All posts by admin

Sleep-Disordered Breathing and Acute Ischemic Stroke

Sleep-Disordered Breathing and Acute Ischemic Stroke

By Dr. Yotin  Chinvarun  M.D. Ph.D.

stroke1-570x250

 

 

 

Abstract

A strong link between sleep disordered breathing (SDB) and stroke, large-scale studies established moderate-to-severe untreated OSA as independent modifiable risk factor for stroke and other cardiovascular events (CVE). Untreated severe SDB (apnea-hypopnea index [AHI]>30) increased significantly risk of fatal and nonfatal cardiovascular events.  Several studies have been performed to demonstrate that SDB is the cause and is not the consequence of stroke.  Type of respiratory event was generally obstructive, with dominant central apneas in only 6% of patients. High prevalence of obstructive apneas demonstrating SDB is more probably the cause rather than the consequence of stroke. Several changes occurring with respiratory events including hypoxemia, reduction of cerebral blood flow, decreased cardiac output, cardiac arrhythmias, blood pressure swings, increased sympathetic activity, baroreceptor dysfunction, endothelial dysfunction, inflammatory changes, decreased fibronolytic activity, and increased platelet aggregability. These might be responsible for onset or rapid progression of stroke during sleep in patients with SDB.

Sleep stroke

Diagnosis of SDB in Acute Stroke could be made with automatic CPAP. Standard polysomnography is cumbersome, expensive, and often not available in stroke units. Application of nasal continuous positive airway pressure could reduce risk of hypertension and stroke in patients with SDB and improve early rehabilitation potential after stroke. SDB is associated with an increased long-term mortality in which the AHI significantly lower in survivors. Stroke and Cheyne-Stokes respiration is commonly found in a half of the patients suffering from heart failure, however, stroke can also predispose to the development of Cheyne-Stokes respiration (CSR), which found about 20.6% of patients suffering from acute lacunar strokes.

 

Treatment of SDB in Stroke Patients should include prevention and early treatment of secondary complications (e.g., aspiration, respiratory infections, pain). There should be cautious use/avoidance of alcohol and sedative hypnotic drugs that may negatively interfere with breathing control during sleep. Body position may influence SDB as obstructive events may be aggravated by supine position. On the other hand, lying on the hemiparetic side can aggravate hypoxemia. CPAP may be highly beneficial in stroke patients with SDB, and treatment success in up to 70% well selected patients. Also, compliance to CPAP may be reduced by such problems as dementia, aphasia, anosognosia and facial and pseudobulbar/bulbar palsy. While treatment of CSR, therapy of underlying disease is the first priority. Bilevel positive pressure therapy was applied to patients with CSR not responsive to CPAP. Treatment of Cheyne-Stokes respiration by using adaptive servo ventilation was found very useful and might become the new standard of treatment for CSR.

 

How to make accurate Diagnosis of Dementia in patients who have mild cognitive impairment

How to make accurate Diagnosis of Dementia

in patients who have mild cognitive impairment

 

การตรวจวินิจฉัยโรคสมองเสื่อมหรือผู้ป่วยที่เริ่มมีความผิดปกติด้านความจำเบื้องต้นให้ถูกต้องแม่นยำ

โรคภาวะสมองเสื่อม (Dementia) เป็นปัญหาสาธารณสุขทั่วโลกและมีจำนวนผู้ป่วยที่มากขึ้นเป็นทวีคูณ มีการประมาณการว่าจำนวนผู้ป่วย Dementia จะเพิ่มมากเท่าตัวในช่วง 20 ปีข้างหน้า มีการประมาณการว่าจำนวนผู้ป่วยใน U.S.A. เพิ่มจาก 35 ล้านคนในปี 2000 เป็น 70 ล้านคนในปี 2030

ปัจจุบันมีผู้ป่วย Dementia 27 ล้านคนทั่วโลก และจะมีผู้ป่วยใหม่ประมาณ 5 ล้านคนต่อปี โดยชนิดของ Dementia ที่พบบ่อยที่สุดคือ Alzheimer’s dementia ประมาณ 65% ของผู้ป่วย Dementia ทั้งหมด

นอกจากนี้มี dementia จากสาเหตุอื่นๆ เช่น Vascular Dementia (VAD) พบประมาณ 15%-20% ของภาวะ dementia ใน U.S.A. แต่พบประมาณ 50% ของภาวะ dementia ในประเทศญี่ปุ่น ส่วน dementia with Lewy body (DLB) พบประมาณ 30% ของผู้ป่วยและ Frontotemporal dementia พบประมาณ 5%

ส่วนสาเหตุที่รองลงมาเช่น Creutzfeldt-Jakob disease, HIV-associated dementia, Parkinson’s dementia, Normal pressure hydrocepholus, dementia จากการสัมผัสยาและสารพิษ (เช่น ชา แอลกอฮอลล์ ยาเสพติด เป็นต้น) จากความผิดปกติของโรคทางกายหรือภาวะทางจิตเวช

อาการของผู้ป่วยที่จะเริ่มเป็นโรคสมองเสื่อม (dementia) ผู้ป่วยจะมีอาการหลงลืมเล็กน้อยแต่จะยังไม่มีความผิดปกติในการทำงานหรือการใช้ชีวิตประจำวันทำให้การวินิจฉัยหรือการให้การรักษาแต่เนิ่นๆ ไม่สามารถทำได้ ในทางการแพทย์พบว่าถ้ามีการวินิจฉัยได้ตั้งแต่เนิ่นๆ มีความสำคัญเพราะว่าการให้การรักษาทางยามีผลทำให้ชะลอการเกิดโรคหรืออาจจะป้องกันการเกิดโรคสมองเสื่อมตามมาได้มีทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าประหยัดค่าใช้จ่ายในการรักษากว่าการรักษาในขณะที่มีภาวะที่เป็นอาการเริ่มต้นของอาการหลงลืม

 

อาการหลงลืมเริ่มต้นมีสาเหตุที่สำคัญอยู่ 2 ภาวะคือ

  1. Age-associated memory impairment (AAMI) ภาวะความจำที่ถดถอยตามอายุ

 

  1. Mile cognitive impairment (MCI) ภาวะความจำที่ถดถอยที่ผิดปกติและมากาก่าเกณท์ความจำที่ปกติในผ.ป.อายุรุ่นคราวเดียวกัน

 

  1. ภาวะ AAMI เป็นภาวะที่ผู้ป่วยมีการสูญเสียความจำเพียงเล็กน้อย ผู้ป่วยในอายุ 50 ปีขึ้นไป จะมีอาการว่ามีความจำถดถอยลงเมื่อเทียบกับขณะอายุน้อย แต่ต้องมีความจำใกล้เคียงกับคนในวัยเดียวกัน จะพบอุบัติการของ AAMI ประมาณ 40% ของคนอายุ 65 ปีหรือมากกว่า และจะมีแค่ประมาณ 1% ของผู้ป่วย AAMI ที่กลายเป็นโรคสมองเสื่อมต่อปี

