ข้อพึงปฏิบัติในการรักษาโรคลมชัก

ข้อพึงปฏิบัติในการรักษาโรคลมชัก

 

ข้อพึงปฏิบัติในการรักษาโรคลมชัก

1. ควรรับประทานยากันชักตามคำแนะนำของแพทย์ทุกวันอย่างสม่ำเสมอและตามเวลาที่แนะนำ

2. ควรสังเกตอาการข้างเคียงของยาตามคำแนะนำของแพทย์ หากพบควรรีบปรึกษาแพทย์ก่อนตัดสินใจหยุดยาเองเพราะบางกรณีหากหยุดยาเองอาจทำให้เกิดอาการชักอย่างรุนแรงเพราะขาดยาได้

3. จดบันทึกลักษณะอาการชักทุกครั้งที่มีตลอดจนวันและเวลาที่มีอาการเพื่อเป็นประโยชน์ต่อแพทย์ในการปรับขนาดยา หรือช่วงเวลาที่จะให้ยาแก่ผู้ป่วย

4. ควรหลีกเลี่ยงภาวะต่างๆที่อาจจะเสี่ยงต่อกาชักซ้ำ เช่น การอดนอน, การออกกำลังกายหักโหม, ขาดยากันชัก, อดอาหารเป็นต้น

การปฐมพยาบาลเบื้องต้น

1. เมื่อพบผู่ป่วยที่กำลังชัก ตั้งสติให้ดี อย่าตกใจ

2. จับผู้ป่วยนอนตะแคงหันศีรษะไปด้านใดด้านหนึ่ง เพื่อป้องกันการสำลัก และลิ้นตกไปอุดทางเดินหายใจ

3. คลายเสื้อผ้าให้หลวม

4. ห้ามใช้นิ้วหรือสิ่งของใดๆงัดปากผู้ป่วยขณะชัก เพราะอาจเกิดอันตรายต่อผู้ป่วยและผู้ช่วยเหลือ

5. ผู้ป่วยหลังชักอาจมีอาการงงอยู่ ขณะยังไม่รู้สติ ห้ามยึดจับผู้ป่วยเพราะจะกระตุ้นผู้ป่วยให้ทำการต่อสู้รุนแรงได้

6. ในกรณีที่ผู้ป่วยหลับหลังชักควรปล่อยให้หลับต่อ ห้าม ป้อนอาหารหรือยาจนกว่าจะฟื้นเป็นปรกติเพราะอาจสำลักได้

7. ถ้าชักนานกว่าปรกติหรือชักซ้ำ ขณะที่ยังไม่ฟื้นเป็นปรกติควรนำส่งโรงพยาบาล