่พบได้ในคนทุกเพศทุกวัย  โดยมีอุบัติการณ์เกิดประมาณ 1% ของประชากร ในประเทศไทยประมาณว่ามี ผ.ป.โรคลมชักประมาณ 6-7 แสนคน โรคลมชักไม่ใช่โรคติดต่อเป็นโรคที่มีสาเหตุจากหลายฯชนิดอาจจะถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ขึ้นกับชนิดของการชัก โรคลมชักพบได้ในช่วงทุกอายุ หากได้รับการรักษาแต่เนิ่นๆและถูกต้องในผ.ป.ส่วนใหญ่จะสามารถหายขาดได้

อาการชักเกิดเนื่องจากความผิดปรกติของกระแสไฟฟ้าภายในสมองซึ่งมีการนำของกระแสไฟฟ้าที่ลัดวงจรก่อให้เกิดอาการชักตามมาโดยถ้ากระแสไฟฟ้าที่ผิดปกติเกิดขึ้นรบกวนสมองเป็นบางส่วนจะทำให้เกิด “อาการชักเฉพาะที่โดยที่ยังรู้ตัวอยู่แต่ถ้ามีเหม่อลอยหมดสติทำอะไรไม่รู้ตัวเรียกว่า อาการชักแบบเหม่อ แต่ถ้ากระแสไฟฟ้าที่ผิดปกติเกิดขึ้นรบกวนสมองทั้งสองข้างจะทำให้เกิดอาการชักแบบเกร็งกระตุกทั้งตัวหรือชักแบบแน่นิ่งที่พบบ่อยในเด็ก

อาการชักเฉพาะที่โดยกระแสไฟฟ้าที่ผิดปรกติอาจรบกวนสมองส่วนที่ควบคุมการทำงานแห่งใดแห่งหนึ่งในร่างกายทำให้เกิดอาการต่างฯใดยที่ยังรู้ตัว เช่น อาการชาหรือกระตุกของแขนขา หรือใบหน้าข้างใดข้างหนึ่งเป็นซ้ำฯใดยที่ไม่สามารถควบคุมได้ นอกจากนี้อาจมีอาการคลื่นไส้ ปวดท้อง กลัว ความรู้สึกแปลกฯ ความรู้สึกเหมือนฝัน หูแว่ว เห็นภาพหลอน หรือหัวใจเต้นผิดปรกติ

อาการชักแบบเหม่อลอย ผ.ป.มักจะมีอาการเตือนนำมาก่อนเหมือนดังที่ได้กล่าวมาแล้วตามด้วยอาการเหม่อลอย ผ.ป.มักจะทำปากขมุบขมิบหรือเคี้ยวปากหรือมือเกร็งหรือขยับมือไปมาอาจคลำตามเสื้อผ้าอย่างไม่รู้ตัวเคลื่อนไหวแขนขาอย่างไร้จุดหมายโดยไม่รับรู้สิ่งรอบข้างแล้วโดยที่จำเหตุการณ์ระหว่างนั้นไม่ได้อาการเหม่อลอยจะนานประมาณไม่กี่วินาทีจนถึงหลายฯนาทีหลังจาก ผ.ป.มักจะมีอาการสับสน ในผ.ป.บางรายอาจจะมีอาการพูดไม่ได้หรือยกแขนข้างใดข้างหนึ่งไม่ได้อีกหลายนาที กว่าจะตื่นเป็นปกติ

อาการชักแบบเกร็งกระตุกทั้งตัว เกิดจากการที่กระแสไฟฟ้าที่ผิดปรกติรบกวนการทำงานของสมองทั้งหมดจะเกิดอาการชักที่เรียกว่า “อาการชักทั่วทุกส่วน” หรือที่เรียกว่าโรคลมบ้าหมู ชนิดที่พบบ่อยคือ อาการชักแบบเกร็งกระตุกทั้งตัว ผู้ป่วยจะสูญเสียการรู้สึกตัวทันที และล้มลง กล้ามเนื้อจะแข็งเกร็งทั่วทั้งตัว ตาจะเลือกค้าง น้ำลายฟูมปากอาจจะกัดลิ้นตนเองหรือปัสสาวะราด ระยะเวลาชักจะนานประมาณ 2 – 3 นาที หลังชักมักจะเพลียและนอนหลับหลังจากหยุดชัก

อาการชักแบบแน่นิ่ง พบได้บ่อยในวัยเด็ก อาการจะเกิดขึ้นในระยะเวลาสั้นมาก ผู้ป่วยจะจ้องไปข้างหน้าอย่างไร้จุดหมายเป็นระยะเวลาสั้นๆคล้ายกับเหม่อ ประมาณ 2 – 3 วินาทีแล้วกลับมาทำสิ่งที่ค้างอยู่ต่อไปโดยมักไม่มีการเคลื่อนไหวแขนขา