 

  1. MCI จะมีความรุนแรงของการสูญเสียความจำมากกว่ากลุ่ม AAMI แต่ก็ไม่มีผลกระทบต่อการทำงานและการใช้ชีวิตประจำวัน

มีผู้ป่วยจำนวนมากพอสมควรที่สมองมีพยาธิสภาพคล้ายผู้ป่วย Alzheimer’s dementia และพบว่ามีประมาณ 15% ของผู้ป่วย MCI จะกลายเป็นโรค Alzheimer’s dementia ต่อปี

 

ปัญหาและอุปสรรคในการวินิจฉัยภาวะสมองเสื่อม

ถึงแม้มีวิธีการวินิจฉัยจากประวัติการตรวจเรื่องความจำและ MRI Brain ที่ดีขึ้น แต่พบว่ามีโอกาสที่จะวินิจฉัยถูกต้องประมาณ 50%-90% ทำให้การรักษาผิดพลาดทั้งที่เป็น AAMI หรือทำให้ผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษาแต่เนิ่นๆ

แพทย์มักจะใช้เพียง CT หรือ MRI Brain ช่วยในการตรวจวินิจฉัยภาวะสมองเสื่อมอย่างเดียวซึ่งมักจะทำให้เกิดความผิดพลาดในการวินิจฉัยอย่างมาก

ส่วนการตรวจเรื่องความจำ จากการใช้จำนวนคะแนนจากการตรวจเรื่องความจำ ซึ่งเป็นปัญหาในการวินิจฉัยผู้ป่วยเป็น AAMI หรือ MCI ในปัจจุบันยังไม่มีการตรวจชนิดใดที่แม่นยำเพียงพอในการใช้ทางคลินิค การตรวจเรื่องความจำมีโอกาสผิดพลาดได้ เช่น ผู้ป่วยที่มีการศึกษาสูงเมื่อมีภาวะสมองเสื่อมในระยะเริ่มต้นอาจจะไม่พบความผิดปกติจากการตรวจเรื่องความจำได้หรือผู้ป่วยที่มีการศึกษาไม่สูงอาจจะพบว่าการตรวจเรื่องความจำผิดปกติแม้ว่าไม่มีโรคความจำเสื่อม

ดังนั้นการตรวจเรื่องความจำอย่างเดียวไม่สามารถใช้ยืนยันภาวะความจำเสื่อมเบื้องต้นได้ แต่จะต้องใช้ประกอบกับการตรวจชนิดอื่น

 

การตรวจด้วย PET scan

การใช้ PET scan ช่วยในการตรวจวินิจฉัยภาวะเริ่มต้นของสมองเสื่อมร่วมกับข้อมูลทางคลีนิค จะเพิ่มความแม่นยำในการวินิจฉัยภาวะเริ่มต้นของสมองเสื่อมได้ดีขึ้น จากการศึกษาพบว่า

ถ้าการตรวจวินิจฉัยภาวะเริ่มต้นของสมองเสื่อมมีการใช้ FDG PET scan ร่วมด้วย จะเพิ่มความแม่นยำได้สูงถึง 91.5%  3.5% เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้ใช้ PET scan ในการตรวจ (66%  17%)

 

ส่วนกรณีในผู้ป่วยที่เป็นโรคสมองเสื่อมแล้ว PET Scan

PET จะช่วยในการแยกชนิดของโรคสมองเสื่อมชนิดใดเช่น ว่าเป็น Alzheimer’s dementia, Vascular dementia, Fronto-temporal dementia หรือ Lewy-body dementia

 

ในบ้จจุบันทาง FDA ของสหรัฐอเมริกาได้ยอมรับการใชั PET ในการตรวจวินิจฉัยแยกโรคระหว่างโรคสมองเสื่อม Alzheimer’s dementia แยกจากโรคสมองเสื่อม Fronto-temporal dementia ชึ่งจากการศึกษาพบว่าถูกต้องสูงถึง 97.6% นอกจากนี้การตรวจ PET จะช่วยในการแยกโรคสมองเสื่อมอื่นฯด้วยเช่น แยกโรคสมองเสื่อม Alzheimer’s dementia จาก Lewy-body dementia หรือจาก Neurodegenerative disorder อื่นฯ

การรู้ถึงชนิดของโรคสมองเสื่อมจะทำให้ทราบว่าควรจะให้การรักษาอย่างไรและการบอกถึงการพยากรณ์โรค พบว่าผู้ป่วยสมองเสื่อมชนิด Fronto-temporal dementia จะไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยา  Acetyl cholinasterase inhibitor ที่ใช้ในการรักษาโรคสมองเสื่อม Alzheimer’s dementia

นอกจากนี้มีการศึกษาด้วยว่า PET สามารถใช้ในการตรวจหาสาร apohoporotein epsilon 4 (APOE-4) ซึ่งเป็นสารที่เป็นสาเหตุของ Alzheimer’s dementia จากการศึกษาพบว่า PET สามารถใช้คาดการณ์ได้ว่าผู้สูงอายุที่ปกติแต่มี APOE-4 จะเกิดภาวะสมองเสื่อมตามมา หรือใช้ในการคาดการณ์ว่าผู้ป่วย MCI จะกลายเป็นภาวะโรคสมองเสื่อมตามมา

นอกจากนี้ PET Scan อาจจะมีประโยชน์ในการตรวจผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงของโรค Alzheimer’s dementia เช่น ผู้ป่วยที่มีอุบัติเหตุทางสมองและผู้ป่วยเหล่านี้บางกลุ่มจะมีความเสี่ยงในการเกิดโรค Alzheimer’s dementia หรือผู้ป่วยที่มีญาติพี่น้องป่วยเป็นโรค Alzheimer’s dementia

 

การตรวจ PET Scan ถ้าผลเป็นปกติ จะได้ลดความวิตกกังวลของบุคคลที่มีความเสี่ยงเหล่านี้ หรือถ้าตรวจพบว่ามีความผิดปกติ จะทำให้บุคคลที่มีความเสี่ยงเหล่านี้ได้รับการรักษาแต่เนิ่นๆ

