กระตุ้นทางไฟฟ้าส่วนลึกของสมอง (Deep brain stimulation: DBS) ในการรักษาโรคลมชัก

กระตุ้นทางไฟฟ้าส่วนลึกของสมอง (Deep brain stimulation: DBS) ในการรักษาโรคลมชัก

โดย พลตรี.ดร.นพ.โยธิน  ชินวลัญช์

  

Deep brain stimulation (DBS) เป็นวิธีการกระตุ้นทางไฟฟ้าสมองที่กำหนดไว้ล่วงหน้า (open-loop)ที่สมองส่วนลึกผ่านทางขั้วไฟฟ้าที่ฝังอยู่ซึ่งเชื่อมต่อกับเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าgeneratorที่อยู่นอกสมองเพื่อใช้ในการรักษาผู้ป่วยโรคลมชัก จากการทดลองทางคลินิกเมื่อไม่นานมานี้ พบว่า การกระตุ้นไฟฟ้าสมอง DBS ของ ในส่วนของสมองที่เรียกว่า centro-medial ของ thalamus ได้รับการรับรองสำหรับใช้ในการรักษาผู้ป่วยโรคลมชักในยุโรป แคนาดาและ ออสเตรเลียนอกจากนี้ DBS ยังใช้ในทางการแพทย์ในการ รักษาผู้ป่วยที่มีการเคลื่อนไหวผิดปรกติ เช่น ผู้ป่วยโรคปาร์กินสัน อาการสั่นจาก โรค essential tremor และได้แสดงให้เห็นถึงศักยภาพในการรักษาความผิดปกติของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ ภาวะซึมเศร้าและ โรคซึมเศร้า – อาการย้ำคิดย้ำทำ

มีการศึกษาการใช้การกระตุ้นไฟฟ้าสมอง DBS ตั้งแต่ปี 1970และ 1980 แต่อย่างไรก็ตามข้อมูลการทดลองแบบ randomized controlled trial (RCT) ที่มีจำนวนผู้ป่วยมากมีอยู่เพียงการศึกษาเดียว ที่ มีการใช้ในการกระตุ้นสมองส่วน anterior nucleus of thalamus(ANT) ได้แก่ การศึกษาวิจัย SANTE พบว่าแม้ว่าการกระตุ้นไฟฟ้าจะมีผลที่ทำให้มีอาการชักดีขึ้นแต่ก็ยังมีที่ยังไม่รู้ว่าทำไมมีผู้ป่วยบางรายไม่ตอบสนอง และก็ยังไม่ทราบกลไกที่ชัดเจนว่าการกระตุ้นไฟฟ้าสมองมีผลอย่างไรที่ทำให้มีอาการชักดีขึ้น

ปัจจุบันได้มีการพิจารณาการใช้วิธีการกระตุ้นไฟฟ้าสมองในผู้ป่วยโรคลมชักที่ดื้อต่อยาหรือผู้ป่วยที่ไม่สามารถรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดได้โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่มีจุดกำเนิดไฟฟ้าที่ก่อให้เกิดอาการชักมีมากกว่า 1 ตำแหน่งที่ไม่สามารถจะผ่าตัดรักษาให้หายขาดได้หรือโรคลมชักบางชนิด เช่น โรคลมชักLennox Gastaut Syndromeที่ผู้ป่วยมักจะมีอาการชักหลายแบบ เช่น อาการชักแบบทรุดล้ม (Drop attack) อาการชักแบบเหม่อลอย (Focal seizure with loss awareness)และอาการชักเกร็ง (Tonic seizure) ร่วมกับมีความผิดปกติของการพัฒนาการเรื่องความจำและการเรียนรู้และพฤติกรรม ได้มีการศึกษามากขึ้นในวิธีการใช้การรักษาชนิดนี้ในผู้ป่วย Lennox Gastaut Syndrome พบว่าทำให้อาการชักดีขึ้นรวมถึงการเรียนรู้และพฤติกรรมดีขึ้นด้วย

ถึงแม้การรักษาด้วยวิธีการกระตุ้นไฟฟ้าทางสมองมักจะเป็นวิธีการรักษาที่ทำให้อาการชักลดลงแต่จำนวนผู้ป่วยที่จะหายขาดจากอาการชักจากการรักษาวิธีนี้อาจจะยังน้อยอยู่ แต่การควบคุมโรคลมชักที่ดีขึ้นจะมีผลทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยดีขึ้นทำให้ความจำดีขึ้นและทำให้สามารถช่วยตัวเองมากขึ้น และรวมถึงอาจจะทำให้สามารถลดยากันชักได้ ซึ่งถือว่าเป็นการรักษาแบบทางเลือกและเสริมและทำให้ผู้ป่วยนอกชักมีอาการที่ดีขึ้น ถือว่าเป็นการรักษาที่ปลอดภัยโดยที่ผู้ป่วยไม่ต้องได้รับการผ่าตัดสมองแต่เป็นการวางสายขั้วไฟฟ้า ซึ่งจะมีความเสี่ยงน้อยกว่าการผ่าตัดสมอง

ผลการศึกษาเร็วนี้พบว่าการกระตุ้นไฟฟ้าในส่วนลึกของสมองส่วนanterior thalamus (ANT)และ Hippocampus (HC) ในระยะยาว พบว่าทำให้มีอาการชักลดลง 46-90% และ 48% -95% ในกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการศึกษาทั้งหมด แต่การกระตุ้นไฟฟ้าในส่วนลึกสมองตำแหน่งอื่นๆยังมีผลการตอบสนองที่ยังไม่ชัดเจน  พบว่า>70% ของผู้ป่วยที่ได้รับการกระตุ้นไฟฟ้าในส่วนลึกของสมอง ANT หรือ HC ทำให้ลดอาการชักได้อย่างน้อย 50% และผลข้างเคียงและภาวะแทรกซ้อนของการรักษาด้วยวิธีนี้(DBS) ในโรคลมชักที่ดื้อต่อยามีลักษณะคล้ายคลึงกับที่สังเกตได้ จากการรักษาด้วย DBS สำหรับข้อบ่งชี้อื่น ๆ การตอบสนองต่อผู้ป่วยแต่ละรายอาจจะมีแตกต่างกันไป ดังนั้น การรักษาชนิดนี้จะเป็นทางเลือก ในผู้ป่วยโรคลมชักที่ดื้อต่อยาที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้จากการผ่าตัด หรือมีโรคลมชัดที่เป็นกลุ่ม epileptic syndrome เช่น Lennox Gastaut Syndrome, Epileptic encephalopathy เป็นต้น

ผู้ป่วยที่มีความสนใจในการรักษาโรคลมชักด้วยวิธีการกระตุ้นไฟฟ้าในส่วนลึกของสมอง(DBS) สามารถติดต่อ ได้ที่

คลินิกโรคลมชัก โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า