มีคำแนะนำจากการศึกษาพบว่าถ้าผู้ป่วยมีความผิดปกติของความจำจากการตรวจเรื่องความจำเบื้องต้น แล้ววิเคราะห์จากประวัติแล้ว ควรได้รับการตรวจหาสาเหตุความจำเสื่อมเบื้องต้นรวมถึง MRI Brain การตรวจหา PET Scan จะทำให้การตรวจวินิจฉัยได้แม่นยำขึ้น รวมทั้งผู้ป่วยที่มีการตรวจเบื้องต้นไม่พบความผิดปกติ ควรจะได้ทำการตรวจ PET Scan หรือการใช้ PET ในผู้ป่วยสมองเสื่อม และควรใช้เป็นข้อมูลร่วมกับอาการทางคลีนิคในการวินิจฉัยชนิดของโรคสมองเสื่อม

การรักษาโรคลมชัก

การรักษาโรคลมชัก

How seizure effect to brain.mov

การรักษาโรคลมชัก

1. การรักษาโดยการใช้ยาเพื่อไปช่วยปรับกระแสไฟฟ้าที่ผิดปกติในสมองให้กลับมาเป็นปกติซึ่งจะต้องใช้เวลาในการทานยาประมาณ 2-5 ปี ถึงแพทย์ จะพิจารณาหยุดยาได้โดยที่ประมาณ 60-70% หายขาดจากโรคลมชักเลย

ยากันชักในปัจจุบันมีมากกว่า 10 ชนิด แต่ละชนิดก็ใช้ได้ดีกับการชักต่างชนิดกันออกไปแพทย์จะเป็นผู้พิจารณาเลือกใช้ยาที่เหมาะสมตามชนิดของการชักของผู้ป่วย เนื่องจากการตอบสนองของยากันชักและขนาดที่ใช้จะแตกต่างในแต่ละคนดั้งนั้นผ.ป.จะต้องติดตามผลการรักษาอย่างใกล้ชิดปรับใช้ชนิดยาและปริมาณของยาที่เหมาะสม

2..การรักษาโดยการใช้การผ่าตัด บัจจุบันถือว่าเป็นการรักษามาตรฐานทั่วโลกในผ.ป.ที่มีแผลเป็นในสมองและดื้อต่อยาร่วมถึงผ.ป.ที่มีอาการชักอันก่อให้เกิดอันตรายหรือมีผลกระทบมากต่อการงานและสังคมอย่างไรก็ตามก่อนการผ่าตัดจะต้องมีการตรวจอย่างละเอียด

 

การวินิจฉัย

การวินิจฉัย

Coregistration1-150x150

 

 

 

 

 

แพทย์จะวินิจฉัยโรคลมชักโดยอาศัยข้อมูลของลักษณะชักที่ได้จากคนไข้และผู้พบเห็นผ.ป.ในขณะชัก

ประวัติการเจ็บป่วยในอดีต, ปัจจุบัน, ประวัติครอบครัว

การตรวจร่างกาย

การตรวจทางห้องปฏิบัติการ

การตรวจคลื่นสมอง (EEG)

บางครั้งอาจใช้การวินิจฉัยอื่นๆอาจมีความจำเป็น เช่น การตรวจเอ๊กซ์เรยคลื่นแม่เหล็กสมอง (MRI),

การตรวจคลื่นสมองพร้อมวีดีโอ 24 ชั่วโมง,

การตรวจสมองโดยใช้สารกัมมันตรังสี (SPECT) เพื่อตรวจหาพยาธิสภาพในสมอง

 

ข้อพึงปฏิบัติในการรักษาโรคลมชัก

ข้อพึงปฏิบัติในการรักษาโรคลมชัก

 

ข้อพึงปฏิบัติในการรักษาโรคลมชัก

1. ควรรับประทานยากันชักตามคำแนะนำของแพทย์ทุกวันอย่างสม่ำเสมอและตามเวลาที่แนะนำ

2. ควรสังเกตอาการข้างเคียงของยาตามคำแนะนำของแพทย์ หากพบควรรีบปรึกษาแพทย์ก่อนตัดสินใจหยุดยาเองเพราะบางกรณีหากหยุดยาเองอาจทำให้เกิดอาการชักอย่างรุนแรงเพราะขาดยาได้

3. จดบันทึกลักษณะอาการชักทุกครั้งที่มีตลอดจนวันและเวลาที่มีอาการเพื่อเป็นประโยชน์ต่อแพทย์ในการปรับขนาดยา หรือช่วงเวลาที่จะให้ยาแก่ผู้ป่วย

4. ควรหลีกเลี่ยงภาวะต่างๆที่อาจจะเสี่ยงต่อกาชักซ้ำ เช่น การอดนอน, การออกกำลังกายหักโหม, ขาดยากันชัก, อดอาหารเป็นต้น

การปฐมพยาบาลเบื้องต้น

1. เมื่อพบผู่ป่วยที่กำลังชัก ตั้งสติให้ดี อย่าตกใจ

2. จับผู้ป่วยนอนตะแคงหันศีรษะไปด้านใดด้านหนึ่ง เพื่อป้องกันการสำลัก และลิ้นตกไปอุดทางเดินหายใจ

3. คลายเสื้อผ้าให้หลวม

4. ห้ามใช้นิ้วหรือสิ่งของใดๆงัดปากผู้ป่วยขณะชัก เพราะอาจเกิดอันตรายต่อผู้ป่วยและผู้ช่วยเหลือ

5. ผู้ป่วยหลังชักอาจมีอาการงงอยู่ ขณะยังไม่รู้สติ ห้ามยึดจับผู้ป่วยเพราะจะกระตุ้นผู้ป่วยให้ทำการต่อสู้รุนแรงได้

6. ในกรณีที่ผู้ป่วยหลับหลังชักควรปล่อยให้หลับต่อ ห้าม ป้อนอาหารหรือยาจนกว่าจะฟื้นเป็นปรกติเพราะอาจสำลักได้

7. ถ้าชักนานกว่าปรกติหรือชักซ้ำ ขณะที่ยังไม่ฟื้นเป็นปรกติควรนำส่งโรงพยาบาล

 

คลีนิคโรคลมชัก

คลีนิคโรคลมชัก โครงการรักษาผ..โรคลมชักครบวงจร

btn_rxforsafety

ชั้น 3 อาคารเฉลิมพระเกียรติ ถ.ราชวิถี เขตพญาไท  กทม. 10400

อังคาร 9.00-13.00

พุธ 9.00-13.00

 

คลีนิคโรคลมชักเฉพาะผ..ที่เข้าร่วมยาวิจัยกันชักใหม่

ศุกร์ 9.00-12.00

 

โรคลมชัก (Epilepsy)

โรคลมชัก (Epilepsy)

โรคลมชักเป็นปัญหาที่พบได้ในคนทุกเพศทุกวัย  โดยมีอุบัติการณ์เกิดประมาณ 1% ของประชากร ในประเทศไทยประมาณว่ามี ผ.ป.โรคลมชักประมาณ 6-7 แสนคน โรคลมชักไม่ใช่โรคติดต่อเป็นโรคที่มีสาเหตุจากหลายฯชนิดอาจจะถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ขึ้นกับชนิดของการชัก โรคลมชักพบได้ในช่วงทุกอายุ หากได้รับการรักษาแต่เนิ่นๆและถูกต้องในผ.ป.ส่วนใหญ่จะสามารถหายขาดได้

อาการชักเกิดเนื่องจากความผิดปรกติของกระแสไฟฟ้าภายในสมองซึ่งมีการนำของกระแสไฟฟ้าที่ลัดวงจรก่อให้เกิดอาการชักตามมาโดยถ้ากระแสไฟฟ้าที่ผิดปกติเกิดขึ้นรบกวนสมองเป็นบางส่วนจะทำให้เกิด “อาการชักเฉพาะที่โดยที่ยังรู้ตัวอยู่แต่ถ้ามีเหม่อลอยหมดสติทำอะไรไม่รู้ตัวเรียกว่า อาการชักแบบเหม่อ แต่ถ้ากระแสไฟฟ้าที่ผิดปกติเกิดขึ้นรบกวนสมองทั้งสองข้างจะทำให้เกิดอาการชักแบบเกร็งกระตุกทั้งตัวหรือชักแบบแน่นิ่งที่พบบ่อยในเด็ก

อาการชักเฉพาะที่โดยกระแสไฟฟ้าที่ผิดปรกติอาจรบกวนสมองส่วนที่ควบคุมการทำงานแห่งใดแห่งหนึ่งในร่างกายทำให้เกิดอาการต่างฯใดยที่ยังรู้ตัว เช่น อาการชาหรือกระตุกของแขนขา หรือใบหน้าข้างใดข้างหนึ่งเป็นซ้ำฯใดยที่ไม่สามารถควบคุมได้ นอกจากนี้อาจมีอาการคลื่นไส้ ปวดท้อง กลัว ความรู้สึกแปลกฯ ความรู้สึกเหมือนฝัน หูแว่ว เห็นภาพหลอน หรือหัวใจเต้นผิดปรกติ

อาการชักแบบเหม่อลอย ผ.ป.มักจะมีอาการเตือนนำมาก่อนเหมือนดังที่ได้กล่าวมาแล้วตามด้วยอาการเหม่อลอย ผ.ป.มักจะทำปากขมุบขมิบหรือเคี้ยวปากหรือมือเกร็งหรือขยับมือไปมาอาจคลำตามเสื้อผ้าอย่างไม่รู้ตัวเคลื่อนไหวแขนขาอย่างไร้จุดหมายโดยไม่รับรู้สิ่งรอบข้างแล้วโดยที่จำเหตุการณ์ระหว่างนั้นไม่ได้อาการเหม่อลอยจะนานประมาณไม่กี่วินาทีจนถึงหลายฯนาทีหลังจาก ผ.ป.มักจะมีอาการสับสน ในผ.ป.บางรายอาจจะมีอาการพูดไม่ได้หรือยกแขนข้างใดข้างหนึ่งไม่ได้อีกหลายนาที กว่าจะตื่นเป็นปกติ

อาการชักแบบเกร็งกระตุกทั้งตัว เกิดจากการที่กระแสไฟฟ้าที่ผิดปรกติรบกวนการทำงานของสมองทั้งหมดจะเกิดอาการชักที่เรียกว่า “อาการชักทั่วทุกส่วน” หรือที่เรียกว่าโรคลมบ้าหมู ชนิดที่พบบ่อยคือ อาการชักแบบเกร็งกระตุกทั้งตัว ผู้ป่วยจะสูญเสียการรู้สึกตัวทันที และล้มลง กล้ามเนื้อจะแข็งเกร็งทั่วทั้งตัว ตาจะเลือกค้าง น้ำลายฟูมปากอาจจะกัดลิ้นตนเองหรือปัสสาวะราด ระยะเวลาชักจะนานประมาณ 2 – 3 นาที หลังชักมักจะเพลียและนอนหลับหลังจากหยุดชัก

อาการชักแบบแน่นิ่ง พบได้บ่อยในวัยเด็ก อาการจะเกิดขึ้นในระยะเวลาสั้นมาก ผู้ป่วยจะจ้องไปข้างหน้าอย่างไร้จุดหมายเป็นระยะเวลาสั้นๆคล้ายกับเหม่อ ประมาณ 2 – 3 วินาทีแล้วกลับมาทำสิ่งที่ค้างอยู่ต่อไปโดยมักไม่มีการเคลื่อนไหวแขนขา

 

โรคลมชักที่ดื้อต่อยาและการรักษาโดยการผ่าตัด

โรคลมชักที่ดื้อต่อยาและการรักษาโดยการผ่าตัด

โรคลมชักที่ดื้อต่อยาและการรักษาโดยการผ่าตัด

โดย พอ.นพ.โยธิน  ชินวลัญช์

พบว่าอุบัติการณ์โรคลมชักในประเทศไทยมีประมาณ 1% หรือคิดเป็นจำนวนประชากรประมาณ 700,000 คนในผู้ป่วยคนไทยที่ป่วยเป็นโรคลมชัก  มีผู้ป่วยโรคลมชักประมาณ 30% หรือคิดเป็นตัวเลขประมาณ 40,000-50,000 คน เป็นอย่างต่ำที่เป็นผู้ป่วยที่ดื้อยา  ในเกณฑ์การวินิจฉัยผู้ป่วยโรคลมชักที่ดื้อยา คือ ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาโดยการใช้ยากันชักอย่างเหมาะสมแล้วอย่างน้อย 2 ตัว  แล้วยังไม่สามารถคุมอาการชักได้  โดยที่อาจจะยังมีอาการชักอย่างต่อเนื่องในผู้ป่วยเหล่านี้เป็นผู้ป่วยที่สมควรจะได้รับการประเมินเพื่อหาพยาธิสภาพในสมองที่ผิดปกติ เพื่อตรวจดูว่าผู้ป่วยจะสามารถทำการรักษาโดยการผ่าตัดได้หรือไม่   แต่อย่างไรก็ตามในการตรวจวินิจฉัยเหล่านี้เป็นขั้นตอนที่มีความยุ่งยากและสลับซับซ้อน  และในการตรวจเหล่านี้จะต้องมีความละเอียด รอบคอบที่จะตรวจหาตำแหน่งพยาธิสภาพ ที่ก่อให้เกิดโรคลมชักได้อย่างถูกต้องแม่นยำ   มิฉะนั้นแล้วการรักษาโดยการผ่าตัดโดยที่ไม่ได้รับการตรวจวินิจฉัยที่แม่นยำเพียงพออาจจะทำให้การผ่าตัดไม่ได้ผล หรือก่อให้เกิดผลแทรกซ้อนได้  ในการตรวจสิ่งเหล่านี้จะต้องได้รับการประเมินและการตรวจวินิจัฉยโดยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคลมชักโดยตรง

ขั้นตอนการตรวจรักษา มีดังต่อไปนี้

1. การตรวจ X-Ray  คลื่นแม่เหล็กสมองหรือ MRI Brain  ซึ่งเป็นการตรวจเพื่อดูโครงสร้างของสมอง  เพื่อตรวจหาพยาธิสภาพที่เป็นแผลเป็นในสมอง   การตรวจ MRI Brain ในปัจจุบัน มีการนำเครื่อง MRI ที่มีความคมชัดสูง คือ MRI 3 Tesla เข้ามาใช้ทำให้มีการตรวจหาพยาธิสภาพที่ก่อให้เกิดโรคลมชักได้แม่นยำขึ้น  อนึ่งสิ่งที่สำคัญมากในการตรวจ MRI ก็คือ จะต้องมีการใช้เทคนิคในการตรวจ X-Ray สมองที่ถูกต้อง  ในทางทั่วไปการตรวจ MRI Brain ไม่ได้มีความละเอียดลออในการตรวจเช็คผู้ป่วยโรคลมชัก  แต่ในผู้ป่วยโรคลมชักจะต้องมีการใช้เทคนิคพิเศษที่เรียกว่า Epilepsy Protocol  ซึ่งจะทำให้การตรวจหาพยาธิสภาพแผลเป็นได้ถูกต้องและแม่นยำมากขึ้น  รวมทั้งการวินิจฉัย X-Ray สมอง  จะต้องได้รับการวินิจฉัยโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับการฝึกอบรมโรคลมชักมาโดยตรง  เราพบว่าพยาธิสภาพในสมองที่ก่อให้เกิดโรคลมชักในผู้ป่วยที่ดื้อต่อยา ประมาณ 50% ของผู้ป่วยมักจะเป็น hippocampal Sclerosis  ซึ่งเป็นพยาธิสภาพที่เป็นสาเหตุมาจากสมองได้รับการกระทบกระเทือนตั้งแต่ในช่วงวัยเด็ก  เช่น  มีการติดเชื้อในสมอง, สมองขาดออกซิเจน, มีไข้สูงแล้วชัก หรือมีอุบัติเหตุแล้วทำให้เกิดแผลเป็นชนิดนี้ในเด็ก  ต่อมาเมื่อผู้ป่วยมีอายุมากกว่า 10 ปี หรือเข้าสู่ภาวะ 20 ปี  ก็จะเริ่มมีอาการชักเกิดขึ้นจากแผลเป็นชนิดนี้  นอกจากนี้ยังมีพยาธิสภาพอย่างอื่นอีกมากมาย  ที่ก่อให้เกิดโรคลมชักที่ดื้อต่อยา เช่น การมีเนื้องอกในสมอง, หยักในสมองผิดปกติ, เซลล์ในสมองอยู่ผิดที่ หรือเซลล์มีการจับตัวเป็นโครงสร้างที่ผิดปกติ สิ่งเหล่านี้เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดประจุไฟฟ้าในสมองผิดปกติ  และก่อให้เกิดโรคลมชักที่ดื้อต่อยา ข้อมูลที่ได้จากการตรวจ MRI Brain จะเป็นข้อมูลพื้นฐานที่จะนำไปประกอบการวินิจฉัยเพื่อหาตำแหน่งร่วมกับข้อมูลอย่างอื่น เช่น การตรวจคลื่นไฟฟ้าสมองแบบ 24 ชม. หรือ การตรวจทางกัมมันตรังสีต่อไป

2. การตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง (EEG)  ซึ่งการตรวจคลื่นไฟฟ้าสมองมีอยู่ 2 ชนิดใหญ่ ๆ คือ

2.1 การตรวจคลื่นไฟฟ้าสมองแบบทั่วไป (routine EEG) ใช้เวลาในการทำประมาณ 30 นาที  เป็นการตรวจในขณะที่ผู้ป่วยยังไม่มีอาการชัก  การตรวจชนิดนี้สามารถทำได้ง่ายแบบผู้ป่วยนอกได้  แต่ข้อจำกัดของการตรวจชนิดนี้ คือ โอกาสที่จะพบความผิดปกติของคลื่นไฟฟ้าที่ผิดปกติในผู้ป่วยโรคลมชักมีอยู่แค่ประมาณ 40%

2.2 การตรวจคลื่นไฟฟ้าแบบ 24 ชม. (VEM; video-EEG monitoring) การตรวจชนิดนี้เป็นการตรวจดูคลื่นไฟฟ้าที่ยาวขึ้น และมีจุดประสงค์เพื่อดูคลื่นไฟฟ้าในขณะที่ผู้ป่วยมีอาการชัก ดังนั้นผู้ป่วยจำเป็นต้องนอนในในโรงพยาบาล และมีการตรวจวัดคลื่นไฟฟ้าสมองตลอดเวลา  โดยที่มีการใช้ขั้วไฟฟ้าติดที่หนังศีรษะโดยใช้กาวพิเศษทำให้ไม่หลุดได้ง่าย  การตรวจชนิดนี้ก็เป็นการตรวจเพื่อดูลักษณะอาการชักของผู้ป่วยว่ามีอาการชักเป็นชนิดไหน  รวมทั้งดูตำแหน่งของไฟฟ้าที่เกิดอาการชักว่ามีจุดก่อกำเนิดมาจากส่วนไหนของสมอง  การตรวจชนิดนี้จะเป็นการตรวจที่มีความสำคัญมากในการที่จะใช้เป็นข้อมูลไปประกอบกับผลการตรวจ MRI Scan  เพื่อจะดูว่าตำแหน่งที่ ก่อให้เกิดโรคลมชักนั้นสามารถที่จะผ่าตัดได้หรือไม่

3. การตรวจทางกัมมันตรังสี (Ictal SPECT)  การตรวจทางกัมมันตรังสีโดยที่จะมีการฉีดสารกัมมันตรังสีเข้าไปในร่างกายผู้ป่วยในขณะที่มีอาการชักสารกัมมันตรังสีตัวนี้เป็นสารกัมมันตรังสีที่ใช้ในการแพทย์และมีความปลอดภัย ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย  การตรวจ Ictal SPECT จะทำไปพร้อมกับในขณะที่ผู้ป่วยตรวจคลื่นไฟฟ้า 24 ชม. ในโรงพยาบาลโดยที่จะมีการฉีดสารกัมมันตรังสีในขณะที่ผู้ป่วยมีอาการชัก  หลังจากนั้นผู้ป่วยจะได้รับการส่งไปตรวจทำ Scan  เพื่อดูภาพในสมองว่าจุดกำเนิดที่ทำให้เกิดอาการชักมาจากตำแหน่งส่วนใดของสมอง  ภาพที่ได้ในส่วนนี้จะเป็นข้อมูลที่นำไปใช้ประกอบร่วมการพิจารณากับผล MRI Brain และผลการตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง

4. การตรวจ PET Scan เป็นการตรวจหาตำแหน่งพยาธิสภาพที่ทำให้เกิดอาการชักอีกวิธีหนึ่งโดยดูการเปลี่ยนแปลงการดูดซึมสารน้ำตาลในสมอง  เราพบว่าในผู้ป่วยโรคลมชักตำแหน่งที่ทำให้เกิดอาการชักมักจะมีการดูดซึมสารของน้ำตาลที่ผิดปกติ  โดยสารน้ำตาลตัวนี้จะมีการเกาะกับสารกัมมันตรังสีที่จะฉีดเข้าไปในตัวผู้ป่วย  การตรวจชนิดนี้สามารถทำได้ในขณะที่ผู้ป่วยไม่มีอาการชัก  เป็นการตรวจชนิดหนึ่งซึ่งจะได้ข้อมูลมาประกอบการพิจารณาเพื่อหาตำแหน่งร่วมกับการตรวจชนิดอื่น

5. การตรวจเรื่องความจำ (Memory test) ซึ่งการตรวจชนิดนี้มีความจำเป็นจะต้องทำในผู้ป่วยชนิด Temporal Lobe Epilepsy   ในการรักษาผู้ป่วยชนิดนี้  การผ่าตัดอาจจะมีความเสี่ยงต่อเรื่องของการสูญเสียเรื่องความจำระยะสั้นได้  ดังนั้นจะต้องมีการประเมินเรื่องความจำว่าอยู่ในตำแหน่งส่วนใดของสมองเพื่อจะพิจารณาว่าการผ่าตัด Temporal Lobectomy ว่าสามารถทำได้หรือไม่  หากตรวจแล้วพบว่าสมองเกี่ยวกับเรื่องของความจำอยู่ในตำแหน่งที่จะเข้าไปผ่าตัด  การผ่าตัดนั้นก็ไม่สามารถที่จะกระทำต่อได้

นอกจากนี้ยังมีการตรวจหาตำแหน่งของศูนย์ที่เกี่ยวกับภาษาว่าอยู่ในตำแหน่งส่วนไหนของสมองอยู่ทางซีกซ้ายหรือซีกขวา   สิ่งเหล่านี้จะมีการตรวจในกรณีที่ผู้ป่วยมีพยาธิสภาพอยู่ใกล้ตำแหน่งที่เราคาดว่าจะเป็นสมองส่วนที่ควบคุมเรื่องการพูดหรือว่าสมองเรื่องการเข้าใจ

ส่วนการตรวจการทำงานของสมองในแต่ละส่วนจะมีการตรวจบ่งชี้ในผู้ป่วยที่มีพยาธิสภาพในตำแหน่งที่เราสงสัยว่าอาจจะเป็นสมองส่วนที่ควบคุมการทำงานของร่างกาย  ในผู้ป่วยแต่ละรายจะมีความแตกต่างกัน การตรวจเหล่านี้จะมีการตรวจอยู่หลากหลาย เช่น การตรวจการทำงาน  การควบคุม แขน ขา ของร่างกายซีกใดซีกหนึ่ง, การตรวจเรื่องการรับรู้ความรู้สึกของร่างกายส่วนใดส่วนหนึ่ง  หรือว่าการตรวจสมองเรื่องการมองเห็นในกรณีที่พยาธิสภาพที่ก่อให้เกิดการชักอยู่ใกล้ในส่วนของสมองที่ควบคุมเรื่องการมองเห็น เป็นต้น จะเห็นได้ว่าการผ่าตัดโรคลมชักในผู้ป่วยที่ดื้อต่อยาเป็นการผ่าตัดที่มีการเตรียมการผู้ป่วยอย่างละเอียดอ่อนอย่างมาก  ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ดีเราถือว่าการผ่าตัดโรคลมชักมีความเสี่ยงต่อการผิดปกติ หรือผลแทรกซ้อนต่อการผ่าตัดค่อนข้างต่ำมาก  ดังนั้นในผู้ป่วยโรคลมชักที่ดื้อต่อยาหลังจากที่ได้มีการให้ยากันชักอย่างน้อย 2 ตัวแล้วผู้ป่วยยังไม่สามารถที่จะควบคุมอาการชักได้ก็ควรจะต้องได้รับการตรวจโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและรับการตรวจเพื่อตรวจหาตำแหน่งพยาธิสภาพดังที่ได้กล่าวไปแล้ว

ในการรักษาโดยการผ่าตัดส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะต้องไดัรับการผ่าตัดและอยู่ในโรงพยาบาลประมาณ 1 อาทิตย์  หลังจากนั้นอีกประมาณ 2-3 อาทิตย์ผู้ป่วยสามารถที่จะกลับบ้านได้และสามารถทำกิจกรรมได้ตามปกติยกเว้นกิจกรรมใดที่หนักเกินไป เช่น ความเครียดหรือการยกสิ่งของหนักหรือทำงานหนักอาจจะต้องหลีกเลี่ยงในช่วง 2-3 อาทิตย์แรก  หลังจากนั้นผู้ป่วยสามารถดำเนินชีวิตได้ตามปกติ  อย่างไรก็ตามผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดแล้วจะต้องทานยากันชักต่ออีกประมาณ 1-2 ปี  สิ่งเหล่านี้เป็นการที่จะทำให้มั่นใจว่าเซลล์ไฟฟ้าในสมองในส่วนอื่น ๆ ไม่ได้รับการถูกกระตุ้น หรือก่อให้เกิดความผิดปกติตามมา

ส่วนการผ่าตัดรักษาโรคลมชักชนิด Extra Temporal Epilepsy เป็นการรักษาโดยการผ่าตัดที่ยุ่งยากกว่าการผ่าตัดชนิด Temporal Lobe Epilepsy การผ่าตัดรักษาโรคลมชักผู้ป่วยชนิด Extra TEmporal Epilepsy ส่วนใหญ่ผู้ป่วยมักจะต้องได้รับการผ่าตัดอย่างน้อย 2 ครั้งใน 1 อาทิตย์  จะต้องมีการใช้อุปกรณ์พิเศษ  เป็นขั้วไฟฟ้าที่ใช้ในการวัดคลื่นไฟฟ้าจากผิวสมองโดยตรง ที่เรียกว่า  Subdural Grid  เป็นการวางขั้วไฟฟ้าลงบนผิวสมองและวัดไฟฟ้าที่มาจากสมอง  การตรวจชนิดนี้เป็นการตรวจชนิดพิเศษซึ่งจะทำเฉพาะในผู้ป่วยที่มีพยาธิสภาพที่ก่อให้เกิดโรคลมชักอยู่ในสมองส่วน Extra Emporal Epilepsy การผ่าตัดชนิดนี้ผู้ป่วยจำเป็นต้องอยู่ในโรงพยาบาลอย่างน้อย 1-2 อาทิตย์ ผลสำเร็จทางการผ่าตัดชนิดนี้ขึ้นอยู่กับว่าการตรวจหาคลื่นไฟฟ้าสมองได้แม่นยำขนาดไหนโดยจะต้องมีการปรึกษากับแพทย์ผู้ให้การรักษาอย่างใกล้ชิด

โดยสรุปการรักษาผู้ป่วยโรคลมชักที่ดื้อต่อยาโดยวิธีการผ่าตัดเป็นการรักษาที่มาตรฐานในผู้ป่วยที่ได้รับการใช้ยากันชักอย่างน้อย 2 ตัวซึ่งเป็นยามาตรฐานแล้วยังไม่สามารถคุมอาการชักได้  และได้รับการตรวจตามขั้นตอนอย่างละเอียดซึ่งเป็นผู้ป่วยที่แพทย์ประเมินแล้วว่าการผ่าตัดน่าจะได้ประโยชน์ ไม่มีผลแทรกซ้อนที่จะทำให้เกิดความผิดปกติของร่างกาย  การผ่าตัดเหล่านี้สามารถจะทำให้ผู้ป่วยมีอาการชักลดลงหรือหายขาดจากอาการชักได้สูงถึง 50-90%  ขึ้นอยู่กับลักษณะของโรคลมชักที่เป็นอยู่

 

Parasomnia: ภาวะการนอนผิดปกติที่มีการเคลื่อนไหวของร่างกายหรือมีการส่งเสียงผิดปกติที่เกิดในช่วงการนอนหลับ


Parasomnia

Sleep 1
ภาวะการนอนผิดปกติที่มีการเคลื่อนไหวของร่างกายหรือมีการส่งเสียงผิดปกติที่เกิดในช่วงการนอนหลับหรือในช่วงการเปลี่ยนแปลงของการตื่นและการนอนหลับ มักจะเกิดซ้ำฯชึ่งอาจเป็นเหตุทำให้เกิดการบาดเจ็บของร่างกายต่อผู้ป่วยหรือผู้อื่นได้ และมีผลทำให้การนอนหลับไม่ต่อเนื่องทำให้การนอนหลับไม่มีประสิทธิภาพและเกิดภาวะง่วงหลับ (hypersomnolence) ตามมา นอกจากนี้ภาวะ Parasomnia มักจะมีความสัมพันธ์กับโรคทางสมอง โรคทางกาย หรือภาวะความผิดปกติทางจิตเวช เป็นต้น

การจัดแบ่งภาวะ Parasomnia

  1. ภาวะสับสนระหว่างการตื่นนอน (Confusional arousal)

  2. การลุกเดินในขณะนอนหลับ (Sleep walking)

  3. ภาวะฝันร้าย (Sleep terror)

  4. ภาวะก้าวร้าวในขณะนอนหลับระยะ REM sleep (REM sleep behavior disorder)

  5. ภาวะการพูดในขณะนอนหลับ (Sleep talking, Somniliquy)

  6. ภาวะสะดุ้งในขณะหลัย (Hypnic jerks)

  7. ภาวะการนอนกัดฟัน (Bruxism)

ภาวะสับสนระหว่างการตื่นนอน (Confusional arousal)

เป็นภาวะสับสนที่เกิดระหว่างการตื่นนอน โดยที่ผ.ป.อยู่ในภาวะครึ่งหลับครึ่งตื่นทำให้มีอาการสับสนหรือการรับรู้ที่ช้ากว่าปกต อาจจะมีอาการสับสนเกี่ยวกับวันเวลาและสถานที่ การเรียบเรียงเรื่องราวผิดไป

 สาเหตและอุบัติการ

มักจะพบบ่อยในผ.ป.เด็กที่มีอายุ < 5 ขวบ และในกลุ่มคนที่ต้องอดนอน อาจจะมีผลกระทบต่อเรื่องความจำได้ สาเหตุมักจะเป็นผลมาจากการอดนอน ไข้ ยาที่มีผลต่อการกดสมอง เช่น ยานอนหลับ ยาคคายเครียด เป็นต้น

การวินิจฉัยแยกโรค

การลุกเดินในขณะนอนหลับ (Sleep walking)

ภาวะฝันร้าย (Sleep terror)

ภาวะก้าวร้าวในขณะนอนหลับระยะ REM sleep (REM sleep behavior disorder)

ภาวะชักในขณะนอนหลับ

 การรักษา

ไม่มีการรักษาโดยการใช้ยา แต่จะต้องหลีกเลี่ยงจากภาวะกระต้นทสาเหต confusional arousalี่ เช่น ภาวะเครียด การอดนอน เป็นต้น

การลุกเดินในขณะนอนหลับ (Sleep walking)

เป็นภาวะที่มีการตื่นจากการหลับลึก (deep sleep) โดยที่ไม่รู้ตัวและมีการลุกเดินหรือมีการทำภาระกิจโดยไม่รู้สึกตัว มักจะมีอาการเป็นซ้ำฯต่อเนื่อง อาจจะทำให้เกิดอันตรายและบาดเจ็บต่อผ.ป.ได้ มักจะเกิดนานประมาณ 1-5 นาทีแต่อาจนานเป็นชั่วใมงได้ มักจะเกิดร่วมกับภาวะฝันร้าย (Sleep terror) เวลาตื่นผ.ป.อาจจะมีอาการสับสนได้

สาเหตและอุบัติการ

มักจะเกิดในเด็กอายุ 4-6 ขวบมากกว่าในผู้ใหญ่ ปัจจัยกระตุ้น เช่น การอดนอน ภาวะเครียด ภาวะปวด การกลั้นปัสสาวะ การดื่มเครื่องดื่มแอลล์กอฮอลล์ เป็นต้น

การวินิจฉัยแยกโรค

ภาวะก้าวร้าวในขณะนอนหลับระยะ REM sleep (REM sleep behavior disorder)

ภาวะสับสนระหว่างการตื่นนอน (Confusional arousal)

ภาวะชักในขณะนอนหลับ

การรักษา

หลีกเลี่ยงจากภาวะกระต้น

การป้องกันไม่ให้เกิดอันตราย

การใช้ยา Benzodiazepine

ภาวะฝันร้าย (Sleep terror)

ภาวะฝันร้ายเป็นภาวะที่ผ.ป.ที่มีการตื่นกระทันหันจากการหลับลึก (deep sleep) ผ.ป.มักจะมีการกรีดร้อง ดูตื่นตระหนก สับสน มักจะมีอาการทางระบบประสาทอัตโนมัติร่วมด้วย เช่น ใจสั่น หายใจเร็ว เป็นต้น อาจจะมีการเคลื่อนไหวชองแขนขาที่ผิดปกติ หรือมีพฤกติกรรมที่หลบหนีและอาจจะก่อให้เกิดอันตรายได้

สาเหตและอุบัติการ

มักพบบ่อย 3% ในเด็กและ 1 % ในผู้ใหญ่และพบได้ในผู้สูงอายุ พบในผู้ชายมากกว่าในผู้หญิ้ง

การวินิจฉัยแยกโรค

ภาวะนอนฝันร้าย (Nightmares, REM sleep)

ภาวะชักในขณะนอนหลับ

 การรักษา

ถ้าเป็นไม่บ่อยอาจไม่จำเป็นให้การรักษาด้วยยา ยาที่ใชัในการรักษา เช่น Diazepam, Clonazepam, TCA เป็นต้น การรักษาจืตบำบัด ลดความเครียด ยานอนหลัย

ภาวะก้าวร้าวในขณะนอนหลับระยะ REM sleep (REM sleep behavior disorder; RBD)

เป็นภาวะ parasomnia ที่มีความสัมพันธ์กับโรคที่มีความเสื่อมของระบบประสาทสมอง (Neurodegenerative disease) ผ.ป.จะมีอาการความผิดปกติทางพฤกติกรรมซึ่งมักจะเป็นพฤกติกรรมก้าวร้าวในขณะนอนหลับอยู่ในช่วง REM sleep

RBD อาจจะเป็นอาการนำหลายปืก่อนที่ผ.ป.จะเริ่มมีอาการโรคปาร์กินสันหรือโรคสมองเสื่อม (Dementia) พบได้ประมาณ 15-20%  ผ.ป.มักจะมีอาการเคลื่อนไหวแขนขาอย่างรุนแรง เช่น ชกต่อย แตะขา มักจะทำให้เกิดการบาดเจ็บต่อคนที่นอนข้างด้วยหรือตนเอง อาการมักจะเกิดหลังจากหลับไปได้ประมาณ 90 นาที และมักจะเกิดในช่วงหลังของการนอนหลับ

อาการพฤกติกรรมที่อาจจะพบร่วมได้ เช่น ส่งเสียงร้อง ร้องเพลง ตะโกน กรีดร้อง ลุกเดิน วิ่ง แตะต่อย กระโดด ทำร้ายร่างกายผู้อื่น เป็นต้น

สาเหตและอุบัติการ

พบได้บ่อยในผู้ชายมากว่าในผู้หญิง (M:F; 87%: 13%) อายุที่พบบ่อยเฉลี่ย 61 ปี มักจะก่อให้เกิดอันตรายต่อผ.ป. (32%) และคนที่นอนข้างด้วย (16%)

การวินิจฉัย

การซักประวัติ และการตรวจเรื่องการนอนหลับผิดปกติ (Polysomnography) จะช่วยยืนยันในการวินิจฉัย

การวินิจฉัยแยกโรค

การลุกเดินในขณะนอนหลับ (Sleep walking)

ภาวะฝันร้าย (Sleep terror)

ภาวะชักในขณะนอนหลับ

ภาวะการพูดในขณะนอนหลับ (Sleep talking, Somniliquy)

การเคลื่อนไหวของขาผิดปกติ ขณะนอนหลับ (Periodic leg movements)

การรักษา

การตรวจทางระบบสมองอย่างละเอียด

การปรับเปลี่ยนสภาพรอบข้างที่นอนหลับเพื่อป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดได้

หลีกเลี่ยง กาแฟ และการใช้ยากลุ่ม SSRI, selegiline, clomipramine, venlafaxine, mirtazepam, TCA, MAOIs, anticholinergic  เป็นต้น

ให้ยา Clonazepam จใ/ถ ข ๅ ทเ

Melatoni

Levodopa, dopamine agonist

Anticonvulsants

ภาวะการพูดในขณะนอนหลับ (Sleep talking, Somniliquy)

เป็นภาวะการพูดในขณะหลับ มักจะไม่มีอาการอย่างอื่นร่วมด้วย ผ.ป. จะไม่สามารถจำในสิ่งที่พูดได้ และไม่สัมพันธ์กับระดับของการนอนหลับ

การรักษา

ให้คำแนะนำ

ภาวะสะดุ้งในขณะหลัย (Hypnic jerks)

ภาวะสะดุ้งของร่างกายมักจะเแป็นครั้งฯไปและมักจะเแป็นช่วงการนอนหลับตอนต้นโดยที่มักจะเแป็นส่วนขามากกว่าแขนและมากกว่าศีรษะ ผ.ป.อาจจะมีความรู้สึกคล้ายตกจากที่สูง เห็นแสงสว่างจ้าได้

สาเหตุ

การดื่มกาแฟ สูบบุหร่่ ภาวะเครียด การออกกำลังกายมากเกินไป

 การวินิจฉัยแยกโรค

ภาวะชักในขณะนอนหลับ

การเคลื่อนไหวของขาผิดปกติ ขณะนอนหลับ (Periodic leg movements)

 การรักษา

หลีกเลี่ยงจากสิ่งกระตุ้น

ส่วนน้อยที่จำเป็นต้องใชัยา Benzodizepams (hypnotic dose)

ภาวะการนอนกัดฟัน (Bruxism)

เป็นภาวะที่มีการกัดฟันในขณะนอนหลับ พบได้ประมาณ 5-10% ยังไม่ทราบชัดเจนว่าเกี่ยวกับความเครียดหรือไม่ สามารถเกิดได้ทุกระยะของการนอนหลับ เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคฟันตามมา เช่น ฟันฝุ ฟันสึกหรอ โรคเหงือก เป็นต้น

การวินิจฉัย

การซักประวัติ การ การตรวจเรื่องการนอนหลับผิดปกติ (Polysomnography)

 การรักษา

การลดความเครียด การใช้ mouth guard การใช้ยา Benzodiazepine